X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

หลังคลอดคุณแม่ไม่ควรเคลื่อนไหวมาก จริงไหม 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 85

บทความ 5 นาที
หลังคลอดคุณแม่ไม่ควรเคลื่อนไหวมาก จริงไหม 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 85

หลังคลอดคุณแม่ไม่ควรเคลื่อนไหวมาก จริงไหม ?

คุณแม่ และคนรอบข้าง มักจะมีความเข้าใจว่า หลังคลอดคุณแม่ไม่ควรเคลื่อนไหวมาก ไม่ควรจะขยับตัวมาก ควรนอนนิ่ง ๆ บนที่นอน เพราะกลัวว่าจะสะเทือนถึงฝีเย็บ หรือ แผลผ่าคลอด ซึ่งในความเป็นจริงนั้น การนอนนิ่ง ๆ ไม่ยอมขยับเคลื่อนตัว เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง

ซึ่งโดยปกติ จะสังเกตได้ว่า หลังจากคลอดลูกแล้ว นางพยาบาลจะพยายามให้คุณแม่เคลื่อนไหว ให้ได้มากที่สุด เช่นการ เดินไปรอบ ๆ เดินไปเข้าห้องน้ำด้วยตัวเอง ไปฝึกดูแลลูก เนื่องจาก การเคลื่อนไหวร่างกายนั้น จะช่วยให้ร่างกายมีการขยับตัวของกล้ามเนื้อ ทำให้มีการเคลื่อนไหวของออกซิเจนในเลือด สามารถหมุนเวียนถ่ายเท ได้ดีกว่าการนอนนิ่ง ๆ ซึ่งจะส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงบริเวณแผลผ่าตัด หรือฝีเย็บ ทำให้การติดของแผลจะดียิ่งขึ้น

หลังคลอดคุณแม่ไม่ควรเคลื่อนไหวมากจริงไหม

แต่มีสิ่งที่ควรระวังอยู่ 2 อย่าง คือ

1. เนื่องจากคุณแม่เสียเลือดไปในขณะคลอดมากกว่าปกติ ฉะนั้นควรระวังอาการหน้ามืดเป็นลมในระยะหลังคลอดใหม่ ๆ

2. อย่าลืมว่ามดลูก เพิ่งผ่านการทำงานมาอย่างหนัก ดังนั้น การเคลื่อนไหวใด ๆ ก็ขอให้ไม่ให้กระทบกระเทือนกับมดลูก เช่น การยกของหนัก หิ้วน้ำเป็นถัง ๆ ฯลฯ แบบนี้ไม่ควรทำค่ะ นอกเหนือจากนี้แล้วไม่ว่าจะเป็น การออกกำลังกายตามที่หมอแนะนำ การเดินไปไหนมาไหน หรือขึ้นลงบันไดก็ย่อมทำได้ และถ้าครบเดือนไปแล้วก็ขับรถไปทำงานได้ตามปกติ

มาทำความรู้จักการบริหารร่างกายหลังคลอดกันเถอะ

พอได้ยินคำว่าบริหารร่างกาย อาจจะคิดว่าเป็นการออกกำลังกายหนัก ๆ ก็ได้ แต่การบริหารร่างกายหลังคลอดนั้นเป็นการออกกำลังกายเบา ๆ ที่เริ่มต้นจากการเคลื่อนไหวเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ขยับปลายเท้าในขณะที่นอน แล้วจึงค่อยเพิ่มระดับขึ้นไปเรื่อย ๆ

การบริหารร่างกายหลังคลอด คืออะไร?

หลังคลอดเป็นช่วงเวลาที่ปล่อยให้ร่างกายได้พักผ่อน ควรจะพักผ่อนอยู่นิ่ง ๆ เท่าที่จะทำได้จึงจะดีจริง แต่หากไม่เคลื่อนไหวตัวเลย ก็อาจจะเป็นสาเหตุทำให้ร่างกายฟื้นตัวช้าก็ได้ การบริหารร่างกายหลังคลอดนั้น เป็นการบริหารร่างกาย ที่สามารถเริ่มทำได้ทันทีหลังคลอด ถึงจะเป็นการออกกำลังกายเบา ๆ ที่ทำได้แม้ในขณะนอนห่มผ้าอยู่บนเตียง แต่ก็สามารถคาดหวังประสิทธิผลต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นได้

การบริหารร่างกายดังกล่าว มีจุดประสงค์ และวิธีการที่ต่างไปจากการบริหารร่างกาย เพื่อทำให้กลับไปมีทรวดทรงดีดังเดิม การออกกำลังกายเพื่อทำให้ร่างกายกลับไปมีทรวดทรงดังเดิมนั้นควรทำหลังจากร่างกายฟื้นตัวแล้ว

หลังคลอดคุณแม่ไม่ควรเคลื่อนไหวมากจริงไหม

ทำให้เกิดผลดีอย่างไร?

การบริหารร่างกายหลังคลอดทำให้เกิดประสิทธิผลต่าง ๆ ต่อการฟื้นตัวของร่างกายหลังคลอด

มาดูกันอย่างเป็นรูปธรรมเลยดีกว่าว่าประสิทธิผลดังกล่าวมีอะไรบ้าง

  1. ช่วยขับน้ำคาวปลา
  2. ช่วยกระชับกล้ามเนื้อที่หย่อนยานเนื่องจากการตั้งครรภ์และคลอดลูก
  3. ช่วยทำให้หายจากความเหนื่อยล้าที่เกิดจากการคลอดได้เร็วขึ้น
  4. มีประสิทธิผลช่วยทำให้น้ำนมหลั่งได้ดีขึ้น
  5. ป้องกันอาการท้องผูก
  6. กระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกและกระชับกระดูกเชิงกราน
  7. การออกกำลังจะช่วยเปลี่ยนบรรยากาศช่วยทำให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า

ควรเริ่มทำเมื่อไรดี?

หลังคลอดหากไม่มีปัญหาอะไรเป็นพิเศษ ก็สามารถเริ่มทำได้เลยตั้งแต่วันที่คลอด แต่ก็ขึ้นอยู่กับสภาพการคลอด และลักษณะร่างกายของคุณแม่ด้วย ทั้งนี้ควรทำโดยปรึกษากับเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล หรือสถานอนามัยที่ทำคลอด

หลังคลอดคุณแม่ไม่ควรเคลื่อนไหวมากจริงไหม

ข้อควรระวังเวลาที่บริหารร่างกายหลังคลอด

การบริหารร่างกายหลังคลอด ก่อให้เกิดประสิทธิผลหลายอย่าง หากเป็นไปได้อยากขอให้นำไปปฏิบัติกัน หากแต่ไม่ได้เป็นสิ่งที่ต้องทำแน่นอน ดังนั้นหากสุขภาพร่างกายไม่ดี หรือเหนื่อยล้าก็ควรจะหยุด และไม่ควรฝืนทำ อีกทั้งควรหลีกเลี่ยงการปฏิบัติ หลังกินอาหารเสร็จใหม่ ๆ หรือเวลาที่ง่วงนอน และไม่จำเป็นต้องฝืนเพิ่มจำนวนครั้งที่ทำด้วย

การบริหารร่างกาย ที่ไม่ว่าใครก็สามารถทำได้ทุกวันก็คือ การเดินด้วยท่าทางที่ถูกต้อง หลังคลอดต้องคอยดูแลลูก คุณแม่มักจะเดินหลังงอกัน ซึ่งจะทำให้หน้าท้องที่หย่อนยาน เคยชินกับท่าทางที่สบาย ควรจะเริ่มจากการเดินโดยยืดหลังให้ตรง

หากเป็นกังวลใจแม้จะเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ตาม ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ที่โรงพยาบาลหรือสถานอนามัยที่ทำคลอดให้

การนั่งและยืนให้ถูกท่าสำหรับคุณแม่หลังคลอด

ผู้หญิงเวลานั่งบริเวณฝีเย็บ จะโดนน้ำหนักตัวทับลงกับพื้น จึงทำให้คุณแม่หลังคลอดใหม่ ๆ นั่งตรงไม่ค่อยได้ หรือคนที่ชอบนั่งขัดสมาธิ ซึ่งการนั่งท่านี้ขาจะฉีกแยกจากกัน จึงทำให้แผลที่ตึงอยู่แล้วก็แทบจะปริแยกออกจากกัน แต่ท่านั่งที่ดีที่สุดก็คือ “ท่านั่งพับเพียบ” เพราะการนั่งท่านี้ จะไม่ทำให้เจ็บแผลมาก แต่ถ้ายังนั่งไม่ถนัดก็ให้คุณแม่ หาเบาะนุ่ม ๆ หรือหมอนรองนั่งมารองก็ได้ เพราะจะช่วยให้คุณแม่นั่งได้ง่ายขึ้น และมีอาการเจ็บปวดไม่มาก

ส่วนเวลาจะลุกจะนั่ง ก็ต้องระวังด้วยนะคะ อย่าก้าวขามากเกินไป หรือลุกนั่งเร็วเกินไป เพราะจะทำให้แผลฝีเย็บที่ยังไม่หายดี ปริออกจนต้องเย็บใหม่ได้ ส่วนท่ายืนนั้น จะตรงข้ามกับท่าเดิน คุณแม่ไม่ควรเดินหนีบ ๆ เพราะจะทำให้แผลเกิดเสียดสีกัน แต่ให้เดินแบบแยกขาออกจากกันเล็กน้อย เดินแยกนิดหน่อยแต่พองาม โดยให้เดินอย่างนี้ประมาณ 7 วันแล้วแผลก็จะค่อย ๆ หายเอง หลังจากนั้นก็สามารถกลับมาเดินในท่าปกติได้

คุณรู้หรือไม่ : สำหรับแผลผ่าคลอดนั้น การเดินช้า ๆ เบา ๆ จะช่วยให้ออกซิเจนในเลือดเข้าไปหล่อเลี้ยงบริเวณบาดแผลได้ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งจะไม่ทำให้เกิดผังผืดใต้แผลผ่าคลอด จึงทำให้ไม่เกิดเป็น แผลคีรอยด์ หรือเกิดการนูนของแผลได้อีกด้วย

 

ที่มา : โรงพยาบาลขอนแก่น , mamypoko

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ออกกำลังกายช่วงไตรมาสที่สาม ไตรมาสสุดท้าย ออกกำลังกายแบบใดเหมาะที่สุด

ออกกำลังกายหลังคลอดได้เมื่อไหร่ แม่ผ่าคลอดออกกำลังกายแบบไหนให้พุงยุบเร็ว

บทความจากพันธมิตร
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

ammy

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • หลังคลอดคุณแม่ไม่ควรเคลื่อนไหวมาก จริงไหม 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 85
แชร์ :
  • ของแสลงคืออะไร หลังคลอดห้ามกินของแสลง จริงไหม 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 83

    ของแสลงคืออะไร หลังคลอดห้ามกินของแสลง จริงไหม 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 83

  • สุขภาวะกายและใจ ของแม่หลังคลอด 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 65

    สุขภาวะกายและใจ ของแม่หลังคลอด 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 65

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • การกินยาคุม กับ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เรื่องสำคัญที่ควรต้องรู้

    การกินยาคุม กับ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เรื่องสำคัญที่ควรต้องรู้

  • ของแสลงคืออะไร หลังคลอดห้ามกินของแสลง จริงไหม 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 83

    ของแสลงคืออะไร หลังคลอดห้ามกินของแสลง จริงไหม 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 83

  • สุขภาวะกายและใจ ของแม่หลังคลอด 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 65

    สุขภาวะกายและใจ ของแม่หลังคลอด 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 65

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • การกินยาคุม กับ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เรื่องสำคัญที่ควรต้องรู้

    การกินยาคุม กับ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เรื่องสำคัญที่ควรต้องรู้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ