-
อาหารเป็นพิษในตู้เย็น
หากคุณและลูกเคยมีอาการท้องเสียก่อนหน้านี้ คุณอาจคิดว่าเป็นเพราะอาหารที่คุณซื้อมาจากร้าน แต่คุณมั่นใจแล้วหรือว่า อาหารในตู้เย็นของคุณปลอดภัยต่อสุขภาพ
- อย่าแช่กระป๋องหรือโลหะในตู้เย็น
หากคุณเปิดอาหารกระป๋อง หรือนมข้นหวาน แล้วทานไม่หมด ควรถ่ายใส่ภาชนะอื่น ไม่ควรแช่กระป๋องในตู้เย็น เนื่องจากโลหะสามารถปนเปื้อนลงสู่อาหารได้
ควรทำความสะอาดตู้เย็นทุกสัปดาห์ หรือทุกสองสัปดาห์ และเช็ดคราบหกทันทีที่เห็น เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของสิ่งแปลกปลอม ระหว่างอาหารที่ปรุงสุกแล้ว กับอาหารสด
ตรวจสอบวันหมดอายุของอาหารก่อนบริโภคเสมอ โดยเฉพาะเมื่อคุณจำได้ว่าอาหารนั้นอยู่ในตู้เย็นเป็นเวลานานแล้ว และหากสงสัยว่ามันจะหมดอายุหรือยัง ควรเลือกที่จะทิ้งมันไปดีกว่า
อันตรายอย่างไร : อาหารเป็นพิษ
-
บุหรี่มือสองมือสาม
ครอบครัวที่อาศัยอยู่ในเมื่ออาจหลีกเลี่ยงที่จะสัมผัสควันรถ ควันจากโรงงานอุตสาหกรรม หรือมลพิษทางอากาศอื่นๆ แต่หากคุณหรือมีคนในครอบครัวสูบบุหรี่แล้วล่ะก็ ย่อมส่งผลร้ายต่อลูกน้อยของคุณ
ในควันบุหรี่มีสารเคมีกว่า 4,000 ชนิด โดยที่ 400 ชนิดนั้นเป็นสารพิษ และมีหลักฐานว่าส่งผลกระทบต่อสุขภาพของที่สัมผัสสูดดมควันบุหรี่ โดยเฉพาะในเด็กและทารก
แม้ว่าคุณพยายามที่จะเลี่ยงไม่ให้ลูกๆ สูดดมควันจากบุหรี่ที่คุณสูบ แต่ว่าบุหรี่มือสามก็อันตรายไม่แพ้กัน โดยลูกๆ ก็ยังสามารถรับสารพิษที่ตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อมหลังจากที่บุหรี่ของคุณดับไปแล้วได้เช่นกัน
อนุภาคที่เป็นอันตรายเหล่านี้จะติดอยู่ตามเส้นผม ผิวหนัง เสื้อผ้า และในบ้านของคุณ บนพรม ผ้าม่าน พื้น และหน้าต่าง ซึ่งลูกของคุณอาจสัมผัสได้
อันตรายอย่างไร : ทำให้เป็นหวัด ระคายเคืองตาและจมูก ลดการเจริญเติบโตและการทำหน้าที่ของปอด ไอ หายใจมีเสียงวี้ด โรคหอบหือ ติดเชื้อที่หูและอก ปอดบวม หลอดลมอักเสบ และภาวะขาดอาการหายใจในทารก (SIDS).
บทความแนะนำ “ควันบุหรี่” หนึ่งสาเหตุของการเป็นปอดบวม
ยังมี พฤติกรรมทำลายสุขภาพ ลูกเพิ่มเติม คลิกหน้าถัดไป
-
ผ้าเปียกในที่ร่ม
สำหรับครอบครัวที่อาศัยในอาคาร อพาร์ตเมนต์ หรือคอนโดมิเนียม อาจมีปัญหาพื้นที่ในการตากผ้า ทำให้ต้องเอามาแขวนไว้ในห้องนั่งเล่น หรือแม้แต่ห้องนอน
แต่จากการศึกษาพบว่า การนำผ้าเปียกมาตากไว้ในห้องที่มีการระบายอากาศไม่ดีหรือหน้าต่างปิดสามารถทำให้เกิดความชื้นมากเกินไป ซึ่งอาจเป็นการเพาะพันธุ์เชื้อราและไรฝุ่น
อันตรายอย่างไร : โรคหอบหืด ไข้ละอองฟาง และโรคภูมิแพ้อื่นๆ
4. ปล่อยให้ลูกสัมผัสรังสียูวี
สำนักควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ (CDC) ระบุว่า แค่ผิวมีรอยไหม้แดดรุนแรงไม่กี่แห่งก็เพียงพอที่จะเพิ่มความเสี่ยงเป็นมะเร็งผิวหนังในเด็กแล้ว ดังนั้นจึงเป็นเรื่องจำเป็น ที่พ่อแม่ควรป้องกันลูกจากอันตรายของรังสียูวีทุกครั้งที่ออกกลางแจ้ง
- หลีกเลี่ยงแสงแดดตอนเที่ยงวัน
การหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งตอนเที่ยง เพราะเป็นช่วงที่รังสียูวีรุนแรงและเป็นอันตรายมากที่สุด
หากจำเป็นต้องเข้าร่วมกิจกรรมกลางแจ้ง พยายามมองหาร่มเงาใต้ต้นไม้ หรือพยายามอยู่ในเต็นท์
ใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว และควรเลือกเสื้อผ้าสีเข้ม จะช่วยป้องกันยูวีได้ดีกว่าเสื้อผ้าสีอ่อน รวมถึงการใส่หมวก ควรเลือกที่สามารถป้องกันแดดได้ทั้งศีรษะ ใบหน้า หู และคอ
การใส่แว่นกันแดดไม่ใช่แค่แฟชั่น แต่แว่นกันแดดดีๆ สามารถปกป้องดวงตาของลูกน้อยจากอันตรายของรังสียูวีได้จริงๆ
เมื่อไรก็ตามที่ลูกขอออกไปเล่นข้างนอก ควรให้ลูกทาครียมกันแดดที่มี SPF15 เป็นอย่างน้อย และสามารถป้องกันได้ทั้ง UVA และ UVB โดยทาก่อนออกแดด 30 นาที
บทความแนะนำ 7 ความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับการใช้ครีมกันแดด
อันตรายอย่างไร : โรคมะเร็งผิวหนัง ต้อกระจก
ยังมี พฤติกรรมทำลายสุขภาพ ลูกเพิ่มเติม คลิกหน้าถัดไป
-
ปล่อยให้ลูกเข้าถึงเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม
นอกจากความปลอดภัยทางร่างกายของลูกแล้ว เราควรดูแลรักษาสุขภาพทางใจของลูกด้วย รวมถึงการระมัดระวังการรับสื่อออนไลน์ หรือทีวี
มีผลการศึกษาพบว่า สื่อที่ไม่เหมาะสมกับอายุ สามารถส่งผลกระทบต่อเด็กในระยะยาว ทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดความกลัวและความไม่ปลอดภัยให้แก่เด็กโดยไม่จำเป็นอีกด้วย
หากคุณเป็นกังวลเกี่ยวกับการรับสื่อของลูก คุณสามารถ
- คัดกรองรายการทีวี หรือหนังที่เหมาะสม ก่อนให้ลูกดูเสมอ
- อนุญาตให้ลูกดูทีวีหรือใช้อินเทอร์เน็ตในห้องที่คุณสามารถจับตาดูได้เท่านั้น
- เปิดโหมดป้องกันเด็กบนมือถือของคุณ
- สอนลูกให้รู้จักใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย
- ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว ของไวไฟที่บ้าน
อันตรายอย่างไร : เพิ่มพฤติกรรมก้าวร้าว ความรุนแรง ดื้อ ไม่เชื่อฟังผู้ใหญ่
ตอนนี้คุณก็ได้รู้แล้วว่า พฤติกรรมทำลายสุขภาพ ของคุณนั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพของลูกน้อยอย่างไร ยังไม่สายที่จะเปลี่ยนแปลงเพื่อสุขภาพที่ดีของลูกและทุกคนในครอบครัวค่ะ
ที่มา ph.theasianparent.com
บทความที่น่าสนใจอื่นๆ
6 เรื่องที่พ่อแม่คิดว่าถูก อาจทำร้ายลูกโดยไม่รู้ตัว
ระวัง! 9 ของใช้ในบ้าน ตัวการก่อมะเร็ง
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!