X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เคล็ดลับสอนลูกเป็นเด็กดี แฮปปี้กันทั้งบ้าน

บทความ 3 นาที
เคล็ดลับสอนลูกเป็นเด็กดี แฮปปี้กันทั้งบ้าน

อยากให้ลูกเป็นเด็กดี พ่อแม่ต้องเลี้ยงให้ถูกวิธี คอยดูแลใส่ใจและสอนสิ่งที่ดีให้เขา รวมทั้งเตือนตัวเองด้วยว่าอย่ากดดันลูกจนเกินไป

หัวใจหลักในการเลี้ยงลูกที่ดี คือ มองทุกอย่างจากมุมมองลูก เข้าใจความคิดและความรู้สึกของเด็กน้อยที่ยังไม่ประสีประสา ไม่ใช้อำนาจบังคับให้เขาทำทุกอย่างตามที่พ่อแม่ต้องการ

ถ้าทำตามหลักการนี้ คุณจะเป็นพ่อแม่ที่มีความสุข มีลูกน้อยที่ประพฤติตัวดี และมีชีวิตครอบครัวแสนสุขสันต์

เคล็ดลับสอนลูกเป็นเด็กดี

เคล็ดลั บสอนลูกเป็นเด็กดี

แค่ทำตามเคล็ดลับ 5 ข้อนี้

  1. อยู่ใกล้ชิดกับลูก

ลูก ๆ ต้องการให้พ่อแม่อยู่เคียงข้างเขาเสมอ แม้บางทีจะทำท่าไล่พ่อแม่ออกไปก็ตาม

ในยามที่ลูก ๆ สับสน อ่อนแอ เขาอยากให้พ่อแม่เป็นแหล่งพักพิงที่สงบและมั่นคงปลอดภัย

แต่ไม่ได้หมายความว่าต้องยอมลูกทุกอย่างนะคะ พ่อแม่ควรยอมรับให้ได้ว่าลูกเราบางครั้งก็ดี บางครั้งก็แย่ แต่ไม่ว่าลูกจะอยู่ในช่วงแย่ ๆ หรือทำสิ่งที่เราไม่ชอบใจแค่ไหน พ่อแม่ก็รักลูกอยู่ดี บอกความในใจข้อนี้ให้ลูกรับรู้ด้วยนะคะ

  1. คอยกำกับดูแลลูก

เคล็ดลับสอนลูกเป็นเด็กดี

เคล็ดลั บสอนลูกเป็นเด็กดี

Advertisement

แม้แต่เด็กน้อยวัยเตาะแตะก็ยังต้องรู้จักขอบเขตข้อควร/ไม่ควรทำ สังเกตนะคะ เด็กมักหันมามองผู้ใหญ่ก่อนเพื่อหยั่งเชิงว่าเขาจะทำอย่างนี้ได้ไหม หรือควรหยุดทำเมื่อไร

ถ้าไม่อยากให้ลูกเอื้อมหยิบผ้าเช็ดมือที่แขวนอยู่ ควรบอกลูกดี ๆ ว่า “อย่าดึงจ้ะ” ถ้าลูกยังดื้อไม่เชื่อฟังก็อธิบายเหตุผลด้วยว่า “ระวังราวแขวนจะตกลงมา แม่ไม่อยากเห็นหนูเจ็บตัว”

เด็ก ๆ มักชอบลองท้าทายอำนาจพ่อแม่ ถ้าพ่อแม่ใจเย็นพอ ไม่ตวาดขึ้นเสียงใส่ ลูกจะเคารพเชื่อฟังแต่โดยดี

อย่ากลัวว่าลูกจะโมโหถ้าถูกขัดใจ ควรเปิดโอกาสให้เขาเรียนรู้วิธีจัดการกับอาการโกรธบ้าง ถึงเขาจะโกรธพ่อแม่ แต่พ่อแม่จะยังรักและดูแลเขาอย่างดีเหมือนเดิม ถ้ารู้อย่างนี้เด็กจะยิ่งเพิ่มความไว้ใจในตัวพ่อแม่มากขึ้น

  1. ใช้ชีวิตอย่างมีแบบแผน

เคล็ดลับสอนลูกเป็นเด็กดี

เคล็ดลับสอนลูก เป็นเด็กดี

วางกรอบชีวิตประจำวันให้ลูก เช่น เปิดน้ำเป็นสัญญาณว่าถึงเวลาอาบน้ำแล้ว หลังอาบเสร็จก็ใส่ชุดนอน อ่านหนังสือ เตรียมเข้านอน เป็นต้น

กิจวัตรประจำวันไม่ใช่กฎตายตัว แต่เป็นตัวชี้แนะว่าลูกควรทำอะไรก่อนหลังในแต่ละวัน ไม่ใช่ทำตัวสะเปะสะปะไร้ทิศทาง

นอกจากนี้ เด็ก ๆ ควรเรียนรู้การปรับตัวเมื่อตารางชีวิตประจำวันเปลี่ยนไป ถ้าพ่อแม่อธิบายให้ลูกฟังว่า “เมื่อวันอาทิตย์เราไม่ได้กินข้าวเที่ยงในห้องตามปกติเพราะคุณตาคุณยายมาเยี่ยม แต่ตอนนี้เรากลับมาเข้าประจำที่เหมือนเดิมแล้ว” เด็กจะเข้าใจสถานการณ์และปฏิบัติตัวได้อย่างเหมาะสม

  1. อยู่กับความเป็นจริง

เคล็ดลับสอนลูกเป็นเด็กดี

เคล็ ดลับสอนลูกเป็นเด็กดี

อย่าคาดหวังในตัวลูกสูงเกินไป อยู่ ๆ ลูกอาจใส่ถุงเท้ารองเท้าเองได้ แต่อีกวันกลับใส่เองไม่เป็นซะแล้ว เดี๋ยวทำได้เดี๋ยวทำไม่ได้เป็นเรื่องปกติค่ะ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก

เราไม่สามารถควบคุมให้ลูกทำทุกอย่างได้ดังใจหวัง พัฒนาการลูกเราอาจเร็วบ้าง ช้าบ้าง ก็ค่อย ๆ ฝึกกันไปค่ะ

และจำไว้นะคะ ถึงลูกจะเริ่มทำอะไรด้วยตัวเองเป็นแล้ว แต่เขายังต้องการพ่อแม่อยู่เสมอนะคะ เด็กที่เดินได้แล้วบางครั้งก็ยังชอบให้พ่อแม่อุ้มเหมือนเดิมค่ะ

  1. อย่าใช้อดีตของคุณเป็นเกณฑ์ตัดสินลูก

ลูกเราไม่จำเป็นต้องถอดแบบมาจากเราเป๊ะ ๆ ถ้าเขามีพฤติกรรมหรือนิสัยบางอย่างไม่เหมือนคุณก็ไม่เป็นไรค่ะ

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023

คุณแม่คนหนึ่งเคยมีปัญหาเข้ากับเพื่อนไม่ได้ตอนเด็ก ๆ จึงกังวลเป็นพิเศษเรื่องที่ลูกชายวัย 2 ขวบครึ่งของเธอไม่ค่อยเข้าไปเล่นกับเด็กคนอื่น อคติที่บังตาทำให้เธอคิดเอาเองว่าลูกเธอกำลังกลัวว่าไม่มีใครชอบเขา

แต่จริง ๆ แล้ว ลูกคุณไม่ใช่ตัวคุณ เพราะฉะนั้นอย่าตัดสินลูกจากประสบการณ์เดิมของตัวคุณค่ะ

 

คุณพ่อคุณแม่คนไหนมีเทคนิคการเลี้ยงลูกดี ๆ มาแชร์ให้ฟังที่ช่องแสดงความคิดเห็นข้างล่างนี้ได้นะคะ

ที่มา : lovedbyparents.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

แบบอย่างที่ดีสอนลูกให้รู้จักเคารพซึ่งกันและกัน

สอนลูกให้เป็นเด็กใจบุญ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

ขวัญชนก ธนาภิกรกุล

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • เคล็ดลับสอนลูกเป็นเด็กดี แฮปปี้กันทั้งบ้าน
แชร์ :
  • ชีวิตที่มีลูก เข้าแล้วออกไม่ได้ : บริหารเวลายังไง ให้ชีวิตแม่มีความสุข

    ชีวิตที่มีลูก เข้าแล้วออกไม่ได้ : บริหารเวลายังไง ให้ชีวิตแม่มีความสุข

  • อาถรรพ์ 7 ปี ทำไมคู่รักมักเลิกกัน: อาถรรพ์ ความเชื่อ หรือแค่การเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา

    อาถรรพ์ 7 ปี ทำไมคู่รักมักเลิกกัน: อาถรรพ์ ความเชื่อ หรือแค่การเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา

  • MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

    MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

  • ชีวิตที่มีลูก เข้าแล้วออกไม่ได้ : บริหารเวลายังไง ให้ชีวิตแม่มีความสุข

    ชีวิตที่มีลูก เข้าแล้วออกไม่ได้ : บริหารเวลายังไง ให้ชีวิตแม่มีความสุข

  • อาถรรพ์ 7 ปี ทำไมคู่รักมักเลิกกัน: อาถรรพ์ ความเชื่อ หรือแค่การเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา

    อาถรรพ์ 7 ปี ทำไมคู่รักมักเลิกกัน: อาถรรพ์ ความเชื่อ หรือแค่การเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา

  • MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

    MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว