X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

พัฒนาการมองเห็นของทารกในครรภ์ เริ่มต้นอย่างไร

บทความ 3 นาที
พัฒนาการมองเห็นของทารกในครรภ์ เริ่มต้นอย่างไร

ดวงตาของทารกใช้เวลานานกว่าหกเดือนในการพัฒนาอย่างพิถีพิถันภายในมดลูก ก่อนที่ดวงตาของลูกน้อยจะมีความพร้อมสำหรับการประมวลผลข้อมูลภาพจากโลกภายนอก อยากรู้ไหมว่า ดวงตาของทารกมีพัฒนาการอย่างไร และคุณแม่จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการมองเห็นของทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ได้อย่างไร

พัฒนาการมองเห็นของทารกในครรภ์

ดวงตาของทารก มีพัฒนาการอย่างไรตั้งแต่อยู่ในครรภ์

ดวงตาถูกควบคุมโดยสมอง ซึ่งมีการเชื่อมต่อผ่านเซลล์ประสาท เมื่อทารกในครรภ์เจริญเติบโตขึ้น ส่วนแรกของระบบการมองเห็นที่เริ่มพัฒนาคือ เส้นประสาทตา เส้นประสาทตานับล้านเส้นจะส่งผ่านข้อมูลจากตาไปยังสมอง และจากสมองไปยังตา

ในช่วงสัปดาห์ที่ 4 ของการตั้งครรภ์ เซลล์จากเนื้อเยื่อสมองที่กำลังพัฒนาจะมารวมตัวกัน เพื่อเริ่มพัฒนาเป็นเส้นประสาทตา 2 เส้น โดยอยู่คนละข้างของศีรษะ ในช่วงเวลาประมาณเดียวกัน เซลล์ชั้นนอกของทารกในครรภ์เริ่มต้นการพัฒนาเป็นเลนส์ตา ซึ่งจะช่วยให้ลูกน้อยของคุณโฟกัสสายตาไปยังวัตถุทั้งใกล้และไกล

หนึ่งเดือนต่อมา (ประมาณสัปดาห์ที่ 8 ของการตั้งครรภ์) ตาจะยิ่งซับซ้อนมากขึ้นและจอประสาทตา (ชั้นของเซลล์ที่ด้านหลังของดวงตา ทำหน้าที่รับและประมวลผลแสง) ได้เริ่มพัฒนาขึ้น

สัปดาห์ที่ 16 เซลล์เหล่านั้นได้เริ่มที่จะรับแสงได้แล้ว แม้ว่าลูกน้อยยังไม่สามารถเปิดเปลือกตาได้ แต่ดวงตาของลูกน้อยก็สามารถเคลื่อนไหวไปทางด้านข้างได้เล็กน้อย เพื่อตอบสนองต่อแสง

เมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 26 ในตอนท้ายของไตรมาสที่สอง ตาลูกน้อยกำลังจะพัฒนาเต็มที่แล้ว ลูกน้อยไม่เพียงสามารถรับรู้แสงได้ แต่สามารถเปิดเปลือกตาได้แล้ว ลูกน้อยจะเริ่มลืมตาและกะพริบตาในยามตื่น

ภายในท้องแม่ไม่มีอะไรให้ดูมากนัก แต่ลูกน้อยจะสัมผัสถึงความเคลื่อนไหวของแสงภายนอกร่างกายคุณแม่ ลองส่องไฟฉายไปที่ท้อง เขาจะตอบสนองด้วยการเตะกลับมา

อ่านเคล็ดลับช่วยให้ลูกสายตาดีตั้งแต่ในครรภ์ คลิกหน้าต่อไป

นักวิจัยแนะเคล็ดลับช่วยให้ลูกมีพัฒนาการสายตาดีตั้งแต่ในครรภ์

ในอดีตที่ผ่านมานักวิจัยคิดว่าการกินอาหารที่สมดุลระหว่างการตั้งครรภ์ก็เพียงพอต่อพัฒนาการสายตาทารกในครรภ์แล้ว อันที่จริง การศึกษาจำนวนหนึ่งได้แสดงให้เห็นว่า สารอาหารบางชนิดมีความจำเป็นต่อการพัฒนาของดวงตา โดยเฉพาะวิตามินเอ (ที่พบในผักใบเขียว ผลไม้บางชนิด และผลิตภัณฑ์นม) การกินอาหารที่หลากหลาย และกินวิตามินอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้คุณได้รับสารอาหารเหล่านี้อย่างเพียงพอ

Advertisement

เมื่อเร็ว ๆ นี้ นักวิทยาศาสตร์พบอีกวิธีหนึ่ง ที่จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการมองเห็นของทารกในครรภ์ นั่นคือ แสงแดด แม้ว่าจะภายในมดลูกจะมืด แต่อนุภาพแสงบางส่วนยังคงทะลุผ่านผิวหนังได้ หากคุณแม่ยืนอยู่กลางแดด จากการทดลองในสัตว์ พบว่า เมื่อแม่หนูที่ตั้งท้องอยู่แต่ในความมืด ลูกๆ ของมันมีแนวโน้มที่จะมีปัญหาการมองเห็นหลังคลอด ในทำนองเดียวกัน ข้อมูลได้ชี้ให้เห็นว่า คุณแม่ที่อาศัยอยู่ที่ละติจูดเหนือและตั้งครรภ์ในช่วงเดือนที่มืดที่สุดของปี ทารกมีความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดปกติของดวงตาเพิ่มขึ้น

คุณแม่จึงควรออกมาทำกิจกรรมกลางแจ้ง เพื่อรับแสงแดดเป็นประจำระหว่างตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม คุณแม่ต้องมั่นใจว่า ได้ทาครีมกันแดดก่อนออกกลางแจ้ง 15 นาที และทาซ้ำทุก 2 ชั่วโมง และควรหลีกเลี่ยงแสงแดดระหว่า 10 โมงเช้าถึงบ่าย 2 ซึ่งเป็นช่วงที่แดดแรงที่สุด

ดวงตาทารกไม่ได้พัฒนาเสร็จสมบูรณ์ตั้งแต่เกิด

เช่นเดียวกับอวัยวะอื่นๆ ของร่างกาย การมองเห็นของลูกยังคงต้องพัฒนาต่อไปหลังคลอด ลูกน้อยจำเป็นต้องปรับตัวกับแสงที่สว่างขึ้นและโลกที่วุ่นวายมากขึ้นภายนอกครรภ์ของแม่ ดังนั้น หากลูกน้อยของคุณเกิดมาตาเหล่ หรือดูเหมือนไม่สามารถโฟกัสใบหน้าได้ในตอนแรก คุณแม่ไม่ต้องกังวล หาก 3 เดือนไปแล้วยังไม่หายจึงควรพบคุณหมอค่ะ

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

ไฟฉายส่องท้องกระตุ้นพัฒนาการด้านการมองเห็น

แม่จ๋ารู้ไหม!!!ลูบท้องกระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • พัฒนาการมองเห็นของทารกในครรภ์ เริ่มต้นอย่างไร
แชร์ :
  • คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

    คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

  • ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

    ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

  • ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

    ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

  • คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

    คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

  • ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

    ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

  • ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

    ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว