X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ประสบการณ์ตรงเมื่อลูกน้อยไส้ติ่งแตก เตือนคุณแม่อย่าชะล่าใจ

บทความ 5 นาที
ประสบการณ์ตรงเมื่อลูกน้อยไส้ติ่งแตก เตือนคุณแม่อย่าชะล่าใจ

เรื่องเล่าประสบการณ์ตรงที่แม่แอร์อยากจะแชร์ และบอกว่าแม่ๆ ไม่ควรประมาทกับสิ่งที่เกิดกับลูกน้อยของเรานะคะ คอยสังเกตอาการน้องด้วย ไม่ว่าอาการอะไรก็ตาม หากพบว่าผิดปกติ อย่าชะล่าใจเด็ดขาด มาดูเคสน้องแพรที่มีอาการไส้ติ่งแตกแต่ม้วนมุดอยู่ข้างในไส้ ทำให้ไม่ออกอาการจนพบว่า....

ลูกสาววัย 2 ไส้ติ่งแตก วอนคุณแม่อย่าชะล่าใจ

เคสของน้องแพร คือ ไส้ติ่งแตก และหมอบอกว่าแตกนานแล้วด้วยค่ะ แต่....ด้วยความโชคดีในโชคร้ายคือ ไส้ติ่งของน้องมันไม่ได้อยู่เดี่ยวๆ โผล่ออกมา แต่มันไปม้วนมุดอยู่ข้างในไส้ หมายถึงลักษณะอาจจะม้วนๆ ไปด้านหลัง และมีไส้ล้อมรอบอยู่นะคะ ตอนที่มันแตก เลยทำให้น้องมีอาการไม่มาก เพราะเหมือนลำไส้ที่ล้อมรอบอยู่พยุงกดไส้ติ่งเขาไว้

ช่วงแรกๆ ที่น้องเป็นแทบไม่เห็นอาการผิดปกติเลย คือน้องเข้าเตรียมอนุบาลแล้ว ช่วงเช้าๆ แม่จะป้อนข้าวน้องก่อนไปโรงเรียน น้องเริ่มมีบ่นว่าปวดท้อง ซึ่งก็คิดว่าลูกคงฟอร์มไม่อยากกินข้าวแน่เลย เหมือนเขาจะปวดแป๊ปๆ ก็หายไป ที่โรงเรียนคุณครูก็ไม่แจ้งอะไร บางวันก็ไม่มีบ่นปวดเลย ใช้ชีวิตปกติมาก แต่...ตรงนี้สำคัญนะคะ ช่วงนี้น้องท้องผูกมาสักพักแล้ว บางครั้ง 3 วันอึที สาเหตุมันมาจากตรงนี้ล่ะค่ะที่น้องแสดงอาการน้อยมาก บางวันบ่นปวด แล้วก็นั่งนิ่งๆ ซึมๆ ไม่ร้องไม่งอแง อาการแบบนี้เราเลยไม่รู้ว่าเป็นมากหรือน้อย เลยลองเอาของเล่นหรือของกินที่ชอบมาล่อเพื่อเช็กอาการ น้องก็กลับมาเล่นและกินเป็นปกติ

จนเกือบประมาณ 2 อาทิตย์ที่น้องเริ่มออกอาการ วันนั้นพาไปร้านเฟอร์นิเจอร์ ร้านค่อนข้างกว้าง มีพื้นที่ให้น้องวิ่งเป็นชั่วโมง ก็ไม่บ่นปวดท้องสักแอะ ผ่านไปอีก 2 วันก็มีนัดฉีดวัคซีนตอนเช้า พอกลับมาบ้านตอนเย็น น้องไข้ขึ้นสูงมากน่าจะ 40 องศาได้ มีอาการกินไม่ได้ อ้วกนมตลอด แม่ก็ยังคอยดูอาการตลอดแล้วก็คิดในใจว่า ที่น้องเป็นไข้อาจเพราะฉีดวัคซีนก็ได้ แต่ที่ผ่านมา น้องไม่เคยกลับมาเป็นไข้เลย พอผ่านไป 1 วันน้องยังคงมีไข้ แต่พอทานยา ไข้ก็ลดนะคะ ยังเล่นแถมทานข้าวได้ได้ปกติเหมิอนเดิม

น้องแพรให้หมอเช็กอาการโดยกดท้องด้านขวา พบว่าเป็นไส้ติ่งแตก

มาวันนี้ลูกเริ่มบ่นปวดท้องๆ แล้วล่ะค่ะ มีอาการซึมๆ นอนอย่างเดียวไม่เล่นไม่เดินแล้ว เลยตัดสินใจพาไปหาหมอ บอกหมอตามอาการว่าน้องบ่นๆ ปวดท้อง หมอเริ่มเช็คอาการทุกอย่าง สุดท้ายให้น้องนอนบนเตียง พอหมอกดท้องทางด้านขวา น้องมีอาการกระตุก ตอบสนองทันทีว่าเจ็บตรงนี้นะ แต่น้องหน้าปกติมากค่ะ หมอกดหลายรอบ แล้วก็บอกว่าน้องเป็นไส้ติ่งนะคะคุณแม่ พอได้ฟังตกใจเลยค่ะ หมอถามว่า เราจะทำการฉีดสีเข้าทางทวาร เพื่อดูอาการน้องและรู้ผลเลย หรือเปล่า แต่ก็มีค่าใช้จ่ายประมาณ 8000 บาท หรือให้น้องไปเอ็กซเรย์ดูก่อนเบื้องต้น เราเลยตกลงเอ็กซเรย์ก่อนค่ะ

เพราะแม่กำลังตั้งท้องน้องอีกคน เลยให้น้องแพรเข้าไปกับคุณพ่อ เห็นว่าน้องต้องอุดปากอุดจมูกหลายรอบ แต่ผลที่ออกมาคือ ไม่ชัดเจนเลย เพราะน้องอาจจะดุ๊กดิ๊กไม่นิ่ง ทีนี้จะตรวจด้วยการฉีดสีเลยค่ะ ให้น้องไปเจาะเลือด ใส่น้ำเกลือ ให้ยาจนน้องหลับ และพามาฉีดสี ฉายแสง หลังจากนั้นก็แอดมิทเข้าห้องพัก งดข้าวงดน้ำ หมอบอกว่ากำลังส่งผลเอ็กซเรย์ให้หมออีกคนตรวจอยู่

อยากรู้อาการไส้ติ่งแตกของน้องแพรเป็นอย่างไร อ่านต่อ >>

น้องแพรทำการผ่าตัดอาการไส้ติ่งแตก

****เอาง่ายๆนะคะ หมอทราบกันแล้วว่า ตอนนี้น้องไส้ติ่งแตก ผลออกมาชัดเจนแล้ว ที่ว่าทำไมดูยากตั้งแต่ตอนแรกคือ อย่างที่บอก ไส้ติ่งน้องมันไปขดอยู่ในไส้อีกทีค่ะ ครั้งแรกเลยไม่เห็น พอฉีดสีเท่านั้นแหละรู้เลย ****

การผ่าตัดต้องงดข้าว งดน้ำประมาณ 8 ชั่วโมงได้ค่ะ แต่ตอนแรกแม่ไม่รู้เลยว่าน้องต้องผ่าตัด คงเป็นเพราะหมอไม่อยากให้เราตกใจ พยาบาลเข้ามาเช็กไข้น้องเป็นระยะ วัดความดัน วัดชีพจรตลอด เพราะอาการน่าจะต้องเฝ้าระวัง เข้ามาเช็คถี่มากๆ แต่ตัวเล็กดันเล่นสบายไม่บ่นปวดท้องเลยตั้งแต่เช้า รอถึง 3 ทุ่ม หมอก็เข้ามาแจ้งว่า น้องไส้ติ่งแตกนะคะคุณแม่ พอได้ฟังถึงกับตกใจ แต่หมอให้เรากังวลไม่นานค่ะ สักพักอาจารย์หมอมาอธิบายรูปบนฟิล์มที่ถ่ายออกมา มันคือเศษอุจจาระที่น้องท้องผูก มันเป็นสามเหลี่ยมเล็กๆ คล้ายๆ ฟันปลา ไปอยู่ในไส้ติ่ง แปลว่าน้องเป็นคนท้องผูกใช่ไหม เราเลยบอกใช่ค่ะ หมอบอก เคสนี้ เจอยากมากนะ รายนี้เป็นรายที่ 2 ที่หมอเคยเจอ เพราะไส้ติ่งน้องมันหลบไปข้างหลัง และเป็นเด็กคนที่ 2 ที่เก่งมากๆ เท่าที่หมอเจอมา คือน้องไม่ร้องและงอแงเลย หมอเลยบอกว่าเดี๋ยวหมอจะผ่าตัดนะ ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง ให้ไปหาหมอดมยาก่อน หลังจากนั้นได้คุยกะหมอเราก็สบายใจ ส่งตัวน้องเข้าห้องผ่าตัด เราอุ้มน้องไปห้องผ่าตัดฉีดยาสลบ ร้องไห้มากๆ ประมาณ 5 วิก็คอพับสลบ ระหว่างผ่าตัด น้ำตาคนเป็นแม่ไหลเลยค่ะ พยาบาลเลยบอกว่า ถึงมือหมอแล้วนะคะ ให้คุณหมอดูแลต่อนะคะไม่ต้องตกใจ

แผลผ่าตัดไส้ติ่งแตกจะใหญ่กว่าไส้ติ่งธรรมดา

จนเที่ยงคืน น้องออกจากห้องผ่าตัดปลอดภัยแล้ว และต่อสายท่อน้ำเหลืองไว้ จะสังเกตจากรูปนะคะ แผลน้องจะใหญ่กว่าการผ่าตัดไส้ติ่งธรรมดา เพราะว่าไส้ติ่งแตก หมอต้องเอาไส้มาล้าง และล้างท้องค่ะ เลยต้องเปิดแผลกว้าง หลังผ่าตัดได้ 3 วันน้องแพรวิ่งเล่นปร๋อแล้วจ้า ตอนนี้น้องหายดีปกติทุกอย่างแล้วนะคะ ^^

อย่าชะล่าใจหากสังเกตลูกมีอาการปวดท้องปิดปกติ อาจเกิดไส้ติ่งแตก

***ได้มีการพูดคุยภายหลังกับคุณหมอ คุณหมอบอกโชคดีมากๆ อย่างที่หมอเจอมาบางคน แตกแค่ 2 วันก็เสียชีวิตแล้ว ติดเชื้อ อันตรายมากๆ คุณหมอบอกอีกด้วยว่า “ไส้ติ่ง” สามารถเป็นได้ทุกช่วงอายุ เริ่มตั้งแต่ 2 ขวบขึ้นไป มีโอกาสได้ทั้งนั้น เหมือนเป็นแจ็คพอต ทว่ามันจะเกิดขึ้นตอนไหน เมื่อไหร่ กับใคร เท่านั้นเอง คิดแล้วห่อเหี่ยวใจมากๆ ขนาดเราเป็นคนไม่ชะล่าใจนะคะ ยังไงเอามาฝากแม่ๆ ให้สังเกตอาการลูกดูหากพบว่าผิดปกติ ***

*** ถ้าน้องปวดท้อง และคุณแม่สงสัยว่าจะเป็นไส้ติ่งหรือเปล่า ให้คุณแม่เอาน้องนอนราบนะคะ แล้วกดท้องน้อยด้านขวาดูค่ะ กดลงลึกๆนะคะ ถ้าน้องเกร็งตัวรับ และมีปฏิกิริยาตอบสนอง กระตุก เหมือนสะดุ้ง รีบพาน้องส่ง รพ เลยนะคะ****

ด้วยหัวอกคนเป็นแม่ อยากแชร์ประสบการณ์ดีๆ จะได้ช่วยป้องกันรักษาก่อนที่ลูกรักของเราจะเป็นอะไรไปมากกว่านี้ค่ะ
ฝากอีกเรื่องนะคะ ช่วงเปลี่ยนวัย อาหารเปลี่ยน คุณแม่ดูแลการอึของน้องด้วยนะคะ อย่าให้น้องท้องผูกบ่อย ช่วงไหนผูกต้องรีบแก้ปัญหา และทำให้น้องอึเป็นปกติวิสัยให้ได้

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
เหรียญติดคอลูก..แม่ใจจะขาด ประสบการณ์ที่เจอกับตัว
ประสบการณ์ตรง: ลูกชายวัย 5 เดือนป่วยเป็นโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ

บทความจากพันธมิตร
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ประสบการณ์ตรงเมื่อลูกน้อยไส้ติ่งแตก เตือนคุณแม่อย่าชะล่าใจ
แชร์ :
  • อย่าชะล่าใจ 5 ภัยร้ายใกล้เปลนอนเจ้าตัวน้อย

    อย่าชะล่าใจ 5 ภัยร้ายใกล้เปลนอนเจ้าตัวน้อย

  • ใจหายใจคว่ำ!! เมื่อลูกน้อยแอบกลืนกิ๊บติดผมลงท้อง

    ใจหายใจคว่ำ!! เมื่อลูกน้อยแอบกลืนกิ๊บติดผมลงท้อง

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

  • อย่าชะล่าใจ 5 ภัยร้ายใกล้เปลนอนเจ้าตัวน้อย

    อย่าชะล่าใจ 5 ภัยร้ายใกล้เปลนอนเจ้าตัวน้อย

  • ใจหายใจคว่ำ!! เมื่อลูกน้อยแอบกลืนกิ๊บติดผมลงท้อง

    ใจหายใจคว่ำ!! เมื่อลูกน้อยแอบกลืนกิ๊บติดผมลงท้อง

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ