X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ทักษะการเคลื่อนไหวของทารก ทำนายอนาคตลูกได้

บทความ 3 นาที
ทักษะการเคลื่อนไหวของทารก ทำนายอนาคตลูกได้

จริงหรือไม่? พัฒนาการด้านการยืนและเดินของเด็กสามารถทำนายความสามารถทางสติปัญญาในอนาคตได้

ทักษะการเคลื่อนไหวของทารก ทำนายอนาคตลูกได้

นักวิจัยจากโครงการ Upstate KIDS Study ซึ่งจัดทำโดยสถาบันสุขภาพแห่งชาติร่วมมือกับกรมสุขภาพรัฐนิวยอร์กและมหาวิทยาลัยออลบานีได้ทำการวิเคราะห์ผลจากรายงานพัฒนาการของเด็ก 599 คนที่เกิดในปีพ.ศ. 2551 – 2553 ในรัฐนิวยอร์กตอนเหนือ

รายงานพัฒนาการเด็กดังกล่าวถูกบันทึกโดยแม่ของเด็กๆ ซึ่งจะติดตามพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวของเด็กเมื่ออายุ 4 เดือน 8 เดือน 12 เดือน 18 เดือน และ 24 เดือน

โดยคุณแม่แต่ละคนจดบันทึกเมื่อลูกลุกนั่งได้โดยไม่ต้องช่วยเป็นครั้งแรก  เมื่อลูกคลานครั้งแรก  ยืนและเดินครั้งแรก ทั้งที่ต้องช่วยและไม่ต้องช่วย

บทความแนะนำ ลูกน้อยส่งสัญญาณจะคลานแล้วจ้ะแม่

สิ่งที่ค้นพบ 

ทักษะการเคลื่อนไหวของทารก

ทักษะการเคลื่อนไหวของทารก

จากผลการวิเคราะห์ นักวิจัยพบความเชื่อมโยงระหว่างช่วงเวลาที่ทารกสามารถยืนได้โดยมีคนช่วยเป็นครั้งแรกกับคะแนนการทดสอบทางสติปัญญาเมื่ออายุประมาณ 4 ปี

เด็กส่วนใหญ่ยืนได้โดยมีคนช่วยเมื่ออายุประมาณ 9 เดือน ส่วนเด็กที่ยังไม่สามารถทำได้จนอายุ 11 เดือนพบว่ามีคะแนนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในการทดสอบทางสติปัญญาและการทดสอบที่ปรับระดับตามความสามารถของผู้สอบ (adaptive tests) เมื่ออายุ 4 ปี

ในขณะที่เด็กที่สามารถยืนได้โดยมีคนช่วยเร็วกว่าค่าเฉลี่ยมีแนวโน้มที่จะทำคะแนนการทดสอบได้สูงกว่า และมีทักษะด้านอื่นๆ ที่ดีกว่า เช่น ทานอาหารได้เองก่อน 4 ขวบ

สรุปผลการวิจัย

นักวิจัยจึงสรุปว่า อาจจะมีความเชื่อมโยงระหว่างพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว และความสามารถทางสติปัญญาของเด็กในภายหน้า เนื่องจากทักษะด้านการเคลื่อนไหวสามารถส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่างวงจรต่างๆ ในสมอง และสมองส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ดูเหมือนจะมีปฏิกิริยาต่ออย่างใกล้ชิดกับสมองส่วนควบคุมด้านสติปัญญา

อีกมุมมองหนึ่ง

ทักษะการเคลื่อนไหวของทารก

ทักษะการเคลื่อนไหวของทารก

อย่างไรก็ตามนักวิชาการหลายคนมองว่า ผลการวิจัยดังกล่าวเป็นเพียงการค้นพบความเชื่อมโยงที่น่าจะเป็นไปได้ แต่ยังไม่ชี้ชัด ซึ่งควรจะมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป

ทางฝั่งนักวิชาการที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับงานวิจัยดังกล่าว ชี้ว่า พ่อแม่ไม่จำเป็นต้องจับตาดูพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวของลูก แต่ควรเปิดโอกาสให้ลูกได้พัฒนาสติปัญญาผ่านกิจกรรมที่ต้องใช้ร่างกายและกล้ามเนื้อในการมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม หรือที่เรียกว่า “Enactive cognition”

ตัวอย่างเช่น หากทารกกำลังจัดการกับวัตถุหรือพยายามที่จะปีนขึ้นบันได นั่นคือการที่เขากำลังใช้สติปัญญาและการเคลื่อนไหวไปพร้อมๆ กัน หรือเวลาที่คุณเริ่มเล่นสเก็ตน้ำแข็ง คุณก็ไม่ได้แค่เรียนรู้การใช้กล้ามเนื้อ แต่ต้องเข้าใจเกี่ยวกับอุณหภูมิ น้ำแข็ง การทรงตัว ทักษะด้านมิติสัมพันธ์ รวมถึง การมีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุและผู้คนด้วย

ทักษะการเคลื่อนไหวของทารก

ทักษะการเคลื่อนไหวของทารก

แต่ที่น่ากังวลคือ เด็กสมัยนี้ไม่ค่อยเคลื่อนไหว ทำกิจกรรมกลางแจ้งน้อยลง ในขณะที่เล่นกับเทคโนโลยีมากขึ้น ดังนั้น สิ่งที่งานวิจัยชิ้นนี้ชี้ให้เห็นคือ คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญกับพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวของลูกให้มากเท่าๆ กับที่ให้ความสำคัญกับพัฒนาการด้านสติปัญญาค่ะ

แล้วคุณพ่อคุณแม่ล่ะคะ เผลอมองข้ามความสำคัญของพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวของลูกไปหรือเปล่า?

ที่มา cnn.com

บทความน่าสนใจอื่นๆ

ลูกไม่พลิกคว่ำ อาจเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA

ลูกพัฒนาการช้ารึเปล่า?

TAP mobile app

บทความจากพันธมิตร
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ทักษะการเคลื่อนไหวของทารก ทำนายอนาคตลูกได้
แชร์ :
  • 12 วิธีกระตุ้นการเคลื่อนไหวของทารก เทคนิคเสริมสร้างพัฒนาการลูกน้อยวัยขวบปีแรก

    12 วิธีกระตุ้นการเคลื่อนไหวของทารก เทคนิคเสริมสร้างพัฒนาการลูกน้อยวัยขวบปีแรก

  • การเคลื่อนไหว อารมณ์และการเล่น มีผลอย่างไรกับพัฒนาการของเด็กวัยหัดเดิน

    การเคลื่อนไหว อารมณ์และการเล่น มีผลอย่างไรกับพัฒนาการของเด็กวัยหัดเดิน

  • 12 วิธีกระตุ้นการเคลื่อนไหวของทารก เทคนิคเสริมสร้างพัฒนาการลูกน้อยวัยขวบปีแรก

    12 วิธีกระตุ้นการเคลื่อนไหวของทารก เทคนิคเสริมสร้างพัฒนาการลูกน้อยวัยขวบปีแรก

  • การเคลื่อนไหว อารมณ์และการเล่น มีผลอย่างไรกับพัฒนาการของเด็กวัยหัดเดิน

    การเคลื่อนไหว อารมณ์และการเล่น มีผลอย่างไรกับพัฒนาการของเด็กวัยหัดเดิน

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ