X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

4 อาการผิดปกติของอวัยวะเพศหญิง ที่พบบ่อยในทารก

บทความ 3 นาที
4 อาการผิดปกติของอวัยวะเพศหญิง ที่พบบ่อยในทารก4 อาการผิดปกติของอวัยวะเพศหญิง ที่พบบ่อยในทารก

หลากปัญหาอาการผิดปกติของอวัยวะหญิงที่พบบ่อยในทารก ช่องคลอดไม่เปิด เยื่อพรหมจารียื่นออกจากช่องคลอด อวัยวะเพศบวมหลังคลอด ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ควรทำอย่างไร ไขข้อข้องใจที่นี่

อาการผิดปกติของอวัยวะเพศหญิง ช่องคลอดไม่เปิด เยื่อพรหมจารียื่นออกจากช่องคลอด อวัยวะเพศบวมหลังคลอด จิมิโผล่ ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ หากลูกสาวมีอาการเหล่านี้ควรทำอย่างไร ไขข้อข้องใจที่นี่

1. ช่องคลอดไม่เปิดในเด็ก (Labial adhesions)

นายแพทย์ นพพร ศรีทิพโพธิ์ กุมารศัลยแพทย์ ให้ความเห็นว่า ช่องคลอดไม่เปิด เป็นความผิดปกติที่พบบ่อยในเด็กเพศหญิงอายุ 3 เดือน – 6 ปี ที่มีเยื่อพังผืดยึดติดระหว่างแคมนอกสองด้าน ทำให้ช่องคลอดปิด หรือ ไม่มีช่องคลอด ส่วนมากมักไม่มีอาการใดๆ ผู้ปกครองตรวจพบโดยบังเอิญขณะทำความสะอาดร่างกาย

ในรายที่มีการติดกันโดยตลอดบดบังรูเปิดท่อปัสสาวะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะซ้ำซาก รวมทั้งการอักเสบของเนื้อเยื่อปากช่องคลอดและช่องคลอดได้

ทำอย่างไรเมื่อ ช่องคลอดไม่เปิด

นายแพทย์ สนทิศ สุทธิจำรูญ สูตินรีแพทย์ อธิบายว่า ในรายที่แคมติดกันแต่ยังเห็นรูเปิดท่อปัสสาวะ ไม่ขัดขวางการไหลของปัสสาวะ ไม่มีช่องคลอดอักเสบ ก็ไม่จำเป็นต้องรักษา เนื่องจากแคมที่ติดกันจะแยกออกได้เองเมื่ออายุย่างเข้าวัยรุ่นสาวซึ่งมีการสร้างเอสโตรเจนขึ้น ไม่จำเป็นต้องแยกด้วยมือหรือตัดส่วนที่ติดกันเพราะทำให้เจ็บ เกิดแผลได้และกลับเป็นซ้ำได้ง่าย

คุณหมออาจให้ยา 0.1% dienestrol cream หรือทา conjugated estrogen cream มาทาทุกวันก่อนนอน แคมที่ติดกันจะแยกออกภายใน 14 วัน การรักษาแบบนี้พบว่าได้ผลดี นอกจากรายที่มีการอักเสบของปากช่องคลอดอาจทำให้เกิดแคมติดกันซ้ำในภายหลังได้อีก

2. เยื่อพรหมจารียื่นออกจากช่องคลอด (Hymenal tag)

เยื่อพรหมจารีในทารกแรกเกิดอาจบวมเนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนส่งผ่านจากแม่ ทำให้ติ่งเนื้อเยื่อสีชมพูเล็กๆ นี้ยื่นออกมาจากผนังช่องคลอด  โดยเกิดขึ้นประมาณร้อยละ 10 ของทารกแรกเกิดเพศหญิง

ทำอย่างไรเมื่อ เยื่อพรหมจารียื่นออกจากช่องคลอด

ถือว่าเป็นเรื่องปกติ ไม่เป็นอันตราย และจะหายไปเองประมาณ 2-4 สัปดาห์ บางครั้งก็อาจใช้เวลานานกว่านี้ คุณแม่อาจไม่สบายใจ แต่ขอให้อดทน ไม่มีความจำเป็นที่ต้องรักษา

อาการผิดปกติของอวัยวะเพศหญิง

อาการผิดปกติของอวัยวะเพศหญิง

3. อวัยวะเพศบวมหลังคลอด (Swollen genitals after birth)

เป็นเรื่องธรรมดามากสำหรับอวัยวะเพศของทารกแรกเกิดทั้งชายและหญิงที่จะบวมและแดงหลังการคลอด เนื่องจากการรวมกันของสิ่งต่าง ๆ รวมทั้ง บาดแผลที่เกิดจากการคลอด และฮอร์โมนที่ส่งผ่านจากแม่สู่ลูก

ทารกแรกเกิดยังได้รับของเหลวจำนวนมาก ซึ่งเป็นสาเหตุของการบวมในบางจุด เช่น รอบอวัยวะเพศและใบหน้าโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทารกเพศหญิงบางครั้งอาจมีตกขาวหรือเลือดออกทางช่องคลอดซึ่งมักจะหายไปในเวลาเพียงไม่กี่วัน

ทำอย่างไรเมื่อ ลูกน้อยอวัยวะเพศบวมหลังคลอด

ไม่จำเป็นต้องทำอะไร อวัยวะเพศบวมเป็นเรื่องปกติในทารกแรกเกิด เด็กแรกเกิดทั้งหมดจะได้รับการตรวจจากแพทย์อย่างละเอียดหลังคลอด รวมถึงการตรวจประเมินความผิดปกติบริเวณอวัยวะเพศด้วย

4. ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ Urinary tract infection (UTI)

การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ หมายถึงการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ ไต หรือท่อปัสสาวะ เป็นเรื่องธรรมดามากในทารกทั้งหญิงและชาย รวมถึงเด็กเล็กที่ยังสวมใส่ผ้าอ้อม

โดยส่วนใหญ่แล้วแบคทีเรียจากลำไส้หรืออุจจาระจะเข้าสู่ระบบทางเดินปัสสาวะและทำให้เกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ซึ่งทำให้ลูกน้อยรู้สึกเจ็บปวดขณะปัสสาวะ และมักจะเป็นไข้ไปพร้อม ๆ กัน แต่บางครั้งการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะก็ไม่มีอาการใด ๆ ที่เห็นได้ชัด

ทำอย่างไรเมื่อ ลูกน้อยติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ

การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะสามารถรักษาได้โดยยาปฏิชีวนะ หากลูกน้อยมีการติดเชื้อซ้ำอีก อาจต้องทำการอัลตร้าซาวนด์ไต หรือกระเพาะปัสสาวะ หรือบางกรณีคุณหมออาจจำเป็นต้องตรวจสอบเพิ่มเติมโดยการฉีดสีเข้ากระเพาะปัสสาวะผ่านทางสายสวน

หากคุณแม่สังเกตเห็นอาการผิดปกติของจิ๊มิลูกน้อย ควรปรึกษาคุณหมอ เพื่อความมั่นใจ และรับคำแนะนำในการดูแลรักษาอย่างถูกวิธีขึ้นอยู่กับอาการของเด็กด้วย

ที่มา www.kidspot.com.au, https://ped-surg.blogspot.com/  www.healthcarethai.com

บทความที่น่าสนใจอื่น ๆ

วิธีทำความสะอาดอวัยวะเพศหญิง (จิ๊มิลูกสาว)

ขั้นตอนการอาบน้ำทารก ที่คุณแม่ทำเองได้ไม่ยาก

จุ๊ดจู๋ลูกชาย ทำความสะอาดอย่างไร ให้ถูกวิธี

บทความจากพันธมิตร
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์
เคล็ดลับกระตุ้นพัฒนาการลูก จากการอาบน้ำด้วยฝักบัวทารกและเด็กเล็ก PUREDOT ZERO WATER
เคล็ดลับกระตุ้นพัฒนาการลูก จากการอาบน้ำด้วยฝักบัวทารกและเด็กเล็ก PUREDOT ZERO WATER

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • 4 อาการผิดปกติของอวัยวะเพศหญิง ที่พบบ่อยในทารก
แชร์ :
  • อาการต่างๆ ของจุ๊ดจู๋เบบี๋ที่พบบ่อย

    อาการต่างๆ ของจุ๊ดจู๋เบบี๋ที่พบบ่อย

  • อาการผิดปกติของทารก ที่แม่ชอบคิดว่าไม่เป็นไร กว่าจะพาลูกมาหาหมอก็เกือบสายเกินแก้

    อาการผิดปกติของทารก ที่แม่ชอบคิดว่าไม่เป็นไร กว่าจะพาลูกมาหาหมอก็เกือบสายเกินแก้

  • สวยตามรอย พีพี กฤษฏ์ กับ Beauty Items ที่เป็นพรีเซนเตอร์

    สวยตามรอย พีพี กฤษฏ์ กับ Beauty Items ที่เป็นพรีเซนเตอร์

app info
get app banner
  • อาการต่างๆ ของจุ๊ดจู๋เบบี๋ที่พบบ่อย

    อาการต่างๆ ของจุ๊ดจู๋เบบี๋ที่พบบ่อย

  • อาการผิดปกติของทารก ที่แม่ชอบคิดว่าไม่เป็นไร กว่าจะพาลูกมาหาหมอก็เกือบสายเกินแก้

    อาการผิดปกติของทารก ที่แม่ชอบคิดว่าไม่เป็นไร กว่าจะพาลูกมาหาหมอก็เกือบสายเกินแก้

  • สวยตามรอย พีพี กฤษฏ์ กับ Beauty Items ที่เป็นพรีเซนเตอร์

    สวยตามรอย พีพี กฤษฏ์ กับ Beauty Items ที่เป็นพรีเซนเตอร์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ