X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ดูแลแผลผ่าคลอดไม่ให้นูน ให้แผลสมานด้วยตัวเองได้ไม่ยาก

บทความ 3 นาที
ดูแลแผลผ่าคลอดไม่ให้นูน ให้แผลสมานด้วยตัวเองได้ไม่ยาก

แผลผ่าคลอด ริ้วรอยที่จะติดตัวคุณแม่ไปตลอดหลังจากคลอดลูก ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไรให้ร่างกายฟื้นตัว เพื่อพร้อมที่จะมีแรงเลี้ยงดูลูกน้อยได้อย่างรวดเร็ว

ดูแลแผลผ่าคลอดไม่ให้นูน อยากให้แผลผ่าคลอดสวยต้องทำไง เพราะภายหลังการผ่าคลอด คุณแม่จะมีอาการเจ็บระหว่างการสมานของแผลที่ส่งผลต่อร่างกายทำให้รู้สึกเจ็บปวดบาดแผลไม่ว่าจะเป็นการลุก นั่ง เดิน เคลื่อนไหวร่างกาย ในระยะแรก ๆ หลังจากนี้ประมาณ 2 สัปดาห์ อาการปวดอย่างรุนแรงก็จะหายไปและดีขึ้นเรื่อย ๆ แต่คุณแม่อาจจะรู้สึกคันที่แผลหรือวันที่สภาพอากาศไม่ดีอาจจะรู้สึกเจ็บแปลบ ๆ ก็ได้

 

คุณแม่หลังคลอดสามารถ ดูแลแผลผ่าคลอดไม่ให้นูน ได้อย่างไร

ถ้าอยากให้แผลสมานเร็ว แผลติดกันสวยงาม ไม่มีร่องรอยการกรีดของมีดผ่าตัด หรือรอยเย็บ ที่ชัดเจน เรามีเคล็ดลับมาฝากดังนี้ค่ะ

ดูแลแผลผ่าคลอดไม่ให้นูน

รักษาความสะอาดของแผลไม่ให้เกิดการติดเชื้อ

แผลที่เย็บไว้จะสมานเข้าด้วยกัน ซึ่งจะค่อย ๆ ใช้เวลาประมาณ 2 – 12 สัปดาห์ขึ้นอยู่กับร่างกายของแม่แต่ละคนและลักษณะของการเย็บ สิ่งสำคัญคือควรดูแลความสะอาดของแผลเป็นอย่างดี เพื่อให้ร่างกายสมานแผลเข้าด้วยกันโดยไม่มีปัญหา ไม่ให้เกิดการติดเชื้อตามมา

 

ลุก นั่ง เดิน ประคับประคองแผลอย่างระมัดระวัง

ในช่วงหลังคลอดแม้จิตใจจะกลับมาแข็งแรงเหมือนเดิม แต่ร่างกายคุณแม่ยังอยู่ในระยะพักฟื้น จึงไม่ควรที่จะรีบทำอะไรกระฉับกระเฉงเร็วไปนะคะ รวมถึงอาการ ไอ จาม หรือแม้แต่การหัวเราะ เพราะจะกระทบกระเทือนต่อแผลได้ง่าย

 

หาตัวช่วยบรรเทาอาการปวดแผล

ในกรณีที่แม่ปวดแผลมาก แพทย์อาจแนะนำให้ใช้แผ่นประคบร้อน หรือ รับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการปวด เช่น Ibuprofen, Acetaminophen ซึ่งตัวยาดังกล่าวนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อลูกน้อยที่กินนมแม่
ดูแลแผลผ่าคลอดไม่ให้นูน

ดื่มน้ำให้มาก

การดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มจะช่วยทดแทนของเหลวที่สูญเสียไประหว่างการคลอด และในขณะให้นมลูกที่คุณแม่อาจเกิดการกระหายน้ำได้บ่อย ร่างกายจึงต้องดื่มน้ำมากเป็นพิเศษ เพื่อช่วยไม่ให้เกิดภาวะขาดน้ำ รวมถึงช่วยป้องกันท้องผูกไม่ให้เกิดการเบ่งแรงจนทำให้เจ็บแผล

 

เลิกกังวล

คุณแม่บางคนห่วงว่าแผลจะกลายเป็นแผลเป็นหรือคีลอยด์ คือ มีลักษณะหนา นูนแดง กลัวว่าแผลไม่สวย หรือกังวลว่ากลัวแผลผ่าคลอดปริจนไม่กล้าทำอะไรเลย ซึ่งหลังช่วงระยะพักฟื้นร่างกายในช่วง 2-3 สัปดาห์แรก คุณแม่สามารถอุ้มลูกน้อยเพื่อให้นม หรือสามารถขยับตัวเคลื่อนไหวได้ปกติตราบเท่าที่ไม่รู้สึกเจ็บ แต่ควรหลีกเลี่ยงการยกของหนัก และแบ่งเวลาให้ตัวเองได้พักผ่อนมากที่สุด

 

ทาครีมลดการเกิดแผลเป็น

การทาครีมซึ่งมีส่วนผสมของเสตียรอยด์อ่อน ๆ หรือครีมที่มีส่วนผสมของวิตามินอี สามารถช่วยลดการเกิดแผลเป็นได้ และไม่ต้องกังวลว่าจะส่งผลต่อน้ำนมที่ให้ลูกกินนะคะ เพราะการทายาเป็นเพียงการใช้ยาภายนอกและเฉพาะที่

อย่างไรก็ตามคุณแม่ควรสังเกตแผลผ่าคลอด หากพบว่ามีอาการเจ็บปวดบริเวณรอยผ่า มีอาการบวมแดง หรือมีของเหลวรั่วไหลออกมา มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส ควรรีบไปโรงพยาบาลเพื่อให้คุณหมอตรวจวินิจฉัยอาการนะคะ

 

ทำไมคุณแม่ผ่าคลอดยุคนี้ ถึงไม่ต้องกังวลเรื่องสุขภาพของลูกผ่าคลอดมากจนเกินไป เข้ามาอ่าน หรือแชร์ประสบการณ์ของเหล่าคุณแม่ผ่าคลอดด้วยกันได้ที่ คลับแม่ผ่าคลอด (C Section Club)

ดูแลแผลผ่าคลอดไม่ให้นูน ให้แผลสมานด้วยตัวเองได้ไม่ยาก


อ้างอิงข้อมูล : www.nicemeditec.com

บทความเกี่ยวข้องที่น่าสนใจ :

บทความจากพันธมิตร
10 ข้อห้ามหลังผ่าคลอด แม่ผ่าคลอดไม่ควรทำอะไร กิจกรรมแบบไหน อาจสร้างรอยแผลเป็นขนาดใหญ่ไว้ตลอดกาล
10 ข้อห้ามหลังผ่าคลอด แม่ผ่าคลอดไม่ควรทำอะไร กิจกรรมแบบไหน อาจสร้างรอยแผลเป็นขนาดใหญ่ไว้ตลอดกาล
เพราะ “สมองของเด็กผ่าคลอด” สำคัญเท่ากับ “ภูมิต้านทาน” เรื่องต้องรู้ ที่ แม่เตรียมผ่าคลอด อาจไม่เคยรู้!!
เพราะ “สมองของเด็กผ่าคลอด” สำคัญเท่ากับ “ภูมิต้านทาน” เรื่องต้องรู้ ที่ แม่เตรียมผ่าคลอด อาจไม่เคยรู้!!
เช็กด่วน 7 สัญญาณใกล้คลอด พร้อมเคล็ดลับดูแลร่างกายหลังคลอด แข็งแรงไว เบาใจเรื่องแผลเป็นจากการผ่าคลอด
เช็กด่วน 7 สัญญาณใกล้คลอด พร้อมเคล็ดลับดูแลร่างกายหลังคลอด แข็งแรงไว เบาใจเรื่องแผลเป็นจากการผ่าคลอด
รู้ก่อนพร้อมก่อน 5 สิ่งที่แม่ท้องทุกคนต้องรู้ก่อนผ่าคลอด และ เทคนิคดูแลแผลผ่าคลอดให้สวยเนียน
รู้ก่อนพร้อมก่อน 5 สิ่งที่แม่ท้องทุกคนต้องรู้ก่อนผ่าคลอด และ เทคนิคดูแลแผลผ่าคลอดให้สวยเนียน

ประสบการณ์แม่ความดันสูงไม่รู้ตัว สู่การผ่าคลอดก่อนกำหนด

10 เมนูอาหารคุณแม่หลังผ่าคลอด หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง อะไรควรหลีกเลี่ยง

ของช่วยรักษาอาการผ่าคลอด แม่ผ่าคลอดควรดูแลตัวเองอย่างไร

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • การคลอด
  • /
  • ดูแลแผลผ่าคลอดไม่ให้นูน ให้แผลสมานด้วยตัวเองได้ไม่ยาก
แชร์ :
  • เทคนิคการดูแลแผลผ่าคลอดไม่ให้นูนแดง

    เทคนิคการดูแลแผลผ่าคลอดไม่ให้นูนแดง

  • ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างถูกวิธี

    ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างถูกวิธี

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • เทคนิคการดูแลแผลผ่าคลอดไม่ให้นูนแดง

    เทคนิคการดูแลแผลผ่าคลอดไม่ให้นูนแดง

  • ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างถูกวิธี

    ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างถูกวิธี

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ