X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

วัคซีนป้องกันโรคไอกรน คล้ายหวัดควรระวัง 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

บทความ 5 นาที
วัคซีนป้องกันโรคไอกรน คล้ายหวัดควรระวัง 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบวัคซีนป้องกันโรคไอกรน คล้ายหวัดควรระวัง 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

วัคซีนป้องกันโรคไอกรน เริ่มฉีดตอนไหน คุณพ่อคุณแม่ทรายมั๊ยคะว่าโรคไอกรนจะมีความรุนแรงหากเกิดในวัยเด็ก เราไปดูกันเลยค่ะว่า ทำไมต้องฉีด วัคซีนป้องกันโรคไอกรน

 

โรคไอกรน 

ไอกรน (Pertussis) เป็นโรคติดต่อในระบบทางเดินหายใจชนิดหนึ่งที่มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียบอร์เดเทลลา เพอร์ทัสซิส หลังติดเชื้อในช่วงแรกจะมีอาการคล้ายเป็นหวัด เช่น ไอ มีไข้ น้ำมูกไหล หลังจากนั้นผู้ป่วยจะมีอาการไอต่อเนื่องอย่างรุนแรงและมีเสียงไอที่เป็นเอกลักษณ์  (ไอมีเสียงที่เกิดจากการหายใจลำบาก) จึงมีอีกชื่อเรียกว่า Whooping Cough เป็นที่มาของชื่อไอกรนในภาษาไทย

ในทารกหรือเด็กเล็กอาจไม่พบอาการไอ แต่จะมีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจเป็นหลัก ไอกรนเป็นโรคติดต่อจากคนสู่คน โดยเชื้อสามารถแพร่กระจายได้จากการไอหรือจาม ทารกและเด็กเล็กจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากที่สุด ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

 

วัคซีนป้องกันโรคไอกรน ควรเริ่มฉีดตอนไหน ?

วัคซีนป้องกันโรคไอกรน

วัคซีนป้องกันโรคไอกรน

เริ่มฉีด 3 เข็มแรกเมื่อเด็กที่มีอายุ 2 เดือน, 4 เดือน, 6 เดือน, และเข็มที่ 4 เมื่อเด็กมีอายุ 18 เดือน จากนั้นควรฉีดวัคซีนกระตุ้น (Booster Dose) เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันหลังฉีดครบชุด 4 ครั้งแรกแล้ว ตอนอายุ 4-6 ปี และเด็กที่มีอายุมากกว่า 7 ปี ผู้ใหญ่ที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบถ้วนแล้ว แนะนำให้ฉีดวัคซีนกระตุ้นทุก 10 ปี เนื่องจากวัคซีนที่ได้รับในวัยเด็กจะหมดลงในช่วงวัยรุ่น และในผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ แพทย์จะแนะนำให้ฉีดวัคซีนในช่วงสัปดาห์ที่ 27 และ 36 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งอาจช่วยปกป้องทารกจากโรคไอกรนในช่วง 2-3 เดือนแรกหลังการคลอดอีกด้วย

 

อาการของโรคไอกรน 

หากโรคไอกรนเกิดกับเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 3 ขวบ เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงเพราะมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ที่พบบ่อยคือไอหนักจนตัวเขียวหรือไอจนหยุดหายใจ ทำให้สมองขาดออกซิเจน และอาจเสียชีวิตได้ ส่วนอาการชัก สามารถพบได้เช่นกัน แต่พบไม่บ่อยนัก

 

  • ระยะต้น 

ผู้ป่วยจะมีอาการนําามูกไหล แน่นจมูก ไอเล็กน้อยเหมือนอาการหวัด ระยะนี้อาจเป็นอยู่นานประมาณ 1-2 สัปดาห์

 

  • ระยะรุนแรง 

ผู้ป่วยจะมีอาการไอรุนแรงติดกันไม่มีจังหวะพักตั้งแต่ 5 ครั้งขึ้นไปและเมื่อจบชุด ผู้ป่วยจะพยายามหายใจเข้าอย่างแรง จนเกิดเสียงดังฮู้ปขึ้น ในเด็กเล็กอาจมีอาการเขียวได้เนื่องจากอาการไอรุนแรงมาก  ผู้ป่วยส่วนมากมีอาการอาเจียนร่วมด้วยหลังการไอ ผู้ป่วยบางรายอาจมีเลือดออกในตาขาวและมีจุดเลือดออกกระจายอยู่บริเวณใบหน้าและลําตัวท่อนบน อาการในระยะนี้จะเป็นอยู่นานประมาณ 10 วันถึง 2 สัปดาห์ ผู้ป่วยบางรายอาจเป็นนานถึง 2-6 สัปดาห์

 

  • ระยะฟื้นตัว 

อาการไอจะค่อย ๆ ทุเลาและหายไปในเวลา 6-10 สัปดาห์ อาการไอแต่ไม่รุนแรงอาจคงอยู่เป็นเวลาหลายสัปดาห์

 

สาเหตุของโรคไอกรน

  • โรคไอกรนสามารถติดต่อกันได้ง่ายมาก จากคนสู่คน ผ่านการไอ จาม หรือการหายใจร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อเป็นเวลานาน
  • เชื้อโรคจะกระจายอยู่ในละอองของเสมหะ น้ำมูก หรือน้ำลายของผู้ป่วย และจะติดต่อไปสู่ผู้อื่นต่อไป เมื่อผู้นั้นสัมผัสละอองเชื้อโรคเหล่านี้เข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ถึงแม้จะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคแล้ว
  • หากไม่สบาย หรือมีร่างกายอ่อนแอ ก็สามารถติดเชื้อได้ โดยเฉพาะเด็กทารกที่มักจะติดเชื้อจากพี่น้อง พ่อแม่ หรือผู้ที่ดูแล
  • โรคไอกรนสามารถพบได้กับคนทุกวัย ในประเทศไทยมีการให้วัคซีนโรคนี้อย่างทั่วถึง แต่มักพบผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็กทารกที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี เพราะยังได้วัคซีนไม่ครบตามโปรแกรม ซึ่งจะได้วัคซีนไอกรนครบ 3 เข็มเมื่ออายุ 6 เดือน

 

การวินิจฉัย โรคไอกรน มีวิธีไหนบ้าง 

วัคซีนป้องกันโรคไอกรน

วัคซีนป้องกันโรคไอกรน

  • การเพาะเชื้อ

โดยการเก็บตัวอย่างเชื้อหรือสารคัดหลั่งที่บริเวณจมูกหรือลำคอไปตรวจหาเชื้อแบคทีเรียที่เป็นต้นเหตุของการเกิดโรค

 

บทความจากพันธมิตร
วัคซีนเด็กควรพาลูกไปฉีดเมื่อไหร่ ทำไมคุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปรับวัคซีนให้ตรงเวลา
วัคซีนเด็กควรพาลูกไปฉีดเมื่อไหร่ ทำไมคุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปรับวัคซีนให้ตรงเวลา
ไขข้อข้องใจ เด็กเล็กไม่ได้รับวัคซีนตามนัด มีผลเสียอย่างไร ? แม่อยาก เลื่อนนัดรับวัคซีน ในช่วง New Normal ได้ไหม ?
ไขข้อข้องใจ เด็กเล็กไม่ได้รับวัคซีนตามนัด มีผลเสียอย่างไร ? แม่อยาก เลื่อนนัดรับวัคซีน ในช่วง New Normal ได้ไหม ?
แม่รู้ไหม ทำไมควร กระตุ้นภูมิคุ้มกันลูกให้แข็งแรง ด้วย วัคซีนรวม 6 โรค
แม่รู้ไหม ทำไมควร กระตุ้นภูมิคุ้มกันลูกให้แข็งแรง ด้วย วัคซีนรวม 6 โรค
ทำความรู้จัก 6 โรคอันตรายในเด็ก ที่ป้องกันได้ด้วย วัคซีนรวม เพียงเข็มเดียว
ทำความรู้จัก 6 โรคอันตรายในเด็ก ที่ป้องกันได้ด้วย วัคซีนรวม เพียงเข็มเดียว
  • การตรวจเลือด 

เพื่อตรวจสอบจำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งมีหน้าที่กำจัดเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย หากพบว่าเซลล์เม็ดเลือดขาวมีจำนวนที่มากขึ้นจะแสดงถึงการติดเชื้อหรือการอักเสบที่เกิดขึ้นในร่างกาย

 

  • การเอกซเรย์ทรวงอก

เพื่อตรวจความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นที่ปอด เช่น ปอดอักเสบ หรือมีน้ำในปอด เป็นต้น ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้หากผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคปอดบวม

 

ภาวะแทรกซ้อน บางครั้งรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต 

ทารกและเด็กเล็กเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากที่สุด โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ไม่ได้เข้ารับการฉีดวัคซีนหรือได้รับวัคซีนไม่ครบตามกำหนด อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อชีวิตได้ เช่น ภาวะหยุดหายใจชั่วคราว การติดเชื้อที่ปอด หรือปอดบวม อาการชักอย่างรุนแรง กลุ่มอาการทางสมอง หรือเสียชีวิต เป็นต้น

ส่วนเด็กโตและผู้ใหญ่ ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจะไม่รุนแรง โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรค เช่น น้ำหนักตัวลดลง กลั้นปัสสาวะไม่ได้ เป็นลม กระดูกซี่โครงหักจากการไออย่างรุนแรง ไส้เลื่อน เส้นเลือดแดงที่ผิวหรือในตาขาวแตก เป็นต้น

 

การรักษาโรคไอกรน

  • รับประทานยาต่อเนื่องนานประมาณ 2 สัปดาห์ ควรปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด ไม่ควรหยุดใช้ยาก่อนที่แพทย์กำหนด เพราะจะส่งผลต่อระดับของยาปฏิชีวนะในเลือดและอาจทำให้ดื้อยาได้
  • เด็กทารกหรือผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอาจต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพื่อดูแลอย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับระบบการหายใจ หรือมีการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำร่วมด้วยหากผู้ป่วยมีอาการของภาวะขาดน้ำ
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ในสถานที่ที่เงียบสงบ มืด และมีอุณหภูมิที่เหมาะสมแก่การนอน
  • ดื่มน้ำมาก ๆ ทั้งน้ำเปล่า น้ำผลไม้ หรือซุป ควรระวังการเกิดภาวะขาดน้ำโดยเฉพาะในผู้ป่วยเด็ก สามารถสังเกตได้จากหลายอาการ เช่น ปากแห้ง ร้องไห้ไม่มีน้ำตา ปัสสาวะน้อยลงและมีสีเข้ม เป็นต้น
  • รับประทานอาหารมื้อเล็กลง เพื่อหลีกเลี่ยงการอาเจียนหลังอาการไอ
  • อยู่ในสถานที่ที่มีอากาศปลอดโปร่ง ปราศจากตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดการไอ เช่น ควันบุหรี่ ควันไฟ เป็นต้น

 

การป้องกันโรคไอกรน

วัคซีนป้องกันโรคไอกรน

วัคซีนป้องกันโรคไอกรน

  • การให้วัคซีน

วัคซีนป้องกันไอกรนจะให้โดยการฉีดที่อายุ 2, 4, 6, 18 เดือน และกระตุ้นอีกครั้งเมื่ออายุ 4-6 ปี วัคซีนไอกรนนี้จัดเป็นวัคซีนพื้นฐานซึ่งเด็กทุกคนต้องได้รับ วัคซีนไอกรนที่เป็นวัคซีนพื้นฐานนี้เป็นชนิดเต็มเซลล์ อยู่ในรูปของวัคซีนรวมคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน มีประสิทธิภาพดีในการป้องกันโรค

 

  • ในเด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือนซึ่งยังได้รับวัคซีนไม่ครบ 3 ครั้ง

ระดับของภูมิคุ้มกันอาจไม่เพียงพอในการป้องกันโรค เมื่อสัมผัสกับผู้ป่วยก็อาจมีอาการได้ ปัจจุบันแนะนําให้ฉีดวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนสําหรับผู้ใหญ่ จํานวน 1 ครั้ง แก่หญิงตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์ระหว่าง 27-36 สัปดาห์ เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์สร้างภูมิคุ้มกันต่อไอกรนในระดับที่สูงและสามารถให้ภูมิคุ้มกันนี้ผ่านไปยังทารกในครรภ์และป้องกันโรคไอกรนได้

 

  • ในเด็กโตอายุ 10-12 ปี สามารถรับวัคซีนป้องกันคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน

เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้เช่นเดียวกันแต่วัคซีนที่ใช้จะเป็นชนิดที่ต่างกับวัคซีนที่ใช้ในเด็กเล็ก  เด็กโตหรือผู้ใหญ่ที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนไอกรนเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันหลังจากอายุ 10-12 ปี ก็สามารถรับวัคซีนนี้ได้เช่นกันจําานวน 1 ครั้ง หลังจากนั้นแนะนําให้ฉีดวัคซีนคอตีบ-บาดทะยักกระตุ้นซ้ำทุกๆ 10 ปี

 

นอกจากวัคซีนแล้วสามารถป้องกันได้ ดังนี้ 

  • การรับประทานยาปฏิชีวนะ หากพบว่ามีสมาชิกในครอบครัวได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไอกรน เพื่อป้องกันและลดการแพร่กระจายของเชื้อ รวมถึงบุคคลที่อยู่ในกลุ่มดังต่อไปนี้
  • ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคร้ายแรงและผู้ที่อยู่ใกล้ชิด
  • ทารกที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปี ซึ่งจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคไอกรนได้มากที่สุด
  • ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนสุดท้ายก่อนการคลอด
  • การดูแลสุขอนามัย ไอกรนเป็นโรคติดต่อในระบบทางเดินหายใจ จะแพร่กระจายผ่านการไอหรือการจาม การมีสุขอนามัยที่ดีจะช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อ ซึ่งสามารถปฏิบัติได้ตามแนวทางดังต่อไปนี้
  • ปิดปากด้วยกระดาษทิชชูก่อนการไอหรือจามทุกครั้ง และทิ้งกระดาษทิชชูลงในถังขยะ
  • หากไม่มีกระดาษทิชชู ควรไอหรือจามใส่ที่ข้อพับแขน ไม่ควรไอหรือจามโดยใช้มือปิดปาก
  • ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่เป็นประจำ แต่ละครั้งควรใช้เวลาในการล้างมือประมาณ 20 วินาที หรือใช้เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ

 

 

ที่มา : (1),(2),(3)

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง : 

เสริมภูมิคุ้มกันเด็กเล็ก วัย 1-3 ปี อย่างไรใน สถานการณ์โรคระบาด

ไขข้อข้องใจ เด็กเล็กไม่ได้รับวัคซีนตามนัด มีผลเสียอย่างไร ? แม่อยาก เลื่อนนัดรับวัคซีน ในช่วง New Normal ได้ไหม ?

ลูกปอดบวม หลอดลมอักเสบ เป็นไข้หวัดใหญ่ แม่แชร์อุทาหรณ์ มโนไปว่าลูกร้อน จนป่วยเป็นชุด

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Nanticha Phothatanapong

  • หน้าแรก
  • /
  • วัคซีน
  • /
  • วัคซีนป้องกันโรคไอกรน คล้ายหวัดควรระวัง 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ
แชร์ :
  • วัคซีนโรคบาดทะยัก 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

    วัคซีนโรคบาดทะยัก 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

  • วัคซีนโรคเอชพีวี : 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

    วัคซีนโรคเอชพีวี : 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

  • คดีพลิก! เด็กหญิงวัย 6 ขวบ ขอน้ำซุป ถูกพ่อทำร้ายหลังได้รับเงินบริจาค

    คดีพลิก! เด็กหญิงวัย 6 ขวบ ขอน้ำซุป ถูกพ่อทำร้ายหลังได้รับเงินบริจาค

  • 15 ภาพผ่าคลอด ที่คุณไม่เคยเห็นมาก่อน ลงมีด ดูดน้ำคร่ำ จนลูกคลอด

    15 ภาพผ่าคลอด ที่คุณไม่เคยเห็นมาก่อน ลงมีด ดูดน้ำคร่ำ จนลูกคลอด

app info
get app banner
  • วัคซีนโรคบาดทะยัก 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

    วัคซีนโรคบาดทะยัก 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

  • วัคซีนโรคเอชพีวี : 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

    วัคซีนโรคเอชพีวี : 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

  • คดีพลิก! เด็กหญิงวัย 6 ขวบ ขอน้ำซุป ถูกพ่อทำร้ายหลังได้รับเงินบริจาค

    คดีพลิก! เด็กหญิงวัย 6 ขวบ ขอน้ำซุป ถูกพ่อทำร้ายหลังได้รับเงินบริจาค

  • 15 ภาพผ่าคลอด ที่คุณไม่เคยเห็นมาก่อน ลงมีด ดูดน้ำคร่ำ จนลูกคลอด

    15 ภาพผ่าคลอด ที่คุณไม่เคยเห็นมาก่อน ลงมีด ดูดน้ำคร่ำ จนลูกคลอด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ