X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

4 ข้อควรรู้เมื่อสงสัยว่าแพ้อาหาร และวิธีทดสอบที่ถูกต้อง

บทความ 3 นาที
4 ข้อควรรู้เมื่อสงสัยว่าแพ้อาหาร และวิธีทดสอบที่ถูกต้อง

จากข่าวเรื่องคุณครูสั่งเด็กกราบขอขมาหน้าเสาธงเหตุเกิดเพราะเข้าใจผิดว่าแพ้เต้าหู้ไข่ สาเหตุส่วนหนึ่งอาจมาจากการขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องการแพ้อาหาร หมอขออธิบายความรู้เกี่ยวกับการแพ้อาหาร สรุปเป็นหัวข้อ ในแบบของหมอภูมิแพ้ ดังนี้ค่ะ

4 ข้อควรรู้เมื่อสงสัยว่า แพ้อาหาร และ วิธีทดสอบการแพ้อาหาร ที่ถูกต้อง

1. “การแพ้อาหาร”แตกต่างโดยสิ้นเชิงกับ “อาหารเป็นพิษ”

แพ้อาหาร เป็นปฏิกริยาของร่างกายเมื่อได้รับประทานอาหารที่แพ้ ผ่านกลไกภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิดอาการในระบบต่างๆ ของร่างกาย ได้แก่

  • ระบบผิวหนัง เช่น ผื่นลมพิษ หรือผื่นแดงทั่วตัว ริมฝีปากบวม
  • ระบบทางเดินหายใจ เช่น แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หอบเหนื่อย
  • ระบบทางเดินอาหาร เช่น ถ่ายเป็นมูก เลือด ท้องเสีย ปวดมวนท้อง
  • ระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น ความดันโลหิตต่ำ

โดยอาการอาจเกิดขึ้นเพียงระบบเดียวหรือหลายระบบ และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

อาหารเป็นพิษ เป็นโรคที่เกิดจากการกินอาหาร หรือดื่มน้ำ ที่มีการปนเปื้อนของเชื้อโรค เช่น แบคทีเรีย ไวรัส พยาธิบางชนิด หรือพิษของเชื้อโรค หรือ สารพิษอื่นๆ ที่ไม่ใช่เชื้อโรค เช่น โลหะหนัก

ข้อแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงของ 2 โรคนี้คือ อาหารเป็นพิษเป็นเรื่องที่เกิดจากการปนเปื้อนของอาหาร จึงมักพบผู้ป่วยจำนวนมากมีอาการหลังจากทานอาหารร่วมกัน มากกว่าเกิดขึ้นกับคนใดคนหนึ่ง ยกเว้น มีคนทานอาหารนั้นเพียงคนเดียว ส่วนแพ้อาหารเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเฉพาะบุคคล เกิดขึ้นกับเพียงคนใดคนหนึ่งที่ทานอาหารนั้นจากปฏิกริยาของร่างกายผู้ป่วยเอง และไม่ได้เป็นความผิดของผู้ใดนะคะ

2. การแพ้อาหาร อาจเกิดขึ้นเมื่อไรกับใครก็ได้ โดยจำเป็นไม่ต้องมีประวัติเคยแพ้มาก่อน

การแพ้อาหาร เป็นสิ่งที่คาดเดาล่วงหน้าไม่ได้ว่าจะเกิดในการทานอาหารครั้งใด หากผู้ป่วยไม่ได้มีประวัติแพ้อาหารนั้นๆ มาก่อน อาจจะเป็นเพราะว่า ไม่เคยรับประทานอาหารนั้นๆ โดยตรงในปริมาณที่มากพอจะเกิดอาการมาก่อน หรือเคยทานอาหารนั้นแต่ไม่ได้มีอาการแพ้อย่างชัดเจนก็เป็นได้ค่ะ

ดังนั้นการพูดว่า หากไม่เคยมีประวัติแพ้อาหารมาก่อนในอดีตเลย ครั้งนี้ก็ไม่น่าจะมีอาการผิดปกติหรือเจ็บป่วยเพราะแพ้อาหาร ก็ไม่ถูกต้องค่ะ

3. สาเหตุของอาการผื่นแพ้มีได้หลายอย่าง อาหารเป็นเพียงสาเหตุหนึ่งที่พบได้บ่อย

อาการผื่นแพ้ ทั้งแบบ บวมแดงนูน เป็นลมพิษ หรือ เป็นผื่นคันเม็ดเล็กๆ ทั่วตัว เกิดได้จากหลายสาเหตุ ที่พบได้บ่อย เช่น อาหาร ยา แมลงสัตว์กัดต่อย สารก่อภูมิแพ้ในอากาศ เช่น ละอองเกสรต่างๆ หรือแม้แต่การติดเชื้อโรคบางชนิด หรือในผู้ป่วยบางรายอาจเกิดจากปฏิกริยาในร่างกายตนเอง โดยไม่ได้มีปัจจัยกระตุ้นจากภายนอกเลยก็ได้

การจะทราบว่าอาการแพ้เกิดจากสาเหตุใดนั้น ต้องปรึกษาคุณหมอเพื่อจะได้ทำการสอบถามประวัติอาการต่างๆ อย่างละเอียด ชนิดของอาหาร ปริมาณ อาการที่เกิดขึ้น และตรวจร่างกายเพื่อหาอาการแสดงของระบบต่างๆ และทำการทดสอบภูมิแพ้ เช่น การทดสอบทางผิวหนัง (skin test) หรือการตรวจเลือดเพื่อช่วยในการวินิจฉัยชนิดของอาหารที่เป็นสาเหตุของการแพ้ หรือหากประวัติอาการชัดเจนมากแต่ทดสอบภูมิแพ้แล้วได้ผลเป็นลบ คุณหมออาจจะนัดหมายให้เตรียมตัวมาทำทดสอบปฏิกิริยาการแพ้อาหารโดยการทานอาหารนั้นทีละน้อย เพื่อช่วยยืนยันและวินิจฉัยว่า ผู้ป่วยมีการแพ้อาหารที่ต้องสงสัยจริงหรือไม่ ซึ่งเป็นการทดสอบขั้นสุดท้าย พิจารณาทำในผู้ป่วยบางรายเท่านั้น เพราะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดปฏิกริยารุนแรงจากการทดสอบได้นะคะ

4. การทดสอบเพื่อยืนยันการแพ้ ต้องกระทำภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

การทดสอบการแพ้อาหารด้วยการลองทานอาหารนั้นทีละน้อย (oral challenge test) ต้องกระทำภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ด้วยวิธีทดสอบการแพ้อาหารที่มีมาตรฐาน และทำทดสอบในสถานพยาบาลที่มียาและเครื่องมือช่วยชีวิตเตรียมพร้อม เพื่อจะได้แก้ไขอาการและรักษาผู้ป่วยได้ทันท่วงทีหากมีอาการแพ้เกิดขึ้น โดยวิธีทดสอบการแพ้อาหารจะเริ่มให้ทานอาหารที่สงสัยในปริมาณที่น้อยมาก  และค่อยๆ เพิ่มปริมาณอีกเท่าตัวทุก 15-30 นาที จนกระทั่งถึงปริมาณอาหารมาตรฐานสากลที่ไม่แพ้ ระหว่างการทดสอบ จะมีการบันทึกสัญญาณชีพเป็นระยะๆ  รวมถึงสังเกตอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยทีมแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ    ในกรณีที่มีการแพ้รุนแรงเกิดขึ้น ก็จะได้รับการฉีดยารักษาเพื่อระงับการแพ้ทันที

เพื่อความปลอดภัยของผู้รับการทดสอบ จึงไม่ควรทดลองทานอาหารที่สงสัยว่าแพ้ โดยไม่ได้อยู่ภายใต้การดูแลของคุณหมอค่ะ

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

วิธีสังเกตเมื่อลูกมีอาการแพ้อาหารอย่างรุนแรง

5 ข้อควรรู้ ก่อนพาลูกไปทำ Skin Test

theAsianparent Community

บทความจากพันธมิตร
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • 4 ข้อควรรู้เมื่อสงสัยว่าแพ้อาหาร และวิธีทดสอบที่ถูกต้อง
แชร์ :
  • เกร็ดความรู้จากคุณหมอ ที่คุณแม่ควรทราบ เกี่ยวกับโรคภูมิแพ้อาหารของลูกน้อย

    เกร็ดความรู้จากคุณหมอ ที่คุณแม่ควรทราบ เกี่ยวกับโรคภูมิแพ้อาหารของลูกน้อย

  • 8 ภูมิแพ้สุดแปลก !!! สิ่งของธรรมดา อาจทำให้คุณแพ้ได้

    8 ภูมิแพ้สุดแปลก !!! สิ่งของธรรมดา อาจทำให้คุณแพ้ได้

  • เกร็ดความรู้จากคุณหมอ ที่คุณแม่ควรทราบ เกี่ยวกับโรคภูมิแพ้อาหารของลูกน้อย

    เกร็ดความรู้จากคุณหมอ ที่คุณแม่ควรทราบ เกี่ยวกับโรคภูมิแพ้อาหารของลูกน้อย

  • 8 ภูมิแพ้สุดแปลก !!! สิ่งของธรรมดา อาจทำให้คุณแพ้ได้

    8 ภูมิแพ้สุดแปลก !!! สิ่งของธรรมดา อาจทำให้คุณแพ้ได้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ