X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

วิธีให้ลูกเลิกขวด ลูกติดขวด ระวังฟันผุ แม่จะจับลูกเลิกนมมื้อดึกอย่างไร ให้ได้ผล!

บทความ 5 นาที
วิธีให้ลูกเลิกขวด ลูกติดขวด ระวังฟันผุ แม่จะจับลูกเลิกนมมื้อดึกอย่างไร ให้ได้ผล!

เลิกขวดให้เด็ดขาด! ก่อนมันจะสายเกินไป ลูกติดนมมื้อดึก ดูดขวดจนหลับ ระวังฟันผุทั้งปาก

วิธีให้ลูกเลิกขวด

วิธีให้ลูกเลิกขวด ทำอย่างไร ลูกติดขวด กินนมจนหลับ แม่ต้องจับเลิกขวดให้เด็ดขาด โดยเฉพาะนมมื้อดึก อย่าให้ลูกดูดขวดจนหลับ และต้องแปรงฟันลูกให้สะอาด

 

ลูกติดขวดจนฟันผุเกือบทั้งปาก

อุทาหรณ์! ลูก 4 ขวบ ถอนฟันผุเกือบทั้งปาก โดยทันตแพทย์ใน จ.ภูเก็ต ได้โพสต์ภาพพร้อมข้อความเตือนใจพ่อแม่ว่า เช้านี้กับคนไข้ 4 ขวบ งานถอนฟัน 18 ซี่จาก 20 ซี่ เหลือฟันให้น้องใช้งานต่อได้แค่กรามซี่บนข้างละซี่…ทำไปก็แอบคิดไปว่าน้องเค้าจะทานอาหารยังไง รักลูก ต้องแปรงฟันให้ลูกนะครับ ขอเป็นกำลังใจให้คุณพ่อคุณแม่ในการเลิกนมขวดให้น้องนะครับ

เราจะไม่วิจารณ์การเลี้ยงดูเด็กในแต่ละครอบครัว เพราะเราเชื่อว่าพื้นฐานของการดูแลลูก ๆ ของทุกครอบครัวย่อมเกิดจากความรัก ความเอ็นดู ต่างบ้านต่างพ่อแม่ ต่างความพร้อม ย่อมต่างบริบท ไม่มีใครถูกไม่มีใครผิดครับ

ที่มา : https://www.facebook.com

 

ลูกติดขวด ติดนมมื้อดึก ระวังฟันผุ!

วิธีให้ลูกเลิกขวดนั้นสำคัญมาก จากภาพและข้อความของทันตแพทย์ท่านนี้ จะเห็นได้ว่า การแปรงฟันก็เป็นสิ่งสำคัญมากพอ ๆ กับการให้ลูกเลิกขวดนม โดยเฉพาะเด็กที่เริ่มโตแล้วแต่ยังติดขวดนม เด็กบางคนติดขวด เพราะเคยชินกับการกินนมมื้อดึก กอดขวดจนหลับไป กลายเป็นอันตรายในช่องปาก ที่อาจลุกลามมากกว่าอาการฟันผุได้ เด็กบางคนกินแค่นม โดยไม่สนใจอาหารเสริมอื่น ๆ ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพของลูกน้อยในวัยที่ต้องเสริมอาหาร หรือทารกหลัง 6 เดือนขึ้นไป ทำให้ร่างกายลูกขาดสารอาหาร และขาดธาตุเหล็กได้ เพราะแคลเซียมยับยั้งการดูดซึมเหล็ก

 

วิธีให้ลูกเลิกขวด ลูกติดขวด ระวังฟันผุ เลิกนมมื้อดึกอย่างไร วิธีหักดิบลูกติดขวดนม วิธีให้ลูกเลิกขวด, ลูกติดขวด, ลูกฟันผุมาก, นมมื้อดึก, ดูดขวดจนหลับ, เลิกขวด

วิธีให้ลูกเลิกขวดทำอย่างไร

ทำไมลูกติดขวดถึงฟันผุ

ปัญหาช่องปากของเด็กเล็ก ๆ มักเกิดจากความไม่สะอาด จนทำให้ฟันผุได้ ซึ่งในน้ำนมที่ตกค้างในปากของลูก หากปล่อยเวลานาน ๆ จะถูกแบคทีเรียไปย่อยทำให้เกิดสารที่เป็นกรด จนทำให้ฟันน้อย ๆ ของเจ้าหนูผุได้ โดยเฉพาะลูกที่ติดขวด ติดนมมื้อดึก ดูดนมไปเรื่อย ๆ จนหลับ การปล่อยให้ลูกดูดนมจนหลับไป นอกจากจะทำให้ลูกฟันผุแล้ว ลูกยังเลิกขวดได้ยากด้วยนะแม่

ช่วงวัยของทารกที่ควรเลิกติดขวด คือ ทารกอายุ 12-18 เดือน เพราะช่วงอายุนี้จะฝึกลูกให้เลิกติดขวดนมได้ง่าย อยู่ในช่วงวัยที่ว่านอนสอนง่าย เนื่องจากลูกในวัย 1 ขวบขึ้นไป จะรู้เรื่องมากขึ้น รู้จักพูดจา ต่อรอง และมีความเป็นตัวของตัวเอง

 

วิธีเลิกขวดนมแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่หักดิบ

  • การฝึกลูกเลิกขวดนม คนที่ต้องพยายามมากที่สุดคือ พ่อแม่ ห้ามใจอ่อนเด็ดขาด ต้องตั้งใจทำจริง ๆ ใจแข็ง และต้องตกลงกับคนในครอบครัว ให้มีความคิดไปในทางเดียวกัน เริ่มโดยให้ลูกดื่มนมเป็นมื้อ ๆ แล้วค่อย ๆ ลดปริมาณลง
  • วิธีเลิกขวดนมทำได้ตั้งแต่ตอนกลางวัน โดยฝึกลูกให้ดื่มนมจากแก้วแทนการดื่มขวด หากไปเที่ยวนอกบ้าน หรือพาลูกไปที่อื่น ๆ ไม่ต้องเอาขวดนมไปด้วย หากลูกอยากกินนมให้ใช้แก้วหรือกล่องแทน เพื่อให้ลูกค่อย ๆ เรียนรู้ว่า ต้องกินจากภาชนะอื่น ๆ ไม่ใช่ขวดนมแล้ว เริ่มด้วยการฝึกใช้แก้วหัดดื่มก่อน เพื่อให้ลูกเรียนรู้การใช้แก้วแทนขวด
  • ส่วนการฝึกลูกให้เลิกดูดขวดนมมื้อดึกนั้น อาจจะยากเสียหน่อย ต้องค่อย ๆ อดทน ลดปริมาณนมมื้อดึก ทำไปเรื่อย ๆ จนลูกเลิกได้ และเปลี่ยนจากการให้ลูกดูดนมจากขวด เป็นดื่มนมจากแก้ว จากนั้นค่อยแปรงฟัน ก่อนลูกจะนอนหลับ ทั้งนี้ พ่อแม่สามารถใช้การเล่านิทาน ร้องเพลง เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ ทำให้ลูกน้อยรู้สึกผ่อนคลายก่อนนอนได้
  • ห้ามไม่ให้ลูกหลับคาขวดนมอย่างเด็ดขาด หากลูกเลิกขวดได้สำเร็จ ก็ชมเชยหรือให้รางวัล

 

วิธีหักดิบลูกติดขวด

  • ไม้อ่อนก็แล้ว แต่ใช้ไม่ได้ผล พ่อแม่บางคนก็ต้องใช้วิธีหักดิบลูกติดขวด เริ่มแรกให้บอกลูกล่วงหน้าจะได้เตรียมใจว่า ต้องกินนมจากแก้ว หรือกินนมจากกล่องแล้ว
  • หักดิบด้วยการเก็บอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับขวดนมให้หมด อย่าให้ลูกเห็น จะทิ้ง จะบริจาค หรือเก็บอย่างไรก็แล้วแต่ แต่ต้องเก็บขวดให้พ้นจากสายตาลูก
  • หากลูกหักดิบ เลิกติดขวดได้สำเร็จ ก็ชมเชยหรือให้รางวัลลูกด้วยนะ

 

การแปรงเหงือกทารก

แปรงเหงือกทารก ให้ทำความสะอาดลิ้นก่อน โดยวางลูกน้อยลงบนผ้าขนหนูนิ่ม ๆ ชุบคอตตอนบัดในน้ำต้มสุกที่เตรียมไว้ แล้วเริ่มต้นทำความสะอาดลิ้นของลูกก่อน ดังนี้

  1. สอดคอตตอนบัดเข้าไปในช่องปาก ลึกประมาณ 1/3 ของลิ้นอย่างช้า ๆ และระมัดระวัง
  2. ค่อย ๆ ถูคอตตอนบัดเบา ๆ ไปมาที่ลิ้นของลูก
  3. เปลี่ยนคอตตอนบัดอันใหม่ แล้วทำซ้ำเดิมอีกครั้ง

จากนั้นให้ทำความสะอาดกระพุ้งแก้ม ใช้คอตตอนบัดอันใหม่ ชุบน้ำต้มสุกที่เตรียมไว้ แล้วเช็ดที่กระพุ้งแก้มด้านซ้าย
เปลี่ยนคอตตอนบัดอันใหม่ ชุบน้ำต้มสุก แล้วเช็ดที่กระพุ้งแก้มด้านขวา และเริ่มทำความสะอาดเหงือก ใช้คอตตอนบัดอันใหม่ ชุบน้ำต้มสุกที่เตรียมไว้ แล้วถูที่เหงือกของทารก เริ่มจากด้านบนก่อน จากนั้นจึงถูที่เหงือกของทารกด้านล่าง

 

การแปรงฟันลูกน้อย

การแปรงฟันลูกก็สำคัญไม่แพ้กัน วิธีดูแลฟันลูกก็ต้องแปรงฟันให้ลูกอย่างมีคุณภาพด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ แปรงฟันลูกได้ตั้งแต่ฟันซี่แรก แปรงทุก ๆ วัน วันละ 2 ครั้ง เช้าและก่อนนอน แล้วอย่าลืมพาลูกไปพบหมอฟันตั้งแต่ฟันซี่แรกขึ้นหรือไม่เกิน 1 ขวบ

 

กรมอนามัยแนะนำให้ผู้ปกครองช่วยลูกแปรงฟันให้สะอาดจนถึง 6 ปี

โรคฟันผุในเด็กเล็กมีผลต่อคุณภาพชีวิตของเด็กมาก หากไม่ได้รับการรักษา เด็กจะเสียวฟัน ปวดฟัน กินอาหารได้น้อยลง ไม่ร่าเริง มีผลต่ออารมณ์ และกระทบต่อการนอนหลับ เหล่านี้มีผลอย่างมากต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการตามปกติของเด็ก จากข้อมูลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ในปี 2560 พบว่าเด็กอายุ 3 ปี และ 5 ปี มีปัญหาฟันผุประมาณร้อยละ 53 และ 76 ตามลำดับ โดยในกลุ่มเด็กอายุ 3 ปี มีฟันผุที่ยังไม่ได้รับการรักษาสูงถึง ร้อยละ 52 ผู้ปกครองจึงควรตระหนักถึงผลเสียของฟันผุที่ไม่ได้รับการรักษา จนเกิดการติดเชื้อ ทำให้การรักษามีความยุ่งยากมากขึ้น มีค่าใช้จ่ายสูงขึ้นกว่าการการดูแลป้องกันไม่ให้ฟันผุตั้งแต่ต้น โดยการแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ให้สะอาดทั่วทั้งปาก ทุกซี่ ทุกด้าน ร่วมกับการลด ละ เลิก ขนมหวาน น้ำหวาน และการกินนอกมื้ออาหารไม่ให้เกินวันละ 2 ครั้ง

พ่อแม่ ผู้ปกครอง ควรพาลูกไปพบทันตบุคลากรอย่างสม่ำเสมอ ทุก 6 เดือน ทั้งนี้ ผู้ปกครองสามารถตรวจฟันลูกได้เองเบื้องต้น หากพบลักษณะสีขาวขุ่นบริเวณคอฟัน ซึ่งหมายถึงเด็กเริ่มมีรอยฟันผุระยะเริ่มต้น มีความเสี่ยง ในการเกิดฟันผุสูง เป็นช่วงวิกฤติก่อนที่รอยโรคเหล่านี้จะลุกลามเป็นรูผุ และเด็กจำเป็นต้องรับการรักษาโดยการ อุดฟัน ผู้ปกครองสามารถช่วยหยุดการลุกลามได้ด้วยตนเองโดยการแปรงฟันให้ลูกให้สะอาด เน้นบริเวณคอฟัน ด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ 1000 PPM โดยความดูแลของผู้ปกครองอย่างใกล้ชิด

  • ผู้ปกครองต้องเป็นผู้บีบยาสีฟันให้เด็ก ไม่ให้เด็กบีบยาสีฟันเอง เด็กที่มีอายุต่ำว่า 3 ปี ควรใช้ปริมาณยาสีฟันแค่แตะแปรงพอชื้น
  • เด็กอายุ 3 – 6 ปี ควรบีบยาสีฟันขนาดเท่าเมล็ดถั่วลันเตา หรือตามความกว้างของแปรง
  • เด็กที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป บีบยาสีฟันตามความยาวของหัวแปรงได้

เมื่อแปรงฟันเสร็จแล้วใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเพื่อเช็ดฟอกยาสีฟันออก โดยไม่จำเป็นต้องบ้วนน้ำ หากพบจุดสีดำหรือสีน้ำตาลบนผิวฟัน หรือพบรูฟันผุ ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม ก่อนที่รูผุจะลุกลามจนทำให้เกิดการติดเชื้อ จนเด็กปวดฟัน นอกจากนี้ พ่อแม่ผู้ปกครอง ควรใส่ใจในการเลือกขนาดของแปรงสีฟันที่เหมาะสมกับช่วงอายุของเด็ก และผ่านเกณฑ์มาตรฐานกรมอนามัย

 

วิธีให้ลูกเลิกขวดทำได้ไม่ยากค่ะ แต่พ่อแม่ต้องใจแข็ง และต้องให้ลูกเลิกขวด งดนมมื้อดึกเสียแต่เนิ่น ๆ ยิ่งลูกเติบโตก็จะยิ่งเคยชินกับการดูดขวด จนเลิกได้ยาก พ่อแม่ลองเลือกวิธีให้ลูกเลิกขวดตามความเหมาะสม จะเป็นไม้อ่อนไปก่อนก็ได้ แต่ถ้าลูกไม่ยอมเลิกขวดจริง ๆ ก็ต้องยอมหักดิบเลิกขวดนม เพื่อสุขภาพของลูกน้อยนะคะ

 

 

ที่มา : https://www.facebook.com/9YangTH

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

บทความจากพันธมิตร
ทำความรู้จัก NAN GOLD HA3 เจ้าของรางวัล Parents’ Choice Awards Best Hypoallergenic Formula Milk จากเวที theAsianparent Awards 2022
ทำความรู้จัก NAN GOLD HA3 เจ้าของรางวัล Parents’ Choice Awards Best Hypoallergenic Formula Milk จากเวที theAsianparent Awards 2022
ไม่อยากให้ลูกตัวเล็ก ต้องอย่าพลาด 5 ขวบปีแรกช่วงเวลาสำคัญ มารู้จัก เคล็ดลับช่วยเสริมความสูง ให้ลูกได้ก่อนใคร!
ไม่อยากให้ลูกตัวเล็ก ต้องอย่าพลาด 5 ขวบปีแรกช่วงเวลาสำคัญ มารู้จัก เคล็ดลับช่วยเสริมความสูง ให้ลูกได้ก่อนใคร!
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
5 วิธีเสริมภูมิคุ้มกันลูกให้แข็งแรง เตรียมพร้อมสำหรับการเรียนรู้ตลอดเวลา
5 วิธีเสริมภูมิคุ้มกันลูกให้แข็งแรง เตรียมพร้อมสำหรับการเรียนรู้ตลอดเวลา

ทารกกินปลาได้ไหม ลูกเริ่มกินปลาได้เมื่อไหร่ พร้อมเมนูปลาสำหรับทารก

วิธีรับมือลูกป่วยตอนเดินทาง การปฐมพยาบาลเบื้องต้นหากลูกเจ็บป่วย และเคล็ดลับการป้องกันไม่ให้ลูกป่วยระหว่างการเดินทาง

ทรงผมหน้าร้อนเด็กชาย ทรงผมคลายร้อนเด็กเล็ก ลูกชายขี้ร้อนตัดทรงไหนดี?

วิธีส่งเสริมพัฒนาการทารก เคล็ดลับการส่งเสริมพัฒนาการ ด้านกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหวของทารกน้อย

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
  • /
  • วิธีให้ลูกเลิกขวด ลูกติดขวด ระวังฟันผุ แม่จะจับลูกเลิกนมมื้อดึกอย่างไร ให้ได้ผล!
แชร์ :
  • เลิกขวดนม กี่ขวบถึงจะดี? เปิดเคล็ดลับฝึกลูกเลิกขวดนม ป้องกันฟันผุ

    เลิกขวดนม กี่ขวบถึงจะดี? เปิดเคล็ดลับฝึกลูกเลิกขวดนม ป้องกันฟันผุ

  • วิธีเลิกขวดนม ลูกติดขวด ไม่ยอมเลิกนมมื้อดึก แม่ห้ามใจอ่อน อย่ายอมให้ติดขวดจนโต

    วิธีเลิกขวดนม ลูกติดขวด ไม่ยอมเลิกนมมื้อดึก แม่ห้ามใจอ่อน อย่ายอมให้ติดขวดจนโต

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • เลิกขวดนม กี่ขวบถึงจะดี? เปิดเคล็ดลับฝึกลูกเลิกขวดนม ป้องกันฟันผุ

    เลิกขวดนม กี่ขวบถึงจะดี? เปิดเคล็ดลับฝึกลูกเลิกขวดนม ป้องกันฟันผุ

  • วิธีเลิกขวดนม ลูกติดขวด ไม่ยอมเลิกนมมื้อดึก แม่ห้ามใจอ่อน อย่ายอมให้ติดขวดจนโต

    วิธีเลิกขวดนม ลูกติดขวด ไม่ยอมเลิกนมมื้อดึก แม่ห้ามใจอ่อน อย่ายอมให้ติดขวดจนโต

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ