X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

มีลูกหัวปีท้ายปี หรือห่างกันหลายปี แบบไหนดีกว่ากัน

บทความ 3 นาที
มีลูกหัวปีท้ายปี หรือห่างกันหลายปี แบบไหนดีกว่ากัน

อยากเพิ่มสมาชิกครอบครัว แต่ก็กังวลว่า มีลูกหัวปีท้ายปี หรือห่างกันหลายปี แบบไหนจะดีกว่า มาดูข้อดีหากทิ้งช่วงของการมีลูกในแต่ละปีกันดีกว่า

ชีวิตครอบครัวของแต่ละคนแตกต่างกัน บางจังหวะ ธรรมชาติก็สร้างชีวิตน้อยๆ ขึ้นมาในทันที แต่บางคนก็เลือกว่าจะมีลูกเมื่อไหร่ดี เพราะการมีลูกแต่ละคน ต้องเตรียมตัว เตรียมใจ และเตรียมเงินในกระเป๋าให้พร้อม!

มีลูกหัวปีท้ายปี ดีไหม

ข้อดีของการมีลูกห่างกันเพียง 1-2 ปี

  1. ผลวิจัยระบุว่า เด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ปี สามารถปรับตัวได้ง่ายกว่า เมื่อเริ่มต้นมีน้อง อาจจะเป็นเพราะว่าเด็กยังไม่รู้เดียงสามากพอ จึงไม่รู้สึกระแวดระวัง หรือกังวลกับสมาชิกใหม่ที่เพิ่มเติมเข้ามาภายในบ้าน
  2. ถ้ามีลูกในช่วงอายุที่ไล่เลี่ยกัน ลูกจะมีเพื่อนเล่น มีความสนุกสนานกับการเล่นของเล่นชิ้นเดียวกัน แบบเดียวกัน เล่นกันรู้เรื่อง จึงไม่ต้องกลัวลูกเหงา
  3. การที่มีลูกอายุใกล้ๆ กัน แม่คนเดียวมักจะเอาไม่อยู่ ทีนี้คุณก็มีเหตุผลที่จะดึงสามีอยู่ติดบ้านในวันหยุด เพื่อช่วยเลี้ยงลูก ทำให้ครอบครัวอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันได้บ่อยๆ
  4. เด็กที่โตมาแบบเพื่อนกัน เติบโตในช่วงวัยเดียวกัน แม่ต้องปวดหัวเป็นธรรมดา แต่เหนื่อยแค่แป๊บเดียว พอลูกๆ เติบโตเป็นผู้ใหญ่พร้อมๆ กัน พ่อแม่ก็สบายหายห่วง

 

ข้อเสียของการมีลูกห่างกันเพียง 1-2 ปี

  • การมีลูกหัวปีท้ายปี จะสร้างความเหน็ดเหนื่อยให้กับคุณแม่ เพราะลูกๆ จะเข้านอนไม่ตรงกัน คนโตก็หลับๆ ตื่นๆ ส่วนลูกอีกคนก็เป็นทารกแรกเกิดที่ตื่นตลอดคืน แถมต้องมาเดาใจลูกๆ ด้วยว่า ที่ร้องงอแงต้องการอะไรกันแน่
  • ลูกอายุใกล้ๆ กันมักจะทะเลาะกันบ่อยๆ
  • ต้องเตรียมเงินไว้มากๆ เพราะทารกแรกเกิด และเด็กเล็กในขวบปีแรกๆ มีเรื่องต้องใช้เงินเยอะ

 

อ่าน มีลูกหัวปีท้ายปี หรือห่างกันหลายปี แบบไหนดีกว่ากัน ต่อหน้าถัดไป

 

ข้อดีของการมีลูกห่างกัน 2-3 ปี

  1. ข้อดีข้อแรก เมื่อมีลูกอีกคนเข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ ลูกคนแรกก็โตพอจะช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง ไม่จำเป็นต้องดูแลตลอดเวลา
  2. อีกข้อคือ ตัวของคุณแม่เองร่างกายจะแข็งแรงพร้อมมีลูกคนต่อไป เพราะผ่านพ้นช่วงการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ฟื้นฟูจากการคลอดลูกคนแรก
  3. ลูกโตพอจะกินอาหารเสริม และดูดนมจากขวด ไม่จำเป็นต้องให้ลูกดูดจากเต้า จึงสามารถไปดูแลลูกอีกคนได้อย่างเต็มที่

 

ข้อเสียของการมีลูกห่างกัน 2-3 ปี

  • ลูกจะขาดเพื่อนเล่นในช่วงวัยเดียวกัน เพราะต้องรอให้น้องโตก่อน อาจจะเหงา หรือพ่อแม่ต้องพาลูกไปเจอเด็กคนอื่นๆ เพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมลูก
  • พี่คนโตจะเริ่มรู้เรื่อง และรู้สึกไม่มั่นคงเมื่อมีน้องเกิดขึ้นมา กังวลว่าจะมาแย่งความรัก หรือแย่งของเล่น พ่อแม่จึงต้องหาวิธีพูดคุยกับลูกคนโตให้เข้าใจ สร้างความมั่นใจให้ลูกรู้ว่า พ่อแม่จะรักลูกไม่มีเปลี่ยนแปลง
  • ค่าใช้จ่ายกองโตที่พ่อแม่ต้องเตรียมงบประมาณให้ดี เพราะเด็กแรกเกิดต้องใช้เงินเยอะ ขณะเดียวกันลูกอีกคนก็เตรียมพร้อมจะเข้าสู่เตรียมอนุบาล

 

มีลูกหัวปีท้ายปี หรือห่างกันหลายปี แบบไหนจะดีกว่ากัน

ข้อดีของการมีลูกห่างกัน 3 ปีขึ้นไป

1.เมื่อลูกคนโตอายุเกิน 3 ขวบ นั่นหมายความว่า ลูกอยู่ในวัยเข้าเตรียมอนุบาล หรือบางคนก็เข้าเรียนโรงเรียนอนุบาลแล้ว ทำให้แม่มีเวลาทุ่มเทกับลูกคนใหม่ที่เพิ่งคลอดออกมา มีเวลาให้นม เล่นกับเบบี๋ และมีเวลาของแม่เองที่จะผ่อนคลาย ได้งีบหลับสักหน่อย
2.การมีลูกอายุห่างกัน แม่เองก็ไม่ต้องเหน็ดเหนื่อยมาก ร่างกายฟื้นฟูแล้ว กลับมาแข็งแรง พร้อมดูแลลูกอีกคน
3.ความสัมพันธ์ของเด็กที่อายุต่างกัน จะช่วยลดการทะเลาะเบาะแว้งของพี่น้อง ลูกแต่ละคนไม่รู้สึกแข่งขันกันเอง แถมยังเป็นที่พึ่งที่ดีให้แก่กัน
4.ให้พี่ช่วยเลี้ยงน้อง เสริมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว การที่พี่น้องอายุห่างกันจะช่วยดูแลกัน แบ่งเบาภาระของพ่อแม่ได้

ข้อเสียของการมีลูกห่างกัน 3 ปีขึ้นไป

- ความต้องการของลูกแต่ละช่วงวัยก็แตกต่างกัน แม่ต้องเตรียมพร้อม หาความรู้ และใส่ใจกับลูกๆ ทุกคน ทำให้พ่อแม่เหนื่อยเป็นพิเศษ
- ร่างกายของแม่เอง ก็ห่างหายจากการตั้งครรภ์ไปนาน ยิ่งอายุมากขึ้นก็ยิ่งตั้งท้องได้ยากขึ้น ทำให้ต้องบำรุงและตรวจเช็คร่างกายอย่างละเอียด ก่อนตัดสินใจท้องอีกครั้ง
- ถ้าแม่กลับไปทำงานประจำ พอท้องอีกครั้งก็ต้องปรับตัวใหม่ วางแผนครอบครัวใหม่ ให้ชีวิตลงตัวมากขึ้น
- หากลูกของเพื่อนๆ โตกันหมดแล้ว แต่คุณแม่เพิ่งจะมีน้องมาเพิ่มอีกคน การไปพบปะสังสรรค์ก็จะน้อยลง อาจไม่ได้สนุกกับเพื่อนๆ เหมือนเดิม

ไม่ว่าจะมีลูกหัวปีท้ายปี หรือห่างกันหลายๆ ปี ต่างก็มีข้อดีและข้อเสีย ที่ทุกครอบครัวต้องตัดสินใจเอาเอง จากความพร้อมของทั้งร่างกายคุณแม่ และการเตรียมค่าใช้จ่ายให้ลูก เพื่อให้ครอบครัวสมบูรณ์และมีความสุขที่สุด

ที่มา : sg.theasianparent.com

บทความจากพันธมิตร
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • มีลูกหัวปีท้ายปี หรือห่างกันหลายปี แบบไหนดีกว่ากัน
แชร์ :
  • มีลูกหัวปีท้ายปี: ฉันท้องตอนลูกเพิ่งสองเดือน

    มีลูกหัวปีท้ายปี: ฉันท้องตอนลูกเพิ่งสองเดือน

  • มีลูกติดกันหรือมีลูกหัวปีท้ายปีต้องรู้!! บางคนก็ว่าดี แต่ก็มีความเสี่ยง?

    มีลูกติดกันหรือมีลูกหัวปีท้ายปีต้องรู้!! บางคนก็ว่าดี แต่ก็มีความเสี่ยง?

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

  • มีลูกหัวปีท้ายปี: ฉันท้องตอนลูกเพิ่งสองเดือน

    มีลูกหัวปีท้ายปี: ฉันท้องตอนลูกเพิ่งสองเดือน

  • มีลูกติดกันหรือมีลูกหัวปีท้ายปีต้องรู้!! บางคนก็ว่าดี แต่ก็มีความเสี่ยง?

    มีลูกติดกันหรือมีลูกหัวปีท้ายปีต้องรู้!! บางคนก็ว่าดี แต่ก็มีความเสี่ยง?

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ