ทักษะการเคลื่อนไหวของทารก ทำนายอนาคตลูกได้
นักวิจัยจากโครงการ Upstate KIDS Study ซึ่งจัดทำโดยสถาบันสุขภาพแห่งชาติร่วมมือกับกรมสุขภาพรัฐนิวยอร์กและมหาวิทยาลัยออลบานีได้ทำการวิเคราะห์ผลจากรายงานพัฒนาการของเด็ก 599 คนที่เกิดในปีพ.ศ. 2551 – 2553 ในรัฐนิวยอร์กตอนเหนือ
รายงานพัฒนาการเด็กดังกล่าวถูกบันทึกโดยแม่ของเด็กๆ ซึ่งจะติดตามพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวของเด็กเมื่ออายุ 4 เดือน 8 เดือน 12 เดือน 18 เดือน และ 24 เดือน
โดยคุณแม่แต่ละคนจดบันทึกเมื่อลูกลุกนั่งได้โดยไม่ต้องช่วยเป็นครั้งแรก เมื่อลูกคลานครั้งแรก ยืนและเดินครั้งแรก ทั้งที่ต้องช่วยและไม่ต้องช่วย
บทความแนะนำ ลูกน้อยส่งสัญญาณจะคลานแล้วจ้ะแม่
สิ่งที่ค้นพบ
ทักษะการเคลื่อนไหวของทารก
จากผลการวิเคราะห์ นักวิจัยพบความเชื่อมโยงระหว่างช่วงเวลาที่ทารกสามารถยืนได้โดยมีคนช่วยเป็นครั้งแรกกับคะแนนการทดสอบทางสติปัญญาเมื่ออายุประมาณ 4 ปี
เด็กส่วนใหญ่ยืนได้โดยมีคนช่วยเมื่ออายุประมาณ 9 เดือน ส่วนเด็กที่ยังไม่สามารถทำได้จนอายุ 11 เดือนพบว่ามีคะแนนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในการทดสอบทางสติปัญญาและการทดสอบที่ปรับระดับตามความสามารถของผู้สอบ (adaptive tests) เมื่ออายุ 4 ปี
ในขณะที่เด็กที่สามารถยืนได้โดยมีคนช่วยเร็วกว่าค่าเฉลี่ยมีแนวโน้มที่จะทำคะแนนการทดสอบได้สูงกว่า และมีทักษะด้านอื่นๆ ที่ดีกว่า เช่น ทานอาหารได้เองก่อน 4 ขวบ
สรุปผลการวิจัย
นักวิจัยจึงสรุปว่า อาจจะมีความเชื่อมโยงระหว่างพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว และความสามารถทางสติปัญญาของเด็กในภายหน้า เนื่องจากทักษะด้านการเคลื่อนไหวสามารถส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่างวงจรต่างๆ ในสมอง และสมองส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ดูเหมือนจะมีปฏิกิริยาต่ออย่างใกล้ชิดกับสมองส่วนควบคุมด้านสติปัญญา
อีกมุมมองหนึ่ง
ทักษะการเคลื่อนไหวของทารก
อย่างไรก็ตามนักวิชาการหลายคนมองว่า ผลการวิจัยดังกล่าวเป็นเพียงการค้นพบความเชื่อมโยงที่น่าจะเป็นไปได้ แต่ยังไม่ชี้ชัด ซึ่งควรจะมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป
ทางฝั่งนักวิชาการที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับงานวิจัยดังกล่าว ชี้ว่า พ่อแม่ไม่จำเป็นต้องจับตาดูพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวของลูก แต่ควรเปิดโอกาสให้ลูกได้พัฒนาสติปัญญาผ่านกิจกรรมที่ต้องใช้ร่างกายและกล้ามเนื้อในการมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม หรือที่เรียกว่า “Enactive cognition”
ตัวอย่างเช่น หากทารกกำลังจัดการกับวัตถุหรือพยายามที่จะปีนขึ้นบันได นั่นคือการที่เขากำลังใช้สติปัญญาและการเคลื่อนไหวไปพร้อมๆ กัน หรือเวลาที่คุณเริ่มเล่นสเก็ตน้ำแข็ง คุณก็ไม่ได้แค่เรียนรู้การใช้กล้ามเนื้อ แต่ต้องเข้าใจเกี่ยวกับอุณหภูมิ น้ำแข็ง การทรงตัว ทักษะด้านมิติสัมพันธ์ รวมถึง การมีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุและผู้คนด้วย
ทักษะการเคลื่อนไหวของทารก
แต่ที่น่ากังวลคือ เด็กสมัยนี้ไม่ค่อยเคลื่อนไหว ทำกิจกรรมกลางแจ้งน้อยลง ในขณะที่เล่นกับเทคโนโลยีมากขึ้น ดังนั้น สิ่งที่งานวิจัยชิ้นนี้ชี้ให้เห็นคือ คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญกับพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวของลูกให้มากเท่าๆ กับที่ให้ความสำคัญกับพัฒนาการด้านสติปัญญาค่ะ
แล้วคุณพ่อคุณแม่ล่ะคะ เผลอมองข้ามความสำคัญของพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวของลูกไปหรือเปล่า?
ที่มา cnn.com
บทความน่าสนใจอื่นๆ
ลูกไม่พลิกคว่ำ อาจเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA
ลูกพัฒนาการช้ารึเปล่า?
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!