ลดไข้ เพิ่มน้ำนม ใบกะเพรา ขึ้นชื่อว่าสมุนไพรไทย ย่อมมีคุณประโยชน์มากกว่า 10 อย่างแน่นอน… เช่นเดียวกับ “ใบกะเพรา” ที่บอกเลยว่างานนี้ มีดีมากกว่าความอร่อย!
ใบกะเพรานั้น นอกจากจะสามารถใช้ทำเป็นยาอายุวัฒนะแล้ว ยังมีคุณประโยชน์มากมายที่บอกเลยว่า ใช้ได้กับสมาชิกทุกคนในบ้านจริง ๆ และนี่คือคุณประโยชน์ทั้งหมดที่เรานำมาฝากกัน
ลดไข้ เพิ่มน้ำนม ใบกะเพรา ทำไมถึงมีดีมากกว่าความอร่อย อยากรู้ว่าจะดีแท้แค่ไหน แล้วทำไมถึงเหมาะกับสมาชิกทุกคนในบ้าน พร้อมแล้วไปหาคำตอบกันค่ะ
ใบกะเพราช่วยอะไรได้บ้าง?
- ใบกะเพราช่วยทำให้ร่างกายอบอุ่นและป้องกันอาการหวัดได้
- รากกะเพราแห้งนำมาชงหรือต้มกับน้ำร้อนดื่ม ช่วยแก้โรคธาตุพิการ
- ใบกะเพราะช่วยบำรุงธาตุไฟ
- ช่วยแก้อาการคลื่นเหียนอาเจียน
- ช่วยแก้อาการปวดด้วยการใช้ใบกะเพรานำมาคั้นรับประทานสด 1 ถ้วยตะไล จะช่วยแก้อาการปวดมวนท้องได้เป็นอย่างดี
- ช่วยขับลมแก้อาการปวดท้องอุจจาระ
- ใบกะเพรามีสรรพคุณช่วยขับลมในกระเพาะ
- ช่วยแก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง
- น้ำสกัดจากทั้งต้นของกะเพรามีฤทธิ์ช่วยลดการบีบตัวของลำไส้
- น้ำสกัดจากทั้งต้นสามารถช่วยในการย่อยไขมัน
- ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร
- กะเพรามีสรรพคุณช่วยขับน้ำดี
- นำใบกะเพราประมาณ 1 กำมือ มาตำผสมเหล้าขาวแล้วนำมาทาบริเวณที่เป็นลมพิษ ก็จะสามารถช่วยลดอาการลมพิษได้
- สรรพคุณของกะเพราใช้ทำเป็นยารักษากลากเกลื้อน ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 20 ใบนำมาขยี้ให้น้ำออกมา แล้วนำมาใช้ทาบริเวณที่เป็นวันละ 2 – 3 ครั้งจนกว่าจะหาย
- ใช้เป็นยารักษาหูด ด้วยการใช้ใบกะเพราแดงสดนำมาขยี้แล้วทาบริเวณที่เป็นหูดเช้า – เย็น จนกว่าหัวหูดจะหลุดออกมา โดยระวังอย่าให้เข้าตาและถูกบริเวณผิวที่ไม่ได้เป็นหูด เพราะจะทำให้เนื้อดีเน่าเปื่อยและรักษาได้ยาก
- ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้ ด้วยการใช้ใบกะเพรานำมาตำผสมกับเหล้าขาว แล้วนำมาทาบริเวณที่ถูกกัด ห้ามนำมารับประทานเด็ดขาดเพราะจะมีสารยูจีนอล ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการระคายเคืองในกระเพาะอาหารและอาจถึงขั้นโคม่าได้
- ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคและช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์บางชนิดได้ (น้ำมันใบกะเพรา)
- มีงานวิจัยพบว่ากะเพราสามารช่วยยับยั้งสารอะฟลาทอกซิน ซึ่งเป็นสารพิษที่มักพบเจือปนในอาหารซึ่งเป็นสารก่อโรคมะเร็งได้
- ใบกะเพรามีฤทธิ์ในการช่วยขับไขมันและน้ำตาลส่วนเกินออกจากร่างกาย ช่วยลดระดับไขมันในร่างกายและช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยป้องกันโรคเบาหวานได้ โดยมีการใช้ใบกะเพราในกระต่ายทดลอง โดยให้กระต่ายกินใบกะเพราติดต่อ 4 สัปดาห์พบว่าระดับไขมันโดยรวมลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งไขมันเลว (LDL) ลดลง แต่ไขมันชนิดดี (HDL) กลับเพิ่มขึ้น
- ช่วยเพิ่มน้ำนมให้สตรีหลังคลอดบุตร ด้วยการใช้ใบกะเพราสดประมาณ 1 กำมือ นำมาใส่แกงเลียงรับประทานบ่อย ๆ ในช่วงหลังคลอด
- นำเมล็ดไปแช่น้ำจะพองตัวเป็นเมือกขาว นำมาใช้พอกบริเวณตา เมื่อมีฝุ่นละอองหรือเศษผงเข้าตา ผงหรือฝุ่นละอองก็จะหลุดออกมา โดยไม่ทำให้ตาของเรานั้นช้ำอีกด้วย
- ใบและกิ่งสดของกะเพรามีการนำมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหยด้วยการต้มกลั่นจนได้น้ำมันหอมระเหยร้อยละ 0.08 – 0.1 โดยมีราคาประมาณกิโลกรัมละหนึ่งหมื่นบาท
- ใช้ไล่ยุงหรือฆ่ายุง ด้วยการใช้ทั้งใบสดและกิ่งสด เอาใบมาขยี้แล้ววางใกล้ตัว ๆ จะช่วยไล่ยุงและแมลงได้ โดยน้ำมันกะเพราที่สกัดมาจากใบจะมีคุณสมบัติช่วยไล่ยุงได้ดีกว่าต้นสด
- น้ำมันสกัดจากใบสด ช่วยล่อแมลง ทำให้แมลงวันทองบินมาตอมน้ำมันนี้
- ประโยชน์ของกะเพรา ใช้ในการประกอบอาหารและช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ ในเมนูกะเพราสุดโปรด เช่น ผัดกะเพรา แกงเลียง แกงป่า แกงคั่ว แกงเขียวหวาน แกงส้มมะเขือขื่น ผัดกบ ผัดหมู ผัดปลาไหล พล่าปลาดุก พล่ากุ้ง หรือจะนำใบกะเพรามาทอดแล้วใช้โรยหน้าอาหารเมนูต่าง ๆ ก็ได้ ฯลฯ
- ใบกะเพราสามารถช่วยดับกลิ่นปากอันไม่พึงประสงค์ได้
และที่น่าสนใจสำหรับคุณแม่ทุก ๆ คนก็คือ กลิ่นและรสอันเป็นเอกลักษณ์ของใบกะเพรา มีองค์ประกอบหลักคือ น้ำมันหอมระเหยที่ชื่อว่า จีนอล กับเมทิลยูจีนอลนั้นส่งผลดีต่อระบบทางเดินหายใจ ในตำรับยาไทยจึงบอกว่า กะเพราช่วยขับเสมหะ ขับเหงื่อ ลดและแก้ไข้ และมีการศึกษาในคนไข้หอบหืดยืนยันว่า กะเพราทำให้ปอดมีการทำงานดีขึ้น การหายใจสะดวกขึ้น มีฤทธิ์เสริมภูมิคุ้มกันในร่างกายให้แข็งแรงขึ้นได้อีกด้วย
ลดไข้ เพิ่มน้ำนม ใบกะเพรา ทำไมถึงมีดีมากกว่าความอร่อย อยากรู้ว่าจะดีแท้แค่ไหน แล้วทำไมถึงเหมาะกับสมาชิกทุกคนในบ้าน พร้อมแล้วไปหาคำตอบกันค่ะ
ข้อควรระวังของใบกะเพรามีอะไรบ้าง?
- เป็นพืชที่มีรสเผ็ดร้อนมาก หากรับประทานมากจนเกินไป ก็อาจจะทำคุณแม่เกิดอาการฃร้อนในได้
- เลือกกะเพราที่ปลอดสารพิษ หรือปลูกเองได้จะดีที่สุด
- หากคุณแม่ใช้เพื่อการรักษาควรเลือกใช้ในปริมาณที่เหมาะสมจะดีกว่า และไม่ควรใช้ติดต่อกันนานจนเกินไป
สมุนไพรเพิ่มน้ำนม และอาหารกระตุ้นน้ำนมจริงไหม?
สำหรับคุณแม่ ทีมีปัญหาเรื่องน้ำนมน้อย เรามีเมนูจากสมุนไพรเพิ่มน้ำนม ที่นอกจากจะมีประโยชน์ในการเพิ่มน้ำนมแล้ว ยังมีสรรพคุณทางด้านอื่น ๆ ที่ดีต่อสุขภาพของทั้งคุณแม่ และลูกน้อยอีกด้วย เรามาดูกันว่า สมุนไพรเพิ่มน้ำนม ที่คุณแม่สามารถหากินได้ง่าย ๆ แถมยังช่วยเพิ่มน้ำนมอย่างได้ผล มีอะไรบ้าง
1. กุยช่าย
กุยช่ายเป็นสมุนไพรที่มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก คาร์โบไฮเดรต และวิตามินซี ช่วยในการขับน้ำนม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ และขับลมได้ดี
เมนูแนะนำ
นำส่วนดอกมาผัดกับเนื้อสัตว์ หรือนำใบมากินสดแกล้มกับผัดไทยหรืออาหารอื่น ๆ
2. กานพลู
น้ำมันที่อยู่ในดอกกานพลูมีส่วนประกอบสำคัญคือยูจีนอง กานพลูนอกจากจะช่วยขับน้ำนมแล้ว ยังมีฤทธิ์ช่วยขับน้ำดีเพื่อนำไปย่อยอาหาร และบรรเทาอาการจุกเสียด แน่นท้องได้ด้วย
เมนูแนะนำ
นำดอกตูมแห้งประมาณ 5 – 8 ดอก มาชงในน้ำเดือด แล้วดื่มแต่น้ำ
3. ขิง
ขิงจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ทำให้น้ำนมของคุณแม่ไหลได้ดี และช่วยขับลม แก้อาเจียน และเชื่อกันว่าหากคุณแม่ทานขิงเข้าไป สรรพคุณที่ดีของขิงจะผ่านไปสู่ลูกผ่านการให้นม ทำให้ลูกไม่ปวดท้อง
เมนูแนะนำ
ยำขิงอ่อน ไก่ผัดขิง โจ๊กใส่ขิง หรือต้มเป็นน้ำขิงดื่มอุ่น ๆ ก็ได้นะ
4. มะรุม
ใบมะรุมมีวิตามินซีสูงกว่าส้ม มีโปรตีน และแคลเซียมสูงกว่านม มีวิตามมินเอสูงกว่าแครอท และมีโพแทสเซียมสูงกว่ากล้วย ซึ่งดีสำหรับแม่และลูก โดยมะรุมถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคขาดสารอาหารในเด็กแรกเกิดถึง 10 ขวบ ใบและดอกของมะรุมมีสรรพคุณในการขับน้ำนมได้เป็นอย่างดี
เมนูแนะนำ
แกงส้มใบ หรือดอกมะรุมก็เป็นเมนูที่ทำได้ไม่ยากแถมยังถูกปากคุณแม่หลายท่านอีกด้วย
5. ใบแมงลัก
ใบแมงลักเป็นสมุนไพรที่มีรสหอมร้อน ทำให้น้ำนมไหลได้ดี อีกทั้งยังช่วยขับลม ขับเหงื่อได้อีกด้วย
เมนูแนะนำ
ใส่ใบแมงลักลงในแกงเลียง แกงป่า หรือกินสดแกล้มกับขนมจีน
ลดไข้ เพิ่มน้ำนม ใบกะเพรา ทำไมถึงมีดีมากกว่าความอร่อย อยากรู้ว่าจะดีแท้แค่ไหน แล้วทำไมถึงเหมาะกับสมาชิกทุกคนในบ้าน พร้อมแล้วไปหาคำตอบกันค่ะ
6. พริกไทย
พริกไทยเป็นสมุนไพรที่มีรสร้อน ทำให้น้ำนมไหลได้ดี และช่วยขับลม ขับเหงื่อ
เมนูแนะนำ
พริกไทยอ่อนผัดกับเนื้อสัตว์ หรือเป็นพริกไทยผงใส่ในต้มเลือดหมูหรือโจ๊กก็ได้
7. ใบตำลึง
ใบตำลึงมีสารอาหารและเส้นใยอาหารในปริมาณมาก ช่วยบำรุงน้ำนม ทำให้มีน้ำนมมากและช่วยบำรุงเลือด บำรุงกระดูก บำรุงสายตา และยังหาได้ไม่ยาก จึงเป็นที่นิยมนำมาประกอบอาหารกันอยู่บ่อย ๆ
เมนูแนะนำ
ต้มจืดใบตำลึง แกงเลียงตำลึง หรือแกงกะทิลูกตำลึง
8. หัวปลี
หัวปลีนั้นอุดมไปด้วยสารอาหารมากมาย และเป็นอาหารที่นิยมทานเพื่อเพิ่มน้ำนมมาตั้งแต่สมัยโบราณ นอกจากนั้นยังมีสรรพคุณในการแก้โรคกระเพาะอาหารและช่วยบำรุงเลือดได้อีกด้วย
เมนูแนะนำ
ยำปลีกุ้งสด ลวกจิ้มน้ำพริก(เวลาลวกให้ใส่เกลือและน้ำตาลลงในน้ำที่ต้มด้วย จะได้ลดความฝาด) ทอดมันปลีกล้วย ห่อหมกปลีกล้วย แกงเลียงปลีปลาช่อนใส่ใบแมงลักและใบตำลึง แกงไก่ใส่ปลี (แต่อย่าทานบ่อยนะครับ เพราะอาหารรสฝาดจะทำให้เด็กท้องผูกได้)
9. น้ำนมราชสีห์
น้ำนมราชสีห์เป็นสมุนไพรที่คนสมัยก่อนใช้ต้มให้ผู้หญิงที่มีน้ำนมน้อยดื่มเพื่อเพิ่มน้ำนมได้ดีทีเดียว
เมนูแนะนำ
ใช้ต้นสด 1 กำมือ ต้มน้ำดื่ม
นอกจาก สมุนไพรเพิ่มน้ำนม แล้ว คุณแม่ควรดื่มน้ำมาก ๆ การดื่มน้ำอุ่นก็เป็นการช่วยเรียกน้ำนมได้อีกทางหนึ่งโดยเฉพาะในช่วงต้นของการให้นมลูก และหากคุณแม่ท่านใด มีเมนูเด็ด ๆ ที่ช่วยเพิ่มน้ำนมอย่างได้ผล ก็อย่าลืมนำมาบอกเล่าเพื่อเป็นประโยชน์กับผู้อ่านท่านอื่นกันได้นะ
แหล่งอ้างอิง : สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.), สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, กรมชลประทาน, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (EN)
ที่มา : https://medthai.com/
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
5 น้ำสมุนไพรที่ควรดื่มสำหรับคนท้อง
รู้ก่อนใช้ สมุนไพรสำหรับแม่ท้อง
คนท้องกินสมุนไพรรางจืดได้มั้ย สมุนไพรอะไรที่คนท้องห้ามกินบ้าง
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!