X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกเกือบเสียชีวิตเพราะหมอวินิจฉัยผิด คิดว่าเป็นโรคอีสุกอีใส

บทความ 3 นาที
ลูกเกือบเสียชีวิตเพราะหมอวินิจฉัยผิด คิดว่าเป็นโรคอีสุกอีใส

แผลตุ่มพองเกิดขึ้นเต็มตัวหนุ่มน้อย Joel ดูคล้ายโรคอีสุกอีใสที่เคยเป็นมาก่อน จนทำให้คุณหมอวินิจฉัยผิด กว่าจะรู้ว่าเป็นโรคอื่นก็เกือบจะสายเกินไป

อาการของหนุ่มน้อย Joel เริ่มจากแผลตุ่มพองที่กระจายอยู่ทั่วตัว คล้ายๆ กับที่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทำให้ Tammy Greaves แม่ของ Joel เข้าใจไปว่า ลูกกลับมาเป็นโรคอีสุกอีใสเหมือนเมื่อหลายเดือนก่อน

 

เมื่อเธอพาลูกชายไปพบหมอ สิ่งที่เธอสงสัยก็ถูกตอกย้ำอีกครั้ง เพราะหมอก็วินิจฉัยไปในทางเดียวกันว่า Joel เป็นโรคอีสุกอีใส จนกระทั่งอาการของหนูน้อยเริ่มแย่ลงทุกที จึงได้ตระหนักว่า คิดผิด! จริงๆ แล้วแผลตามร่างกายไม่ได้เป็นอาการของโรคอีสุกอีใส แต่นี่คืออาการแพ้ยาอย่างรุนแรง Stevens-Johnson Syndrome หรือ SJS

 

กลุ่มอาการ Stevens-Johnson Syndrome แม้ว่าจะเกิดขึ้นได้ยาก แต่อาการของโรครุนแรงมาก ถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย โดยสาเหตุที่เกิดมาจากอาการแพ้ยาและการติดเชื้อ สำหรับ Joel เชื่อว่าเป็นผลมาจากอาการแพ้ยาที่ใช้ในการรักษาโรค Croup หรือกล่องเสียงและหลอดลมใหญ่อักเสบเฉียบพลัน หลังจากที่ค้นพบแล้ว คุณหมอจึงนำ Joel ไปรักษาในห้อง Intensive Care เป็นเวลากว่า 5 วัน ระหว่างนั้นคุณหมอก็บอกให้คุณแม่เตรียมใจเอาไว้หากเกิดเรื่องร้ายแรง

 

Tammy เล่าถึงความรู้สึกใจสลายในวันนั้นว่า หมอแทบจะไม่ให้ความหวังเลยว่าลูกจะยังมีชีวิตรอด แต่เราก็ต้องมีความหวังและสวดภาวนาให้ลูกรอดปลอดภัย ผ่านพ้นอาการเลวร้ายนี้ไปให้ได้

 

ลูกเกือบเสียชีวิตเพราะหมอวินิจฉัยผิด คิดว่าเป็นโรคอีสุกอีใส

หลังจากที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้เข้ามาดูอาการ ก็ตัดสินใจพันผิวหนังของ Joel ด้วยผ้าพันแผลตลอดตัว เพื่อไม่ให้เกิดการติดเชื้อ และทำให้ผิวหนังได้ฟื้นฟูกลับมาเหมือนเดิม โดย Joel จำไม่ได้เลยว่า ผิวหนังของตัวเองเป็นอย่างไร มีแผลเต็มตัวขนาดไหน และต้องเข้ารับการผ่าตัดผิวหนังที่ตายแล้วออกจากร่างกาย ซึ่งใช้เวลาในการผ่าตัดนาน 8 ชั่วโมง

Advertisement

 

เป็นเรื่องน่ายินดีที่หนุ่มน้อย Joel ได้ผ่านพ้นเรื่องราวร้ายๆ จนร่างกายกลับมาเป็นปกติ สามารถกลับบ้านไปใช้ชีวิตกับครอบครัวได้ดังเดิม

 

อาการ SJS ร้ายแรงแค่ไหน

ในทุกๆ 5 คน ที่มีอาการ SJS จะเสียชีวิต 1 คน! ถือเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างน่ากลัวทีเดียว โดยกลุ่มอาการ Stevens Johnson Syndrome เป็นปฏิกิริยาแพ้ยาที่รุนแรง ลักษณะเริ่มต้นเป็นผื่นแพ้ที่ผิวหนัง จากนั้นผิวหนังจะตายและเกิดผิวหนังลอก ทั้งยังเกิดได้ในเยื่อบุ เช่น ภายในปาก หรือช่องคลอด

 

สาเหตุของอาการนั้น เกิดจากภูมิคุ้มกันในร่างกายมีปฏิกิริยาต่อยา หรือการติดเชื้อ ทำให้เซลล์ผิวหนังและเยื่อบุผิวเกิดอักเสบ โดยอาการเบื้องต้น จะมีตุ่มหรือผื่นลุกลามไปทั่วร่างกาย แล้วกลายเป็นแผลพุพองและลอกตัวออกมา ซึ่งก่อนจะเกิดผื่น ผู้ป่วยจะมีไข้ ปวดเมื่อย เจ็บคอ คล้ายๆ กับเป็นหวัด อาจมีอาการปวดข้อ อาเจียน หรือถ่ายเหลวร่วมด้วย

 

ที่มา : ph.theasianparent.com และ vachiraphuket.go.th

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

โรค Stevens-Johnson อาการแพ้ยาที่อาจรุนแรงถึงชีวิตลูกรัก

เรื่องจริง!! แพ้ยาย้อมผมจากเฮนน่าจนหน้าบูดเบี้ยว

 

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ลูกเกือบเสียชีวิตเพราะหมอวินิจฉัยผิด คิดว่าเป็นโรคอีสุกอีใส
แชร์ :
  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว