X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 81 ท่าบริหารอุ้งเชิงกรานคนท้อง

บทความ 5 นาที
100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 81 ท่าบริหารอุ้งเชิงกรานคนท้อง100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 81 ท่าบริหารอุ้งเชิงกรานคนท้อง

แม่ทุกคนอยากคลอดลูกง่ายอยากบริหารอุ้งเชิงกราน และ หลายคนคงต้องการ ท่าบริหารอุ้งเชิงกราน วันนี้เราไปดู ท่าบริหารอุ้งเชิงกรานที่ถูกวิธีกันเลยค่ะ

กล้ามเนื้ออุ้งเชิงการคืออะไร

กล้ามเนื้ออุ้งเชิงการ คือ กล้ามเนื้อที่ช่วยควบคุมการปัสสาวะ อุจาระ และกล้ามเนื้อสำหรับการคลอดบุตร การมีลูก การคลอดลูก และน้ำหนักเกิน จะทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอ่อนแรง แต่โชคดีที่มี ท่าบริหารอุ้งเชิงกราน สามารถทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงได้

กล้ามเนื้อพื้นอุ้งเชิงกรานทำหน้าที่อะไร?

  • หดรัดตัวเมื่อคุณไอ จาม หรือออกแรงเบ่ง เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัสสาวะเล็ดโดยไม่ได้ตั้งใจ
  • ช่วยพยุงอวัยวะในช่องท้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณอยู่ในท่ายืน
  • ช่วยปกป้องอวัยวะในอุ้งเชิงกรานจากความเสียหายภายนอก
  • ช่วยยึดอวัยวะในอุ้งเชิงกราน เช่น กระเพาะปัสสาวะ ให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม
  • ช่วยควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ ลม และการเคลื่อนไหวของลำไส้
  • มีบทบาทหน้าที่ทางเพศขณะมีเพศสัมพันธ์ กล้ามเนื้อพื้นอุ้งเชิงกรานจำเป็นต้องแข็งแรงและมีความตึง หรือกำลังที่ เพียงพอเหมือนกล้ามเนื้อส่วนอื่นๆของร่างกาย
นวด

นวด

ท่าบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน Kegel Exercises 

สำหรับผู้ที่ทำ ท่าบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน จะทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานแข็งแรง กล้ามเนื้อจะมีบทบาทอย่างมากในขณะคลอดซึ่งจะทำให้คลอดง่าย นอกจากนั้นยังช่วยลดการเกิดปัสสาวะเร็ด และริดสีดวงทวาร การออกกำลังกายในท่าบริหารอุ้งเชิงกราน นอกจากจะช่วยให้คลอดง่ายแล้วจะช่วยให้แผลหลังคลอดหายเร็วยิ่งขึ้นอีกด้วย

คุณแม่ตั้งครรภ์ควรฝึก ท่าบริหารอุ้งเชิงกราน มากน้อยแค่ไหน ?

คุณแม่ทำท่าบริหารอุ้งเชิงกราน วันละ 3 รอบ แต่ละรอบขมิบช่องคลอดค้างไว้ 5-10 วินาทีและทำซ้ำ10-20 ครั้ง ช่วงแรกอาจเริ่มจากการขมิบค้างไว้ไม่กี่วินาที จากนั้นจึงค่อย ๆ เพิ่มเวลาและจำนวนครั้งให้มากขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องทำขณะอยู่ในท่านอนเท่านั้น แต่สามารถทำระหว่างกิจกรรมอื่น ๆ ได้ด้วย เช่น ดูโทรทัศน์ อ่านหนังสือ รีดผ้า เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ไม่ควรทำท่าบริหารอุ้งเชิงกรานบ่อยจนเกินไป เพราะอาจส่งผลกระทบต่อการปัสสาวะได้

บริหารอุ้งเชิงกราน แบบไหนถึงจะปลอดภัย 

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างมาก และท่าบริหารอุ้งเชิงกราน ที่ปลอดภัยต่อคุณแม่ ได้แก่ การว่ายน้ำ การเดินเร็ว การขี่จักรยานอยู่กับที่ การออกกำลังกายแบบแอร์โรบิค คุณแม่ควรงดการบริหารร่างกายหรือการออกกำลังกายที่มีความเร็ว ได้แก่ การวิ่ง การตีเทนนิส

 

วิธีบริหารอุ้งเชิงกราน

นวดผ่อนคลาย

นวดผ่อนคลาย

1.ท่าผีเสื้อ

ท่านี้จะช่วยให้คุณแม่ผ่อนคลาย และ ทำให้อุ้งเชิงกราน มีความยืดหยุ่นได้ดีค่ะ 

  • นั่งฝ่ามือชิดกันนำมือทั้ง 2 ข้างกดที่เข่าไว้ แล้วโน้มตัวไปข้างหน้า นับ 1-10 แล้วผ่อนคลาย 

2.ท่าPelvic tilt exercise

การบริหารอุ้งเชิงกรานด้วยท่าบริหารนี้ จะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อหลังของคุณแม่ และช่วยลดอาการปวดหลังหลังจากการคลอดได้ค่ะ

  • นอนหงายบนเสื่อโยคะ ชันเข่าทั้งสองข้าง นำมือทั้งสองวางข้างลำตัว หรือหน้าท้อง 
  • กดกระดูกเชิงกราน ดันหลังขึ้น ค้างไว้ 1-2 วินาที แล้วลงไปนอนท่าเดิม โดยไม่ปล่อยให้กล้ามเนื้อท้องห้อย
  • ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง

3.ท่าแมว

ท่านี้จะช่วยบริหารกล้ามเนื้อรอบๆกระดูกสันหลัง แถมยังเป็นท่าบริหารอุ้งเชิงกรานที่ช่วยบรรเทาอาการปวดหลังได้เป็นอย่างดี ทำให้คุณแม่ยืดเส้นสายอย่างเต็มที่ แต่ท่านี้คุณแม่อาจจะต้องค่อยๆก้มและเงยศีรษะอย่างช้าๆ เพื่อป้องกันการเวียนศีรษะ 

  • อยู่ในท่าตั้งคลาน แขนทั้งสองข้างเหยียดตรง ลงน้ำหนักที่มือและเข่าทั้งสองข้าง
  • หายใจเข้าทางจมูก พร้อมกับเงยศีรษะและแอ่นหลัง จากนั้นหายใจออกทางปาก พร้อมกับก้มศีรษะ โก่ง ลำตัว และขมิบก้น

4.Squatting

ท่าสควอชท่านี้คุณแม่สามารถทำได้ง่ายๆ เพียงแค่มีเก้าอี้ ท่านี้จะช่วยเพิ่มกล้ามเนื้อให้คุณแม่และเสริมสร้างความแข็งแรงของช่วงล่าง ไม่ว่าจะเป็น เอว สะโพก และต้นขา เมื่อทำท่าบริหารอุ้งเชิงกรานท่านี้ จะทำให้มดลูกของคุณแม่เปิดกว้างขึ้น และลดอาการปวดหลัง 

  • กางขาทั้ง 2 ข้าง ให้ระยะห่างเท่ากับช่วงไหล่
  • ยืนหลังเก้าอี้ที่มีพนักพิง เพื่อเกาะพนักเอาไว้
  • ค่อย ๆ ย่อเข่าลง เหมือนกำลังจะนั่งเก้าอี้ ระวังไม่ให้เข่าเลยปลายเท้า
  • ทำค้างไว้ 5 วินาที
  • กลับสู่ท่ายืนปกติ แล้วทำซ้ำ 10 ครั้ง

5.เดินเยอะๆ คลอดง่าย 

การเดินถือเป็นการบริหารอุ้งเชิงกราน อย่างหนึ่ง ท่านี้จะช่วยให้คุณแม่ลดความเจ็บปวดการเดินอาจช่วยกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนออกซิโตซิน (Oxytocin) ที่ช่วยให้มดลูกบีบรัด เป็นการกระตุ้นการคลอด

บทความจากพันธมิตร
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้
คุณแม่ให้นมเตรียมตัวกลับไปทำงาน ต้องปั๊มนม สต็อกนมอย่างไร ให้ลูกมีนมกินอย่างเพียงพอ
คุณแม่ให้นมเตรียมตัวกลับไปทำงาน ต้องปั๊มนม สต็อกนมอย่างไร ให้ลูกมีนมกินอย่างเพียงพอ
  • ควรใช้เวลาเดิน 20-30 นาที ต่อวัน

6.ใช้แรงโน้นถ่วง

เป็นการช่วยดันให้ทารกลงมาอยู่ช่วงล่าง และหากลูกกลับหัวแล้ว หัวของลูกที่ถูกดันลงมาจะช่วยกดทับปากมดลูกให้ขยาย เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอดได้ง่ายขึ้น

  • ใช้ลูกบอลออกกำลังกายพยุงลำตัวไว้ หรือใช้เก้าอี้แทนได้ หรือพยายามยืน เดิน สม่ำเสมอ

7.ท่าบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้อง

ท่านี้จะช่วยให้คุณแม่ สามารถเพิ่มความแข็งแรงและลดอาการปวดหลัง

  • นอนหงาย ชันเข่า เกร็งกล้ามเนื้อท้องกดหลังแนบพื้นค้างไว้ 3-5 วินาที แล้วคลายออก ทำท่าละ 2-3 ครั้ง

8.ท่าบริหารกล้ามเนื้อหน้าอก

ท่านี้ช่วยกระตุ้นต่อมผลิตน้ำนมและกระชับกล้ามเนื้อหน้าอก

  • นั่งในท่าผ่อนคลาย กางแขนงอข้อศอก กำมือข้างหนึ่งระดับหน้าอก ออกแรงดันมือทั้งสองข้างเข้าหากันเต็มที่ ค้างไว้ 3-5 วินาที ทำท่าละ 2-3 ครั้ง

9.ท่ายืน

  • ยืนตรง โดยหันหน้าเข้าโต๊ะ (เลือกโต๊ะที่สูงประมาณช่วงสะโพก) กางขาออกให้เท้าทั้งสองขนาดกับไหล่
  • เอนตัวเข้าหาโต๊ะ ใช้มือทั้งสองวางบนโต๊ะ และทิ้งน้ำหนักตัวทั้งหมดลงที่โต๊ะ โดยให้ทั้งสองมือห่างเท่ากับช่วงไหล่
  • เกร็งกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน ก้น และท้องน้อย ค้างไว้เป็นเวลา 5 วินาที โดยคุณอาจจะรู้สึกว่าช่วงล่างของคุณเอียงขึ้นเล็กน้อยจากการเกร็ง
  • หลังจากเกร็งกล้ามเนื้อไว้ 5 วินาที จึงคลายตัว
  • ทำตามขั้นตอนที่ 3 และ 4 ซ้ำ ให้ครบ 1 นาที (นับเป็น 1 รอบ) ทำซ้ำเป็นจำนวน 10 รอบ หรือ 10 นาที

10.ท่านอนราบ

  • นอนราบ กางขาแยกออกจากกันเล็กน้อยให้ปลายเท้าขนานกับไหล่ ยกเข่าทั้งสองตั้งขึ้น
  • ในท่านี้ ให้เกร็งกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน ก้น และท้องน้อย ค้างไว้เป็นเวลา 5 วินาที โดยคุณอาจจะรู้สึกว่าช่วงล่างของคุณถูกยกขึ้นเล็กน้อยจากการเกร็ง
  • หลังจากเกร็งกล้ามเนื้อไว้ 5 วินาที จึงคลายตัว
  • ทำตามขั้นตอนที่ 2 และ 3 ซ้ำ ให้ครบ 1 นาที (นับเป็น 1 รอบ) ทำซ้ำเป็นจำนวน 10 รอบ หรือ 10 นาที

จะเห็นได้ว่าการบริหารอุ้งเชิงกรานนั้นสามารถช่วยให้คุณแม่สุขภาพแข็งแรงและช่วยให้คลอดง่าย คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ควรบริหารร่างกายให้แข็งแรง แต่ก็ไม่ควรหักโหมมากเกินไป และหากยังไม่แน่ใจก็สามารถปรึกษากับคุณหมอเกี่ยวกับท่าทางการบริหารอุ้งเชิงกรานหรือการออกกำลังกาย คุณแม่อาจจะได้ท่าทางการบริหารต่างๆเพิ่มเติมอีกด้วยค่ะ

theAsianparent Thailand เว็บไซต์และคอมมูนิตี้อันดับหนึ่งที่คุณแม่เลือก นอกจากสาระความรู้ที่เรามอบให้คุณแม่ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ การวางแผนมีลูกแล้ว เรายังมีแอพพลิเคชั่นรวมถึงสื่อมัลติมีเดียหลากหลายที่ช่วยตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณแม่ยุคใหม่ ที่ต้องทำงานและดูแลลูกไปพร้อมกัน ให้มีความมั่นใจและพร้อมในการดูแลลูกทุกช่วงเวลา ตั้งแต่การให้นมบุตร การดูแลตนเองหลังคลอด ท่าออกกำลังกายหลังคลอดเพื่อให้หุ่นของแม่หลังคลอดกลับมาฟิตแอนเฟิร์มอีกครั้ง  theAsianparent Thailand ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนคุณพ่อคุณแม่ในเรื่องการดูแลลูก ความรู้แม่และเด็กที่เต็มเปี่ยม และตอบทุกข้อสงสัยในแอพพลิเคชั่นที่เป็นสื่อกลาง และกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวไทย

ที่มา : https://happymom.in.th

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ภาวะคลอดยาก อุ้งเชิงกรานแม่แคบ ลูกหัวโต ตัวโต คลอดเองได้ไหม หรือต้องผ่าคลอดเท่านั้น

ปวดอุ้งเชิงกราน แม่ท้องหมดกังวล ง่ายๆ หายได้ด้วยตัวเอง

อุ้งเชิงกรานแคบ คนท้องคลอดเองได้ไหม

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

nantichaphothatanapongbow

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 81 ท่าบริหารอุ้งเชิงกรานคนท้อง
แชร์ :
  • ปวดอุ้งเชิงกราน แม่ท้องปวดท้องน้อย เสี่ยงคลอดก่อนกำหนดไหม

    ปวดอุ้งเชิงกราน แม่ท้องปวดท้องน้อย เสี่ยงคลอดก่อนกำหนดไหม

  • อาการคนท้อง ตั้งครรภ์ 3 เดือน เป็นอย่างไร 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 17

    อาการคนท้อง ตั้งครรภ์ 3 เดือน เป็นอย่างไร 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 17

  • แพทย์เตือน! เลี้ยงลูกด้วยนมข้นหวานอันตรายถึงชีวิต

    แพทย์เตือน! เลี้ยงลูกด้วยนมข้นหวานอันตรายถึงชีวิต

  • ฝีดาษลิง เสี่ยงเสียชีวิตสูงในกลุ่มเด็กเล็ก ป้องกันได้อย่างไร ?

    ฝีดาษลิง เสี่ยงเสียชีวิตสูงในกลุ่มเด็กเล็ก ป้องกันได้อย่างไร ?

app info
get app banner
  • ปวดอุ้งเชิงกราน แม่ท้องปวดท้องน้อย เสี่ยงคลอดก่อนกำหนดไหม

    ปวดอุ้งเชิงกราน แม่ท้องปวดท้องน้อย เสี่ยงคลอดก่อนกำหนดไหม

  • อาการคนท้อง ตั้งครรภ์ 3 เดือน เป็นอย่างไร 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 17

    อาการคนท้อง ตั้งครรภ์ 3 เดือน เป็นอย่างไร 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 17

  • แพทย์เตือน! เลี้ยงลูกด้วยนมข้นหวานอันตรายถึงชีวิต

    แพทย์เตือน! เลี้ยงลูกด้วยนมข้นหวานอันตรายถึงชีวิต

  • ฝีดาษลิง เสี่ยงเสียชีวิตสูงในกลุ่มเด็กเล็ก ป้องกันได้อย่างไร ?

    ฝีดาษลิง เสี่ยงเสียชีวิตสูงในกลุ่มเด็กเล็ก ป้องกันได้อย่างไร ?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ