X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

อันตราย! ภาวะน้ำคร่ำน้อย ทำทารกโตช้า เสี่ยงแท้งหรือคลอดก่อนกำหนด

บทความ 3 นาที
อันตราย! ภาวะน้ำคร่ำน้อย ทำทารกโตช้า เสี่ยงแท้งหรือคลอดก่อนกำหนดอันตราย! ภาวะน้ำคร่ำน้อย ทำทารกโตช้า เสี่ยงแท้งหรือคลอดก่อนกำหนด

น้ำคร่ำ คือน้ำใสๆที่อยู่ล้อมรอบทารกในครรภ์ ช่วยให้ทารกสามารถเคลื่อนไหวร่างกายในขณะที่อยู่ในครรภ์ของคุณแม่ได้สะดวก อีกทั้งยังช่วยป้องกันการกระทบกระเทือนและช่วยรักษาอุณภูมิที่เหมาะสมให้กับทารกในครรภ์ แล้วหากเกิดความปกติของน้ำคร่ำ หรือหากเกิดภาวะน้ำคร่ำน้อย จะมีอันตรายอย่างไรกันนะ

ภาวะน้ำคร่ำน้อย คืออะไร

ภาวะน้ำคร่ำน้อย คือภาวะที่คุณแม่ท้องมีปริมาณน้ำคร่ำน้อยกว่าปกติ หรือลดลงเหลือน้อยกว่าร้อยละ 5 ของปริมาตรน้ำคร่ำปกติในอายุครรภ์นั้นๆ ซึ่งเราจะทราบได้จากการตรวจอัลตราซาวนด์ โดยทั่วไปมักจะพบได้ร้อยละ 1 – 2 ของการตั้งครรภ์

จะรู้ได้อย่างไรว่าน้ำคร่ำน้อย

ส่วนใหญ่แล้ว แม่ท้องมักจะไม่รู้ตัวเองว่ามีน้ำคร่ำน้อยผิดปกติ แต่ในบางครั้งหากแม่ท้องสังเกตุได้ว่าครรภ์ไม่ค่อยโตขึ้น แต่หากว่ามีถุงน้ำคร่ำรั่วหรือแตกก็อาจจะเห็นได้ชัดกว่าปกติ เพราะจะมีน้ำไหลออกมาจนเปียกหน้าขา หรือหากคลำที่ท้องแล้วรู้สึกว่าสัมผัสถึงตัวทารกได้ใกล้ขึ้น ก็อาจเป็นไปได้ว่าอาจมีครรภ์ผิดปกติ ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อเข้ารับการตรวจจะดีที่สุดครับ

สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะน้ำคร่ำน้อยมีอะไรบ้าง

ภาวะน้ำคร่ำน้อยเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น

  • ถุงน้ำคร่ำรั่วหรือถุงน้ำคร่ำแตก
  • มีความผิดปกติของรก เช่นภาวะรกเสื่อม
  • ความพิการของทารก เช่นการไม่มีไตทำให้ไม่สามารถผลิสปัสสาวะออกมาได้
  • ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์
  • มีภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ เช่นภาวะครรภ์เป็นพิษ หรืออายุครรภ์เกินกำหนด
  • การติดเชื้อของมารดาขณะตั้งครรภ์ เช่นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • เกิดจากการรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาลดความดันโลหิตสูง ยาแก้ปวดลดอักเสบ (ponstan, brufen)

ภาวะน้ำคร่ำน้อย

ภาวะน้ำคร่ำน้อยอันตรายอย่างไร

หากแม่ท้องมีภาวะน้ำคร่ำน้อยก็อาจส่งผลร้ายอื่นๆตามมาเช่น

  • ทำให้ทารกที่อยู่ในครรภ์เคลื่อนไหวไม่สะดวก ซึ่งจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของทารกได้
  • สายสะดืออาจถูกกดทับได้ง่าย ทำให้ทารกขาดออกซิเจน ส่งผลให้ทารกพิการตั้งแต่กำเนิดหรือเสียชีวิตในครรภ์ได้
  • เพิ่มโอกาสของการคลอดก่อนกำหนด
  • มีโอกาสที่จะต้องทำการผ่าคลอดมากขึ้น
  • มีความเสี่ยงที่จะทำให้ทารกเสียชีวิตแรกคลอดได้
  • หากน้ำคร่ำมีปริมาณน้อยตั้งแต่ในช่วงเริ่มต้นของการตั้งครรภ์ จะทำให้ปอดของทารกไม่ขยายตัว อาจทำให้ทารกมีปัญหาหลังคลอดได้

จะป้องกันและหลีกเลี่ยงภาวะน้ำคร่ำน้อยได้อย่างไร

ภาวะน้ำคร่ำน้อยนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ จึงไม่มีแนวทางที่แฉพาะเจาะจงในการป้องกัน ขึ้นอยู่กับสาเหตุเป็นหลัก ซึ่งบางสาเหตุนั้นสามารถป้องกันได้ดังนี้

บทความจากพันธมิตร
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้
คุณแม่ให้นมเตรียมตัวกลับไปทำงาน ต้องปั๊มนม สต็อกนมอย่างไร ให้ลูกมีนมกินอย่างเพียงพอ
คุณแม่ให้นมเตรียมตัวกลับไปทำงาน ต้องปั๊มนม สต็อกนมอย่างไร ให้ลูกมีนมกินอย่างเพียงพอ
  • ปรึกษาแพทย์ก่อนการตั้งครรภ์
  • ฝากครรภ์และมาพบคุณหมออย่างสม่ำเสมอ
  • หากแม่ท้องมีโรคประจำตัวก็ควรรักษาและควบคุมให้ดี
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่

ช่วงเวลาของการตั้งครรภ์นั้น เป็นช่วงเวลาที่สำคัญมากของแม่ท้องทุกท่าน ดังนั้นแม่ท้องจึงควรดูแลสุขภาพ ใส่ใจกับอาการต่างๆที่อาจเกิดขึ้นในช่วงนี้และไม่ควรมองข้ามเด็ดขาด หากพบความผิดปกติควรรีบปรึกษาคุณหมอเพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และทารกในครรภ์นะครับ


ที่มา samitivejhospitals.com, haamor.com, americanpregnancy.org

parenttown

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

P.Veerasedtakul

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • อันตราย! ภาวะน้ำคร่ำน้อย ทำทารกโตช้า เสี่ยงแท้งหรือคลอดก่อนกำหนด
แชร์ :
  • น้ำคร่ำน้อย ส่งผลร้ายต่อทารกในครรภ์

    น้ำคร่ำน้อย ส่งผลร้ายต่อทารกในครรภ์

  • น้ำคร่ำน้อย อาการน้ำคร่ำรั่ว เป็นอย่างไร เรื่องจริงที่แม่ท้องควรรู้

    น้ำคร่ำน้อย อาการน้ำคร่ำรั่ว เป็นอย่างไร เรื่องจริงที่แม่ท้องควรรู้

  • ลูกมี "ผมหงอก" ได้อย่างไร ! เกิดจากอะไร และวิธีแก้ที่ถูกต้อง

    ลูกมี "ผมหงอก" ได้อย่างไร ! เกิดจากอะไร และวิธีแก้ที่ถูกต้อง

  • แพทย์เตือน! เลี้ยงลูกด้วยนมข้นหวานอันตรายถึงชีวิต

    แพทย์เตือน! เลี้ยงลูกด้วยนมข้นหวานอันตรายถึงชีวิต

app info
get app banner
  • น้ำคร่ำน้อย ส่งผลร้ายต่อทารกในครรภ์

    น้ำคร่ำน้อย ส่งผลร้ายต่อทารกในครรภ์

  • น้ำคร่ำน้อย อาการน้ำคร่ำรั่ว เป็นอย่างไร เรื่องจริงที่แม่ท้องควรรู้

    น้ำคร่ำน้อย อาการน้ำคร่ำรั่ว เป็นอย่างไร เรื่องจริงที่แม่ท้องควรรู้

  • ลูกมี "ผมหงอก" ได้อย่างไร ! เกิดจากอะไร และวิธีแก้ที่ถูกต้อง

    ลูกมี "ผมหงอก" ได้อย่างไร ! เกิดจากอะไร และวิธีแก้ที่ถูกต้อง

  • แพทย์เตือน! เลี้ยงลูกด้วยนมข้นหวานอันตรายถึงชีวิต

    แพทย์เตือน! เลี้ยงลูกด้วยนมข้นหวานอันตรายถึงชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ