X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

คุณแม่มี ประจำเดือน ให้นม ได้ไหม เกี่ยวข้องอย่างไร เรื่องที่แม่ ๆ ควรรู้

บทความ 5 นาที
คุณแม่มี ประจำเดือน ให้นม ได้ไหม เกี่ยวข้องอย่างไร เรื่องที่แม่ ๆ ควรรู้

คุณแม่มือใหม่หลาย ๆ คน คงอาจจะเคยได้ยินว่า ถ้า ประจำเดือน ให้นม แล้วประจำเดือนไม่มา หรือไม่ก็มาช้า จะมาอีกทีก็ลูกโต แต่ในความเป็นจริง คุณแม่บางคน กลับมีประจำเดือนไว ทั้ง ๆ ที่ลูกยังไม่ถึงหนึ่งขวบเลยก็มี

 

ประจำเดือนเกี่ยวกับการให้นมลูกอย่างไร

จริงอยู่ที่ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คุณแม่ที่คลอดลูกใหม่ ๆ แล้วประจำเดือนยังไม่มาก็คือ “การให้นมลูก” แต่การที่ประจำเดือนจะมาเร็วหรือมาช้านั้น เชื่อหรือไม่คะว่า เป็นการเกี่ยวโยงกับเรื่องของการให้นมลูกนี่แหละค่ะ เสมือนกับห่วงโซ่ที่เชื่อมโยงต่อกันอย่างไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ประจำเดือน ให้นม เกี่ยวข้องกัน

จากการศึกษาพบว่าคุณแม่เป็นที่ให้นมลูกกินบ่อย ๆ ไม่เว้นมื้อดึกก็ยังให้ลูกทาน หรือคุณแม่ที่ขยันปั๊มนมทุก ๆ 3 – 4 ชั่วโมงตลอด 24 ชั่วโมงนั้น ส่วนใหญ่แล้ว ประจำเดือนจะมาช้ากว่าคุณแม่ที่ปั๊มนมน้อย หรือปั๊มแล้วทิ้งช่วงนาน รวมถึงคุณแม่ที่ให้นมผงลูกค่ะ

สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เป็นเพราะ ฮอร์โมนสร้างน้ำนมมากดฮอร์โมนเพศทำให้ไข่ของคุณแม่ตกช้า ซึ่งจะตรงกันข้ามกับคุณแม่ที่ให้นมผง หรือปั๊มนมห่าง ที่เป็นเช่นนั้น ก็เป็นเพราะฮอร์โมนสร้างน้ำนมทำงานน้อย ทำให้ฮอร์โมนเพศทำหน้าที่หนักขึ้น ไข่จึงกลับมาโคจรตกได้เหมือนเดิมหรือตกเร็วขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : ให้นมลูกอย่างไร คุณแม่มือใหม่ควรให้นมยังไงในครั้งแรก เข้าเต้าแบบไหนดี?

 

ทำไมน้ำนมชอบถดถอยขณะให้นมลูก ?

ถ้าหากคุณแม่สังเกต จะพบว่า ทุกครั้งที่ประจำเดือนมา น้ำนมของคุณแม่ จะลดน้อยถอยลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเป็นเรื่องปกติค่ะ คุณแม่ไม่จำเป็นต้องกังวลอะไร สาเหตุที่เป็นเช่นนั้น ก็เป็นเพราะเจ้าฮอร์โมนอีกนั่นแหละค่ะ เนื่องจากฮอร์โมนเพศกำลังทำงานหนักอยู่ ทำให้ฮอร์โมนน้ำนมนั้น ลดน้อยถอยลงไป เสมือนกับ ถึงเวลาที่พวกเขาจะต้องพักร้อน และเมื่อไหร่ก็ตามที่หมดเวลาพักร้อนหรือวันลาหมด พวกเขาก็จะกลับมาทำหน้าที่เหมือนเดิมเองค่ะ

นอกจากนั้น หากคุณแม่เป็นกังวลว่า การมีประจำเดือนเป็นอันตรายกับลูกไหมละก็ งานนี้ ไม่ต้องคิดเลยค่ะ สบายใจได้ เพราะประจำเดือนไม่สามารถทำอันตรายใด ๆ กับลูกได้เลยค่ะ จะมีก็แค่น้ำนมน้อยและรสชาติเปลี่ยน ซึ่งตรงจุดนี้ก็อาจจะทำให้ลูกน้อยของคุณแม่หงุดหงิดและคุณแม่เจ็บหัวนมมากกว่าปกติเป็นธรรมดาค่ะ

Advertisement

 

วิดีโอจาก : Nurse Kids

 

ประจำเดือนหลังคลอด

ประจำเดือนหลังคลอด เป็นเรื่องที่คุณแม่หลายท่านอยากรู้ และมีความเชื่อว่าหลังจากคลอดลูกแล้ว การให้นมจะทำให้ไม่มีประจำเดือน แต่จริง ๆ แล้ว ประจำเดือนอาจจะมาตามปกติหลังจากคลอดลูกเพียงไม่กี่สัปดาห์ก็ได้

 

  • บางครั้งประจำเดือนอาจมาช้าไปหลายเดือนเมื่อคุณแม่ต้องให้นมลูก
  • ประจำเดือนอาจมาช่วงที่คุณแม่หยุดให้นมลูกชั่วคราว
  • ในบางครั้ง ประจำเดือนอาจไม่มาจนกระทั่งคุณหยุดให้นมลูกแล้ว
  • หลังจากมีประจำเดือนครั้งแรกหลังจากคลอดลูก แม้ว่าคุณจะให้นมลูกอยู่ ประจำเดือนก็จะมาทุกเดือนตามปกติ

 

การให้นมขณะที่มีประจำเดือน

คุณแม่หลายคนยังเข้าใจผิดว่าการให้นมลูกช่วงที่มีประจำเดือนนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ แต่ในความเป็นจริง ยังมีอีกหลายเรื่องที่คุณแม่อาจต้องทำความเข้าใจใหม่ ดังนี้

 

  • การให้นมขณะมีประจำเดือนไม่เป็นอันตรายต่อลูก
  • ปริมาณสารอาหารในน้ำนมยังเหมือนเดิม
  • รสชาติของน้ำนมอาจเปลี่ยนไปบ้างเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย
  • บางครั้งลูกน้อยของคุณอาจมีอาการหงุดหงิดเนื่องจากน้ำนมเปลี่ยนรสชาติ แต่เป็นเรื่องปกติ คุณแม่ไม่ต้องเป็นกังวลไป
  • คุณสามารถขอคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องวิตามินและอาหารเสริมสำหรับเพิ่มน้ำนมได้
  • คุณอาจมีอาการเจ็บหัวนมเนื่องมาจากการมีประจำเดือนได้ในบางครั้ง
  • บางครั้งคุณแม่อาจรู้สึกทรมานกับการให้นมลูกน้อย ซึ่งอาจมีผลมาจากอาการปวดประจำเดือนครับ
  • การให้นมลูกอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้กระบวนการผลิตน้ำนมเป็นไปอย่างสม่ำเสมอตามไปด้วย อีกทั้งการให้นมลูกยังสามารถช่วยลดอาการเต้านมคัดและอาการเต้านมอักเสบได้อีกด้วย

 

ประจำเดือน ให้นม

 

ประจำเดือนแรกหลังจากให้นมลูก

ช่วงเวลาที่คุณแม่ให้นมลูกและยังไม่มีประจำเดือนหลังจากการคลอดจะเรียกว่า lactational amenorrhea ซึ่งในขณะที่ลูกดูดนมแม่ ระดับฮอร์โมน Prolactin จะสูงขึ้นทำให้ยับยั้งการตกไข่ได้ ในแม่ที่ให้ลูกดูดนมจากเต้าสม่ำเสมออย่างน้อยทุก 3-4 ชม.จะทำให้สามารถควบคุมการตกไข่ได้ถึง 95% การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวจะเป็นการคุมกำเนิดตามธรรมชาติได้ 70 วัน แต่ถ้าไม่ได้ให้นมลูกเลยจะมีไข่ตกใน 45 วันหลังคลอด ดังนั้น 6 สัปดาห์แรกหลังคลอดจะยังไม่มีการตั้งครรภ์ แต่หลังจากนั้นควรต้องมีการคุมกำเนิดอย่างอื่นร่วมด้วย

ในแม่ที่ให้นมลูกอย่างเดียว 6 เดือน และยังไม่มีประจำเดือนพบว่าอัตราการตั้งครรภ์มีเพียง 0.45-0.9 % เมื่อประจำเดือนมาตามปกติแล้ว คุณก็สามารถตั้งครรภ์ได้อีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ไม่มีกฎตายตัวสำหรับร่างกายของมนุษย์ แม้ว่าประจำเดือนยังไม่มาหลังคลอด แต่คุณก็มีโอกาสตั้งครรภ์ได้เช่นกัน

 

  • ร่างกายของคุณอาจมีการตกไข่ได้แม้ยังไม่มีประจำเดือนหลังจากคลอด
  • ถ้าคุณยังไม่อยากตั้งครรภ์ลูกคนถัดไป คุณควรใช้ยาคุมกำเนิดจะปลอดภัยที่สุด
  • หากคุณยังเป็นกังวลเกี่ยวกับการมีประจำเดือนหรือการใช้ยาคุมกำเนิดหากต้องให้นมลูก คุณสามารถขอคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้

 

วิธีพิจารณาว่าทารกได้รับนมแม่เพียงพอหรือไม่

  • น้ำหนักขึ้นตามเกณฑ์เพิ่มวันละ 30 กรัม/วัน
  • ปัสสาวะ หลังเกิดทารกที่กินนมแม่อย่างเดียวจะถ่ายปัสสาวะประมาณ 1 ครั้ง ในวันแรก 2 ครั้งในวันที่ 2 และ 3 ครั้งในวันที่ 3 หลังจากนี้ จะถ่ายปัสสาวะเพิ่มขึ้น และการถ่ายปัสสาวะแต่ละครั้งจะชุ่มผ้าอ้อม ประมาณ 6- 8 ครั้ง ปัสสาวะสีเหลืองใส สีเหลือง
  • อุจจาระมีลักษณะ จำนวนครั้ง และปริมาณปกติ ระยะ 2- 3 สัปดาห์แรก ทารกที่กินนมแม่จะถ่ายอุจจาระบ่อย ลักษณะกึ่งแข็งกึ่งเหลว ไม่แห้งแข็ง สีเหลือง เนื้อละเอียด ประมาณ 2-3 ครั้ง/วัน หรือเปื้อนผ้าอ้อมหลังกินนมแม่ทุกมื้อได้
  • ภายหลังกินนมอิ่มทารกจะนอนหลับได้นานประมาณ 2-3 ชั่วโมง อารมณ์ดี ดูมีความสุขภายหลังกินนมแม่
  • ได้ยินเสียงกลืนนม เมื่อคุณแม่สร้างน้ำนมได้มากร่วมกับทารกดูด และกลืนได้ดี
  • เต้านมคุณแม่ตึงก่อนป้อนนม นุ่มหลังดูดนม
  • เต้านมคุณแม่ที่ไม่ถูกดูดมีน้ำนมหยด

 

ในช่วงวัยของทารกการได้รับนมแม่อย่างเพียงพอ มีแต่จะทำให้เกิดประโยชน์ต่อพัฒนาการของลูกน้อย คุณแม่จึงต้องเรียนรู้ และปรับตัว เพื่อให้สามารถให้นมลูกได้ในหลายสถานการณ์

 

บทความจากพันธมิตร
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
เทคนิคเลือกขวดนมเด็ก ลดอาการโคลิค ขวดนมสีชา ขวดนมสีใส แบบไหนเหมาะกับลูกน้อย
เทคนิคเลือกขวดนมเด็ก ลดอาการโคลิค ขวดนมสีชา ขวดนมสีใส แบบไหนเหมาะกับลูกน้อย
Attitude Mom เครื่องปั๊มนมแบรนด์ไทย ฉลองครบรอบ 10 ปี พร้อมเปิดตัวเครื่องปั๊มนมไร้สาย Easy Life III และ Application Attitude Mom
Attitude Mom เครื่องปั๊มนมแบรนด์ไทย ฉลองครบรอบ 10 ปี พร้อมเปิดตัวเครื่องปั๊มนมไร้สาย Easy Life III และ Application Attitude Mom
เคล็ดลับเพิ่มน้ำนมสำหรับคุณแม่มือใหม่ ด้วย Jessie M Next และ Jessie Mind Next
เคล็ดลับเพิ่มน้ำนมสำหรับคุณแม่มือใหม่ ด้วย Jessie M Next และ Jessie Mind Next

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เคล็ดลับการให้นมลูกตอนกลางคืน ช่วยลูกหลับต่อสบาย ไม่งอแง

ท่าให้นมลูก อุ้มลูกให้นม เอาลูกเข้าเต้าอย่างถูกวิธี ดูดจ๊วบๆ น้ำนมไหลดี

คุณแม่ให้นม ลดน้ำหนักได้ไหม เคล็ดลับเผาผลาญวันละ 500 แคลอรี่

ที่มาข้อมูล : Facebook: นมแม่แฮปปี้ , Phyathai

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Muninth

  • หน้าแรก
  • /
  • การให้นมลูก
  • /
  • คุณแม่มี ประจำเดือน ให้นม ได้ไหม เกี่ยวข้องอย่างไร เรื่องที่แม่ ๆ ควรรู้
แชร์ :
  • 8 เทคนิคให้นมลูกแบบถนอมทรง แม่ให้นมหน้าอกยังสวย กระชับ ไม่หย่อนยาน

    8 เทคนิคให้นมลูกแบบถนอมทรง แม่ให้นมหน้าอกยังสวย กระชับ ไม่หย่อนยาน

  • ให้นมลูกกินยาแทนลูกได้ไหม ? เรื่องอย่าหาทำ! ของแม่ให้นม

    ให้นมลูกกินยาแทนลูกได้ไหม ? เรื่องอย่าหาทำ! ของแม่ให้นม

  • แม่ลูกอ่อนกินผักอะไรได้บ้าง ผัก 13 ชนิดที่แม่หลังคลอด แม่ให้นม ควรกิน

    แม่ลูกอ่อนกินผักอะไรได้บ้าง ผัก 13 ชนิดที่แม่หลังคลอด แม่ให้นม ควรกิน

  • 8 เทคนิคให้นมลูกแบบถนอมทรง แม่ให้นมหน้าอกยังสวย กระชับ ไม่หย่อนยาน

    8 เทคนิคให้นมลูกแบบถนอมทรง แม่ให้นมหน้าอกยังสวย กระชับ ไม่หย่อนยาน

  • ให้นมลูกกินยาแทนลูกได้ไหม ? เรื่องอย่าหาทำ! ของแม่ให้นม

    ให้นมลูกกินยาแทนลูกได้ไหม ? เรื่องอย่าหาทำ! ของแม่ให้นม

  • แม่ลูกอ่อนกินผักอะไรได้บ้าง ผัก 13 ชนิดที่แม่หลังคลอด แม่ให้นม ควรกิน

    แม่ลูกอ่อนกินผักอะไรได้บ้าง ผัก 13 ชนิดที่แม่หลังคลอด แม่ให้นม ควรกิน

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว