X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ปล่อยไว้ไม่ดีแน่ ลูกเงียบ ลูกเครียด จนร้องไห้ สังเกตบ้างไหมว่าลูกเปลี่ยนไป

บทความ 3 นาที
ปล่อยไว้ไม่ดีแน่ ลูกเงียบ ลูกเครียด จนร้องไห้ สังเกตบ้างไหมว่าลูกเปลี่ยนไป

คุณเคยสังเกตลูกน้อยของคุณหรือเปล่า ตอนที่พ่อแม่ทะเลาะเสียงดังกันต่อมา หรือว่าเอาระเบิดมาลงใส่ลูก จนพวกเขาต้องแอบไปนั่งร้องไห้ที่ไหนซักที่ในมุมบ้าน

มีพฤติกรรมอะไรบ้างที่พ่อแม่เผลอทำโดยลืมที่จะคำนึงถึงความรู้สึกของลูก ส่งผลทำให้ ลูกเครียด จนบางครั้งต้องแอบไปนั่งร้องไห้ ลองสังเกตดูให้ดีนะคะ มีเรื่องอะไรบ้างที่ทำให้ลูกเปลี่ยนไป จากเด็กที่มีรอยยิ้มสดใส กลายเป็นเด็กที่เงียบ ๆ ชอบเก็บตัว พูดน้อยลง

เลี่ยงได้เลี่ยง! 5 เรื่องที่พ่อแม่ทำให้ ลูกเครียด จนร้องไห้

#1 ทะเลาะกันต่อหน้าลูก

ลูกเครียด

เป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อใจลูกได้ชัดที่สุด ถึงแม้ว่าพ่อแม่จะหลบไปทะเลาะกันในห้องส่วนตัว แต่เสียงทะเลาะที่ดังก็ยังคงเล็ดลอดออกจากประตูมาเข้าหูให้ลูกได้ยิน พฤติกรรมแบบนี้ถือเป็นความรุนแรงภายในบ้าน ที่อาจทำให้ลูกสะเทือนใจและร้องไห้เสียใจในสิ่งที่พวกเขาไม่เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นเสียงดังระหว่างพ่อแม่ ดังนั้น ปัญหาหรือเรื่องขัดใจที่พวกคุณมีควรใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เจ้าตัวเล็กต้องมาเห็นพฤติกรรมนี้

#2 เปิดทีวีให้ลูกเห็นภาพข่าวอันเลวร้าย หดหู่ แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม ฯลฯ

เครียดจนร้องไห้

รายการทีวีที่มีเรื่องราวน่ากลัวนั้นสามารถส่งผลกระทบมากมายได้กับลูก ๆ ของคุณ เด็กเล็ก ที่ได้สัมผัสกับสื่อมากเกินไปนั้น นอกจากจะทำให้เกิดปัญหาในหลาย ๆ ด้าน เช่น แนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวและต่อต้าน เกิดความหวาดกลัวจากภาพที่ได้เห็น ส่งผลกระทบต่อจิตใจ จนไม่กล้าพูดออกมา และอาจทำให้เครียดจนร้องไห้ สิ่งที่พ่อแม่ควรเลี่ยงได้ในขณะที่ลูกอยู่ด้วยคือการไม่เปิดทีวี หรือหลีกเลี่ยงการดูข่าว ดูละครในด้านลบ เพื่อปกป้องจิตใจลูกน้อยที่ยังไม่มีประสบการณ์พอที่จะรับมือกับเรื่องแบบนี้ได้

#3 ทำโทษลูกด้วยความรุนแรง

เครียดจนร้องไห้

การทำโทษด้วยการลงมือตี หรือวิธีอื่น ๆ ที่แสดงถึงความรุนแรงไม่ใช่หนทางที่ดีต่อการคิดว่าจะทำให้ลูกหลาบจำได้ ทุกครั้งที่พ่อ/แม่ ฟาดลงบนร่างกายที่บอบบางของลูก นอกจากทำให้พวกเขาเจ็บปวดทางกาย ยังสร้างรอยแผลในจิตใจ ที่ทำให้ลูกเสียใจ ร้องไห้ เก็บไปคิด มากกว่าจะนำมาปรับปรุงตัวให้ดีขึ้น สิ่งที่พ่อแม่ควรทำคือเลี่ยงวิธีลงโทษด้วยความรุนแรง ลงโทษลูกแบบไม่ให้บอบช้ำ  ด้วยการใช้ถ้อยคำสุภาพชี้แจงเหตุผลในสิ่งที่ลูกทำผิด หรือใช้การลงโทษแบบ time in – time out เป็นต้น

#4 ใช้คำพูดหรือเรียกลูกด้วยถ้อยคำหยาบคาย

เครียดจนร้องไห้

ไม่มีใครชอบให้ใครมาดูถูกหรือมาเรียกด้วยคำหยาบคาย เด็ก ๆ ก็เช่นกัน โดยเฉพาะถูกเรียกจากพ่อแม่ ซึ่งจะทำให้ลูกนั้นรู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่า เกิดเป็นปมด้อยในจิตใจ ส่งผลทำให้เกิดความเครียดจนร้องไห้ได้ และอาจกลายเป็นเก็บกดหรือในทางตรงกันข้ามก็คือการมีพฤติกรรมที่ต่อต้านก้าวร้าวขึ้นมา

#5 ผลจากการตัดสินใจหย่าร้างของพ่อแม่

เรื่องนี้ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ที่ทำร้ายจิตใจลูกได้มากที่สุด ซึ่งการคิดว่าแยกทางเมื่อตอนลูกยังเด็กนั้นคงยังไม่รู้เรื่องอะไรเท่าไหร่ แต่ความจริงแล้วลูกมีความผูกพันกับทั้งพ่อและแม่ วันหนึ่งที่เขามองไม่เห็นพ่อแม่พร้อมหน้าพร้อมตา จะทำให้ลูกถามหา และโหยหาความผูกพันระหว่างพ่อแม่ลูกกลับมา ซึ่งปัญหานี้จะกลายเป็นปมในจิตใจของเด็ก นำมาซึ่งความเศร้าและความเครียด จนทำให้ลูกแอบร้องไห้ได้ในขณะที่พ่อแม่ไม่รู้

เพื่อให้เจ้าตัวเล็กรู้สึกปลอดภัย และเป็นเด็กสดใส มีเสียงหัวเราะ มีรอยยิ้ม มีความสุข และเป็นส่วนที่เติมเต็มความรู้สึกดี ๆ ให้แก่ครอบครัว ถ้าไม่อยากทำร้ายจิตใจลูกแบบไม่รู้ตัว คุณพ่อคุณแม่ควรเลี่ยงพฤติกรรมดังกล่าวที่จะเป็นผลกระทบต่อจิตใจลูก คอยสังเกตพฤติกรรมของลูก และคำนึงถึงใจลูกน้อยให้มากกว่าที่คิดกันนะคะ


ที่มา : www.kapook.com

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

เที่ยวนอกบ้าน “ทารกเครียด” ได้นะ เดินทางกับทารกยังไง ให้ไร้ความเครียด

แบบทดสอบภาวะเครียดระหว่างตั้งครรภ์ รู้ได้อย่างไรว่าตัวเองเครียด เช็กด่วน!!

 

บทความจากพันธมิตร
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • ปล่อยไว้ไม่ดีแน่ ลูกเงียบ ลูกเครียด จนร้องไห้ สังเกตบ้างไหมว่าลูกเปลี่ยนไป
แชร์ :
  • รู้ได้ยังไงว่าลูกเครียด อาการและสาเหตุความเครียดของเด็ก

    รู้ได้ยังไงว่าลูกเครียด อาการและสาเหตุความเครียดของเด็ก

  • ลูกเครียด ความวิตกกังวลในเด็ก แต่ละช่วงวัย พ่อแม่ช่วยอะไรได้บ้าง?

    ลูกเครียด ความวิตกกังวลในเด็ก แต่ละช่วงวัย พ่อแม่ช่วยอะไรได้บ้าง?

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • รู้ได้ยังไงว่าลูกเครียด อาการและสาเหตุความเครียดของเด็ก

    รู้ได้ยังไงว่าลูกเครียด อาการและสาเหตุความเครียดของเด็ก

  • ลูกเครียด ความวิตกกังวลในเด็ก แต่ละช่วงวัย พ่อแม่ช่วยอะไรได้บ้าง?

    ลูกเครียด ความวิตกกังวลในเด็ก แต่ละช่วงวัย พ่อแม่ช่วยอะไรได้บ้าง?

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ