X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

รู้ได้อย่างไรว่าลูกเสี่ยงต่อการเป็นภูมิแพ้

บทความ 3 นาที
รู้ได้อย่างไรว่าลูกเสี่ยงต่อการเป็นภูมิแพ้

รู้หรือไม่ 1 ใน 3 ของเด็กไทยมีความเสี่ยงต่อการเกิดภูมิแพ้ ซึ่งโรคนี้มีอาการแสดงออกทางร่างกายได้หลายอย่าง เช่น โรคผื่นแพ้ผิวหนังอักเสบ, หอบหืด, แพ้อากาศ หรือแพ้อาหาร เป็นต้น แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกจะเสี่ยงต่อการเป็นภูมิแพ้

รู้ได้อย่างไรว่าลูกเสี่ยงต่อการเป็นภูมิแพ้

สาเหตุที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคภูมิแพ้ของเด็ก

  1. โรคภูมิแพ้มีส่วนที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดจากพันธุกรรม ถ้าคุณพ่อหรือคุณแม่เป็นโรคภูมิแพ้จะทำให้ลูกมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้ประมาณ 30-50% แต่ถ้าพ่อแม่เป็นโรคภูมิแพ้ทั้งคู่จะมีผลให้ลูกมีโอกาสเป็นภูมิแพ้ถึง 50-70% ส่วนครอบครัวใดที่ไม่มีประวัติในการเป็นภูมิแพ้ ลูกจะมีโอกาสเป็นเพียง 10%
  2. การเกิดโรคภูมิแพ้จากสิ่งแวดล้อม เช่น มลภาวะของอากาศ ฝุ่น ควัน หรือความไม่สะอาดภายในที่พักอาศัย และจากสัตว์เลี้ยง เป็นต้น
  3. เด็กที่คลอดด้วยวิธีการผ่าท้องจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นภูมิแพ้มากกว่าเด็กที่คลอดโดยวิธีธรรมชาติ
  4. ในช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์หากสูบบุหรี่หรือเด็กได้สัมผัสควันบุหรี่จากคนรอบข้าง ก็เป็นความเสี่ยงทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ในระบบทางเดินหายใจได้

โรคภูมิแพ้ มักเกิดจากการตอบสนองที่ไวเกินของภูมิคุ้มกันต่อสิ่งที่มาสัมผัสหรืออาหารที่กินเข้าไป หากพบว่าลูกมีอาการเหล่านี้ อาจแสดงว่าเป็นโรคภูมิแพ้ได้ เช่น

  • มีผื่นแพ้ ผิวหนังอักเสบ
  • หายใจมีเสียงหวีด
  • มีอาการหอบหืด
  • แพ้อากาศ, มีน้ำมูกไหลเรื้อรัง
  • คันตา น้ำตาไหลบ่อยๆ
Advertisement

แนวทางการลดความเสี่ยงต่อโรคภูมิแพ้ที่ดีที่สุด

  • ควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จนถึง 6 เดือนเป็นอย่างน้อย
  • หากจำเป็นต้องใช้นมผสม ควรปรึกษากุมารแพทย์ซึ่งแพทย์อาจแนะนำให้ใช้นมสูตรสำหรับทารกที่มีโปรตีนผ่านการย่อยให้มีขนาดเล็กลง และมีผลวิจัยทางการแพทย์รับรอง การให้ลูกได้รับโปรตีนในช่วงวัยที่เหมาะสมจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภูมิแพ้ได้
  • การควบคุมสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก เช่น การงดสูบบุหรี่ตั้งแต่ในช่วงตั้งครรภ์ และหลีกเลี่ยงควันบุหรี่ การดูแลทำความสะอาดสิ่งของเครื่องเรือนภายในบ้านให้สะอาด ฯลฯ
  • การให้ลูกรับประทานอาหารที่เหมาะสมโดยเริ่มให้อาหารเสริมเมื่อลูกอายุ 6 เดือน และสังเกตว่ามีการแพ้อาหารชนิดนั้นหรือไม่

อาการภูมิแพ้หากไม่ได้รับการดูแลหรือรักษาที่ดี ก็อาจจะทำให้สุขภาพของร่างกายหรือคุณภาพชีวิตของลูกแย่กว่าเด็กทั่วไป และอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมาได้ เนื่องจากโรคภูมิแพ้ยังไม่สามารถแก้ไขสาเหตุการเกิดจากทางกรรมพันธุ์ การดูแลลูกน้อยในทุกด้านตั้งแต่วัยแรกเกิดจึงเป็นเรื่องสำคัญเพื่อลดการเกิดอาการของโรคภูมิแพ้ สร้างความแข็งแรงเพื่อการเติบโตในระยะยาวสำหรับลูก

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

ลองเช็คความเสี่ยงต่อการเกิดภูมิแพ้ของลูกน้อยได้ที่ https://www.allergyrisktracker.com/th/

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • รู้ได้อย่างไรว่าลูกเสี่ยงต่อการเป็นภูมิแพ้
แชร์ :
  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว