X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ปัญหาแน่นอก นมโต หน้าอกคัดของคุณแม่มือใหม่ จะบรรเทาอาการอย่างไร

บทความ 5 นาที
ปัญหาแน่นอก นมโต หน้าอกคัดของคุณแม่มือใหม่ จะบรรเทาอาการอย่างไร

หากรู้สึกแน่นอก หน้าอกโต นมโต ควรทำอย่างไรดี รักษาให้หายได้หรือเปล่า ติดตามอ่านกันได้ที่นี่

ปัญหาแน่นอก นมโต หน้าอกคัดของคุณแม่มือใหม่ จะบรรเทาอาการอย่างไร

นอกเหนือจากความเจ็บปวดเหลือแสนของการคลอดบุตรแล้ว ปัญหาที่บรรดาคุณแม่ ๆ มือใหม่ทั้งหลายต้องเผชิญกันแทบจะทุกคน ซึ่งอาจมีอาการปวดมากน้อยแตกต่างกันไป นั่นก็คือ ปัญหาแน่นอก นมโต หน้าอกคัดของคุณแม่มือใหม่ จะบรรเทาอาการอย่างไร ได้บ้าง

สำหรับคนทั่วไป อาจมองว่าเรื่องนี้ไม่น่าจะเป็นปัญหาใหญ่แต่อย่างใด แต่คนอื่นไหนเลยจะรู้ซึ้งถึงอาการนี้ได้ดีกว่าผู้ที่เป็นทั้งคุณแม่มือเก่าและมือใหม่ ส่วนมากคนที่เป็นก็มักมีอาการมาตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์กันแล้ว มักก่อให้เกิดความรู้สึกไม่สบายตัวค่อนข้างมาก แล้วอาการแบบนี้เกิดจากสาเหตุใดล่ะ

 

แม่ท้องแน่นหน้าอก นมโต

แม่ท้องแน่นหน้าอก นมโต

 

จริง ๆ แล้ว อาการเต้านมคัดนั้น เกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกคน แม้จะไม่ได้ตั้งครรภ์ก็ตาม ผู้หญิงทั่วไปอาจมีอาการคัดเต้านมได้ในช่วงก่อนมีรอบเดือน ส่วนผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ เกิดขึ้นเพราะร่างกายกำลังปรับสภาพกับระดับฮอร์โมนต่าง ๆ โดยจะเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ช่วง 3 เดือนแรก ของการตั้งครรภ์ อาจมีไข้อ่อน ๆ ร่วมด้วย แต่ก็เป็นอยู่เพียงไม่นาน จะรู้สึกว่าได้ว่าเต้านมแข็ง บวมตึง ร้อนวูบ และจะปวดไล่ตั้งแต่เต้านมไปจนถึงลานนมด้วย แล้วอาการก็จะค่อย ๆ ลดลงไป

ส่วนคุณแม่มือใหม่ที่กำลังให้นมบุตร อาการเต้านมคัดจะเกิดขึ้นด้วยหลาย ๆ สาเหตุ เช่น ร่างกายสร้างน้ำนมได้มากกว่าปริมาณที่ลูกกิน หรือคุณแม่ทิ้งช่วงการให้ลูกกินนมนานเกินไป ให้นมลูกไม่บ่อยพอ จำกัดเวลาการให้นมลูก หรือไม่ได้บีบออกในช่วงที่ลูกไม่ได้ดูด ทำให้มีน้ำนมสะสมในเต้ามาก รวมไปถึงการให้ลูกดูดนมไม่ถูกวิธี ซึ่งก็ก่อให้เกิดการระบายที่ไม่ดีตามมา

 

Advertisement

วิธีบรรเทาอาการ มีดังนี้

สำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์

1.บรรเทาได้ด้วยการประคบน้ำเย็นสลับกับน้ำอุ่นจัด แล้วนวดเบา ๆ จะทำให้อาการดีขึ้น

2.ระหว่างที่ตั้งครรภ์ ควรเลือกสวมใส่ชุดชั้นในให้เหมาะสมกับขนาดของร่างกายที่เปลี่ยนไปด้วย โดยควรเลือกเสื้อชั้นในที่ผลิตจากผ้าฝ้าย เพื่อให้ระบายอากาศได้ดีและเร็ว จะได้ไม่รู้สึกอับชื้นเหงื่อ โดยเนื้อผ้าฝ้ายจะมีความทนทาน แข็งแรง ช่วยอุ้มน้ำหนักของเต้านมที่ขยายตัว ซึ่งจะทำให้อาการปวดลดน้อยลงไปเช่นกัน

 

สำหรับคุณแม่หลังคลอด

1.ควรให้ลูกดูดนมบ่อยครั้งขึ้น อย่างน้อยทุก 2 – 2 1/2 ชั่วโมง และดูดให้ถูกวิธี เพื่อระบายน้ำนมออกจากเต้าให้ได้มากที่สุด และต้องให้ดูดในเวลากลางคืนด้วย มิเช่นนั้น เต้านมจะกลับมาคัดอีกในเช้าวันรุ่งขึ้น ถ้าหากลูกน้อยหลับหรือไม่ยอมดูด ก็ควรบีบหรือปั๊มน้ำนมออกมาเก็บไว้ โดยอาจนำไปแช่ช่องแข็งไว้ก่อนก็ได้

2.ประคบเต้านมด้วยผ้าอุ่นจัด อย่างน้อย 10 นาที ก่อนให้นมลูก ควรใช้ผ้าขนหนูผืนใหญ่พอที่จะหุ้มเต้านมได้โดยรอบ ความอุ่นจะช่วยบรรเทาอาการปวด ทำให้น้ำนมไหลดีขึ้น ตามด้วยการนวดและคลึงเต้านมเบา ๆ จากฐานลงไปที่หัวนม

3.บีบน้ำนมออกจนลานหัวนมนุ่มลง จะช่วยให้ลูกน้อยดูดนมได้ง่ายขึ้น ลดความทรมานของคุณแม่ลงไปได้มาก

4.หลังให้นมลูกเสร็จ คุณแม่ควรประคบเต้านมด้วยความเย็น เพื่อลดความเจ็บปวด โดยอาจนำน้ำแข็งมาห่อผ้าขนหนูแล้วประคบไว้ที่เต้า จะทำให้อาการปวดดีขึ้น

5.หากคุณแม่เจ็บมากจนให้ลูกดูดนมไม่ได้ อาจจำเป็นต้องพักสักครู่ และระบายน้ำนมโดยการบีบหรือปั๊มออก แล้วให้ป้อนนมแม่จากถ้วยให้ลูกน้อยแทน แต่ถ้ายังรู้สึกปวดจนทนไม่ไหว ควรรีบไปพบแพทย์

6.ในช่วงให้นมบุตร คุณแม่ควรเลือกใช้ชุดชั้นในที่เหมาะสมกับขนาดของเต้า เน้นเป็นผ้าฝ้ายเหมือนที่คุณแม่ขณะตั้งครรภ์ใช้ เพราะจะช่วยระบายเหงื่อ ความอับชื้น สวมแล้วกระชับเต้าพอดี ไม่แน่นหรือหลวมจนเกินไป

7.บีบน้ำนมออกได้เรื่อย ๆ ถ้าจำเป็น เพื่อจะได้คลายความเจ็บปวด จนกว่าอาการเต้านมคัดจะดีขึ้น

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : อาการคัดเต้านมของคนท้อง เกิดจากอะไร 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 12

 

หากต้องการจะป้องกันอาการเต้านมคัดไม่ให้เกิดขึ้นบ่อย แนะนำให้ปฏิบัติ ดังนี้

1.ไม่ควรทิ้งระยะให้นมลูกนานเกินไป หากมีธุระ ไม่สามารถให้นมลูกได้ตามเวลา ควรบีบน้ำนมออกมาเก็บไว้ เพื่อให้ลูกน้อยทานด้วยถ้วย

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

2.ให้ลูกน้อยดูดนมบ่อย ๆ ด้วยท่าทางที่ถูกวิธี และดูดจนเกลี้ยงเต้า โดยให้ลูกน้อยอ้าปากให้กว้างจนอมรอบฐานหัวนมได้ทั้งหมด ให้คางกับจมูกวางบนเต้านมได้พอดี ลูกจะดูดนมได้เป็นจังหวะและกลืนนมได้สะดวก (จะได้ยินเสียงกลืนชัดเจน)

 

ในกรณีที่คัดและปวดมากจนแตะต้องไม่ได้ วิธีที่ช่วยได้คือ นำกะละมังใส่น้ำอุ่นจัดที่พอทนได้วางบนโต๊ะ แล้วก้มตัวลงโดยใช้ข้อศอกยันโต๊ะไว้ ให้เต้านมจุ่มลงในน้ำสักพักใหญ่ ๆ แล้วกระตุ้นการหลั่งน้ำนม โดยการนวดเต้านมเบา ๆ หรือใช้หลังนิ้วลูบเบา ๆ จากนั้นจึงแช่เต้าในกะละมังอีกครั้ง ค่อย ๆ ใช้มือบีบน้ำนมออกทีละน้อยเท่าที่จะทนเจ็บได้

 

คุณแม่มือใหม่ลองเอาวิธีข้างต้นไปลองปรับใช้กันดูได้ตามความสะดวก แต่หากทนอาการปวดคัดไม่ไหวจริง ๆ แนะนำให้ไปพบคุณหมอ เพื่อจะได้หาวิธีแก้ไขได้เร็วที่สุด และเพื่อที่ความอบอุ่นผูกพันของสองแม่ลูกจะได้ยาวนานออกไป ไม่ขาดตอนเช่นกัน

theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัว ไปจนถึงการดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

ที่มา (sanook) (chulalongkornhospital)

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

เทคนิคบำรุงน้ำนม และปริมาณนมของเด็กแรกเกิดที่กินในแต่ละวัน

คู่มือคุณแม่ตั้งครรภ์มือใหม่ คู่มือตั้งครรภ์พร้อมคำแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่

เช็คลิสต์คุณแม่ตั้งครรภ์ ตลอด 9 เดือน ต้องทำอะไรบ้าง

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

kanok

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ปัญหาแน่นอก นมโต หน้าอกคัดของคุณแม่มือใหม่ จะบรรเทาอาการอย่างไร
แชร์ :
  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว