เชื่อว่าพ่อแม่ทุกคน คงไม่อยากเห็นลูกป่วยบ่อย ๆ หรือเข้าโรงพยาบาลอย่างแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทารกตัวน้อย ซึ่งยังบอบบาง ใหม่ต่อสภาพแวดล้อม และอยู่ท่ามกลางเชื้อโรคที่มองไม่เห็นรอบตัว วิธีเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ทารก หรือการจะสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงนั้น Dr. Natasha Padayachee-Govender กุมารแพทย์ กล่าวว่า ระบบภูมิคุ้มกันของทารกในครรภ์จะพัฒนาขึ้นในสภาพแวดล้อมที่ปราศจากเชื้อโรค
วิธีเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ทารก ไม่ให้ลูกเป็นเด็กป่วยง่าย
การทำให้สภาพแวดล้อมปราศจากเชื้อโรค เพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันพัฒนาตั้งแต่ในครรภ์นั้นเป็นเรื่องที่ดี แต่เมื่อลูกคลอดแล้ว รอบตัวเรามีทั้งฝุ่น ทั้งเชื้อโรคที่มองไม่เห็น และกว่าที่ร่างกายของลูกน้อยจะเสริมสร้าง ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ให้แข็งแรงได้ จำเป็นต้องใช้เวลาไม่น้อยเลย มันคงจะดีกว่าไหม ถ้าพ่อแม่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยเองได้เลย วันนี้เลยมีคำแนะนำมาฝากคุณพ่อคุณแม่ เพื่อจะได้เป็นแนวทางในการป้องกันไม่ให้ลูกน้อยเจ็บป่วยบ่อย ๆ มาดูกันเลยค่ะ
7 วิธีเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ทารก ที่พ่อแม่ควรทำ
1. วิธีเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ทารก โดยพาไปรับวัคซีนตามกำหนด
การฉีดวัคซีน เป็นวิธีเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ทารก ที่จะช่วยปกป้องลูกน้อยจากเชื้อโรคต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีกับลูกได้ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ ระหว่างตั้งครรภ์ และหลังจากที่ทารกคลอดออกมาแล้ว คุณหมอจะนัดวันเวลาในการเข้ามารับวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ ซึ่งพ่อแม่ควรเช็ควันที่ลูกต้องไปรับวัคซีนให้ดี และต้องไปรับตามที่หมอนัดอย่าให้ขาด
2. ให้ลูกได้กินนมแม่ตั้งแต่แรกเกิดไปจนอย่างน้อย 6 เดือน
นมแม่ โดยเฉพาะน้ำนมเหลือง หรือหัวน้ำนม ถือเป็นสุดยอดอาหารสำหรับทารก เนื่องจากในนมแม่นั้น มีสารอาหารมากมาย รวมถึงแอนติบอดี หรืออิมมิวโนโกลบูโลลิน ซึ่งเป็นสารภูมิต้านทานนั่นเอง ดังนั้น หากคุณแม่ให้นมลูกมากเท่าไหร่ ลูกน้อยก็จะมีภูมิต้านทานที่ดีมากไปด้วยเช่นกัน และการให้นมแม่ยังเป็นวิธีการสร้างความรักความผูกพันกับลูก ให้แน่นแฟ้นอบอุ่นอีกด้วย
วิธีเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ทารก
3. พยายามล้างมือบ่อย ๆ ก่อนสัมผัสลูก
เด็กแรกเกิดนั้นเปรียบเสมือนแก้วตาดวงใจ เป็นขวัญใจของทุกคนในครอบครัว ไม่ใช่แค่คุณพ่อคุณแม่ที่อยากใกล้ชิด แต่ยังมีพี่ป้า น้าอา ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง ที่อยากจะเข้ามาแสดงความยินดีกับคุณ มาทักทายเจ้าตัวเล็ก แต่ก่อนที่คุณ หรือใครก็ตาม จะเข้ามาอุ้ม สัมผัส หรือใกล้ชิดกับลูกน้อย ควรที่จะล้างมือให้สะอาดก่อนทุกครั้ง พยายามอย่าให้คนที่มีอาการป่วย มีน้ำมูก ไอจาม เข้ามาคลุกคลีกับลูกของคุณเด็ดขาด และอย่าเผลอไอหรือจามใส่ลูกน้อยเองด้วยนะคะ
4. เตรียมอาหารที่ดีมีประโยชน์ให้ลูกเสมอ
อาหารที่ดี ทำสดใหม่ ก็เป็นเหมือนวัคซีนที่ช่วยป้องกันลูกน้อยด้วยเช่นกัน คุณแม่ต้องให้ลูกน้อยได้กินผักและผลไม้อย่างสม่ำเสมอ เพราะในผักและผลไม้ล้วนอุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหารที่จำเป็นมากมาย ที่ช่วยให้ลูกน้อยแข็งแรงห่างไกลโรค และในแต่ละวันควรให้ทารกได้ดื่มน้ำมาก ๆ พยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลค่ะ
5. หลีกเลี่ยงการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่จำเป็น
ยาปฏิชีวนะ หรือยาแก้อักเสบ เป็นยาที่ใช้สำหรับต้านเชื้อแบคทีเรีย โดยที่ยาเหล่านี้ไม่สามารถใช้รักษาโรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อรา หรือโรคติดเชื้อที่เกิดจากไวรัส เช่น ไข้หวัดธรรมดา หากคุณแม่พบว่าลูกน้อยไม่สบาย ไม่ควรซื้อยาแก้อักเสบให้ลูกกินเอง และหากได้ยาชนิดนี้มาก็ควรทานติดต่อกันให้หมด หากทานไม่หมดจะทำให้เกิดการดื้อยานั่นหมายความว่าโรคที่หายไป แล้วจะกลับมาอีกครั้ง และจะรักษายากกว่าเดิมค่ะ
วิธีทำให้ลูกแข็งแรง
6. อย่าให้ลูกอยู่ใกล้บุหรี่มือสอง
คุณพ่อคุณแม่ต้องพยายามพาลูกน้อยออกไปอยู่ห่างจากควันบุหรี่ หรือแม้แต่คนที่สูบบุหรี่ก็ไม่ควรให้เข้าใกล้ลูก เพราะว่าทารกที่ได้รับควันบุหรี่มือสองมีความเสี่ยงสูงมากที่จะเสียชีวิตจากโรคไหลตายในทารก มีโอกาสที่จะติดเชื้อในหู ไอเรื้อรัง มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ มีอาการฟันผุ อีกทั้งจะทำให้หายจากโรคต่าง ๆ ได้ช้าลง ไม่เพียงแค่จะส่งผลร้ายต่อสุขภาพของลูกน้อยเท่านั้น แต่ยังส่งผลเสียต่อนิสัยของเด็กอีกด้วย
7. พาลูกไปตรวจคัดกรอง ตรวจสุขภาพ
ค่าตรวจร่างกาย ค่าตรวจสุขภาพ จะแตกต่างกันไปในแต่ละโรงพยาบาล คุณพ่อคุณแม่อย่าลืมที่จะพาลูกน้อยไปตรวจตามที่หมอนัดทุกครั้ง เพื่อตรวจดูพัฒนาการและความแข็งแรงของทารก ความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน ซึ่งคุณหมอได้แนะนำว่า ทารกน้อยควรได้รับธาตุเหล็ก เพื่อป้องกันโรคโลหิตจาง รวมถึงคุณแม่หลังคลอดด้วย ซึ่งคุณแม่ควรที่จะได้รับวิตามินดีเสริมเช่นกันจนกระทั่งลูกน้อยหย่านมค่ะ
การไม่มีโรคนั้นเป็นลาภอันประเสริฐ ไม่ใช่แค่ผู้ใหญ่เท่านั้นที่ไม่อยากป่วย เด็ก ๆ ก็เช่นกัน ไม่ว่าเด็กจะอยู่ในช่วงวัยไหนก็ควรมีสุขภาพที่ดี แข็งแรงเข้าไว้ ยิ่งถ้าเป็นทารกแม้จะยังไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ก็ต้องให้คุณพ่อคุณแม่คอยดูแลก่อน ดังนั้น อย่าละเลยเรื่องสุขภาพของลูกเด็ดขาดนะคะ เพราะโรคบางอย่างส่งผลในระยะยาวหรือเมื่อตอนที่ลูกโตขึ้น ควรดูแลลูกให้แข็งแรงตั้งแต่เล็ก ๆ เลย จะเป็นการดีที่สุดค่ะ
ที่มา: 1
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:
วิธีใช้ยาสำหรับเด็กและทารก ใช้ยาอย่างไรให้ปลอดภัยกับลูกน้อย ก่อนจะซื้อยาให้เด็ก ก่อนจะป้อนยาทารก แม่ต้องอ่าน!
ลูกเป็นหวัดลงกระเพาะ ไวรัสลงกระเพาะ ระบาด ทารก-เด็กเล็ก ต้องระวังป่วย
แม่ต้องรู้! ลูกวัยนี้ให้กินอะไรดี อาหารที่เหมาะกับทารกแต่ละวัย ป้องกันลูกกินยาก
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!