X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

คำแนะนำจากกุมารแพทย์ 5 เรื่องที่พ่อแม่ป้ายแดงอาจ ดูแลลูกน้อย แบบผิดวิธี

บทความ 3 นาที
คำแนะนำจากกุมารแพทย์ 5 เรื่องที่พ่อแม่ป้ายแดงอาจ ดูแลลูกน้อย แบบผิดวิธี

พ่อแม่ป้ายแดงมักจะเริ่มต้น ดูแลลูกน้อย ด้วยการลองผิดลองถูก จากการเรียนรู้เองหรือฟังคำบอกเล่าของผู้มีประสบการณ์มาก่อน จนบางเรื่องที่นำมาใช้กับลูกนั้นอาจจะผิดวิธี มาลองดูคำแนะนำจากกุมารแพทย์เพื่อให้แน่ใจกันค่ะ

ดูแลลูกน้อย สำหรับพ่อแม่มือใหม่อาจจะเริ่มด้วยการลองผิดลองถูก และเรียนรู้จากพฤติกรรมของลูกน้อย แต่เรื่องบางอย่างหากรู้ไว้ก็ดีกว่าที่จะเข้าใจหรือดูแลลูกแบบผิด ๆ กันไปนะคะ

คำแนะนำจากกุมารแพทย์ 5 เรื่องที่พ่อแม่ป้ายแดงอาจ ดูแลลูกน้อย แบบผิดวิธี

ดูแลลูกน้อย

#1 การให้ยาลดไข้แบบผิดวิธี

พ่อแม่บางคนเริ่มสังเกตเห็นอาการว่าลูกคล้ายจะเป็นหวัด ตาซึม ๆ แต่ยังไม่เป็นไข้ เข้าใจผิดไปว่าการให้ลูกได้กินยาลดไข้สามารถป้องกันการเกิดไข้ได้ แต่จริง ๆ แล้วไม่ถูกต้อง การให้ยาลดไข้ควรให้ลูกกินเฉพาะตอนมีไข้เท่านั้น และการกินยาดลดไข้อย่างต่อเนื่อง ติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็อาจจะเกิด ระดับยาสะสม ทำให้เกิดพิษต่อตับได้เช่นกัน หากลูกตัวรุม ๆ มีอาการไข้ต่ำควรเช็ดตัวลูกก่อนให้กินยาลดไข้ เมื่อลูกไข้ลดอาจไม่จำเป็นต้องกินยาลดไข้ได้

ดูแลลูกน้อย

#2 อยากให้ลูกหายไวๆ ให้ฉีดยาดีกว่ากินยา

Advertisement

จริง ๆ แล้วยากินหรือยาฉีด ถ้าเป็นกลุ่มยาเดียวกันก็จะให้ผลลัพธ์ได้เท่ากัน เพียงแต่ว่ายากินต้องดูดซึมและมีการเมตาบอลิสซึ่ม แต่สุดท้ายก็จะกลายเป็นระดับยาในเลือดเช่นเดียวกันกับยาฉีด แต่ถ้าเป็นยาคนละกลุ่มก็ไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้

แคะหู ลูก

#3 กลัวลูกขี้หูตันเลยใช้คอตต้อนบัดแคะหูลูก

การใช้ไม้พันสำลีหรือ cotton bud ไปแคะหูลูกอันตรายมากกว่าที่คิดนะคะ เพราะเสี่ยงที่จะทำให้ลูกหูหนวก แก้วหูทะลุ เนื่องจากการใช้ไม้คอตตอนบัดปั่นลึก หรือกลับมีขี้หูอุดตันเนื่องจากการใช้คอตต้อนบัดแคะหูจะเป็นการดันขี้หูให้ย้อนกลับ สะสมเป็นก้อน ขวางการไหลของผิวตามปกติ ส่งผลทำให้ขี้หูมากขึ้นและใหญ่จนไปตันได้ รวมไปถึงอาจทำให้เป็นแผลถลอกในหู เกิดการอักเสบ ติดเชื้อ นำเชื้อโรคเข้าไปส่งผลทำให้เป็นหูน้ำหนวกได้

การมีขี้หูหรือ ear wax ผลิตออกมาเป็นเรื่องปกติ เพื่อเคลือบในช่องหูและจะค่อยเคลื่อนออกมาด้านนอกกลายเป็นขี้ไคล ซึ่งพ่อแม่สามารถใช้ผ้าเช็ดทำความสะอาดบริเวณรอบ ๆ ก็พอ การที่ไปปั่นหรือแคะหูให้ลูกบ่อยครั้งจะทำให้เด็กรู้สึกคุ้นเคยและไปกระตุ้นเส้นประสาท ทำให้มีพฤติกรรม “ติด” และลูกจะหาอะไรไปแคะหูปั่นหูด้วยตัวเอง จนอาจทำให้อักเสบหรือติดเชื้อขึ้นได้อีกทางนะคะ

ป้อนน้ำทารก, ภาวะน้ำเป็นพิษ

#4 หลังลูกดูดนมเสร็จแล้วให้ดูดน้ำตาม

การให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียวสำหรับทารกแรกเกิดถึง 6 เดือน ไม่จำเป็นต้องป้อนน้ำทารกตามหลังดูดนมนะคะ เพราะในนมแม่มีน้ำเพียงพออยู่แล้ว การให้ทารกดูดน้ำตามจะทำให้ลูกได้รับสารอาหารจากนมแม่น้อยลงและส่งผลให้ทารกทานนมได้น้อยอีกด้วย แถมส่งผลต่อการผลิตน้ำนมของคุณแม่ ทำให้นมแม่ลดลงอีกด้วย อีกทั้งเพิ่มโอกาสการสำรอกของทารกหากได้รับน้ำมากเกินที่กระเพาะจะรับได้ สำหรับคุณแม่ที่กลัวว่าจะเกิดคราบนมหรือเชื้อราภายในช่องปากลูก ให้ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำสะอาดพันนิ้ว เช็ดเหงือกและลิ้น ให้ลูกวันละ 1-2ครั้ง เหมือนการแปรงฟันก็จะช่วยป้องกันเชื้อราในปากได้ค่ะ สำหรับทารกที่กินนมชง ในนมชงก็มีน้ำมากเพียงพอ คุณแม่อาจป้อนน้ำตามเพียงแค่ล้างปากหรือทำความสะอาดในช่องปากลูกได้ด้วยวิธีเดียวกันค่ะ

ดูแลลูกน้อย

#5 การใช้มือวัดไข้ลูก

การใช้มือจับศรีษะ รักแร้ คอ หรือหน้าผาก แล้วรู้สึกว่าลูกตัวร้อน อาจบอกได้ว่าลูกมีไข้ต่ำ ๆ หรืออาจมีอุณหภูมิที่ปกติก็ได้ แต่การวัดไข้ด้วยมือเพียงอย่างเดียวอาจประเมินอุณหภูมิร่างกายที่ไม่แน่นอน การสัมผัสด้วยหน้าผากของพ่อแม่สัมผัสกับหน้าผากของลูกจะรับรู้ถึงอุณหภูมิได้มากกว่าการใช้มือ แต่อย่างไรก็ตามการใช้ปรอทวัดไข้นั้นเป็นอุปกรณ์วัดไข้เมื่อลูกมีอาการไม่สบายได้ดีที่สุด การรู้อุณหภูมิไข้ของลูกที่มีค่าแม่นยำจะช่วยให้พ่อแม่ตัดสินใจในการให้ลูกกินยาลดไข้ หรือรีบพาลูกมาหาหมอเมื่อพบว่าลูกมีไข้สูง

เมื่อรู้แบบนี้แล้ว คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถตัดสินใจดูแลลูกอย่างถูกวิธีได้มากขึ้นกว่าเดิม และหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเลี้ยงดูทารก ก็สามารถแชร์คำถามเพื่อให้เราช่วยกันหาคำตอบมาให้นะคะ


ที่มา : www.pantip.com

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

บทความจากพันธมิตร
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่

5 ความเชื่อเกี่ยวกับทารกที่เกิดได้กับพ่อแม่ป้ายแดง

ดูแลลูกน้อยหลังคลอด คู่มือที่จะช่วยให้คุณแม่เอาตัวรอดในสัปดาห์แรก

parenttown

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • คำแนะนำจากกุมารแพทย์ 5 เรื่องที่พ่อแม่ป้ายแดงอาจ ดูแลลูกน้อย แบบผิดวิธี
แชร์ :
  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว