100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 58 ฟังเพลงดีต่อแม่ท้อง อย่างไร?

ฟังเพลงดีต่อแม่ท้อง หลาย ๆ วันนี้ขอนำบทความที่เกี่ยวกับการฟังเพลง ประโยชน์ของการฟังเพลงระหว่างการตั้งครรภ์มาฝากคุณแม่กันว่าจะมีอะไรบ้าง
ฟังเพลงดีต่อแม่ท้อง หลาย ๆ คนคงสงสัยว่าประโยคที่กล่าวไปเมื่อสักครู่มันจริงหรือไม่ วันนี้ theAsianpanrent Thailand ขอนำบทความที่เกี่ยวกับการฟังเพลง ประโยชน์ของการฟังเพลงระหว่างการตั้งครรภ์มาฝากคุณแม่ มาดูกันว่าการฟังเพลงจะมีประโยชน์มากน้อยเพียงใด
การฟังเพลง

ฟังเพลงดีต่อแม่ท้อง
ดนตรีมีความสามารถในการรักษาอารมณ์ของมนุษย์ และยังช่วยให้ผ่อนคลาย เปลี่ยนอารมณ์ร้ายให้กลายเป็นดีได้อย่างน่าอัศจรรย์ ในส่วนของแม่ท้องนั้นดนตรีและเพลงก็มีผลต่อการเติบโตของลูกน้อยในครรภ์เช่นกัน
รองศาสตราจารย์นายแพทย์วิทยา ถิฐาพันธ์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้อธิบายเรื่องนี้ไว้ว่า ระบบประสาทการรับฟังของลูกน้อยในครรภ์จะเริ่มทำงานตั้งแต่อายุครรภ์ประมาณ 5 เดือน การใช้เสียงกระตุ้นจะทำให้เครือข่ายใยประสาทที่ทำงานเกี่ยวกับการได้ยินของลูกมีพัฒนาการดีขึ้น เสียงที่ดีที่ควรใช้ในการกระตุ้นก็คือ เสียงเพลง โดยเฉพาะเพลงที่มีความไพเราะและคุณแม่ชอบฟัง
โดยเพลงที่เลือกนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นเพลงคลาสสิคอะไรที่ฟังไม่รู้เรื่อง เพราะบางเพลงถ้าฟังไม่ดีอาจจะชวนให้ปวดหัวได้ เวลาคุณแม่ฟังเพลง ควรจะเปิดเสียงเพลงให้อยู่ห่างจากหน้าท้องประมาณ 1 ฟุต และเปิดเสียงดังพอประมาณเพื่อลูกในครรภ์จะได้ฟังเสียงเพลงไปด้วย การที่ลูกในครรภ์ได้รับฟังเสียงเพลงคลื่นเสียงจะไปกระตุ้นให้ระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับการได้ยินมีการพัฒนาระบบการทำงานได้เร็วขึ้น ทำให้เมื่อลูกคลอดออกมา มีความสามารถในการจัดลำดับความคิดในสมอง รู้สึกผ่อนคลาย และจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้ดี
คุณแม่สามารถเปิดเพลงฟังได้เรื่อย ๆ ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์เพื่อช่วยผ่อนคลายอารมณ์ของคุณแม่ไม่ให้หงุดหงิด เบื่อ หรือเกิดภาวะซึมเศร้าเอาได้ง่าย ๆ และสำหรับลูกน้อยในครรภ์ ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการเปิดเพลงให้ลูกฟัง คืออายุครรภ์ตั้งแต่ 5 เดือนเป็นต้นไป เพราะเป็นช่วงที่พัฒนาการระบบประสาทการรับฟังของทารกในครรภ์เริ่มก่อตัวขึ้นมาแล้ว ซึ่งการกระตุ้นโดยการเปิดเพลงให้ลูกได้ฟัง จะเป็นตัวช่วยที่ทำให้คุณแม่สามารถรับรู้ได้ว่าลูกในท้องตื่นตัวหลังจากได้ฟังเพลงหรือไม่ โดยสังเกตจากการดิ้นของลูกได้
ประโยชน์ของการฟังเพลงระหว่างตั้งครรภ์

ฟังเพลงดีต่อแม่ท้อง
- เปิดเพลงให้ลูกในท้องฟังจะช่วยพัฒนาลูกน้อยในครรภ์
การที่แม่ท้องฟังเพลงลูกน้อยในครรภ์จะได้ยินเสียงเพลง และแรงสั่นเดียวกัน ลูกจะพยายามที่จะเคลื่อนไหวให้สอดคล้องกับจังหวะการสั่นสะเทือนของเพลง ซึ่งการเปิดเพลงให้ลูกน้อยฟังนั้นอาจจะช่วยการตอบสนองปฏิกิริยาการเคลื่อนไหวโดยรวมของลูกน้อยในครรภ์ เพราะการฟังเพลงสามารถช่วยดูการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ได้
- เปิดเพลงให้ลูกในท้องฟังจะช่วยพัฒนาประสาทสัมผัสการได้ยินของลูกน้อยในครรภ์
ในขณะที่แม่ท้องฟังเพลงนั้น ลูกน้อยในครรภ์จะได้รับฟังและมีสมาธิไปด้วย ลูกอาจจะไม่สามารถเข้าใจดนตรีในช่วงนี้ แต่พวกเขาจะพยายามจับจังหวะของเสียงเพลง การที่ลูกจดจ่ออยู่กับเสียงเพลงก็เป็นการเสริมสร้างทักษะให้ลูกด้วยเช่นกัน
- เปิดเพลงให้ลูกในท้องฟังจะทำให้ลูกหลับง่ายขึ้น
เสียงดนตรีที่แม่ท้องฟังระหว่างตั้งครรภ์นั้น สามารถเป็นเพลงกล่อมเด็กได้เพราะขณะที่ลูกน้อยในครรภ์ฟังเพลงนั้น เพลงที่ลูกน้อยฟังอาจจะสามารถช่วยปลอบลูกน้อยได้ และการฟังเพลงนั้นจะช่วยทำให้ลูกน้อยผ่อนคลาย และสงบได้เช่นกัน
- เปิดเพลงให้ลูกในท้องฟังช่วยพัฒนาบุคลิกภาพของลูกน้อย
การฟังเพลงผ่อนคลาย ๆ และเบา ๆ ในขณะที่แม่กำลังตั้งครรภ์นั้นจะช่วยทำให้ลูกมีบุคลิกที่สงบได้ และอาจจะทำให้บุคลิกภาพของลูกคุณดูดี ใจเย็น และ สงบหากฟังเพลงที่เบาหรือมีความคลาสสิค
แม้ว่าจะฟังเพลงใดก็ได้ในการเสริมสร้างพัฒนาการ แต่ก็มีงานวิจัยที่บอกว่าได้ดำเนินการตรวจสอบดนตรีคลาสสิคของ Kalyani Raga ซึ่งมีผลกระทบต่อแม่ท้อง โดยจากการศึกษาพบว่าดนตรีคลาสสิคของ Kalyani ชื่อเพลง Karnatic นั้นมีผลต่อการพัฒนาลูกน้อยในครรภ์ โดยการสังเกตจากพารามิเตอร์ โดยดนตรีคลาสสิคนั้นส่งผลต่อการเคลื่อนไหว และ ความสงบสุขต่อลูกน้อยในครรภ์
นอกจากการเปิดเพลงให้ลูกฟังจะเป็นการกระตุ้นพัฒนาการในครรภ์ของทารก แต่ก็ไม่ได้มีเพียงกิจกรรมเดียวเพียงเท่านั้น เพราะวันนี้เราขอนำกิจกรรมต่าง ๆ ที่สามารถกระตุ้นพัฒนาการของทารกในครรภ์ได้ดีเช่นกัน ได้แก่

ฟังเพลงดี ต่อแม่ท้อง
- การเอาไฟฉายส่องท้อง
ลูกน้อยในครรภ์สามารถกระพริบตาเพื่อตอบสนองต่อแสงไฟที่กระตุ้นได้ตั้งแต่อายุครรภ์ประมาณ 7 เดือน การส่องไฟที่หน้าท้องจะทำให้เซลล์สมองและเส้นประสาทส่วนรับภาพและการมองเห็นมีพัฒนาดีขึ้นและเตรียมพร้อมสำหรับการมองเห็นภายหลังคลอด การส่องไฟที่หน้าท้องไม่จำเป็นต้องไปเล็งว่าแสงจะเข้าตรงกับนัยน์ตาของลูกหรือไม่ คุณแม่บางคนมาขอให้หมอตรวจอัลตราซาวด์เพื่อหาตำแหน่งของนัยน์ตาลูก ซึ่งการกระทำดังกล่าวอาจจะมากเกินไป เอาแค่ให้ลูกรู้ว่ามีแสงส่องเข้ามาก็น่าจะพอแล้ว
- ลูบหน้าท้อง
การลูบท้องระหว่างตั้งครรภ์เป็นการกระตุ้นระบบประสาท ทุกสัมผัสที่เกิดขึ้นจะพัฒนาเส้นใยประสาทของสมองส่วนรับความรู้สึกของลูกให้มีพัฒนาการดีขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพ และความไวในการรับรู้ของทารก รวมถึงพัฒนาการทางด้านร่างกายที่ดีอีกด้วย จะสังเกตได้ว่าขณะที่แม่ลูบท้องหรือขยับตัวลูกในท้องก็จะมีปฏิกิริยาโต้ตอบหรือมีการเคลื่อนไหว เช่น ลูกจะขยับตัวไปตามบริเวณที่มือของคุณพ่อหรือคุณแม่ลูบไป ทำให้รู้สึกว่าลูกในท้องก็รับรู้ได้ถึงสัมผัสนี้ที่เป็นการส่งความรู้สึกผ่านหน้าท้องสู่ทารกในครรภ์โดยตรง ขณะเดียวกันการลูบท้องและพูดคุยกับลูกไปด้วย จะเป็นการสร้างความคุ้นเคยและความผูกพันระหว่างแม่ลูก เบบี๋จะคุ้นน้ำเสียงและได้รับความอบอุ่นจากแม่
- พูดคุยกับลูกในท้องบ่อย ๆ
ระบบประสาทการรับฟังของลูกน้อยจะเริ่มทำงานประมาณอายุครรภ์ 5 เดือน การใช้ช่วงเวลานี้ส่งเสียงผ่านไปถึงลูกในท้องด้วยน้ำเสียงนุ่มนวล ใช้ประโยคซ้ำ ๆ จะช่วยให้ระบบประสาทและสมองที่ควบคุมการได้ยินมีพัฒนาการที่ดี เพราะทารกจะรู้จักเสียงต่าง ๆ ได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์แล้ว
บางวันคุณแม่อาจจะใช้การเล่านิทาน หรือเล่าว่าวันนี้แม่รู้สึกดี ๆ กับลูกอย่างไร การพูดคุยกับลูกในท้องบ่อย ๆ จะเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการได้ยินหลังคลอด เมื่อทารกเกิดมาจะมีพัฒนาการทางด้านสมองและพร้อมสำหรับพัฒนาการด้านภาษาที่ดีกว่าเด็กที่พ่อแม่ไม่ได้คุยด้วย
- อ่านหนังสือให้ลูกในท้องฟัง
การอ่านหนังสือและพูดคุยกับลูกตั้งแต่อยู่ในท้อง จะช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัสและสร้างวงจรในสมองของลูกได้ นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านสมองกล่าวว่า เด็กจะมีความจำเกี่ยวกับคำและจะคุ้นชินกับคำและประโยคที่พ่อแม่อ่านให้ฟัง ยิ่งพ่อแม่มีการต่อยอดหลังจากลูกคลอดออกมา เด็กจะยิ่งมีพัฒนาการทางด้านภาษาที่ดีขึ้น และเรียนรู้ได้เร็วขึ้น
ทุกเสียงที่พ่อแม่อ่านเป็นคำ ๆ ให้ลูกฟังนั้นจะกระตุ้นสมองของลูก ทารกจะบันทึกและสร้างวงจรของคำศัพท์ต่าง ๆ เอาไว้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์” หนังสือที่จะอ่านเพื่อกระตุ้นสมองลูกให้ฉลาดได้ในช่วงนี้ คุณแม่ควรเลือกหยิบหนังสือนิทานที่สามารถอ่านให้ลูกฟังได้ตั้งแต่ในท้องจนถึงวัยเด็กเลย
ลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ กับ theAsianparent Thailand ตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรก มาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ว่าลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2 มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และ ลูกดิ้นวันละกี่ครั้งด้วยแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอพพลิเคชั่นในส่วนแรก เพราะคุณแม่จะได้รับการดูแลทั้งอาหารการกินโดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่าควรทานอะไรบ้างในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้างที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้หรือทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไรให้เป็นมงคลทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย รวมถึงเตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการ
Source : 1
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ชวนลูกฟังเพลง กิจกรรมกระชับสัมพันธ์ ที่ง่าย สนุก แถมพัฒนาทักษะการฟังได้อย่างดี
ฝึกลูกพูด ด้วย 10 วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด อยากให้ลูกพูดเก่งทำอย่างไร
เกมคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กเล็ก พร้อมวิธีการเล่นอย่างง่าย ใครๆ ก็สอนลูกได้!