X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกเดินช้า มีปัญหาเรื่องการพัฒนาการหรือไม่ เมื่อไหร่ต้องกังวล?

บทความ 5 นาที
ลูกเดินช้า มีปัญหาเรื่องการพัฒนาการหรือไม่ เมื่อไหร่ต้องกังวล?

ลูกเดินช้า เป็นปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่มักเป็นกังวล เนื่องจากเห็นเด็กบางคนสามารถเดินได้คล่อง ตั้งแต่อายุยังไม่เต็มขวบดี หรือบางทีเห็นลูกเริ่มตั้งไข่แล้ว แต่ก็ไม่ยังไม่ยอมเดิน จนคุณพ่อคุณแม่บางคนวิตกไปว่า ลูกอาจมีปัญหาพัฒนาการบางอย่างที่อาจต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน

 

ลูกเดินช้า

 

คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่ ให้ความสำคัญกับความก้าวหน้าทางพัฒนาการของคุณลูกที่เห็นได้ชัดเป็นหลัก อาทิ การคลาน การเดิน การหยิบจับสิ่งของ แต่หัวใจสำคัญของพัฒนาการเด็ก คือ การรับรู้ของเด็ก หากลูกมีการตอบสนองต่อสิ่งรอบข้างได้ดี อยากรู้อยากเห็น และช่างจดจำ ก็ถือว่าเด็กมีพัฒนาการที่ดีสมวัย เด็กแต่ละคนมีอุปนิสัยการเรียนรู้ที่ต่างกัน อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน ลำดับพัฒนาการของเด็กแต่ละคน ย่อมแตกต่างกันตามไปด้วย

การที่ลูกเดินช้า แท้จริงแล้วอาจเป็นผลจากการเลี้ยงดู ที่คุณพ่อคุณแม่หรือคนใกล้ชิดอุ้มเด็กตลอดเวลา จนเด็กรู้สึกว่าการเดินหรือการคลาน ยังไม่จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ในตอนนี้ จึงทดแทนด้วยพัฒนาการด้านอื่น ๆ ที่พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อเด็กเรียนรู้ และได้รับการกระตุ้นว่า ถึงเวลาที่จะต้องเริ่มเดิน หรือเริ่มช่วยเหลือตัวเองแล้ว เด็กก็จะมีความพยายามที่จะหัดเดินมากขึ้นเอง

 

ลูกเดินช้า เมื่อไหร่ที่ควรกังวล

หากลูกของคุณไม่เดินภายใน 14 เดือน ความกังวลของคุณพ่อคุณแม่เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ค่ะ แต่เด็กที่เดินไม่ได้เมื่ออายุ 14 เดือนมักไม่ได้บ่งบอกถึงปัญหาที่ผิดปกติ ขณะที่เด็กบางคนเริ่มเดินก่อน 12 เดือน หรือบางคนไม่เดินจนกว่าจะถึง 16 หรือ 17 เดือนก็มี

1. พิจารณาภาพรวม

ตัวอย่างเช่น แม้ว่าลูกของคุณจะเดินไม่ได้เมื่ออายุ 14 เดือน คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตเห็นว่า ลูกสามารถแสดงทักษะการเคลื่อนไหวอื่น ๆ ได้โดยไม่มีปัญหา เช่น เกาะยืนได้เอง เด้งตัวขึ้น-ลงจับสิ่งของได้ ซึ่งนี่เป็นสัญญาณว่าลูกกำลังพัฒนา ลูกอาจจะต้องการเวลาก็เท่านั้น แต่หากลูกยังไม่เดินเมื่ออายุ 18 เดือน คุณพ่อคุณแม่ควรปรึกษากุมารแพทย์ค่ะ

2. พัฒนาการไม่เป็นไปตามวัย

คุณพ่อคุณแม่ควรปรึกษาแพทย์หากรู้สึกว่าทักษะของลูกพัฒนาอย่างไม่เหมาะสม เช่น หากลูกอายุ 14 เดือนแล้วแต่ไม่สามารถเกาะยืน ดึงตัวหรือกระเด้งขึ้นได้

3. คลอดก่อนกำหนด

เด็กบางคนที่คลอดก่อนกำหนดอาจส่งผลให้เดินช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกัน หากลูกของคุณแม่คลอดก่อนกำหนด อย่าเพิ่งกังวลทันทีที่ไม่สามารถเดินได้นะคะ ให้ปรับอายุของลูกตามวันที่ครบกำหนดคลอดเดิม (Term Infant) ก่อนค่ะ เช่น หากลูกอายุ 14 เดือน แต่คุณแม่คลอดก่อนกำหนด 3 เดือน อายุที่ปรับแล้วของลูกคือ 11 เดือน ในกรณีนี้ ลูกของคุณแม่อาจต้องใช้เวลาเพิ่มอีก 2-3 เดือน เพื่อเรียนรู้วิธีทรงตัวและเดิน ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ ไม่ต้องกังวลค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกหัดเดินแล้วล้มบ่อย ลูกล้ม ปัญหาเล็ก ๆ ที่ส่งสัญญาณเตือนภัย ให้กับพ่อแม่

 

สัญญาณบ่งบอกว่าลูกพร้อมที่จะเดินแล้ว

1. ทักษะการหัดเดิน

หากลูกของคุณพ่อคุณแม่ ผ่านขั้นตอนทักษะของการหัดเดินอย่างใดอย่างหนึ่งมาแล้ว ลำดับถัดมาก็คือ การคลาน การคืบ การคลาน เกาะยืน หรือ เกาะเดิน ร่วมกับสัญญาณของสมดุลร่างกายที่ดี และสามารถยืนตัวตรงได้นาน ๆ และถ้ามักชอบผลักของเล่นที่มีล้อไปข้างหน้าอย่างคล่องแคล่ว แน่นอนว่าอีกไม่นานก็จะเดินได้ด้วยตัวเองค่ะ

2. Sleep Regression 12 เดือน

หากลูกของคุณพ่อคุณแม่ผ่านช่วงนอนหลับยาก หรือมักตื่นกลางดึกตอนช่วงอายุ 11-12 เดือน ก็อาจเป็นสัญญาณบอกว่าสมองของลูกกำลังค้นพบทักษะใหม่ ๆ ซึ่งนั่นอาจจะทำให้ลูกของคุณสามารถเดินได้สำเร็จในเร็ววันค่ะ

 

ลูกเดินช้า

 

วิธีช่วยกระตุ้นพัฒนาการการเดิน

  • ช่วยเสริมกล้ามเนื้อมัดใหญ่ให้แข็งแรง : เปิดโอกาสให้ลูกได้พัฒนากล้ามเนื้อที่สนับสนุนการเดิน และระบบการทรงตัวในช่วงขวบปีแรก ตามพัฒนาการการเดินของลูกตามข้างบนที่ได้กล่าวไว้ และช่วยบริหารร่างกายในท่าที่ช่วยเสริมกล้ามเนื้อขาของลูกให้แข็งแรง เพื่อให้ลูกก้าวเดินได้อย่างมั่นคง
  • เปิดโอกาสให้ลูกได้เคลื่อนไหวเอง : คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกออกห่างจากรถเข็น เป้อุ้ม หรือการอุ้มจากคนเลี้ยงบ้าง เพื่อเปิดโอกาสให้ลูกได้มีเวลาสำรวจร่างกายตัวเอง และพยายามที่จะเคลื่อนตัวเองไปที่ต่าง ๆ หากลูกติดขัด พ่อแม่อย่ารีบร้อนเข้าไปอุ้มทันที แต่ควรแสดงให้ลูกเห็นว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร เช่น ลูกเหนี่ยวตัวขึ้นยืนได้แล้ว แต่ติดขัดในช่วงที่จะนั่งลง ส่งเสียงเรียกแม่ คุณแม่ควรจับข้อเข่าของลูกให้งอลงเล็กน้อย เพื่อไม่ให้ลูกก้นจ้ำเบ้า ลูกก็จะย่อลงได้ และให้ลูกลองทำเองในครั้งต่อไป
  • ปล่อยลูกสัมผัสพื้นด้วยเท้าเปล่า : รองเท้ามักทำให้เด็กเริ่มก้าวแรกได้ยากขึ้น แนะนำให้ใช้รองเท้าสำหรับการเดินกลางแจ้ง แต่เด็กจำนวนมากเรียนรู้ที่จะเดินเร็วขึ้นเมื่อเท้าเปล่าอยู่ในบ้าน การได้สัมผัสกับพื้นผิวแบบต่าง ๆ ส่งผลต่อการทำงานของระบบประสาทที่ดี และส่งเสริมการเดินได้ดีขึ้นเช่นกันค่ะ
  • กระตุ้นให้ลูกก้าวเดินออกมา : พ่อแม่สามารถช่วยพยุงให้ลูกเดิน หรืออาจจะจับมือยืนตรงข้ามกับลูก แต่ควรสังเกตให้เท้าลูกได้วางเต็มฝ่าเท้า อย่าจับให้ลูกเอนตัวไปข้างหน้าเหมือนการเขย่งเท้ามากเกินไป ค่อย ๆ ถอยหลังทีละเล็กละน้อย ลูกจะค่อยๆก้าวเท้าออกมาข้างหน้า หากลูกปฏิเสธ ให้พ่อแม่ร้องเพลงหรือสื่อสารกับลูก เพื่อให้ลูกจดจ่อรอยยิ้มของพ่อแม่แทน

 

เทคนิคดูแลลูก โดย คุณหมอเสาวภา

เป็นปกติธรรมดามากค่ะที่คนเป็นพ่อแม่จะห่วงลูก แต่บางครั้งพ่อแม่ก็อาจกังวลใจมากเกินไป เพราะในความเป็นจริงแล้ว ลูกน้อยอาจจะไม่ได้มีการผิดปกติแต่อย่างใด อาจจะแค่เริ่มต้นช้าเท่านั้น แต่ถถ้าหากไม่มั่นใจ งั้นลองเริ่มต้นด้วยวิธีนี้ด้วย ขอให้คุณพ่อคุณแม่สังเกตพัฒนาการด้านการเดินของลูกตามลำดับขั้นตอนตามนี้

 

ลูกเดินช้า

 

สังเกตพัฒนาการด้านการเดินของลูก

  • ช่วงอายุ 3- 4 เดือน : ในท่านอนคว่ำ เด็กใช้แขนยันตัวเองหน้าอกพ้นพื้นได้เล็กน้อย เป็นการฝึกกล้ามเนื้อลำตัวให้แข็งแรง เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการนั่งและยืนต่อไปช่วงอายุ 5 เดือน เด็กจะถีบตัวขึ้น-ลงบนพื้น เวลาที่คุณแม่ประคองลำตัวไว้ เป็นการฝึกกล้ามเนื้อขาให้แข็งแรง
  • ช่วง 6 ถึง 10 เดือน : เด็กเรียนรู้การนั่งเองโดยไม่ล้ม และคลานได้ เป็นการฝึกระบบการทรงตัวของร่างกายและฝึกการเคลื่อนไหวที่ต้องประสานกันทั้งซ้ายและขวาของแขนขา
  • ช่วงอายุ 9 ถึง 15 เดือน : เด็กจะเหนี่ยวตัวเองขึ้นยืน และเริ่มตั้งไข่ ก่อนที่จะก้าวเดินออกไปข้างหน้าด้วยตัวเอง
  • ช่วง 14 ถึง 15 เดือน : เด็กจะเดินได้เองโดยใช้เวลาขวบปีแรกฝึกฝนกล้ามเนื้อและระบบการทรงตัวมาก่อน

บทความที่เกี่ยวข้อง : กลั้นหายใจ อาการของทารกชอบร้องกลั้น ต้องรับมืออย่างไร?

 

สิ่งแวดล้อมรอบตัวลูก มีผลต่อพัฒนาการ

  • พื้นบ้านบริเวณที่ลูกหัดเดิน ควรปูด้วยแผ่นรองคลานเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเด็ก กรณีที่ล้มลง
  • การแต่งกายของลูก แนะนำให้ใส่เสื้อผ้าสบาย ๆ เปิดโล่งบริเวณฝ่าเท้า ไม่แนะนำให้ใส่ชุดที่คลุมเท้าหรือใส่รองเท้า เพราะเท้าเปล่าจะกระตุ้นให้ลูกทรงตัวและเคลื่อนไหวร่างกายดีกว่า
  • ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ควรเลือกผ้าอ้อมสำเร็จรูป แผ่นบาง ที่ช่วยซึมซับได้ดี ไม่ควรหนาตุงจนขัดขวางการเคลื่อนไหวของลูก

 

ลูกเดินช้า

 

กระตุ้นให้ลูกก้าวเท้าเดินออกมา โดยวิธีดังต่อไปนี้

  • พ่อแม่ยืนตรงข้ามกับลูกแล้วจับมือทั้งสองข้างลูกไว้ ค่อย ๆ ถอยหลังทีละเล็กละน้อย ลูกจะค่อย ๆ ก้าวเท้าออกมาข้างหน้า หากลูกปฏิเสธ ให้พ่อแม่ร้องเพลงหรือสื่อสารกับลูก เพื่อให้ลูกจดจ่อรอยยิ้มของพ่อแม่แทน
  • ใช้อุปกรณ์ช่วยเดินที่มีหลักการเหมือนพ่อแม่พาเดินตามคำแนะนำแรก
  • ไม่แนะนำให้ใช้รถหัดเดินเด็ดขาด เพราะนอกจากไม่ช่วยให้ระบบการทรงตัวและการเคลื่อนไหวของร่างกายพัฒนาไปตามปกติแล้ว ยังทำให้เกิดอุบัติเหตุมากขึ้นด้วย
  • เรามักจะเห็นเด็กเดินได้เองในช่วงอายุ 1 ปี แต่หากบ้านไหนที่ลูกยังไม่เดิน ก็ไม่ต้องกังวลใจ เพราะยังอยู่ในช่วงพัฒนาการปกติ ขอให้กระตุ้นการเดินลูกตามคำแนะนำข้างต้น
  • อย่างไรก็ตาม หากลูกอายุ 15 เดือนขึ้นไปแล้ว และยังไม่ปล่อยมือเดินเอง หมอแนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อประเมินพัฒนาการนะคะ

 

จริง ๆ แล้ว การเดินช้าของลูก อาจเป็นผลจากการเลี้ยงดูที่คุณพ่อคุณแม่หรือคนใกล้ชิด อุ้มเด็กตลอดเวลา จนเด็กรู้สึกว่าการเดินหรือการคลาน ยังไม่จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ในตอนนี้ จึงทดแทนด้วยพัฒนาการด้านอื่น ๆ ที่พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อเด็กเรียนรู้ และได้รับการกระตุ้นว่า ถึงเวลาที่จะต้องเริ่มเดิน หรือเริ่มช่วยเหลือตัวเองแล้ว เด็กก็จะมีความพยายามที่จะหัดเดินมากขึ้นเองค่ะ

การเดินช้า ไม่จำเป็นต้องมาจากปัญหาพัฒนาการเสมอไป แต่อาจเกิดจากปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ที่ขัดขวางพัฒนาการการเดินของลูกก็เป็นได้ หากคุณพ่อคุณแม่ค้นพบสาเหตุที่แท้จริง แก้ปัญหาอย่างตรงจุด และหากิจกรรมกระตุ้นการเดินให้ตรงกับธรรมชาติของเด็ก ก็จะช่วยให้พัฒนาการการเดินของเด็กดีขึ้นตามไปด้วย

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ทารกท้องเสีย ถ่ายบ่อย ถ่ายเหลว เกิดจากสาเหตุใด ดูแลรักษายังไงดี

เลิกนมมื้อดึก ตอนอายุเท่าไหร่ และวิธีเลิกนมมื้อดึก

ทารกหลับไม่สนิท ดิ้นไปมา ทำอย่างไร มีวิธีช่วยลูกนอนหลับสนิทไหม?

ที่มา : Dr.saowapa

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • เด็กก่อนเข้าเรียน
  • /
  • ลูกเดินช้า มีปัญหาเรื่องการพัฒนาการหรือไม่ เมื่อไหร่ต้องกังวล?
แชร์ :
  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • ลูกติดแม่มาก จนไม่เป็นอันทำอะไร รับมือยังไง?  ให้ลูกมั่นใจ ติดแม่น้อยลง

    ลูกติดแม่มาก จนไม่เป็นอันทำอะไร รับมือยังไง? ให้ลูกมั่นใจ ติดแม่น้อยลง

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • ลูกติดแม่มาก จนไม่เป็นอันทำอะไร รับมือยังไง?  ให้ลูกมั่นใจ ติดแม่น้อยลง

    ลูกติดแม่มาก จนไม่เป็นอันทำอะไร รับมือยังไง? ให้ลูกมั่นใจ ติดแม่น้อยลง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว