X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

อาหารติดคอ ช่วยลูกอย่างไรดี พ่อแม่ควรรู้ไว้ อย่ารอให้สายเกินไป 

บทความ 5 นาที
อาหารติดคอ ช่วยลูกอย่างไรดี พ่อแม่ควรรู้ไว้ อย่ารอให้สายเกินไป 

อุบัติเหตุไม่คาดฝันสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ พ่อแม่ควรตั้งสติให้เร็วที่สุด การเตรียมพร้อมด้านข้อมูลก็จำเป็น โดยเฉพาะเรื่องใกล้ตัวอย่างเช่น วิธีช่วยลูกจากอาหารติดคอ เพราะเมื่อเราทราบวิธีการช่วยเหลือแล้ว เมื่อถึงเวลาขับขันก็สามารถช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที

อุบัติเหตุที่ใกล้ตัวแต่คาดไม่ถึง เมื่อ อาหารติดคอ ลูก คุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไร สังเกตอาการเพื่อให้ช่วยลูกได้ทัน อย่าปล่อยให้สายเกินไป

เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินนอกจากสติที่ต้องมีแล้ว ก็คงเป็นความรู้เบื้องต้นในการช่วยเหลือเนี่ยแหละที่สำคัญ โดยเฉพาะเด็กๆ ที่มักจะซุกซนบอกว่าอย่าทำอย่างโน่น อย่าทำแบบนี้ แต่ก็ดื้อทำมันซะทุกอย่าง บางคนก็ชอบเล่นอะไรแผลงๆ จนเกิดเป็นอุบัติเหตุได้ เวลากินอาหารก็เช่นกัน ถ้าไม่ระวังอาจทำให้อาหารติดคอ ได้ ดังนั้น พ่อแม่คสรที่จะรู้ วิธีช่วยลูกจากอาหารติดคอ เพื่อจะได้ช่วยเหลือได้ทันท่วงที

 

พ่อแม่ควรรู้ไว้ อาหารติดคอ อย่ารอให้สายเกินไป

อาหารติดคอ ก่อนหน้านี้ได้มีข่าวว่าลูกสาวของ เอ๊ะ จิรากร หรืออีกาเผือก จากเวที The Mask Singer ชื่อว่า น้องเอญ่า ได้กินเยลลี่เข้าไปแล้วเกิดอาการติดคอ เขาเล่าว่าตอนนั้นสติหลุดมาก ทำอะไรไม่ได้ ทำได้แต่เพียงตะโกนเรียกชื่อลูกอย่างเดียว ขณะนั้นภรรยา พี่ท้อฟฟี่ จูล เขามาช่วยทันที ภรรยาตั้งสติได้ก่อนจึงอุ้มลูกห้อยหัวลง จากนั้นทุกคนก็ช่วยกันตบหลังเพื่อให้เยลลี่ออกจากคอ แต่มันไม่หลุด

 

อาหารติดคอน้องเอญ่าตอนนั้นก็เริ่มตาเหลือก ตัวเริ่มแข็งมากขึ้น พี่เลี้ยงจึงตัดสินใจเอานิ้วไปทิ่มที่คอ เยลลี่ก็ถูกดันลึกเข้าไป ลูกสาวเริ่มไอ แล้วร้องบอกว่าหลุดแล้ว ซึ่งคุณเอ๊ะได้บอกว่าต้องขอบคุณโลกออนไล์ที่ได้ช่วยแชร์วิธีช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุการณ์แบบนี้ไว้ สำหรับวิธีการช่วยเหลือลูกจากอาหารติดคอนั้นมีหลายวิธี ซึ่งแบ่งตามอายุ และความรุนแรง ดังนี้

 

วิธีช่วยลูกจาก อาหารติดคอ พ่อแม่ควรรู้ไว้ อย่ารอให้สายเกินไป

สิ่งของติดคอไม่รุนแรง อาหารติดคอ

ลักษณะอาการ หนูน้อยยังสามารถหายใจ ไอ และพูดได้ ซึ่งวิธีการช่วยเหลือคือ ต้องให้น้องพยายามไอเอาสิ่งของที่อยู่ในคอออกมาด้วยตนเอง ถ้าทำแล้วไม่ดีขึ้นให้นำส่งโรงพยาบาลทันที

สิ่งของติดคอรุนแรง

หากคุณพ่อคุณแม่เห็นว่าลูกเริ่มหายใจลำบาก อาหารติดคอไม่ไอ พูดออกเสียงก็ไม่ได้ หน้าตาเริ่มซีดเขียว มีการเอามือมากุมที่ลำคอ แสดงว่าต้องมีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในคอและค่อนข้างรุนแรงด้วย สำหรับวิธีการช่วยเหลือเบื้องต้น สิ่งแรกที่ห้ามทำเลย คือ การล้วงเอาสิ่งแปลกปลอมที่ติดคออยู่ออกมา เพราะมันอาจทำให้หลุดลึกเข้าไปอีก สำหรับวิธีการช่วยเหลือนั่นแบ่งออกเป็น 3 วิธี ได้แก่

 

วิธีที่ 1 สำหับหนูน้อยอายุไม่เกิน 1 ปี

  1. หาที่นั่ง หรือจะนั่งคุกเข่าลงกับพื้น แล้วนำเด็กนอนคว่ำหน้าลงไว้บนขา กดศีรษะให้ต่ำกว่าลำตัว ใช้มือจับบริเวณขากรรไกร พร้อมกับประคองคอไปด้วย
  2. ใช้มืออีกข้างตบบริเวณหลังของเด็ก บริเวณสะบักด้วยสันมือประมาณ 5 ครั้ง ต้องตบแรงๆ นะคะ
  3. พลิกตัวเด็กให้นอนหงายขึ้น เอามือจับประคองลูกไว้ที่บริเวณท้ายทอย
  4. ใช้นิ้ว 2 นิ้ว ของมืออีกข้างกดลงบริเวณกึ่งกลางของหน้าอกลูกน้อย โดยอยู่ในระยะที่ห่างจากหัวนมเด็กเล็กน้อย กดแรงๆ 5 ครั้ง
  5. ให้ทำการตบหลัง 5 ครั้ง และกดหน้าอก 5 ครั้ง สลับกันไปมา จนกว่าลูกจะร้องหรือพูดออกมาได้

อาหารติดคอ

วิธีที่ 2 อาหารติดคอสำหรับหนูน้อยอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป อาหารติดหลอดลม

  1. ให้เข้าไปที่ด้านหลัง โดยให้ลูกยืน หรือนั่งคุกเข่าก็ลง จากนั้นโอบรัดจากด้านหลังใต้รักแร้มาบริเวณด้านท้อง
  2. ใช้มือข้างหนึ่งกำไว้ แล้ววางไว้บริเวณเหนือสะดือใต้ลิ้นปี่ ส่วนมืออีกข้างกำกำปั้นไว้อีกทีหนึ่ง
  3. ดันนิ้วหัวแม่มือข้างที่กำไว้เข้าไปด้านในท้องของเด็ก รัดให้แน่นแล้วกะตุกขึ้น ให้ทำพร้อมกัน แรงๆ จนกว่าสิ่งที่ติดคอจะหลุดออกมา หรือจนกว่าจะมีเสียงเล็ดลอดออกมา
  4. ในกรณีที่หมดสติ ให้รีบทำการช่วยชีวิตทันที ในระหว่างที่พาไปโรงพยาบาล หรือรอการส่งตัว
  5. หากช่วยเหลือให้สิ่งของหลุดออกมาแล้ว ควรพาไปหาคุณหมอ เพื่อตรวจเช็คร่างกายอีกครั้งหนึ่ง

อาหารติดคอ

วิธีที่ 3 สำหรับหนูน้อยอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป (กรณีหมดสติ)

  1. ให้รีบโทรแจ้งรถพยาบาลทันที
  2. จับลูกนอนลงกับพื้น ตรวจดูว่าเด็กยังหายใจหรือไม่ หากไม่หายใจ ให้ดันคางขึ้นให้ศีรษะแหงนไปข้างหลังให้มากที่สุด แล้วนำมือมาบีบจมูกไว้ จากนั้นเป่าลมเข้าไปในปาก 2 ครั้ง แลัวสังเกตดูว่าลมเข้าไปภายในปอดหรือยัง ดูจากการขยับขึ้นลงของหน้าอก เสร็จแล้วเป่าอีกครั้งหลังจากที่หน้าอกยุบลง
  3. ถ้าเด็กยิ่งคงนิ่ง ให้ดันค้างสูงกว่าเดิม จากนั้นเป่าลมทางปากอีกครั้ง ถ้าไม่สำเร็จให้นั่งคร่อมที่ตัวของเด็กในท่าคุกเข่า แล้วใช้สันมือวางลงที่ระหว่างสะดือกับลิ้นปี่ ใช่มืออีกข้างกดทับมือลงไป กระแทกให้เร็วในจังหวะขึ้นลง 6-10 ครั้ง
  4. เปิดปากลูกดูว่ามีสิ่งแปลกปลอมหลุดออกมาหรือยัง โดยการนำมือไปจับบริเวณขากรรไกรและลิ้น ใช้งอนิ้วชี้ของมืออีกข้างในลักษณะเหมือนตะขอ กวาดเข้าไปในปากตั้งแต่กระพุ้งแก้มไปจนถึงโคนลิ้น หากไม่พบให้ทำซ้ำตั้งแต่เป่าปากอีกรอบ

บทความที่เกี่ยวข้อง : ทารกสำลักนมจนเสียชีวิต เกิดขึ้นได้อย่างไร

 

เมื่อพ่อแม่เห็นว่าลูกมีเศษอาหารหรือสิ่งของแปลกปลอมติดคอ สิ่งแรกที่ควรทำคือต้องมีสติให้เร็วที่สุด จากนั้นรีบทำการเรียกรถพยาบาลและทำการช่วยเหลือให้เร็วที่สุด อย่ามัวแต่กลัวและโวยวาย เพราะถ้ายิ่งช้า ลูกของคุณยิ่งมีโอกาสเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากขึ้น โดยเฉพาะในกรณีที่เด็กหมดสติไปแล้ว

 

สำหรับวิธีป้องกันสิ่งของที่ดีที่สุด คือ พ่อแม่ควรเน้นให้ลูกเคี้ยวให้ละเอียด อย่าให้ลูกกินอาหารที่มีชิ้นใหญ่ ต้องเป็นอาหารที่กินง่าย และระวังลูกน้อยจะหยิบของเล่นชิ้นเล็กๆ เข้าปาก

 

บทความจากพันธมิตร
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell

ที่มา : med.mahidol , manager

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

ปฐมพยาบาลเบื้องต้น กับ 5 อาการที่เกิดบ่อยของลูกวัยซน

อุทาหรณ์ของมีคม! พร้อมวิธีปฐมพยาบาลเมื่อลูกเกิดอุบัติเหตุ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Khunsiri

  • หน้าแรก
  • /
  • เจ็บป่วย
  • /
  • อาหารติดคอ ช่วยลูกอย่างไรดี พ่อแม่ควรรู้ไว้ อย่ารอให้สายเกินไป 
แชร์ :
  • อาหารติดคอเด็ก ภัยร้ายใกล้ตัว ที่ต้องคอยระแวดระวังอยู่เสมอ

    อาหารติดคอเด็ก ภัยร้ายใกล้ตัว ที่ต้องคอยระแวดระวังอยู่เสมอ

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

  • อาหารติดคอเด็ก ภัยร้ายใกล้ตัว ที่ต้องคอยระแวดระวังอยู่เสมอ

    อาหารติดคอเด็ก ภัยร้ายใกล้ตัว ที่ต้องคอยระแวดระวังอยู่เสมอ

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ