พอรู้ตัวว่ากำลังจะเป็นคุณแม่ ว่าที่คุณแม่ โดยเฉพาะคุณแม่ท้องแรกคงกำลังสับสน มึนงงว่าจะต้องเริ่มต้นทำอะไรบ้าง ถ้าคุณแม่ที่กำลังจับต้นชนปลายไม่ถูก หรือกลัวว่าจะพลาดรายละเอียดการเป็นแม่ตรงไหนไป เรามี เช็คลิสต์คุณแม่ตั้งครรภ์ มาฝากกันค่ะ
เช็คลิสต์คุณแม่ตั้งครรภ์ เดือนที่ 1
– ฝากครรภ์ นัดคุณหมอตรวจว่าตั้งครรภ์แน่นอน และเพื่อให้แน่ใจว่าการตั้งครรภ์เป็นปกติ
– ดูแผนประกันของคุณ เพื่อทำความเข้าใจว่า การดูแลก่อนคลอดครอบคลุมอะไรบ้าง และอาจจะเริ่มหาแผนประกันสำหรับลูกด้วย
– เริ่มเขียนไดอารี่ จดบันทึกเรื่องราวลูก! และบันทึกเรื่องราวอารมณ์ความรู้สึกของการเป็นแม่
– ปรับอาหาร ตอนนี้คุณต้องการสารอาหารสองอย่างดังนั้นคุณควรทานผักและผลไม้ให้มาก ๆ อย่าลืมดื่มน้ำมาก ๆ ด้วย!
– เลิกสูบบุหรี่ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อชีวิตน้อย ๆ ที่กำลังจะลืมตาดูโลกนะคะ
– ออกกำลังกายสม่ำเสมอ คุณไม่จำเป็นต้องออกกำลังกายหนัก ๆ แต่ควรออกกำลังกายเบา ๆ อย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์
– กินวิตามิน กรดโฟลิก เพื่อช่วยลดความเสี่ยงของทารกพิการแต่กำเนิด
– พักผ่อน! จำไว้ว่าคุณแม่จะอ่อนเพลียในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ ดังนั้นอย่าลืมนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอทุกครั้งที่ทำได้
เช็คลิสต์คุณแม่ตั้งครรภ์ เดือนที่ 2
– วางแผนการเงิน ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ การมีลูกไม่ใช่เรื่องถูก ดังนั้นให้เริ่มวางแผนการเงิน หรือ รายการค่าใช้จ่ายจำเป็นที่ต้องใช้ระหว่างตั้งครรภ์ หลังคลอดไว้ด้วย
– ตัดสินใจว่าจะคลอดที่ไหน อย่างไร บางครอบครัวตัดสินใจผ่าคลอด แทนการคลอดธรรมชาติ อาจจะต้องวางแผนเลือกคุณหมอ เลือกโรงพยาบาล และหาข้อมูล ติดต่อฝากครรภ์ให้เรียบร้อย
– อย่าลืมไปตามนัดคุณหมอ! ช่วงแรก คุณหมอจะนัดทุก ๆ 4 สัปดาห์ ควรไปตามนัดอย่างสม่ำเสมอค่ะ เพื่อตรวจดูสุขภาพลูกน้อย และปรึกษาปัญหาต่าง ๆ กับคุณหมอ
– จดคำถามล่วงหน้า คุณแม่ท้องแรกอาจจะมีคำถามมากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะช่วงแรกที่ยังตื่นเต้น ให้จดคำถามที่อยากจะถามคุณหมอไปด้วย จะได้ไม่ลืม
– เข้าไปร่วมกลุ่มแม่ ๆ ในโซเชียล ถ้าอยากพูดคุยแลกเปลี่ยน จากคุณแม่ที่มีประสบการณ์ ลองเข้าไป Join กลุ่มแม่ ๆ ในโซเชียล ใน Facebook หรือกลุ่ม Line เพื่อพูดคุย หาข้อมูล
– หากมีอาการแพ้ท้อง ให้รับประทานอาหารมื้อเล็ก ๆ หรือ ของว่างที่มีรสเค็ม ๆ เช่นแครกเกอร์ หรือ น้ำขิงก็ช่วยได้ค่ะ
เช็คลิสต์คุณแม่ตั้งครรภ์ เดือนที่ 3
– ดูข้อมูลเรื่องสิทธิ์การลาคลอด คุณแม่อาจจะต้องหาข้อมูล ปรึกษาที่ทำงานเรื่องสิทธิ์การลาคลอดแต่เนิ่น ๆ
– นัดหมอฟัน คนท้องมักมีปัญหาอาการเหงือกอักเสบได้ง่ายขึ้น ดังนั้นจึงควรทำความสะอาดช่องปากให้ดี และ อย่าลืมนัดตรวจสุขภาพกับทันตแพทย์ด้วย
– เตรียมช้อปเสื้อในคนท้อง ถ้าเริ่มรู้สึกว่าขนาดเสื้อในเปลี่ยน อาจจะเริ่มซื้อเสื้อชั้นในที่ใส่สบายพอดีกับหน้าอกที่เปลี่ยนไป ส่วนชุดคลุมท้อง เสื้อผ้าคนท้อง อาจจะยังไม่จำเป็นตอนนี้
– บำรุงผิวลดรอยแตก หน้าท้องลาย ถ้าคุณแม่ที่ยังไม่ได้บำรุงผิว ต้องรีบบำรุงหนัก ๆ กันได้แล้ว เพราะผิวอาจจะเริ่มขยายมากขึ้น ดังนั้นควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่บรรเทาอาการคันที่เกิดจากการตั้งครรภ์ หรือ ครีมบำรุงที่เพิ่มความชุ่มชื่นให้ผิว
เช็คลิสต์คุณแม่ตั้งครรภ์ เดือนที่ 4
– ประกาศข่าวดี! บางคู่ยังไม่ประกาศข่าวดี เพราะถือเคล็ด รอให้ครบ 3 เดือนก่อน เพื่อแน่ใจว่าลูกน้อยปลอดภัย ติดเรียบร้อยดี ตอนนี้ก็บอกข่าวดีกันได้แล้วค่ะ
– ดูเพศลูก ช่วงสัปดาห์ที่ 16-20 จะเริ่มเห็นอวัยวะเพศได้ชัดขึ้น รู้ว่าจะได้ลูกสาว ลูกชายก็ช่วงนี้แหละค่ะ
– เริ่มช้อปชุดคลุมท้อง หลังจากเดือนที่ 4 อาจจะเริ่มเห็นรูปร่างเปลี่ยนแปลงมากขึ้น ลูกน้อยเริ่มดิ้นแรงขึ้น ลองหาชุดที่ใส่สบายสำหรับคนท้องมากขึ้น
– ไปเที่ยวเบบี้มูน! จากฮันนีมูนที่ไปเที่ยวกันตามประสาสามีภรรยา ต่อจากนี้คือ เที่ยวเบบี้มูน คือ เที่ยวกันโดยมีเจ้าตัวเล็กอยู่ในท้องด้วย เป็นวิธีที่ดีในการใช้เวลาร่วมกันก่อนการที่จะเริ่มเข้าสู่ช่วงสัปดาห์หลัง ๆ ที่ไปเที่ยวโลดโผนไม่ได้มากแล้ว
อัลตราซาวด์ดูความสมบูรณ์ของลูกน้อย
เช็คลิสต์คุณแม่ตั้งครรภ์ เดือนที่ 5
– อัลตราซาวด์ดูความสมบูรณ์ เมื่อตั้งครรภ์ประมาณ 20 สัปดาห์ คุณหมออาจจะให้ตรวจโดยใช้เครื่องอุลตร้าซาวด์ เพื่อดูอายุครรภ์ที่ถูกต้อง ตรวจความสมบูรณ์ทางด้านโครงสร้างของอวัยวะภายในต่าง ๆ ดูการเจริญเติบโตของทารก
– ซื้อหมอนคนท้อง ท้องใหญ่ขึ้นทำให้นอนหงายลำบาก อาจจะต้องใช้ หมอนคนท้อง ช่วยขณะนอนหลับ และจำไว้ว่าคุณไม่ควรนอนหงายอีกต่อไป!
– หาข้อมูลเกี่ยวกับการให้นมแม่ เริ่มศึกษาวิธีการให้นม การกระตุ้นน้ำนมวิธีต่าง ๆ ปัญหาการให้นมว่าอาจจะต้องเจออะไรบ้าง
– ข้อเท้าและเท้าบวม เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้กับคุณแม่ที่ท้อง 5 เดือน ซึ่งการยกขาสูง การเดินออกกำลังกายเป็นประจำ หรือการดื่มน้ำมาก ๆ อาจช่วยบรรเทาอาการบวมได้
เช็คลิสต์คุณแม่ตั้งครรภ์ เดือนที่ 6
– เริ่มเรียนการอาบน้ำ ดูแลลูก ถ้ามีคอร์สอบรมคุณพ่อพ่อคุณแม่มือใหม่ ที่ทางโรงพยาบาลจัดให้ อย่าพลาดเข้าร่วมเรียนรู้ฝึกฝนนะคะ
– ค้นคว้าหาข้อมูลการเลี้ยงลูก ตอนที่ลูกคลอดแล้ว อาจจะไม่มีเวลามานั่งอ่าน นั่งหาข้อมูลแล้ว ดังนั้นเตรียมหาข้อมูล อ่านคู่มือเลี้ยงลูกไว้เป็นแนวทางบ้างค่ะ แต่ไม่จำเป็นต้องท่องจำทฤษฎีทั้งหมด เพราะสุดท้ายการเลี้ยงลูกก็ต้องยืดหยุ่น เรียนรู้กันไป
– วางแผนการลาคลอดกับนายจ้าง แจ้งกับนายจ้าง หรือ เพื่อนร่วมงานว่า มีกำหนดลาคลอดตอนช่วงไหน มีงานอะไรที่ต้องจัดการ มอบหมาย หรือสอนงานให้กับใครบ้าง
เช็คลิสต์คุณแม่ตั้งครรภ์ เดือนที่ 7
– มีอาการท้องแข็ง เจ็บครรภ์ อายุครรภ์มากขึ้น จะเริ่มมีอาการท้องแข็ง มดลูกบีบตัวมากขึ้นเป็นปกติ แต่ต้องสังเกตว่าเจ็บครรภ์ใกล้คลอดจริง ๆ หรือ แค่เจ็บครรภ์เตือน
– มีน้ำนมไหล คุณแม่บางคนเริ่มมีน้ำนมไหล คุณแม่อาจเริ่มสังเกตว่ามีน้ำสีขุ่น ๆ ไหลออกมาจากหัวนม น้ำนี้มีความใสกว่าน้ำนม มีรสหวาน เรียกว่า “โคลอสตรัม” (Colostrum) ถือว่าเป็นเรื่องปกติ
– นอนยกขาสูง ช่วงนี้จะมีอาการตะคริว ขาชามากขึ้น ยิ่งถ้าต้องเดิน ยืนนาน ๆ ไม่ควรเดิน ยืนเกินครึ่งชั่วโมง และให้พักด้วยการนั่งหรือนอนยกขาสูง
– เจ็บหน่วงอุ้งเชิงกราน เป็นเพราะลูกตัวใหญ่มากขึ้น มดลูกกำลังขยาย อุ้งเชิงกรานเลยรับน้ำหนักเพิ่มขึ้น
เช็คลิสต์คุณแม่ตั้งครรภ์ เดือนที่ 8
– จัดงาน Baby Shower ชวนเพื่อน ๆ ญาติสนิทมาปาร์ตี้ เป็นช่วงเวลาพิเศษที่จะได้พบปะเพื่อน ๆ ช่วยให้ผ่อนคลายกับการอุ้มท้องมายาวนาน และ จะได้มีกำลังใจจากเพื่อน ๆ เพื่อเตรียมคลอดด้วย
– เตรียมหาพี่เลี้ยง หรือคนช่วยเลี้ยง ลองเตรียมหาผู้ช่วย ติดต่อปู่ย่าตายาย ญาติ ๆ ที่อาจจะพอมาช่วยดูแล สลับสับเปลี่ยนเลี้ยงลูกได้บ้าง เพื่อให้คุณแม่ได้มีเวลาพักบ้าง
– เตรียมซักเสื้อผ้า ผ้าอ้อมของที่ซื้อเก็บไว้ ซักเสื้อผ้า ผ้าอ้อม และผ้าปูที่นอนของลูกน้อย ที่ซื้อเตรียมไว้ พับเก็บให้เรียบร้อย จัดไว้พร้อมใช้ เพราะใกล้เวลาแล้ว
– ตุนผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก ที่จำเป็นต้องใช้ เช่น สบู่ แชมพู เบบี้ออยล์ มอยส์เจอร์ไรเซอร์ สำลี คอตตอนบัด (คลิก > ของใช้เตรียมคลอด)
เช็คลิสต์คุณแม่ตั้งครรภ์ เดือนที่ 9
– ตั้งชื่อลูก! อาจจะมีเลือก ๆ กันไว้บ้างแล้ว แต่ต้องมาเคาะสรุปกันได้แล้ว ต้องคุยกับทั้งตัวคู่ของตัวเอง แล้วบางบ้านที่เป็นครอบครัวใหญ่ อาจจะต้องคุยกับพ่อแม่ของทั้งสองฝ่ายด้วย
– แพ็คกระเป๋าเตรียมคลอด สิ่งต่าง ๆ เช่น เสื้อผ้าสำหรับเปลี่ยน อุปกรณ์อาบน้ำ ของว่าง และที่ชาร์จโทรศัพท์มือถือ ควรจัดไว้ให้เรียบร้อย
– เตรียมเอกสารต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ตอนคลอด เมื่อถึงวันสำคัญจะได้พร้อม
– วางแผนสำหรับเด็กและสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ ถ้ามีลูก หรือ สัตว์เลี้ยงที่บ้านที่ต้องดูแล ต้องเตรียมหาพี่เลี้ยง คนช่วยดูแล เพราะอาจจะเจ็บท้องคลอดได้ทุกเมือง ดังนั้นการรู้ว่าใครจะดูแลลูก ๆ และสัตว์เลี้ยงในขณะที่ไปคลอด อยู่ในโรงพยาบาลเป็นสิ่งสำคัญ
– ติดตั้งคาร์ซีทเตรียมพร้อมในรถ ติดตั้งรอไว้เลย เพื่อจะได้ไม่ลืม และรับลูกกลับบ้านได้อย่างปลอดภัย หลังคลอด
– พักผ่อนรอวันสำคัญ! ช่วงเวลาที่เหลือช่วงสุดท้ายก่อนคลอด ต้องพักผ่อนตุนไว้เยอะ ๆ เลยค่ะ เพลิดเพลินไปกับช่วงเวลาสุดท้ายของการตั้งครรภ์ เตรียมพร้อมที่จะได้เจอหน้าเจ้าตัวน้อยในอีกไม่ช้า
ที่มา (momlovesbest) (mustelausa) (thebump)
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!