ก่อนอื่นพ่อแม่ก็ต้องทำความเข้าใจว่าลูกวัยนี้ยังจัดการกับภาวะอารมณ์ของตัวเองไม่ได้ การงอแงของลูกนั้นมักจะเกิดจากความหงุดหงิด ไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการ และเมื่อหาทางออกไม่เจอ การร้องไห้งอแงจึงเป็นทางออกที่ดีในของตัวลูก พวกเขาอาจทำมันไปเรื่อย ๆ จนกลายเป็นนิสัย ถ้าลูก ๆ ของคุณไม่ยอมที่จะฟังอะไร หรือร้องไห้กับทุกเรื่อง คงจะทำให้คุณพ่อคุณแม่เลี้ยงลูกยากขึ้นไปอีกแน่ ๆ
เมื่อลูกงอแงมากทำอย่างไรดี
1.บอกกับลูก ๆ ว่าเสียงงอแงของเขามันฟังดูเป็นอย่างไร เหมือนเสียงกรีดร้องของเจ้ายักษ์ตัวร้ายในนิทานหรือเปล่า อธิบายให้ลูก ๆ ได้เข้าใจมากกว่าการไปออกคำสั่งว่า “ให้หยุดงอแงซะที”
2.ลองอัดคลิปเวลาที่ลูกงอแงเก็บมาเปิดให้ลูกดู แล้วอธิบายว่าสิ่งที่พวกเขาทำลงไปไม่น่ารักเลย
3.ชื่นชมเวลาที่ลูกไม่งอแง บอกกับลูกไปว่า “พ่อแม่ชอบเวลาที่หนูพูดดี ๆ มันทำให้พ่อแม่มีความสุขมาก และหนูจะกลายเป็นเด็กน่ารักที่สุดในโลก”
4.เมื่อลูกงอแงบอกกับเขาไปว่า “แม่จะช่วยก็ต่อเมื่อลูกหยุดงอแง และขอแม่ด้วยน้ำเสียงที่ปกติ”
5.บอกกับลูกไปว่า “แม่ไม่เข้าใจหนูตอนที่พูดงอแงเลย ฟังไม่ออกว่าหนูพูดว่าอะไร” พยายามกระตุ้นให้ลูกพูดด้วยน้ำเสียงที่ชัดเจนมากขึ้น
6.เมื่อลูกงอแงลองหยอกล้อกับลูกว่า เสียงพูดของเขาหายไปไหนนะ ช่วยกันค้นหาว่ามันอยู่ที่ไหน “นี่ไงมันอยู่ใต้หมอนนี่เอง”
7.เมื่อลูกงอแง ขอให้พ่อแม่ใช้ความอดทน เพราะตอนที่ลูกงอแงนั้นพวกเขาจะรู้สึกอ่อนแอ ถ้าเราไปดุลูกมากขึ้นไปอีกก็จะยิ่งไปเพิ่มความรู้สึกว่าอ่อนแอให้กับลูก แต่ถ้าเรายอมเพื่อที่จะให้ลูกหยุดงอแงก็เท่ากับกลายเป็นให้รางวัลกับความอ่อนแอนั้น ดังนั้นถ้าเราทำเรื่องเล็กที่ดูเหมือนเป็นเรื่องใหญ่ของลูกให้กลายเป็นเรื่องสนุกสนาน และสร้างความผ่อนคลายให้กับลูก ก็จะช่วยทำให้เขาลืมในสิ่งที่กำลังเรียกร้องลงได้
8.อย่าปล่อยให้ความงอแงของลูกส่งผลทำให้พ่อแม่ต้องอารมณ์เสีย พวกคุณต้องพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะทำให้คุณรู้สึกผิดหวัง
9.ถ้าลูก ๆ อายุมากกว่า 5 ขวบยังงอแง ลองใช้วิธีปรับเงินหรือลดเงินค่าขนมทุกครั้งที่งอแง แล้วก็นำเงินไปเก็บไว้ในขวดโหลเพื่อให้ลูกเห็นว่าเขาเสียเงินไปเท่าไหร่แล้ว และถ้าวันไหนลูกไม่ได้งอแงทั้งวัน ลูกก็จะได้รับเงินคืน
10.ทุกคนสามารถมีอารมณ์หงุดหงิดไม่พอใจ โมโหและหัวเสียได้ในบางครั้ง แม้แต่ตัวพ่อแม่เอง ดังนั้นอย่าพยายามแสดงอารมณ์งอแงต่อหน้าลูก เพราะลูก ๆ จะคอยดูในสิ่งที่คุณทำและฟังในสิ่งที่คุณพูด จำไว้ว่าพ่อแม่คือแบบอย่างของลูก ๆ ไม่ว่าจะในทางที่ดีหรือทางที่แย่
11.เมื่อลูกเริ่มงอแง พยายามที่ตั้งใจฟังในสิ่งที่ลูกพูด เพื่อที่จะช่วยหยุดการงอแงของลูกได้ทันที เพราะหากคุณไม่สนใจเลยก็จะทำให้พวกเขาผิดหวังและอาจนำไปสู่การงอแงหนักมากขึ้นได้
12.มองหาสาเหตุที่ลูกงอแงหน่อยไหม มันอาจจะเป็นเพียงความต้องการขั้นพื้นฐานที่ลูกไม่ยอมพูด อย่างความหิวหรือความเหนื่อยที่อาจทำให้ใครก็ตามงอแงได้
การที่เจ้าตัวเล็กงอแงโดยส่วนใหญ่แล้ว มันเป็นวิธีการที่เรียกร้องในสิ่งที่เขาต้องการบางอย่าง และเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายกว่าการร้องไห้เสียอีก มักจะเกิดขึ้นกับเด็กอายุ 2 ขวบหรือในช่วงก่อนวัยเรียนจนกระทั่งอายุ 6 – 7 ขวบ ลองคิดดูว่าทำไมลูกถึงร้องไห้งอแงถ้ามันดูไม่ผิดปกติกว่าทุกที พวกเขาต้องการอะไร? พวกคุณยุ่งมากเป็นพิเศษหรือเปล่า? หรือลูกต้องการความช่วยเหลือจากพ่อแม่หรือเปล่า? การหาสาเหตุและหนทางจะช่วยให้ลูกหยุดงอแงได้ก่อนที่มันจะกลายเป็นนิสัย ลองพยายามที่จะใช้เวลาในการรับฟังลูก ๆ และลองทำตามเคล็ดลับนี้ดูนะคะ
Source : www.kidsactivitiesblog.com
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
วิธีปลอบลูกน้อยงอแงที่ช่วยให้คุณแม่หายเหนื่อย
วัยทอง 2 ขวบ ลูกงอแงไร้เหตุผล พัฒนาการที่แม่ต้องรู้
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!