X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เลี้ยงลูกทันสมัยไป สมองลูกอาจไม่พัฒนา

บทความ 3 นาที
เลี้ยงลูกทันสมัยไป สมองลูกอาจไม่พัฒนา

แม้จะเป็นคุณพ่อคุณเเม่ที่ทันสมัย เเต่การเลี้ยงลูกก็ยังต้องคำนึงถึงสิ่งที่ดีที่สุดต่อลูกอยู่ดี เเม้ว่าเราจะเป็นพ่อแม่ในยุคดิจิตอลก็ตาม เเละหลายสิ่งหลายอย่างก็ใช้เรื่องพวกนี้เเทนไม่ได้นะคะ ยิ่งเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนอย่างความรู้สึกหรือความต้องการของลูกเเล้วละก็

ผู้เชี่ยวชาญด้านสังคมและวัฒนธรรมเชื่อว่า การเลี้ยงลูกแบบทันสมัยมากเกินไป จะเป็นการขัดขวางพัฒนาการด้านอารมณ์ และการทำงานของสมอง อ้างอิงจากงานวิจัยจากการประชุมสัมมนาที่จัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยน็อทร์ดาม

ดาร์ซี นาร์วาซ ศาสจตราจารย์ด้านจิตวิทยา ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการทางศีลธรรมของเยาวชน ได้ให้ความเห็นว่า

“ชาวอเมริกันมีคุณภาพชีวิตที่แย่ลงมากเมื่อเทียบกับ 50 ปีที่แล้ว การให้เด็กทารกกินนมผง แยกเด็กๆ ให้อยู่ในห้องของตัวเองคนเดียว และความเชื่อที่ว่าอย่าตอบสนองต่อเสียงร้องของลูกเร็วเกินไป เพราะเป็นการตามใจเด็กๆ จนเคยตัว กลายเป็นค่านิยมที่ทำตามกันและเป็นเรื่องปกติของพ่อแม่สมัยนี้

ทั้งที่การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การตอบสนองต่อเสียงร้องของลูก การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูก อย่างการกอด หอม และช่วงเวลาที่แม่สบตาตอนลูกดูดนม แม้กระทั่งการที่ให้ปู่ย่าตายายมีส่วนร่วมในการดูแลอบรมสั่งสอน สิ่งเหล่านี้ต่างก็เป็นผลดีต่อพัฒนาการของสมอง อีกทั้งยังช่วยในการหล่อหลอมบุคลิกภาพ ช่วยให้เด็กๆ ได้มีพัฒนาการในเรื่องของสุขภาพจิตและศีลธรรมดียิ่งขึ้นด้วย”

shutterstock_323287889

เนื่องจากผลวิจัยบ่งบอกว่าการมีอารมณ์ที่ดีนั้นมาจากสุขภาพจิตใจที่มั่นคงจากวัยเด็ก

  1. การตอบสนองต่อเสียงร้องของลูก โดยไม่ปล่อยให้ลูกร้องจนเลิกร้องไปเองนั้น จะทำให้เด็กเกิดพัฒนาการด้านการตระหนักรู้ ว่าสิ่งที่ตัวเองต้องการคือเรื่องอะไร และเรียนรู้จากการตอบสนองของพ่อแม่ เพื่อพัฒนาเป็นการตอบสนองของตัวเองเมื่อโตขึ้น
  2. การสัมผัสอย่างเบามือและนุ่มนวลของพ่อแม่ จะช่วยลดความเครียดของลูกที่อาจเกิดขึ้นได้ เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่แม้แต่ตัวเด็กๆ เองก็ยังไม่เข้าใจ เป็นการควบคุมสิ่งเร้าต่างๆ และเป็นการแสดงถึงความเห็นอกเห็นใจของพ่อแม่ ที่มีต่อลูก ซึ่งเด็กๆ จะเรียนรู้ทั้งทักษะ จุดประสงค์ และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
  3. การปล่อยให้ลูกเล่นอย่างอิสระท่ามกลางธรรมชาติ จะช่วยในเรื่องของการปรับตัวให้เข้ากับสังคม นอกจากนี้ธรรมชาติยังช่วยลดความเกรี้ยวกราดของเด็กๆ ให้ลดน้อยลง ทำให้มีการแสดงออกที่ดีขึ้น
  4. การมีส่วนร่วมจากคุณปู่คุณย่าคุณตาคุณยาย จะช่วยในเรื่องของการพัฒนาไอคิวและความยืดหยุ่นในการตามใจตัวเองหรือถือตัวเองเป็นสำคัญ (ego) เนื่องจากเป็นการจำลองการอยู่ร่วมกันในสังคม ซึ่งมีสมาชิกมากกว่าตัวเด็กและคุณแม่

จึงเกิดคำถามที่ทำให้เราต้องมาพิจารณาและวิเคราะห์กันว่า การเลี้ยงลูกแบบที่ทำกันแพร่หลายอย่างทุกวันนี้ มาตรฐานอยู่ที่ไหนกันแน่?

 

shutterstock_62072143 (1)

 

 

นอกจากนี้การดูแลเด็กเล็กของชาวอเมริกันมีแนวโน้มที่จะแย่ลงเรื่อยๆ เพราะพ่อแม่อุ้มลูกน้อยลง เด็กๆ ใช้เวลาตัวช่วยของพ่อแม่ เช่น คาร์ซีท รถเข็น ที่นั่งโยกได้ มากกว่าสมัยก่อนเป็นจำนวนที่สูงขึ้นเรื่อย และมีแม่จำนวนเพียง 15% ที่ให้นมลูกถึง 1 ปีเต็ม ปัญหาที่ตามมาจากการเลี้ยงลูกแบบนี้นั้นทำให้มีเปอร์เซ็นต์ของโรคซึมเศร้าและการเกิดความวิตกกังวลเพิ่มมากขึ้น ทุกกลุ่มอายุรวมทั้งในเด็กเล็กไปจนถึงนักศึกษาระดับปริญญา ซึ่งการแสดงออกที่ก้าวร้าวในเด็กเล็กมีเพิ่มขึ้นในขณะที่ความมีเมตตาเห็นอกเห็นใจผู้อื่นนั้นลดน้อยลง

ศาสตราจารย์ ดาร์ซี ยังกล่าวอีกด้วยว่า “สมองซีกขวา ที่ทำงานควบคุมการบังคับและกำกับตัวเอง เป็นสมองที่ใช้เพื่อความคิดสร้างสรรค์ ความเห็นอกเห็นใจมีเมตตา โดยที่ทักษะเหล่านี้จะมีการพัฒนาเหมือนกับการเล่นมวยปล้ำหรือการเต้นรำหรือการสร้างงานศิลปะ ดังนั้นพ่อแม่จำเป็นต้องใช้เวลาร่วมกับลูก ทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ร่วมกัน“

แม้ว่าจะมีกระแสการเลี้ยงลูกแบบไหน หรือเรื่องอะไรที่พ่อแม่ส่วนใหญ่ทำให้เห็นในสังคม คุณพ่อคุณแม่คือคนเดียวที่รู้จักลูกตัวเองดีที่สุด ดังนั้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเลี้ยงลูกของตัวเองไปในทิศทางแบบไหนก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดคือการสังเกตว่าลูกมีการตอบสนองต่อวิธีนั้นอย่างไรบ้างคะ

 

บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

บทความจากพันธมิตร
เด็กสมาธิสั้น ดื้อ ซน อารมณ์รุนแรง มีโอกาสรักษาหายไหม?
เด็กสมาธิสั้น ดื้อ ซน อารมณ์รุนแรง มีโอกาสรักษาหายไหม?
เด็กดื้อ เด็กซน ใช่อาการเด็กสมาธิสั้นหรือไม่ โรคสมาธิสั้น คืออะไร ทำไมต้องรีบพาลูกไปรักษา
เด็กดื้อ เด็กซน ใช่อาการเด็กสมาธิสั้นหรือไม่ โรคสมาธิสั้น คืออะไร ทำไมต้องรีบพาลูกไปรักษา
รวม 5 ที่เรียนภาษาอังกฤษระดับแนวหน้า ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย พร้อมเทคนิคเรียนดีที่ไม่ควรพลาด!
รวม 5 ที่เรียนภาษาอังกฤษระดับแนวหน้า ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย พร้อมเทคนิคเรียนดีที่ไม่ควรพลาด!
เปิดโอกาสให้ลูกได้ค้นหาตัวเอง ด้วยเทคนิคการเรียนแบบ Home School
เปิดโอกาสให้ลูกได้ค้นหาตัวเอง ด้วยเทคนิคการเรียนแบบ Home School

6 วิธีเลี้ยงลูกด้วยการคิดบวกช่วยพ่อแม่รู้จัก “อดทน” มากขึ้น

เลี้ยงลูกให้เป็นคนปกติอย่างไรและเข้าใจลูกมากขึ้นภายใน 16 นาที

theAsianparent Community

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิยาพัฐ บุญช่วย

  • หน้าแรก
  • /
  • ช่วงวัยของเด็ก
  • /
  • เลี้ยงลูกทันสมัยไป สมองลูกอาจไม่พัฒนา
แชร์ :
  • เมื่อบทบาทของ CFO ต้องเปลี่ยนไป เลี้ยงลูกสมัยใหม่ ตามสไตล์แม่ฝน!

    เมื่อบทบาทของ CFO ต้องเปลี่ยนไป เลี้ยงลูกสมัยใหม่ ตามสไตล์แม่ฝน!

  • 16 คำแนะนำพ่อแม่มือใหม่ เปลี่ยนชีวิตให้ง่ายขึ้นไปกว่าเดิม อะไรบ้างที่ต้องรู้

    16 คำแนะนำพ่อแม่มือใหม่ เปลี่ยนชีวิตให้ง่ายขึ้นไปกว่าเดิม อะไรบ้างที่ต้องรู้

  • เล่าทั้งน้ำตา! ลูกชายวัย 4 ขวบ ตาบอดเฉียบพลัน โดยไม่มีสัญญาณเตือน!

    เล่าทั้งน้ำตา! ลูกชายวัย 4 ขวบ ตาบอดเฉียบพลัน โดยไม่มีสัญญาณเตือน!

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • เมื่อบทบาทของ CFO ต้องเปลี่ยนไป เลี้ยงลูกสมัยใหม่ ตามสไตล์แม่ฝน!

    เมื่อบทบาทของ CFO ต้องเปลี่ยนไป เลี้ยงลูกสมัยใหม่ ตามสไตล์แม่ฝน!

  • 16 คำแนะนำพ่อแม่มือใหม่ เปลี่ยนชีวิตให้ง่ายขึ้นไปกว่าเดิม อะไรบ้างที่ต้องรู้

    16 คำแนะนำพ่อแม่มือใหม่ เปลี่ยนชีวิตให้ง่ายขึ้นไปกว่าเดิม อะไรบ้างที่ต้องรู้

  • เล่าทั้งน้ำตา! ลูกชายวัย 4 ขวบ ตาบอดเฉียบพลัน โดยไม่มีสัญญาณเตือน!

    เล่าทั้งน้ำตา! ลูกชายวัย 4 ขวบ ตาบอดเฉียบพลัน โดยไม่มีสัญญาณเตือน!

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ