X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ยาวาลซาร์แทนพบสารก่อมะเร็ง อย.เรียกเก็บคืน แต่ถ้ากินยา Valsartan อยู่ ต้องหยุดกินทันทีไหม?

บทความ 5 นาที
ยาวาลซาร์แทนพบสารก่อมะเร็ง อย.เรียกเก็บคืน แต่ถ้ากินยา Valsartan อยู่ ต้องหยุดกินทันทีไหม?

ยืนยันยาวาลซาร์แทนพบสารก่อมะเร็ง! อย. แจ้งเตือนภัยผู้บริโภคและบุคลากรทางการแพทย์ ออกมาตรการเรียกเก็บคืนยาใน 5 ตำรับ

ยาวาลซาร์แทนพบสารก่อมะเร็ง

อย. แจ้งเตือนภัยผู้บริโภคและบุคลากรทางการแพทย์ ยาวาลซาร์แทนพบสารก่อมะเร็ง ในวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ขณะนี้ได้ออกมาตรการเรียกเก็บคืนยา โดยยาวาลซาร์แทน (Valsartan) เป็นยารักษาโรคความดันโลหิตสูง มาจากแหล่งผลิตจากจีน โดยในไทยพบ 5 ตำรับ ขณะนี้ได้ออกมาตรการเรียกเก็บคืนยาทุกรุ่นการผลิตแล้ว พร้อมมีคำสั่งให้ผู้รับอนุญาตผลิตยาระงับการผลิตและจำหน่ายทั้งผลิตภัณฑ์ยาและเภสัชเคมีภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงสามารถใช้ยาวาลซาร์แทน ในเลขทะเบียนตำรับอื่นที่ไม่มีการปนเปื้อนได้

 

อย.เรียกเก็บคืนยาวาลซาร์แทนพบสารก่อมะเร็ง

นพ.วันชัย สัตยาวุฒิพงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยถึงอย.เรียกเก็บคืนยาวาลซาร์แทนพบสารก่อมะเร็ง ว่า ตามที่มีการเรียกเก็บคืนผลิตภัณฑ์ยาวาลซาร์แทน (Valsartan) ใน 22 ประเทศ ทั่วโลก เนื่องจากพบสารก่อมะเร็งในวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตยา โดยบริษัท Zhejiang Huahai Pharmaceuticals ซึ่งเป็นผู้ผลิตวัตถุดิบวาลซาร์แทน (Valsartan) ในสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ออกมายอมรับถึงความผิดพลาดดังกล่าวว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตวัตถุดิบนั้น ทั้งนี้ ในประเทศไทย มีบริษัทผู้รับอนุญาตผลิต/นำหรือสั่งยาวาลซาร์แทนเข้ามาในราชอาณาจักร จำนวน 7 บริษัท และมีทะเบียนตำรับยาที่ได้รับอนุญาตให้จำหน่าย จำนวนทั้งสิ้น 14 ตำรับ ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า มีบริษัทผู้รับอนุญาตที่ใช้วัตถุดิบจาก Zhejiang Huahai Pharmaceuticals เพียง 2 ราย ได้แก่ บริษัท สีลมการแพทย์ จำกัด และ บริษัท ยูนีซัน จำกัด ซึ่งมีเลขทะเบียนตำรับ รวม 5 ตำรับ ได้แก่

1. บริษัท สีลมการแพทย์ จำกัด จำนวน 2 ทะเบียนตำรับ ได้แก่

(1) ยา VALATAN 80 ทะเบียนตำรับยาเลขที่ 1A 9/54 (NG)

(2) ยา VALATAN 160 ทะเบียนตำรับยาเลขที่ 1A 10/54 (NG)

2. บริษัท ยูนีซัน จำกัด จำนวน 3 ทะเบียนตำรับ ได้แก่

(1) ยา VALSARIN 80 ทะเบียนตำรับยาเลขที่ 1A 4/60 (NG)

(2) ยา VALSARIN 160 ทะเบียนตำรับยาเลขที่ 1A 5/60 (NG)

(3) ยา VALSARIN 320 ทะเบียนตำรับยาเลขที่ 1A 6/60 (NG)

 

เรียกเก็บผลิตภัณฑ์ยาวาลซาร์แทนภายใน 15 วัน

เลขาธิการฯ อย. กล่าวต่อไปว่า อย. เล็งเห็นถึงความไม่ปลอดภัยจากการใช้ยาที่มีการปนเปื้อนสารก่อมะเร็ง จึงมีมาตรการให้เรียกเก็บผลิตภัณฑ์ยาวาลซาร์แทน เลขทะเบียนตำรับดังกล่าวข้างต้น ในทุกรุ่นการผลิตคืนจากท้องตลาดภายใน 15 วัน พร้อมทั้งมีคำสั่งให้ผู้รับอนุญาตผลิตยาทั้งสองแห่ง ระงับการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาวาลซาร์แทน ทุกทะเบียนที่มีการใช้วัตถุดิบวาลซาร์แทนจากแหล่งผลิตดังกล่าวเป็นการชั่วคราว รวมทั้งระงับการจำหน่ายเภสัชเคมีภัณฑ์วาลซาร์แทน ที่มาจากแหล่งผลิตดังกล่าว และ อย. จะดำเนินการควบคุมการทำลายต่อไป อีกทั้งให้แจ้งข้อมูลรายละเอียดการนำเข้า และขายเภสัชเคมีภัณฑ์วาลซาร์แทนแต่ละรุ่น จากทุกแหล่งผลิต ตั้งแต่ปี 2558 จนถึงปัจจุบัน ให้อย. ทราบภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2561 นอกจากนี้ ได้ดำเนินการแจ้งเตือนภัยเร่งด่วน (Rapid Alert) ไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย

 

การปนเปื้อนสารก่อมะเร็งนี้เกิดจากกระบวนการผลิตวัตถุดิบ

อย. ขอความร่วมมือผู้ใช้ยาตรวจสอบเลขทะเบียนตำรับของผลิตภัณฑ์ยาวาลซาร์แทนที่ใช้อยู่ หากตรงกับเลขทะเบียนตำรับข้างต้น ให้ส่งกลับคืนสถานพยาบาล หรือร้านยาที่จ่ายยาให้แก่ท่าน เพื่อดำเนินการทำลายยาต่อไป อย่างไรก็ตาม การปนเปื้อนสารก่อมะเร็งนี้เกิดจากกระบวนการผลิตวัตถุดิบ มิได้เกิดจากความผิดพลาดในการผลิตยาสำเร็จรูป ดังนั้น หากผู้รับอนุญาตผลิตยาทั้งสองบริษัท สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาการปนเปื้อนสารก่อมะเร็งนี้ได้แล้วเสร็จ ก็จะสามารถผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาวาลซาร์แทนได้ดังเดิม

 

ใช้ยาวาลซาร์แทน ตำรับอื่นที่ไม่มีการปนเปื้อนสารก่อมะเร็ง

ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ยาวาลซาร์แทน (กลุ่ม Angiotensin II Receptor Blocker: ARB) เป็นยารักษาโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นโรคเรื้อรังที่มีความจำเป็นต้องใช้ยาอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยที่เคยได้รับผลิตภัณฑ์ยาวาลซาร์แทนในการรักษามาอย่างต่อเนื่อง ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนไปใช้ยารักษาโรคความดันโลหิตสูงตัวอื่น โดยยังคงสามารถใช้ผลิตภัณฑ์ยาวาลซาร์แทน เลขทะเบียนตำรับอื่นที่ไม่มีการปนเปื้อนสารก่อมะเร็งดังกล่าวได้ขอให้ประชาชนอย่าหวั่นวิตกและเชื่อมั่นในการดำเนินงานของ อย. เพราะ อย. ได้มีการตรวจสอบผลจากการใช้ยาที่ขึ้นทะเบียนในไทยอย่างเข้มงวด หากพบการใช้ยาใดมีปัญหา อย. จะรีบรายงานเตือนภัยให้สาธารณชนทราบอย่างเร่งด่วน

 

ยาวาลซาร์แทนพบสารก่อมะเร็ง อย.เรียกเก็บคืน แต่ถ้ากินยา Valsartan อยู่ ต้องหยุดกินทันทีไหม? ยืนยันยาวาลซาร์แทนพบสารก่อมะเร็ง! อย. แจ้งเตือนภัยผู้บริโภคและบุคลากรทางการแพทย์ ออกมาตรการเรียกเก็บคืนยาใน 5 ตำรับ

เครดิตภาพ : เพจชัวร์ก่อนแชร์

 

ถ้ากินยา Valsartan อยู่ ต้องหยุดกินทันทีไหม?

ด้านเพจ 1412 Cardiology บอกถึงการหยุดกินยาวาลซาร์แทนพบสารก่อมะเร็ง ว่า การหยุดยา Valsartan อาจเป็นอันตรายได้มากในผู้ป่วยบางราย โดยโพสต์ว่า ถ้าพบว่าตัวท่านคุณพ่อคุณแม่หรือญาติใช้ยาสองชื่อดังกล่าวให้รีบติดต่อส่งคืนและขอเปลี่ยนยากับโรงพยาบาลหรือร้านขายยาที่ท่านรับยามา

“อย่าหยุดยาจนกว่าจะได้รับการเปลี่ยน เพราะการหยุดยา Valsartan อาจเป็นอันตรายได้มากในผู้ป่วยบางราย”

  1. ตรวจสอบยาลดความดันหรือยาหัวใจที่ใช้ว่า มียาสองชื่อนี้อยู่หรือไม่ VALATAN กับ VALSARIN
  2. วิธีดูชื่อให้สังเกตที่กล่องยา แผงยา หรือ เม็ดยา
  3. ถ้ามี ไม่ต้องตกใจ ให้รีบติดต่อเปลี่ยนยาที่โรงพยาบาลหรือร้านขายยาที่ท่านรับยามา
  4. ในระหว่างที่รอการเปลี่ยนยา อย่าหยุดกินยา เพราะการหยุดกินยาทันทีเป็นอันตรายมากครับ

 

ยาที่มีส่วนผสมของ Valsartan ที่สามารถใช้ต่อได้

ยาที่มีส่วนผสมของ Valsartan ที่เป็นยา original สามารถใช้ต่อได้ ไม่เกี่ยวกับปัญหาครั้งนี้ ใช้วัตถุดิบและผลิตในยุโรปทั้งหมด ชื่อยาได้แก่

  • Diovan
  • Co-Diovan
  • Tareg
  • Co-Tareg
  • Valpres
  • Exforge
  • Exforge HCT
  • Dafiro
  • Entresto

ยาวาลซาร์แทนพบสารก่อมะเร็ง อย.เรียกเก็บคืน แต่ถ้ากินยา Valsartan อยู่ ต้องหยุดกินทันทีไหม? ยืนยันยาวาลซาร์แทนพบสารก่อมะเร็ง! อย. แจ้งเตือนภัยผู้บริโภคและบุคลากรทางการแพทย์ ออกมาตรการเรียกเก็บคืนยาใน 5 ตำรับ

บ้านไหนที่พ่อแม่กินยาวาลซาร์แทนพบสารก่อมะเร็ง ตัวยาลดความดันหรือยาหัวใจ ต้องตรวจเช็คตำรับยาก่อนกิน หากพบว่าใช่ยาตัวเดียวกับที่พบสารก่อมะเร็งในวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตยา อย่าเพิ่งหยุดกินยาในทันทีนะคะ ให้ติดต่อเปลี่ยนยาที่โรงพยาบาลหรือร้านขายยาที่รับยามา

 

ที่มา : https://www.facebook.com/JarvisChaisiriLancelotWipat1412/ และ https://www.fda.moph.go.th

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

คุณพ่อแชร์ มะเร็งกระเพาะอาหารและรังไข่ พรากภรรยาที่รักไป ในเวลาแค่ 6 เดือน

แม่ท้องแก่คุกเข่าวอนสามีขอผ่าคลอดเพราะหัวลูกโต ครอบครัวไม่ยอม กระโดดตึกจบชีวิตพร้อมลูกในท้อง

รวมเมนูอาหารชูกำลัง หญิงแท้งง่าย ชายเซ็กเสื่อม คนท้องไม่อยากให้ลูกพิการ ต้องจัด!

มหิดลแจง กระแสข่าว 10 ขนมอันตรายพบสารตะกั่วสูง ไม่เป็นความจริง

 

บทความจากพันธมิตร
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ยาวาลซาร์แทนพบสารก่อมะเร็ง อย.เรียกเก็บคืน แต่ถ้ากินยา Valsartan อยู่ ต้องหยุดกินทันทีไหม?
แชร์ :
  • ระวัง! 9 ของใช้ในบ้าน ตัวการก่อมะเร็ง

    ระวัง! 9 ของใช้ในบ้าน ตัวการก่อมะเร็ง

  • คลิปที่ผู้ปกครองต้องดู รู้หรือไม่ ลูกหลานคุณอาจถูกล่อลวงผ่านโซเชียลมีเดียได้ง่ายเกินคาด

    คลิปที่ผู้ปกครองต้องดู รู้หรือไม่ ลูกหลานคุณอาจถูกล่อลวงผ่านโซเชียลมีเดียได้ง่ายเกินคาด

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • ระวัง! 9 ของใช้ในบ้าน ตัวการก่อมะเร็ง

    ระวัง! 9 ของใช้ในบ้าน ตัวการก่อมะเร็ง

  • คลิปที่ผู้ปกครองต้องดู รู้หรือไม่ ลูกหลานคุณอาจถูกล่อลวงผ่านโซเชียลมีเดียได้ง่ายเกินคาด

    คลิปที่ผู้ปกครองต้องดู รู้หรือไม่ ลูกหลานคุณอาจถูกล่อลวงผ่านโซเชียลมีเดียได้ง่ายเกินคาด

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ