X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกไม่ยอมตั้งไข่ ทรงตัวไม่ดี มีผลต่อพัฒนาการสมองของลูก

บทความ 5 นาที
ลูกไม่ยอมตั้งไข่ ทรงตัวไม่ดี มีผลต่อพัฒนาการสมองของลูก

เมื่อทารกเข้าสู่อายุประมาณ 6 เดือนขึ้นไป จะค่อย ๆ เริ่มมีพัฒนาการด้านการทรงตัวขึ้น จนถึงอายุ 9-12 เดือน ทารกมีกล้ามเนื้อแขน ขา ที่แข็งแรงมากขึ้น เตรียมพร้อมสู่การตั้งไข่ เพื่อที่จะยืน และก้าวเดินได้ต่อไป

การทรงตัว คือลักษณะที่สามารถยืนได้ด้วย 2 ขาและควบคุมร่างกายให้ตั้งตรงได้ดีนั้น ซึ่งเกิดขึ้นจากการทำงานของหลายส่วนเข้ามาเกี่ยวข้อง การทรงตัวของมนุษย์ถูกควบคุมโดยหูชั้นกลางและหูชั้นใน ซึ่งในส่วนของหูชั้นในนั้นจะมีเส้นใยประสาทที่เชื่อมโยงกับสายตา ทำหน้าที่สำคัญในการทรงตัวไม่ว่าร่างกายจะเคลื่อนไหวไปในทิศทางใด เดิน กระโดด หรือโยกเยกไปมา ดังนั้นเมื่อทารกสามารถทรงตัวได้ดี แสดงถึงสมองของลูกในส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหวทำงานได้ดีและมีพัฒนาการด้านร่างกายที่ดีด้วย มีกล้ามเนื้อที่แข็งแรง มีการสั่งการและการควบคุมกล้ามเนื้อที่ดี มีการประมวลผลการรับรู้ของสมองได้ดี แต่กลับกันถ้า ลูกไม่ยอมตั้งไข่ มีการทรงตัวที่ไม่ดี ก็จะส่งผลต่อการไม่มีสมาธิ สายตาจะไม่เพ่งมองหาโฟกัสสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ย่อมไม่ส่งผลดีต่อการเรียนรู้ การทรงตัวจึงมีความสำคัญต่อทารกมากตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยหัดเดิน

 

เมื่อทารกเข้าสู่อายุประมาณ 9-12 เดือน จะเริ่มตั้งไข่ และเริ่มพยุงขึ้นเองได้แล้ว เจ้าหนูบางคนอาจเริ่มก้าวเดินได้ตั้งแต่อายุ 11 -12 เดือน บางคนก็ยังชอบคลาน ไม่ยอมตั้งไข่ซะที ทำให้ไม่เกิดพัฒนาการทรงตัวที่ดีได้นะ

 

ลูกไม่ยอมตั้งไข่ มีผลต่อพัฒนาการสมอง เพราะอะไร

 

  • ให้ลูกใช้รถหัดเดิน การให้เด็กอยู่ในรถหัดเดินบ่อยทำให้เด็กเดินช้า เพราะไม่ได้ฝึกการใช้กล้ามเนื้อที่ถูกต้อง เด็กเล็กที่อยู่แต่ในรถหัดเดิน เวลาเคลื่อนที่จะใช้ปลายเท้าจิกลงและไถไปข้างหน้า ซึ่งจริง ๆ แล้วท่าเดินที่ถูกจะใช้ส้นเท้าลงก่อน เมื่อถึงเวลาตั้งไข่จะทำให้ลูกเดินโดยใช้ปลายเท้าจิกลงซึ่งจะทำให้เดินไม่ได้ หรือเดินเป๋
  • ให้ลูกนั่งนอนอยู่แต่ในรถเข็น ไม่ปล่อยให้เท้าเจ้าตัวน้อยได้สัมผัสกับพื้นเพื่อการทรงตัวให้ได้ฉาก คอยให้แต่รถเข็นพยุงตัวลูกตลอดเวลา จะทำให้การทรงตัวของลูกไม่ดี
  • ไม่ได้หนุนหมอนนอน การปล่อยให้ลูกนอนผิดท่า คอพับคอเอียง ส่งผลให้การทำงานของกล้ามเนื้อผิดปกติ ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวไม่สะดวก ทรงผลเสียต่อการทรงตัวได้
  • อุ้มทารกไม่ถูกท่า จะทำให้กล้ามเนื้อของลูกยืดหยุ่นไปผิดทาง ส่งผลเสียต่อการทรงตัวของลูกได้
Advertisement
  • ไม่เปิดโอกาสพาลูกออกนอกบ้าน เมื่อทุกวัยเดินตั้งไข่ พ่อแม่ควรลูกออกนอกบ้านเพื่อไปเจอกับเด็กวัยเดียวกัน ได้เห็นเด็กคนอื่นยืนหรือเดินได้ จะเป็นแรงผลักดันให้เจ้าตัวน้อยหัดเดินและยืนเองได้

 

วิดีโอจาก : เด็กทารก Everything Channel

 

ดังนั้นพ่อแม่ควรช่วยพยุงตัวลูกเมื่อถึงวัยเริ่มตั้งไข่ บริหารกล้ามเนื้อเพื่อให้ลูกมีความแข็งแรง จัดพื้นที่ที่เน้นความปลอดภัยให้ลูกหัดเกาะยืนเกาะเดิน เช่น จัดเฟอร์นิเจอร์ที่มีความแข็งแรง มั่นคง อย่างโซฟา โต๊ะ ที่ไม่มีเหลี่ยมคมอันตราย สูงระดับที่เจ้าตัวเล็กเกาะยืนและเดินไปรอบ ๆ ได้สะดวก และการให้กำลังใจลูกคือส่วนสำคัญสู่ก้าวแรกของลูกในการเริ่มต้นได้

การทรงตัวที่ดีของลูกนั้น มีความสำคัญต่อพัฒนาการทางสมอง ส่งสัญญาณว่าสมองในส่วนที่ควบคุมทักษะการเคลื่อนไหว และการใช้กล้ามเนื้อทำงานได้ดี เริ่มต้นก้าวแรกของลูกพ่อแม่จึงควรให้ความสำคัญมาก ๆ นะคะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกเดินก้าวแรก วิธีสอนลูกหัดเดินให้ลูกน้อยเดินได้ไว ๆ เพราะก้าวแรกสำคัญเสมอ

 

ลูกเดินได้ตอนกี่เดือน พ่อแม่จะรู้ได้อย่างไร

ลูกเดินได้ตอนกี่เดือน เมื่อไหร่ลูกถึงจะเริ่มเดิน ปกติแล้วทารกจะเริ่มหัดเดินเมื่อมีความพร้อมทางด้านร่างกายค่ะ ถ้าถามว่าจะรู้ได้ยังไงว่าลูกเราพร้อมแล้วหรือยัง พ่อแม่สามารถสังเกตได้จากการแสดงพฤติกรรมออกมา ถ้าพ่อแม่อยากให้ลูกเดินได้เร็วๆ ก็ไม่ควรอุ้มลูกบ่อย ปล่อยให้ลูกได้มีโอกาสได้คลานหรือยืนด้วยตัวเองบ้าง เพื่อให้ลูกน้อยได้มีพัฒนาการทักษะด้านการเคลื่อนไหว และการเสริมสร้างกล้ามเนื้อค่ะ

 

ลูกไม่ยอมตั้งไข่ 3

 

ลูกจะเริ่มตั้งไข่ได้เมื่อไหร่

ในช่วงขวบปีแรก ลูกน้อยของคุณจะเรียนรู้การทำให้ร่างกายสมดุล รวมถึงการควบคุมส่วนต่างๆ ของร่างกาย เริ่มแรกทารกจะพยายามทำให้กล้ามเนื้อบริเวณคอ ศีรษะ ไหล่ และลำตัวให้มั่นคง แข็งแรง จากนั้นก็จะเริ่มใช้แขน และกล้ามเนื้อมือให้มีความชำนาญมากขึ้น ก่อนที่จะไปพัฒนาบริเวณสะโพกต้นขา เข่า ทำให้ลูกน้อยเริ่มคลานได้

พออายุประมาณ 9-10 เดือน ลูกน้อยจะเริ่มนั่งได้นานขึ้นจากการใช้มืออีกข้างพยุงตัวเองไว้ ถัดไปอีก 3-6 เดือน ลูกน้อยของคุณก็จะเริ่มฝึกหัดตั้งไข่ และเริ่มเดินในที่สุด

สำหรับพ่อแม่คนไหนที่กังวลว่าลูกเราจะมีพัฒนาการช้าไปหรือเปล่า แนะนำให้ปรึกษาคุณหมอเด็กดูว่าลูกของคุณมีพัฒนาการที่ปกติดีหรือไม่ หรือจะลองเช็คตารางพัฒนาการเด็กได้ตามนี้

 

ลูกไม่ยอมตั้งไข่ 4

 

สัญญาณที่ลูกบอกว่าจะเดินแล้วนะ

  1. คลานเหมือนปู: เมื่อลูกน้อยพร้อมที่จะเดิน เขาจะพยายามใช้มือข้างเดียวในการคลาน ส่วนขาอีกข้างก็จะตั้งชันเข้าขึ้นข้างหนึ่ง แล้วไถก้นไปตามมือ
  2. ปีนบันได: บ้านของคุณมีบันไดไหม? ถ้ามี..ลองแอบสังเกตดูสิคะว่าลูกของคุณเริ่มที่จะใช้มือปีนป่ายขึ้นบันไดเองได้แล้วหรือยัง แล้วคอยระวังอย่าให้ลูกตกบันไดด้วยนะคะ เด็กในช่วงนี้กำลังฝึกความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อ และการเคลื่อนไหวของร่างกาย
  3. จับยึดเฟอร์นิเจอร์: เมื่อไหร่ที่เห็นว่าทารกเริ่มที่จะเดินจุดสังเกตที่ง่ายที่สุดคือ ลูกน้อยพยายามที่จะจับเฟอร์นิเจอร์แล้วลุกขึ้นยืน ช่วงนี้ทารกจะเริ่มเสริมสร้างกล้ามเนื้อเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการรองรับน้ำหนักของตัวเองอยู่ค่ะ
  4. เกาะเฟอร์นิเจอร์เดิน: หลังจากที่พอยืนหรือทรงตัวได้แล้ว ลูกน้อยจะเริ่มเรียนรู้ที่จะถ่ายโอนน้ำหนักจากเท้าข้างหนึ่งไปอีกข้างหนึ่ง ทำให้เขาต้องอาศัยการเกาะเฟอร์นิเจอร์เดินไปเรื่อยๆ  ค่ะ

พัฒนาการด้านการเดินของทารก

  • ทารกจะเริ่มยืดตัวเองขึ้น และพยายามยืนอยู่กับที่ ช่วงอายุ 9-12 เดือน
  • จากนั้นจะเริ่มเกาะเฟอร์นิเจอร์เดินไปเรื่อยๆ ช่วงอายุ 9-13 เดือน
  • ลุกขึ้นยืนด้วยตัวเอง โดยไม่มีอุปกรณ์ช่วยยึดจับ ช่วงอายุ 9-14 เดือน
  • สุดท้ายจะเดินได้เมื่อมีอายุ 10-15 เดือน

 

ช่วงอายุข้างต้น เป็นเพียงช่วงอายุเฉลี่ยที่เด็กทำได้ ซึ่งเด็กแต่ละคนย่อมมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน ลูกของคุณอาจจะเดินได้เร็วหรือช้ากว่านี้ก็ไดั เราจึงขอเป็นกำลังใจให้กับคุณพ่อคุณแม่ในการช่วยฝึกให้ลูกทรงตัวได้ดี และเริ่มตั้งไข่ไว ๆ นะคะ

 

บทความอื่นที่น่าสนใจ

พ่อแม่รู้ไหม ฝึกลูกตั้งไข่ ทรงตัวดีมีผลต่อการพัฒนาสมองของลูกได้

สอนลูกหัดเดิน เมื่อไหร่ลูกจะเดินได้สักที

ลูกมี “ผมหงอก” ได้อย่างไร ! เกิดจากอะไร และวิธีแก้ที่ถูกต้อง

 

ที่มาข้อมูลจาก : parentsone

บทความจากพันธมิตร
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ลูกไม่ยอมตั้งไข่ ทรงตัวไม่ดี มีผลต่อพัฒนาการสมองของลูก
แชร์ :
  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว