X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

หลังอายุ 35 ก็มีลูกได้ แต่อย่ารอจนสายเกินไป

บทความ 3 นาที
หลังอายุ 35 ก็มีลูกได้ แต่อย่ารอจนสายเกินไปหลังอายุ 35 ก็มีลูกได้ แต่อย่ารอจนสายเกินไป

อย่าเพิ่งหมดหวังเมื่ออายุมาถึงจุดกึ่งกลางระหว่างสามย่านกับหลักสี่ แต่เวลาคุณมีจำกัด จำไว้นะคะ มีลูกช้าต้องรีบปรึกษาหมอ...

คำแนะนำที่ว่า “พยายามเองก่อน 1 ปี ถ้าไม่ได้จริง ๆ แล้วค่อยไปปรึกษาหมอ” อาจจะใช่ แต่ใช้ไม่ได้กับผู้หญิงอายุเกิน 35 ปี

ใคร ๆ ก็อยากให้ลูกมาเกิดเองตามธรรมชาติ บางคู่รอนานถึง 3 ปีค่อยยอมมาหาหมอ จริง ๆ แล้ว ถ้ารีบมาปรึกษาคุณหมอด้านมีบุตรยากตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจตรวจพบสาเหตุเร็วขึ้น

ผู้หญิงหลายคนมีภาวะ PCOS (polycystic ovarian syndrome – รังไข่มีถุงน้ำหลายใบ) ซึ่งเป็นสาเหตุมีบุตรยากที่พบบ่อยที่สุด อาจมีปัญหาที่รังไข่ ท่อนำไข่ตัน เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือไม่แน่ว่าปัญหาอาจอยู่ที่คุณสามีก็ได้ ประมาณ 1 ใน 3 ของคู่ที่มีบุตรยากเกิดจากน้ำเชื้อผู้ชายน้อยหรือวิ่งช้า (คลิกอ่าน เคล็ดลับช่วยสเปิร์มแข็งแรง)

ถ้าคุณอายุเกิน 35 ปีและคิดว่าเข้าข่ายมีลูกยาก รอดูแค่ 6 เดือนก็รีบไปปรึกษาคุณหมอได้แล้ว!

รู้ปุ๊บ วางแผนปั๊บ โอกาสปฏิสนธิก็จะมีมากขึ้น แต่ถ้ายิ่งรอนาน ไข่ยิ่งฝ่อ ความหวังยิ่งเลือนรางนะคะ

มีลูกช้า

ถ้าตรวจแล้วไม่พบความผิดปกติ คุณหมออาจปล่อยให้พวกคุณพยายามกันเองอีกสักตั้ง มีผู้หญิงจำนวนไม่น้อยที่ตั้งท้องตอนอายุ 30 กลาง ๆ ปลาย ๆ งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Fertility and Sterility เมื่อปี 2014 พบว่า ถ้ามีเพศสัมพันธ์ในช่วงไข่สมบูรณ์ที่สุดในแต่ละรอบเดือน ผู้หญิงอายุ 35-39 ปีมีโอกาสตั้งท้องภายใน 1 ปี สูงถึง 78% เลยทีเดียว แต่อย่าชะล่าใจไป เพราะถ้าอายุแตะเลข 40 เมื่อไร โอกาสจะตั้งท้องในช่วง 1 รอบเดือนเหลือเพียงครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับตอนอายุ 30 ปี

แม้จะมีผลการวิจัยของวารสาร Atlantic ที่ทำให้คนที่มีลูกช้าพอใจชื้นได้บ้าง แต่ข้อค้นพบที่ว่า “ความสมบูรณ์ของไข่จะลดฮวบลงหลังอายุ 30 ปีปลาย ๆ อย่างช้าอาจจะได้ถึงอายุ 40 ปี” นั่นคือกรณีคนที่เคยมีลูกมาก่อน ไม่ใช่ตั้งท้องครั้งแรก ผู้เชี่ยวชาญด้านมีบุตรยากส่วนใหญ่ยังพูดตรงกันว่า ความสมบูรณ์ของไข่จะค่อย ๆ ลดลงเมื่ออายุมากขึ้น และจะลดลงอย่างเห็นได้ชัดหลังอายุ 35 ปี

เพราะฉะนั้น ใครที่ยังอยากจะเป็นแม่คนหลังอายุ 35 ปีพึงสังวรไว้ วารีไม่คอยท่า วันเวลาไม่คอยใคร ครบ 6 เดือนเมื่อไร รีบไปปรึกษาคุณหมอได้แล้ว

theAsianparent ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนสมหวังค่ะ!

ที่มา: huffingtonpost.com

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง :

ปฏิบัติการหาช่วงเวลาตกไข่ สำหรับคนอยากมีลูก

การรักษาผู้มีบุตรยาก

บทความจากพันธมิตร
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้
คุณแม่ให้นมเตรียมตัวกลับไปทำงาน ต้องปั๊มนม สต็อกนมอย่างไร ให้ลูกมีนมกินอย่างเพียงพอ
คุณแม่ให้นมเตรียมตัวกลับไปทำงาน ต้องปั๊มนม สต็อกนมอย่างไร ให้ลูกมีนมกินอย่างเพียงพอ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

ขวัญชนก ธนาภิกรกุล

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • หลังอายุ 35 ก็มีลูกได้ แต่อย่ารอจนสายเกินไป
แชร์ :
  • คู่มือแม่ท้อง 35 อัพ

    คู่มือแม่ท้อง 35 อัพ

  • ตั้งครรภ์ 35 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

    ตั้งครรภ์ 35 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

  • ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

    ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

  • ฝีดาษลิง เสี่ยงเสียชีวิตสูงในกลุ่มเด็กเล็ก ป้องกันได้อย่างไร ?

    ฝีดาษลิง เสี่ยงเสียชีวิตสูงในกลุ่มเด็กเล็ก ป้องกันได้อย่างไร ?

app info
get app banner
  • คู่มือแม่ท้อง 35 อัพ

    คู่มือแม่ท้อง 35 อัพ

  • ตั้งครรภ์ 35 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

    ตั้งครรภ์ 35 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

  • ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

    ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

  • ฝีดาษลิง เสี่ยงเสียชีวิตสูงในกลุ่มเด็กเล็ก ป้องกันได้อย่างไร ?

    ฝีดาษลิง เสี่ยงเสียชีวิตสูงในกลุ่มเด็กเล็ก ป้องกันได้อย่างไร ?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ