X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ไขข้อข้องใจ ทำไมทารกกินน้ำผึ้งแล้วตาย

บทความ 5 นาที
ไขข้อข้องใจ ทำไมทารกกินน้ำผึ้งแล้วตาย

จากข่าวใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับโบทูลิซึม ทำให้หลาย ๆ คนหันมาสนใจ โรคหน่อไม้ปี๊บ หรือโบทูลิซึม กันมากขึ้น โดยเฉพาะพ่อแม่ วันนี้เราจึงมาไขข้อข้องใจว่า ทำไมทารกกินน้ำผึ้งแล้วตาย แล้วอาหารอะไรบ้างที่พ่อแม่ต้องระวัง

 

ทำไมทารกกินน้ำผึ้งแล้วตาย สาเหตุเพราะอะไร

เพจ Ramathibodi Poison Center ได้โพสต์ว่า ในปีนี้มีการบาดเจ็บจากโบทูลิซึม (อาการทางระบบประสาท) หรือที่เรารู้จักกันในชื่อโรคหน่อไม้ปี๊บ 2 เหตุการณ์ด้วยกัน

  • เหตุการณ์แรกคือ เด็กชาวญี่ปุ่นอายุหกเดือนที่กินน้ำผึ้งแล้วมีภาวะหายใจล้มเหลว
  • อีกข่าวคือคนที่กินนาโชชีส 9 รายในแคลิฟอร์เนียแล้วป่วยจากโบทูลิซึม ในจำนวนนี้มีผู้ที่เสียชีวิตด้วย

จะเห็นได้ว่า โบทูลิซึม ทำอันตรายต่อร่างกายได้มากกว่าที่คิด แล้วโบทูลิซึมที่ว่านั้นคืออะไรกันแน่

 

อะไรคือโบทูลิซึม ?

โบทูลิซึม (Botulism) คือ อาการป่วยจากพิษโบทูลินัม (botulinum toxin) ซึ่งถูกสร้างจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า Clostridium botulinum (C. botulinum) เจ้า C.botulinum มันชอบที่ ๆ ไม่มีออกซิเจน ที่ ๆ มีความเข้มข้นของเกลือและกรดด่างน้อย ๆ มันจะโตและสร้างพิษออกมา แต่สปอร์ของเจ้าแบคทีเรียชนิดนี้มันทนความร้อนได้ดีมาก ๆ แต่พิษโบทูลินัมนี่ไม่ทนร้อนนะฉะนั้นอุ่นอาหารก่อนพิษก็สลายไปได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : ทารกวัย 6 เดือน เสียชีวิตจากน้ำผึ้ง ด้วยโรคโบทูลิซึม

 

วิดีโอจาก : เรื่องเล่าเช้านี้

 

พิษโบทูลินัมจะเจอจากอะไรได้บ้าง

ทางเพจอธิบายไว้ 3 ข้อ แต่ที่พ่อแม่ต้องใส่ใจมาก ๆ คือ อาหารที่มีแบคทีเรีย C.botulinum โตอยู่มักจะถูกเก็บซีลไม่ให้มีอากาศเข้า (ออกซิเจนน้อย) และ/หรือมีเกลือและความเป็นกรดด่างต่ำ ที่เราเคยได้ยินกันก็ พวกอาหารกระป๋องที่บุบ ๆ บิบ ๆ (มีทางให้แบคทีเรียเข้าไปโตได้) ไส้กรอก (เอาเนื้อบดไปยัดไส้แล้วมัดปิดอากาศเข้าไม่ได้) แต่ที่โด่งดังที่สุดก็หน่อไม้ปี๊บบ้านเรานี่ล่ะ

ส่วนสาเหตุที่ทารกวัย 6 เดือน เสียชีวิตจากน้ำผึ้งนั้น เพราะน้ำผึ้งมีเชื้อ Clostridium botulinum ซึ่งคนในครอบครัวให้เด็กดื่มเพื่อหย่านม จึงถูกวินิจฉัยสาเหตุการเสียชีวิตว่าเกิดจาก โรคโบทูลิซึมในทารก (Infant botulism) ซึ่งเกิดจากการเจริญของเชื้อ Clostridium botulinum และสร้างสารพิษโบทูลิซึมในทางเดินอาหารของทารก ทั้งนี้ โรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการหลีกเลี่ยงการให้อาหารที่อาจปนเปื้อนเชื้อ Clostridium botulinum เช่น น้ำผึ้ง ในเด็กทารกที่อายุน้อยกว่า 1 ปี

สำหรับพิษโบทูลินัมที่ชื่อคุ้น ๆ เพราะสิ่งที่ฉีดลดรอยเหี่ยวย่นนี้ก็คือ พิษโบทูลินัมเหมือนกัน แต่เขาเลือกชนิดและปริมาณที่เหมาะสมมาให้มีการใช้ทางคลินิกอื่น ๆ เช่นแก้ตาเข แก้ไมเกรน แก้คอเอียง (torticollis) หากฉีดเกินขนาดจนพิษกระจายไปทั่วร่างกายก็ก่อเรื่องได้เช่นกัน นอกจากนี้ พวกฉีดยาเสพติด ต้องยอมรับว่าพวกนี้อาจจะฉีดสารที่ปนเปื้อนแบคทีเรียหรือสปอร์ของแบคทีเรียเข้าไปใต้ผิวหนังเชื้อก็โตและสร้างพิษออกมา

 

พิษโบทูลินัม ทำไมมันถึงได้อันตรายล่ะ

  • พิษโบทูลินัมทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและสุดท้ายคือกล้ามเนื้ออ่อนแรงมากจนหายใจไม่ได้ หรือป้องกันการสำลักน้ำลายตัวเองไม่ได้
  • ปกติกล้ามเนื้อจะหดตัวทำให้เกิดการขยับได้ต้องอาศัยสารสื่อประสาท acetylcholine จากปลายประสาท มาจับที่กล้ามเนื้อ
  • เจ้าพิษโบทูลินัมนี่จะไปยับยั้งการหลั่งสารสื่อประสาท acetycholine

(โดยการตัด SNARE protein ที่ใช้ในการเชื่อม acetycholine vesicle กับเยื่อหุ้มเซลล์) ทำให้ไม่มีสาร acetycholine ไปกระตุ้นกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อหดตัวไม่ได้ ก็อ่อนแรง

 

ทำไมทารกกินน้ำผึ้งแล้วตาย

 

อาการของคนที่ถูกพิษโบทูลินัม จะเป็นอย่างไร

หากกินอาหารที่มีพิษโบทูลินัมแล้ว ประมาณ 4-6 ชม. อาจจะมีอาการเริ่มต้นเป็นคลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย จากนั้นที่ประมาณ 10 ชม. จะเริ่มมีอาการอ่อนแรงโดยมันจะทำให้มีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อใบหน้า คอ และต้นแขนต้นขาก่อนที่จะทำให้อ่อนแรงทั้งตัว (อัมพาต) และเสียชีวิตจากการหายใจล้มเหลว การอ่อนแรงของกล้ามเนื้อใบหน้านี่สังเกตเริ่มต้นคือ หนังตาตก พูดไม่ชัด พิษนี้ทำให้อ่อนแรง “แต่ไม่ทำให้ชา” (ผิดกับพิษปลาปักเป้าที่ต้องชาก่อนเสมอ)

หากตรวจร่างกายอาจจะพบลักษณะของ Anticholinergic (antimuscarinic) toxidrome เช่น ผิวแห้งไม่มีเหงื่อ ปากคอแห้ง การบีบตัวของลำไส้ลดลง ม่านตาขยาย เพราะ acetylcholine ไม่ถูกหลั่งไปจับกับตัวรับของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทพาราซิมพาเทติกในผู้ใหญ่ทั่วไปตัวแบคทีเรียและสปอร์ไม่สามารถโตในกระเพาะลำไส้เราได้

 

แต่ในเด็กอายุน้อยกว่า 12 เดือน เกลือแร่และความเป็นกรดด่างในน้ำย่อยน้อยและเชื้อแบคทีเรียเจ้าถิ่นก็น้อย สปอร์ของ C.botulinum สามารถมาโตในลำไส้ของเด็กได้ ฉะนั้นแม้กินสปอร์เด็กก็ป่วยได้ อาหารที่มีความเสี่ยงต่อการมีสปอร์ C.botulinum หลงเหลือได้คือ น้ำผึ้ง และ แยม

ความน่ากลัวคือการฟื้นตัวจากการอ่อนแรงนี้มันช้ามาก ๆ ถึง 2-3 เดือนได้เลย (เพราะต้องให้เซลล์ประสาทสร้าง SNARE protein ขึ้นมาใหม่ ซึ่งเซลล์ประสาทนี่สร้างอะไร ๆ ได้ช้า) ซึ่งหากอัมพาตหรือหายใจล้มเหลวนาน ๆ ก็จะมีการติดเชื้อแทรกซ้อนตามมาได้ แต่การได้รับการรักษาโดยยาต้านพิษในวันแรก ๆ จะช่วยยับยั้งการดำเนินโรคไม่ให้การอ่อนแรงลุกลาม และอาจช่วยให้ฟื้นตัวได้เร็วขึ้นด้วย

 

ทำไมทารกกินน้ำผึ้งแล้วตาย

 

ดูแลรักษาคนที่ถูกพิษโบทูลินัมอย่างไร

  • ขั้นแรกดูก่อนว่าหายใจไหวไหม ไม่ไหวใส่ท่อช่วยหายใจและช่วยหายใจก่อน
  • ประเมินแรงกล้ามเนื้อ และ parameter ของการหายใจเช่น vital capacity, negative inspiratory pressure, หรือจะเป่า peak flow ก็ได้
  • หากมีการลุกลามของการอ่อนแรง ต้องรีบให้ยาต้านพิษซึ่งเป็นเซรุ่มจากม้า เพื่อหยุดการดำเนินโรค และอาจจะช่วยให้ฟื้นไวขึ้นบ้าง (มี stock ในศูนย์พิษรามาฯ และองค์การเภสัชกรรมตรงข้ามรามาฯ เท่านั้น…มีเคสโทร 1367 …มาช่วยกันยืนยันการวินิจฉัยและประเมินความจำเป็นก่อนนะครับ)
  • อย่าลืมแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปตรวจสอบแหล่งที่มาของโบทูลิซึมด้วย จะได้ไม่มีเคสต่อไป

 

ป้องกันไม่ให้ได้รับพิษโบทูลินัมยังไงดี ?

  1. เลี่ยงอาหารที่น่าสงสัย ไม่กินอาหารกระป๋องบุบบิบ
  2. อุ่นอาหารให้ร้อนก่อนกินเสมอ (โดยเฉพาะไส้กรอก อาหารกระป๋อง) ถ้าทำได้ เข้าไมโครเวฟไปเลย ไม่งั้นต้องร้อน 100c อย่างน้อย 10 นาที หรือ 80c นาน 30 นาที
  3. บางครั้งอาหารบางชนิดมันสุดวิสัยมากอุ่นให้ร้อนจริง ๆ เช่นเหตุการณ์ที่เกิดโบทูลิซึมจาก โยเกิร์ตในอังกฤษ และ ทิรามิสุในอิตาลี โดยทั่วไปอาหารพวกนี้จะมีการสุ่มตรวจคุณภาพอยู่แล้ว อันนี้ต้องฟังข่าวว่ามีการเรียกเก็บผลิตภัณฑ์หรือเตือนโดย อย. กรมควบคุมโรค หรือแหล่งข่าวอื่นไหม
  4. หากจะทำของบรรจุกระป๋องเองต้องแน่ใจว่า ไม่มีสปอร์ของแบคทีเรียเหลือ คร่าว ๆ คือ 120c 30 นาที
  5. ไม่ให้เด็กอายุต่ำกว่า 12 เดือนกินน้ำผึ่ง แยม และอาหารกระป๋อง (เสี่ยงเจอสปอร์ของ C.botulinum)
  6. อย่าเล่นยาเสพติด
  7. หากจะฉีดโบท็อกซ์ ซึ่งก็คือ พิษโบทูลินัมชนิดเอ เพื่อลดรอยเหี่ยวย่น ควรฉีดโดยผู้เชี่ยวชาญจริง ๆ เท่านั้น

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

กินน้อยหรือมากเกินไปลูกไม่โต วิกฤติหนักเด็กไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอ

6 ลักษณะแม่ท้องที่ต้องระวังทารกตายในครรภ์!!

กินยาไม่ครบ ทำลูกน้อยป่วยเป็นโรคดื้อยา อาจอันตรายถึงชีวิต

ที่มาข้อมูล : 1 2

บทความจากพันธมิตร
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ไขข้อข้องใจ ทำไมทารกกินน้ำผึ้งแล้วตาย
แชร์ :
  • อุทาหรณ์! ป้อนน้ำผึ้งทารก 6 เดือน ต้องเสียใจไปตลอดชีวิต ลูกเป็นโรคนี้ ลูกกินน้ำผึ้ง แล้วตาย

    อุทาหรณ์! ป้อนน้ำผึ้งทารก 6 เดือน ต้องเสียใจไปตลอดชีวิต ลูกเป็นโรคนี้ ลูกกินน้ำผึ้ง แล้วตาย

  • เด็กทารกกินน้ำผึ้ง ได้หรือไม่?

    เด็กทารกกินน้ำผึ้ง ได้หรือไม่?

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • อุทาหรณ์! ป้อนน้ำผึ้งทารก 6 เดือน ต้องเสียใจไปตลอดชีวิต ลูกเป็นโรคนี้ ลูกกินน้ำผึ้ง แล้วตาย

    อุทาหรณ์! ป้อนน้ำผึ้งทารก 6 เดือน ต้องเสียใจไปตลอดชีวิต ลูกเป็นโรคนี้ ลูกกินน้ำผึ้ง แล้วตาย

  • เด็กทารกกินน้ำผึ้ง ได้หรือไม่?

    เด็กทารกกินน้ำผึ้ง ได้หรือไม่?

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ