X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

นมแม่ ที่ปั๊มแล้วเก็บได้นานแค่ไหน

บทความ 3 นาที
นมแม่ ที่ปั๊มแล้วเก็บได้นานแค่ไหน

นมแม่ ที่ปั๊มแล้วเก็บได้นานแค่ไหน กันนะ เพราะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิในการเก็บ ยิ่งอุณหภูมิสูงยิ่งเหม็นหืน ยิ่งอุณหภูมิต่ำยิ่งเก็บได้นาน

นมแม่ ที่ปั๊มแล้วเก็บได้นานแค่ไหน

สิ่งที่คุณเเม่สายปั๊มเป็นกังวลกันก็คือ นมแม่ ที่ปั๊มแล้วเก็บได้นานแค่ไหน ยิ่งเป็นคุณเเม่ที่น้ำนมไม่ค่อยจะมี กว่าจะได้เเต่ละออนซ์นั้นเลือดตาเเทบกระเด็น หากเก็บไม่ถูกวิธี เก็บในอุณหภูมิที่สูงเกินไป ลูกก็ไม่สามารถกินได้ สิ่งที่บีบเค้นออกมาถือว่าสูญเปล่า จะดีเเค่ไหน หากคุณเเม่รู้ชัดเเละเคลียร์ตั้งเเต่ตอนนี้ ว่านมเเม่เก็บได้นานเเค่ไหนกันนะ

ก่อนจะปั๊มนมต้องทำอะไรบ้าง

  • ล้างมือให้สะอาด ฟอกสบู่ทุกครั้งก่อนการปั๊มนม
  • ถุงเก็บนมเเม่หรือขวดนม ต้องผ่านการ sanitized หรือฆ่าเชื้อโรค โดยนำไปผ่านน้ำอุ่นเเละสบู่
  • เก็บถุงละหรือขวดนม 1-2 ออนซ์ หรือขึ้นอยู่กับว่าลูกกินเเต่ละครั้งปริมาณเท่าไหร่ค่ะ เเต่การเก็บทีละ 1-2 ออนซ์ จะง่ายต่อการนำมาใช้มากกว่าค่ะ เเต่ไม่ต้องใช้เวลาในการละลายนมนานด้วยค่ะ
  • หากเก็บนมเเม่ใส่ถุงเเล้วเเช่ช่องเเช่เเข็ง ควรเว้นพื้นที่ที่เป็นอากาศไว้สัก 1 นิ้วค่ะ เพราะว่านมเเม่เมื่อเเข็งจะขยายตัวขึ้นอีก
  • เขียนวันที่ปั๊มติดกับถุงหรือขวดทุกครั้ง เพื่อง่ายต่อการจัดการค่ะ
  • ใส่ช่องเเข็งหรือใส่ตู้เย็นให้เร็วที่สุดหลังจากปั๊มเสร็จเเล้ว หากไม่มีตู้เย็นอยู่ใกล้เคียง ให้ใช้กระเป๋าเก็บความเย็นได้ค่ะ

ลูกกินนมเเม่ไม่หมด สามารถเก็บนมเเม่ไว้กินมื้อต่อไป ได้หรือไม่

จริงๆ ก็ควรหลีกเลี่ยงการเก็บนมเเม่ที่ลูกกินไม่หมดค่ะ เนื่องจากปกติเเล้วในปากของลูกนั้นจะมีเเบคทีเรียอยู่ ซึ่งเวลาที่ดูดนมเเบคทีเรียจะปนเปื้อนในขวดนมอยู่เเล้วค่ะ

เเต่อย่างไรก็ตาม ้เข้าใจที่สุดค่ะว่า นมเเม่เเต่ละหยดกว่าจะได้มานั้นอย่างที่บอกคือ เลือดตาเเทบกระเด็นกันเลย ยิ่งคุณเเม่ที่ต้องตื่นกลางดึกเพื่อมาปั๊มนมเเม่ นั่นหมายความว่ายิ่งกว่าหยาดเหงื่อเเรงงานเสียอีก คือเอาทองมาเเลกยังไม่ยอมเลย

บางทฤษฎีก็ให้ความเห็นว่า เเม้จะมีเเบคทีเรียปนเปื้อนในนมเเม่บ้าง เเต่นมเเม่ที่ลูกกินเหลือก็สามารถนำมาให้ลูกกินต่อได้ค่ะ มีการศึกษาพบว่า หากเเช่นมเเม่ในตู้เย็นเป็นเวลา 8 วัน จะมีเเบคทีเรียน้อยกว่า เนื่องจากเซล์ล์ที่มีชีวิตในนมเเม่นั้นจะต่อสู้กับเเบคทีเรียที่ไม่ดีค่ะ

ดังนั้นนมเเม่ที่ลูกกินเหลือ กินไม่หมด สามารถให้ลูกกินต่อได้ค่ะ โดยให้กินเร็วที่สุดได้จะยิ่งดี หรือภายใน 6-8 ชั่วโมงหลังจากนั้น

How-long-can-breast-milk-sit-out-mama-natural-infographic-1480x1484

เก็บนมเเม่ได้นานเเค่ไหน

จริงๆ เเล้วควรเเช่นมเเม่ที่ปั๊มเเล้วไว้ในตู้เย็นทันทีหลังจากที่ปั๊มเสร็จค่ะ เเต่คุณเเม่ที่ปั๊มนมเเม่ที่ทำงาน บางทีการหาตู้เย็นก็เป็นเรื่องยากค่ะ ซึ่งการเก็บนมเเม่นั้นจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิเป็นสำคัญค่ะ

  • นมเเม่ที่อยู่ในอุณหภูมิห้องถ้าในหน้าหนาว (ที่หนาวจริงๆ นะคะ) ได้อยู่นาน 6-8 ชั่วโมง เเต่ถ้าร้อนๆ เเบบปกติอาจจะได้นานเพียง 4 ชั่วโมง เเต่อาจจะน้อยกว่านั้นก็ได้ค่ะ
  • นมเเม่ที่อยู่ในกระเป๋าเก็บความเย็น (ที่มี ice pack หรือ ก้อนน้ำเเข็งให้ความเย็นสีฟ้าหรือน้ำเงิน) จะอยู่ได้นาน 24 ชั่วโมง
  • นมเเม่ที่เเช่ในตู้เย็นจะเก็บได้นาน 3-8 วันค่ะ เเต่ควรให้ลูกกินให้เร็วที่สุดคือนำไปเเช่เเข็งต่อภายใน 3 วันนะคะ ส่วนนมเเม่ที่นำมาลาะลายน้ำเเข็งเเล้วควรให้ลูกกินให้หมดภายใน 24 ชั่วโมงค่ะ เเละไม่ควรนำไปเเช่เเข็งอีกรอบค่ะ
  • นมเเม่ที่เเช่ในช่องเเช่เเข็งหรือ Freezer สามารถเก็บได้นาน 6 เดือน
  • ส่วนนมเเม่ที่เเช่ในตู้เเช่เย็นที่มีอุณหภูมิต่ำมาก อาจจะอยู่ได้นาน 6-12 เดือนเลยค่ะ

วิธีละลายนมเเม่

  • นำนมเเม่ที่เเช่เเข็งออกมาวางในช่องเเช่เย็น หรือให้น้ำก๊อกไหลผ่าน เพื่อให้นมเเม่เพิ่มอุณหภูมิขึ้นทีละนิด จนกว่านมเเม่จะไม่เย็นเเล้ว (เเต่ก็ไม่ร้อน)
  • ห้ามนำนมเเม่เข้าในไมโครเวฟเด็ดขาด เพราะอาจทำอันตรายจากการลวกปากลูกได้ การเวฟนมเเม่ยังทำลายสารเเอนตี้บอดี้ในนมเเม่อีกด้วย
  • อย่างไรก็ตามการให้นมเเม่สดๆ จากเต้านั้นดีที่สุด เนื่องจากไม่เหม็นหืน (ลูกกินเเน่ๆ) เเละสารอาหารยังอยู่ครบถ้วน เมื่อนำนมเเม่เข้าตู้เย็นหรือเเช่ช่องเเข็ง เเม้สารอาหารบางส่วนจะหายไป เเต่ก็ยังเป็นอาหารที่ดีที่สุดต่อลูกอยู่ดีค่ะ

ที่มา mamanatural

บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

จะให้นมแม่ วีคเเรก ต้องรู้อะไรบ้าง

10 เรื่องน่ารู้ของ “นมแม่” ที่ถูกอ่านมากที่สุดในปี 2016

parenttown

บทความจากพันธมิตร
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

สิยาพัฐ บุญช่วย

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • นมแม่ ที่ปั๊มแล้วเก็บได้นานแค่ไหน
แชร์ :
  • นมแม่ปั๊มแล้วเก็บอย่างไร ให้ถูกวิธีและยังมีคุณค่า

    นมแม่ปั๊มแล้วเก็บอย่างไร ให้ถูกวิธีและยังมีคุณค่า

  • ต้องให้นมแม่นานแค่ไหน ลูกถึงจะได้ประโยชน์เต็มที่

    ต้องให้นมแม่นานแค่ไหน ลูกถึงจะได้ประโยชน์เต็มที่

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • นมแม่ปั๊มแล้วเก็บอย่างไร ให้ถูกวิธีและยังมีคุณค่า

    นมแม่ปั๊มแล้วเก็บอย่างไร ให้ถูกวิธีและยังมีคุณค่า

  • ต้องให้นมแม่นานแค่ไหน ลูกถึงจะได้ประโยชน์เต็มที่

    ต้องให้นมแม่นานแค่ไหน ลูกถึงจะได้ประโยชน์เต็มที่

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ