X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกตัวเตี้ย ต้องไปหาหมอเลยหรือ แล้วเตี้ยแค่ไหนถึงเรียกผิดปกติ

บทความ 3 นาที
ลูกตัวเตี้ย ต้องไปหาหมอเลยหรือ แล้วเตี้ยแค่ไหนถึงเรียกผิดปกติ

กลัวลูกเตี้ย ทำอย่างไรดี แล้วทำไมลูกตัวเตี้ย ลูกตัวเตี้ย ต้องไปหาหมอเลยหรือ แล้วเตี้ยแค่ไหนถึงเรียกผิดปกติ ป้องกันและแก้ไขอย่างไร

ลูกตัวเตี้ย ปัญหาที่พ่อแม่กังวล ตัวเตี้ย คุณพ่อคุณแม่หลายคน มักจะมีความกังวลเรื่องความสูงของลูก ไม่อยากให้ ลูกตัวเตี้ย พอเห็นลูกยืนเทียบกับเด็กคนอื่นก็สงสัย ว่าทำไมตัวเตี้ยกว่าเพื่อน จนเครียดเพราะกลัวว่าลูกจะโตไม่ทันเพื่อน ในขณะที่บางคนก็อาจจะสงสัยว่า เอ๊ะ ถ้าพ่อแม่ตัวเตี้ย แล้วลูกจะเตี้ยไปด้วยไหม แล้วจะมีวิธีใดที่จะช่วยเพิ่มความสูงของลูกได้บ้าง ไปหาคำตอบพร้อมกัน

ลูกตัวเตี้ย

ทำไมลูกตัวเตี้ย

1. พันธุกรรม ตัวเตี้ย

สาเหตุอันดับต้น ๆ ที่ทำให้เด็กตัวเตี้ย นั่นก็คือเตี้ยตามพันธุกรรม อย่างไรก็ตาม แม้ว่าพันธุกรรมจะมีอิทธิพลต่อการกำหนดส่วนสูงของลูก แต่ถ้าลูกได้รับการกระตุ้นอย่างถูกวิธี ก็จะทำให้สูงได้เช่นกัน

2. มีภาวะหลั่งฮอร์โมนผิดปกติ

ภาวะการหลั่งฮอร์โมนผิดปกติ เช่น ภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์, ขาดฮอร์โมนแห่งการเจริญเติบโต (Growth Hormone), หรือมีฮอร์โมนคอร์ติซอลมากเกินไป ก็สามารถส่งผลต่อความสูงของเด็กได้

3. มีภาวะเป็นสาวก่อนวัย

ภาวะเป็นสาวก่อนวัย หมายถึง การที่เด็กผู้หญิงมีพัฒนาการทางเพศก่อนวัยอันควร คือ มีพัฒนาการของเต้านมก่อนอายุ 8 ขวบ หรือมีประจำเดือนครั้งแรกก่อนอายุ 9 ขวบ เกิดจากความผิดปกติของต่อมใต้สมองที่เข้าไปกระตุ้นรังไข่ จนทำให้มีการผลิตฮอร์โมนเพศเร็วกว่าปกติ ซึ่งอาจจะมีผลทำให้ความสูงของเด็กจะค่อย ๆ ช้าลงและหยุดสูงใน 2-3 ปีได้

4. การเลี้ยงดู

การเลี้ยงดู ก็มีผลต่อความสูงของเด็กเช่นกัน ได้แก่เรื่องอาหารการกิน ซึ่งก็รวมถึงเรื่องอาหารที่คุณแม่กินในระหว่างตั้งครรภ์ และอาหารที่ลูกกินหลังคลอดออกมาแล้วด้วย และการออกกำลังกาย เพราะหากเด็กได้รับสารอาหารที่เพียงพอ และออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ก็จะช่วยกระตุ้นให้กระดูกมีการเติบโตได้ดี และมีการหลั่งฮอร์โมนช่วยเจริญเติบโตเพิ่มมากขึ้น

5. ความเครียด

ความเครียดของเด็กจากสภาพแวดล้อมรอบตัว ทั้งในครอบครัว และในโรงเรียน โดยเฉพาะการเรียนในปัจจุบันนั้น ส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นไปที่ผลสำเร็จ และมีการแข่งขันสูง ส่งผลให้เด็กเครียดมากขึ้น ซึ่งความเครียดนั้น สามารถส่งผลต่อการหลั่งฮอร์โมนการเจริญเติบโตที่ผิดปกติได้

6. ความเจ็บป่วยอื่น ๆ ตัวเตี้ย

เด็กบางคนที่ไม่สบายบ่อย หรือมีอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หรือโรคปอด ก็อาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตได้เช่นกัน

เตี้ยแค่ไหนถึงเรียกผิดปกติ

พญ.ดบัสวินี สุขโขใจวรัตถ์กุล กุมารแพทย์ด้านต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิสม์ศูนย์กุมารเวชกรรม โรงพญาบาลพญาไท ศรีราชา ได้ให้คำแนะนำผ่านทางเวปไซต์ของโรงพญาบาล phyathai-sriracha.com เอาไว้ดังนี้

“การประเมินส่วนสูงของเด็กตามพันธุกรรมว่า “ควรจะสูงได้เท่าไร” คำนวณได้คร่าวๆ จากความสูงของพ่อและแม่ โดยคิดดังนี้”

เด็กผู้หญิง = (ความสูงของพ่อ +ความสูงของแม่ – 13) หาร 2 โดยความสูงที่ควรจะเป็นมีค่า บวกหรือลบ 8 ซม.

เด็กผู้ชาย = (ความสูงของพ่อ +ความสูงของแม่ + 13) หาร 2 โดยความสูงที่ควรจะเป็นมีค่า บวกหรือลบ 10 ซม.

ลูกตัวเตี้ย

กลัวลูกเตี้ย ทำอย่างไรดี

โดยทั่วไปแล้ว เด็กจะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วง 3 ปีแรก ดังนั้น การดูแลปัจจัยพื้นฐานของเด็กในช่วงวัยนี้จึงมีความสำคัญอย่างมาก ทั้งในเรื่องของการกินอาหาร การออกกำลังกาย และสภาพแวดล้อมรอบตัว โดยเฉพาะเด็กที่ตัวเตี้ยจากพันธุกรรม กล่าวคือ ถึงแม้ว่าพ่อแม่จะไม่สูง แต่ถ้าลูกได้รับการกระตุ้นอย่างถูกวิธี ก็จะทำให้สูงได้เช่นกัน

วิธีป้องกันและแก้ไข ได้แก่

  • ให้ลูกกินอาหารให้ครบ 5 ดื่มนม งดดื่มน้ำอัดลม
  • ส่งเสริมให้ลูกได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ให้ลูกนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ

นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยสังเกตการเจริญเติบโตของลูก ถ้าเตี้ยกว่าเกณฑ์ หรือโตเร็วกว่าปกติ ควรรีบมาพบแพทย์ เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้องต่อไป


ที่มา healthychildren.org, phyathai-sriracha.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

8 สัญญาณเตือน ลูกพัฒนาการช้า ที่พ่อแม่สังเกตได้ตั้งแต่แรกเกิด

16 วิธีพัฒนา EF ช่วยให้ลูกเก่ง ฉลาด เสริมสร้างทักษะการคิด

10 ข้อคิดสอนลูกยุคใหม่ ทำอย่างไรให้เก่งกว่าพ่อแม่อย่างเรา

บทความจากพันธมิตร
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ลูกตัวเตี้ย ต้องไปหาหมอเลยหรือ แล้วเตี้ยแค่ไหนถึงเรียกผิดปกติ
แชร์ :
  • ทำไมไม่มีใครเล่นกับหนู?  รับมือ ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก อย่างเข้าใจหัวใจเด็ก

    ทำไมไม่มีใครเล่นกับหนู? รับมือ ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก อย่างเข้าใจหัวใจเด็ก

  • ลูกชอบตีตัวเอง สัญญาณเตือนที่พ่อแม่ต้องรู้ และวิธีหยุดอย่างปลอดภัย

    ลูกชอบตีตัวเอง สัญญาณเตือนที่พ่อแม่ต้องรู้ และวิธีหยุดอย่างปลอดภัย

  • ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

    ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

  • ทำไมไม่มีใครเล่นกับหนู?  รับมือ ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก อย่างเข้าใจหัวใจเด็ก

    ทำไมไม่มีใครเล่นกับหนู? รับมือ ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก อย่างเข้าใจหัวใจเด็ก

  • ลูกชอบตีตัวเอง สัญญาณเตือนที่พ่อแม่ต้องรู้ และวิธีหยุดอย่างปลอดภัย

    ลูกชอบตีตัวเอง สัญญาณเตือนที่พ่อแม่ต้องรู้ และวิธีหยุดอย่างปลอดภัย

  • ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

    ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว