TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ทดสอบความรู้เกี่ยวกับเด็กทารกแรกเกิด

บทความ 5 นาที
ทดสอบความรู้เกี่ยวกับเด็กทารกแรกเกิด

คุณมีความรู้เกี่ยวกับสุขภาพเด็กทารกแรกเกิดมากน้อยแค่ไหน ลองทำแบบทดสอบนี้ดู

ทดสอบความรู้เกี่ยวกับเด็กทารกแรกเกิด

แบบทดสอบ

พ่อแม่ยุคนี้สามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับเด็กทารกแรกเกิดได้มากมายยิ่งกว่ายุคไหน ๆ แต่คุณมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้มากแค่ไหน? ลองหากระดาษปากกาเพื่อจดคำตอบ แล้วทำแบบทดสอบ 10 ข้อนี้ดู

1. เมื่อทารกอายุครบ 2 เดือน เด็กควรจะสามารถทำสิ่งใดต่อไปนี้?

ก. จดจ่ออยู่กับวัตถุซึ่งอยู่ห่างออกไป 2-3 ฟุต ได้

ข. ตอบสนองต่อสีโทนพาสเทลมากกว่าสิ่งที่มีลวดลายสีสันสดใส

ค. มองตามสิ่งของที่กำลังเคลื่อนไหว

ง. มือและสายตาเคลื่อนไหวประสานกัน

2. คุณควรทำอย่างไรหากทารกที่อ่อนกว่า 4 เดือนคัดจมูกหรือมีน้ำมูกไหล?

ก. ใช้ลูกยางดูดเมือกออกจากจมูก

ข. ใช้ยาพ่นจมูก

ค. ช่วยให้เด็กสั่งน้ำมูก

ง. ให้เด็กกินยาแอสไพริน

3. เมื่อคุณสงสัยว่าเด็กอาจติดเชื้อในหู คุณควรใช้ยาหยอดหู ถูกหรือผิด?

ก. ถูก

ข. ผิด

4. อาการใดต่อไปนี้ไม่ใช่อาการของภาวะโคลิค?

ก. ร้องไห้ไม่หยุด

ข. ง่วงนอนตลอดเวลา

ค. ท้องป่อง

ง. ระบายลม

5. เด็กแรกเกิดต้องมีอุณหภูมิร่างกายเท่าไหร่จึงจะถือว่าเป็นไข้?

ก. 37.5° เซลเซียส (99.6° ฟาเรนไฮต์)

ข. 37.8° เซลเซียส (100.2° ฟาเรนไฮต์)

ค. 38.5° เซลเซียส (101.4° ฟาเรนไฮต์)

ง. 39.4° เซลเซียส (103° ฟาเรนไฮต์)

บทความจากพันธมิตร
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

ข้อ 6-10 หน้าถัดไป


6. คำกล่าวใดเกี่ยวกับวัคซีนต่อไปนี้ไม่ถูกต้อง?

ก. ควรให้วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ A เฉพาะกับเด็กที่อาศัยอยู่ในประเทศที่มีความเสี่ยงสูงเท่านั้น

ข. วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นอันตรายต่อเด็กที่แพ้ไข่

ค. ปัจจุบันวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าจำเป็นต้องฉีดเพียง 5 เข็มเท่านั้น (แทนที่จะต้องฉีดมากกว่า 12 ครั้ง) และมีผลข้างเคียงเล็กน้อย

ง. วัคซีนป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบขาดแคลน จึงแนะนำให้ใช้เฉพาะกับเด็กที่เสี่ยงเป็นโรคปอดบวม โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และติดเชื้อในกระแสเลือดเท่านั้น

7. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ได้ช่วยป้องกันภาวะทารกเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน?

ก. ให้เด็กนอนในเปลที่ไม่มีเครื่องนอน เช่น หมอน ผ้าห่ม ที่กันกระแทก และตุ๊กตา จำนวนมาก

ข. ไม่ปล่อยให้เด็กห่างสายตาเมื่อเด็กนอนคว่ำ

ค. หลีกเลี่ยงการพาเด็กไปในที่ที่มีควันบุหรี่

ง. ปรับอุณหภูมิในห้องนอนของเด็กให้พอดี

8. อาหารชนิดใดต่อไปนี้อาจเป็นอันตรายต่อทารกหากทำเองที่บ้าน?

ก. ซอสแอปเปิ้ล

ข. แครอทบด

ค. ลูกแพร์บด

ง. ถั่วลันเตาบด

9. เด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบมักเป็นภูมิแพ้ตามฤดูกาล ถูกหรือผิด?

ก. ถูก

ข. ผิด

10. คุณควรทำอย่างไรหากเด็กเป็นชันนะตุหรือหนังศีรษะเป็นเกล็ด ๆ?

ก. หลีกเลี่ยงการถูกระหม่อมเด็ก

ข. สระผมเด็กและแปรงเกล็ดบนหนังศีรษะออก

ค. หลีกเลี่ยงการสระผม

ง. ทาเบบี้ออยล์บนศีรษะของเด็ก

เฉลยหน้าถัดไป

เฉลย:

  1. ค. ในช่วงสัปดาห์แรก ๆ หลังคลอด เด็กอาจยังไม่สามารถจดจ่อกับวัตถุที่เคลื่อนไหวไปมาตรงหน้าได้ แต่เด็กควรจะเริ่มจ้องตามได้หลังจาก 1-2 เดือน
  2. ก. การใช้ลูกยางดูดเมือกออกเป็นวิธีรักษาที่ดีที่สุด โดยเฉพาะก่อนให้นม หรือก่อนนอน ซึ่งเป็นเวลาที่อาการคัดจมูกจะทำให้เด็กไม่สบายตัวที่สุด บีบกระเปาะลูกยางแล้วค่อย ๆ สอดเข้าไปในจมูกของเด็ก และคลายที่บีบช้า ๆ แพทย์อาจให้น้ำเกลือมาหยอดจมูกร่วมด้วยเพื่อละลายน้ำมูก และทำให้ดูดออกได้ง่ายขึ้น
  3. ข. ถ้าคุณคิดว่าเด็กอาจมีอาการติดเชื้อในหู ซึ่งจะทำให้เด็กมีอาการหงุดหงิด โยเย นอนไม่หลับ ไม่กินอาหาร หรือมีไข้ คุณควรพาเด็กไปพบแพทย์ แพทย์อาจให้ยาฆ่าเชื้อหรือยาหยอดหูมาเพื่อลดอาการปวด
  4. ข. อาการร้องไห้ไม่หยุด ท้องป่อง ระบายลมอย่างต่อเนื่อง ทำท่าแอ่นหลัง หรือดึงทึ้งขา เป็นอาการของภาวะโคลิค ซึ่งเป็นภาวะที่ใช้เรียกเด็กที่ร้องไห้มากกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน มากกว่าสัปดาห์ละ 3 วัน อาการง่วงนอนนั้นไม่ใช่อาการของโคลิค เพราะเด็กที่มีอาการนี้มักจะโยเยจากความไม่สบายตัว
  5. ข. คุณต้องโทรหาแพทย์ทันทีหากเด็กอายุต่ำกว่า 2 เดือน มีไข้ 37.8° หรือสูงกว่า ถ้าเด็กอายุ 3-6 เดือนมีไข้สูงกว่า 38° หรือเด็กอายุมากกว่า 6 เดือนมีไข้ถึง 39°
  6. ง. ในช่วงระหว่างสิงหาคม 2001 และพฤษภาคม 2003 มีการขาดแคลนวัคซีน PCV ซึ่งป้องกันโรคปอดบวม โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และการติดเชื้อในกระแสเลือด อีกทั้งยังสามารถลดความเสี่ยงของภาวะติดเชื้อในหู แพทย์จึงงดการให้วัคซีนตามปกติ แต่หลังจากนั้นก็มีการผลิตทดแทน และกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
  7. ข. เด็กไม่ควรนอนคว่ำเด็ดขาด คุณควรจับให้เด็กนอนหงาย  แม้ว่าสาเหตุของภาวะทารกเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน (SIDS) จะยังไม่แน่ชัด แต่งานวิจัยหลายชิ้นก็ชี้ว่าเด็กที่นอนคว่ำมีโอกาสประสบปัญหามากกว่า
  8. ข. แครอท เช่นเดียวกับหัวบีต และผักโขม ซึ่งอาจมีสารประกอบไนเตรต ทำให้ปริมาณเม็ดเลือดลดต่ำ (ภาวะเลือดจาง) ในเด็ก แต่อาหารเด็กอ่อนประเภทนี้ที่ซื้อจากร้านค้าจะไม่เป็นอันตรายเพราะผู้ผลิตสามารถลดปริมาณไนเตรตลง ซึ่งคุณไม่สามารถทำเองได้ที่บ้าน
  9. ก. เกสรดอกไม้บางชนิด มลภาวะ และสารอื่น ๆ ที่อยู่ในอากาศอาจทำให้เด็กระคายเคืองจนทำให้คันตา น้ำมูกไหล และจาม คุณควรแจ้งให้แพทย์ทราบสม่ำเสมอ
  10. ข. สำหรับโรคชันนะตุซึ่งเป็นโรคผิวหนังที่ส่งผลต่อมน้ำมันใต้ผิวหนัง การสระผมอาจช่วยบรรเทาอาการได้ โดยปกติโรคชันนะตุมักจะหายได้เองภายใน 2-3 เดือน ในบางกรณี คุณอาจต้องใช้ยาสระผมสูตรเฉพาะช่วย

 

คุณได้คะแนนเท่าไหร่?

9-10 : เราขอคารวะ! ขอให้คุณสนุกสนานกับการเลี้ยงเจ้าตัวเล็กในช่วงขวบปีแรก

6-8 : ใช้ได้ทีเดียว!  ลองหาหนังสือเกี่ยวกับเด็กแรกเกิดมาอ่านเพิ่มเติมสักนิด คุณก็จะกลายเป็นพ่อแม่มือโปรแล้วล่ะ

3-5 : เราแนะนำให้คุณลองอ่านหนังสือเกี่ยวกับเด็กตามช่วงอายุ หรือหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ของเราก็ได้นะ

ต่ำกว่า 3 : นอกจากหนังสือและข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต คุณอาจจะลองคุยกับคุณหมอมากขึ้น คุณหมอจะช่วยไขข้อข้องใจให้คุณได้เป็นอย่างดี

ที่มา: Parents.com

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ทดสอบความรู้เกี่ยวกับเด็กทารกแรกเกิด
แชร์ :
  • ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

    ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

  • ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

    ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

powered by
  • ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

    ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

  • ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

    ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว