ลูกมีปานแดงที่หัว สัญญาณอันตราย
ลูกมีปานแดงที่หัว ปานแดงที่หัวเกิดจากอะไร ปานแดง เกิดจากเนื้องอกที่ผิวหนัง ประกอบด้วย เซลล์ที่เต็มไปด้วยหลอดเลือมากมาย ทำให้ปานมีสีแดงหรือสีแดงเข้ม ขึ้นอยู่กับระดับความลึกของเนื้องอกค่ะ ส่วนสาเหตุที่เกิดยังไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจน ซึ่งโรคปานแดงในเด็กนั้น อาจมีอันตรายมากขึ้นเมื่อทารกเป็น และจะหญิงอันตรายถ้าลูกเป็นผู้หญิง คลอดก่อนกำหนด มีน้ำหนักตัวน้อย คุณแม่เคยแท้งมาก่อน และคุณแม่มีลูกเมื่ออายุมากกว่า 30 ปีค่ะ
ลักษณะอาการของปานแดงในเด็ก
ปานแดงจะขยายอย่างรวดเร็วในช่วงขวบปีแรก โดยเฉพาะในช่วง 5 เดือน จากนั้นเข้าสู่ระยะที่เนื้องอกลดลง แล้วค่อยๆ จางหายไปที่สุด ส่วนมากจะพบที่บริเวณศีรษะ ใบหน้า และลำคอ แต่บางครั้งก็อาจพบบริเวณอื่นได้ เช่น ตับ ม้าม กล่องเสียง และระบบทางเดินอาหาร
ปานแดงที่มักพบในเด็ก
- ปานแดงชนิดราบ ลักษณะจะเป็นรอยแดงกระจายไปทั่ว รูปร่างไม่แน่นอน ขนาดเล็กใหญ่ต่างกัน และมักพบบริเวณใต้ผมที่ต้นคอ หรือที่ใบหน้า สามารถพบได้ตั้งแต่แรกเกิดไม่มีอันตรายต่อร่างกาย
- ปานแดงชนิดนูน จะมีสีแดงสดถึงสีแดงคล้ำ ผิวนุ่ม ไม่เรียบ พบได้ทุกส่วนของร่างกาย เมื่อโตขึ้นปานจะค่อยๆ ยุบหายไปเองภายใน 2-5 ปี โดยไม่ต้องรักษา ยกเว้นถ้าปานแดงชนิดนี้เกิดบริเวณที่บาดเจ็บง่ายหรือทำให้เกิดความผิดปกติของอวัยวะอื่น เช่น เปลือกตา
- ปานแดงหลอดเลือด เป็นปานสีแดงหรือแดงอมม่วงคงอยู่ไม่จางหายไป มีสีเข้ม หรืออาจนูนหนา และขรุขระตามอายุที่มากขึ้น อาจพบร่วมกับความผิดปกติของหลอดเลือดสมองได้
- ปานแดงจากผนังเส้นเลือดผิดปกติ เป็นตุ่มนูนหรือปื้นสีแดงเข้มขนาดใหญ่ บริเวณใบหน้า
ลูกมีปานแดงที่หัว
ปานแบบไหนที่เป็นอันตราย
1. ปานแดงที่เป็นแบบนูนคล้ายสตรอว์เบอร์รี่
หากขึ้นบริเวณเปลือกตาจะอันตรายมาก เพราะจะทำให้ลุกน้อยลืมตาไม่ได้ จนสุดท้ายกลายเป็นโรคตาขี้เกียจตามมา ดังนั้น ถ้าลูกมีปานแบบนี้ ให้รับปรึกษาคุณหมอโดยด่วน ซึ่งวิธีการรักษาจะมี 2 วิธี ด้วยกันคือ เลเซอร์ หรือกินยาสเตียรอยด์
วิธีการสังเกตปานลักษณะแบบนี้ คือ จะมีลักษณะเป็นจุดแดงเล็กๆ คล้ายยุงกัด หรืออาจไม่มีรอยใดๆ เมื่อแรกเกิด แต่จะโตชัดขึ้นเรื่อยๆเป็นลักษณะคล้ายลูกสตรอว์เบอร์รี่ จนหยุดโตเมื่ออายุประมาณ 1-2 ขวบ แล้วจึงค่อยๆ เล็กลงเรื่อยๆ จนหายไปเองในที่สุด ร้อยละ 50 หายที่อายุ 5 ขวบ ร้อยละ 90 หายที่อายุ 9 ขวบ
2. ปานแดงจากผนังเส้นเลือดผิดปกติ
มักพบตั้งแต่วัยแรกเกิด และจะอยู่ตลอดไปไม่จางลง มักขึ้นอยู่ที่ซีกใดซีกหนึ่งของร่างกายค่ะ แถมยังขยายขึ้นเรื่อย ๆ ตามตัวเด็กด้วย ทั้งยังมีสีที่เข้มขึ้น นูน ขึ้นและขรุขระเพิ่มขึ้นตามอายุอีก ถ้าคุณพ่อคุณแม่พบเห็นปานบริเวณใบหน้า จะอันตรายมาก ควรรีบพาไปพบคุณหมอ เพราะหากขึ้นที่เปลือกตาอาจส่งผลทำให้เกิดต้อหิน ตาบอด หรือเกิดความผิดปกติของสมองได้
3. เนื้องอกหลอดเลือดในเด็ก
พบมากที่สุดในเด็ก โดยพบประมาณร้อยละ 5 ในทารกแรกเกิด และร้อยละ 5-10 ในเด็กอายุ 1 ปี ส่วนใหญ่จะพบในเด็กหญิงมากกว่าเด็กชาย บางรายอาจพบมีจุดหรือปื้นสีแดงนำมาก่อน ลักษณะของปานที่พบบ่อย จะเป็นก้อนนูนสีแดงสด ผิวขรุขระ ซึ่งก้อนเนื้องอกชนิดนี้จะมีขนาดโตมากขึ้นภายใน 6-9 เดือนแรกของชีวิต หลังจากนั้นก้อนจะค่อยๆ ยุบลงได้เองภายหลังอายุ 1 ปี
เมื่อปานยุบไป อาจหลงเหลือความผิดปกติของผิวหนังได้ และจะยิ่งอันตรายมากขึ้น หากปานไปขึ้นอยู่ที่บริเวณใบหน้า หรือเป็นรอยโรคที่อาจก่อปัญหา หรือมีภาวะแทรกซ้อน เช่น รอบดวงตา ใบหู หรือปรากฏมากกว่า 5 อัน ควรพาลูกไปพบคุณหมอ เพื่อตรวจติดตามและรับการรักษาที่เหมาะสม
ลูกมีปานแดง
เมื่อไหร่ควรพาลูกไปหาหมอ
เมื่อคุณแม่คุณพ่อเห็นแล้วว่า ปานแดงมีขนาดใหญ่ ขยายขนาดโตรวดเร็วมากเกินไป เกิดในตำแหน่งที่อาจส่งผลต่อพัฒนาการเด็ก ได้แก่
- เกิดบริเวณใบหน้า มีขนาดใหญ่กว่า 5 เซนติเมตร ซึ่งคุณหมออาจจะตรวจร่างกายลูกน้อยเพิ่มเติม เพราะอาจจะเกิดความผิดปกติอื่น เช่น ความผิดปกติของเส้นเลือดในสมอง
- เกิดบริเวณหนังตา ทำให้ลูกไม่สามารถมองเห็นได้ชัด หรือทำให้เกิดการมองเห็นที่ผิดปกติ
- เกิดบริเวณกรามล่าง อาจทำให้ลูกมีปัยหาในการหายใจได้
- เกิดบริเวณหลัง และทวารหนัก ซึ่งอาจเกิดความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะได้
ที่มา: kapook, mahidol
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:
8 ท่าอุ้มทารกที่ถูกต้อง ปลอดภัย และสบายสำหรับเจ้าตัวน้อย ท่าอุ้มทารกสำหรับพ่อแม่มือใหม่
ทารกร้องไห้ไม่มีเสียง ทารกชอบร้องกลั้น ลูกร้องไห้ ตัวสั่น ร้องไห้หนักมาก แต่ไม่มีเสียง
โรคร้ายในเด็กที่มากับหน้าหนาว โรคที่ทำให้เด็กป่วย มีอะไรบ้าง พ่อแม่ควรทำอย่างไร!
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!