X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ดนตรีกับพัฒนาการ ลงทุนกับการเรียนดนตรี ดีกับพัฒนาการลูกอย่างไร

บทความ 5 นาที
ดนตรีกับพัฒนาการ ลงทุนกับการเรียนดนตรี ดีกับพัฒนาการลูกอย่างไร

ดนตรีกับพัฒนาการ ลงทุนกับการเรียนดนตรี ดีกับพัฒนาการในด้านต่างๆ ของลูกรักอย่างไร ดนตรีกับเด็กเป็นสิ่งที่เรียกได้ว่าแทบจะแยกออกจากกันไม่ได้

ดนตรีกับพัฒนาการ 2 คำนี้มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไรต่อตัวของเด็ก คำตอบนั้นมีมากมาย ดังนั้นการให้ลูกได้มีโอกาสสัมผัสกับดนตรีน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีในการช่วยเสริมสร้างพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของลูกได้มากยิ่งขึ้น

 

ดนตรีกับพัฒนาการ ส่งผลกับลูกอย่างไร

 

ดนตรีกับพัฒนาการ

 

  • ดนตรีกับเด็กเป็นสิ่งที่เรียกได้ว่าแทบจะแยกออกจากกันไม่ได้
  • ทารกน้อยที่ร้องไห้จ้า หยุดร้องงอแงเมื่อได้ยินเสียงเพลงเห่กล่อมของพ่อแม่ปลอบประโลม
  • คราวถึงวัยเริ่มหัดพูดช่างเจรจา การฟังเพลงทำให้จดจำคำร้องและทำนองได้อย่างว่องไว 
  • เมื่อยิ่งโตขึ้น ดนตรีเป็นทางออกแห่งอารมณ์พลุ่งพล่าน เป็นสนามสร้างความมั่นใจให้ได้แสดงตัวตน และยังเป็นที่พักใจยามเหนื่อยล้าได้อีกด้วย

 

Advertisement

แม้ดนตรีจะมีบทบาทในชีวิตลูกน้อยอยู่แล้วโดยธรรมชาติ แต่หากได้รับโอกาสที่จะเรียนรู้เพิ่มเติมอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะการเรียนรู้ที่จะใช้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ในการเล่นเครื่องดนตรี ซึ่งมีความซับซ้อนมากขึ้นกว่าเพียงการใช้เสียงร้อง ก็จะยิ่งช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้มีงานวิจัยจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ที่ให้หลักฐานสนับสนุนว่า การเรียนดนตรีส่งผลต่อการพัฒนาของสมองโดยตรง กล่าวกันว่า หากคุณมีเงินและมีเวลาจำกัดแล้วจำเป็นต้องเลือกลงทุนกับลูกเรื่องใดเรื่องหนึ่งในการเสริมพัฒนาการเพิ่มเติม การเรียนดนตรีจะเป็นสิ่งแรกที่ควรพิจารณาเลยทีเดียว

บทความเพิ่มเติม : เลี้ยงลูกให้เป็นนักดนตรี ทำอย่างไรได้บ้าง ทำไงให้ลูกรักเสียงเพลง

 

ดังนั้นวันนี้เลยอยากมาชวนคุณพ่อคุณแม่คุยกันเรื่องประโยชน์ด้านต่าง ๆ ของการให้ลูกน้อยได้เรียนดนตรีค่ะ ว่ามีอะไรบ้าง บางอย่างคุณพ่อคุณแม่อาจคาดเดาได้บ้างอยู่แล้ว แต่ก็อาจจะมีบางเรื่องที่ลืมนึกถึงไป พอฟังแล้วจะได้ตัดสินใจกันง่ายขึ้นค่ะ ว่าจะลงทุนกับการเรียนดนตรีกับลูกน้อยเมื่อไรอย่างไรบ้างดี

 

พัฒนาโครงสร้างของสมองและความจำ

งานวิจัยหลายงานพบว่า การเรียนดนตรี เพิ่มการเจริญเติบโตของสมองส่วนต่าง ๆ อย่างมีนัยยะสำคัญโดยพบว่าสมองส่วนที่ควบคุมทักษะการอ่าน การเข้าใจคำพูด และการพัฒนาทางด้านภาษานั้นมีขนาดใหญ่ขึ้น และยังเชื่อว่ามีผลต่อความยืดหยุ่นของการทำงานของสมองอีกด้วย

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าการเรียนดนตรีมีผลโดยตรงกับความจำ งานวิจัยชิ้นหนึ่งจากประเทศชิลีพบว่าเมื่อศึกษาเด็กอายุ 10-13 ปี จำนวน 40 คน โดยเด็กจำนวนครึ่งหนึ่งมีประสบการณ์การเรียนดนตรีอย่างมีแบบแผนมาเป็นเวลามากกว่าสองปีและฝึกซ้อมวันละไม่ต่ำกว่าสองชั่วโมง ส่วนอีกครึ่งไม่มีการเรียนดนตรีเพิ่มเติมไปจากที่มีอยู่ในแบบเรียนของโรงเรียน เมื่อวัดการทำงานของสมองจากการวัดการไหลเวียนของเลือดระหว่างที่ให้ดูภาพและฟังเมโลดี้ของดนตรีไปพร้อมกันเป็นเวลาสี่วินาที ซึ่งนักวิจัยจะให้เด็กโฟกัสไปที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือไม่ได้บอกให้โฟกัสอะไรเป็นพิเศษ แล้วหลังจากนั้นจึงลองถามทั้งภาพและเมโลดี้ พบว่ากลุ่มเด็กที่เรียนดนตรีสามารถทำบททดสอบความจำนี้ได้ดีกว่าอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ทักษะด้านการจดจำที่ดีนั้นยังเชื่อมโยงกับความสามารถในการอ่านและความคิดสร้างสรรค์ของเด็กในวัยเยาว์อีกด้วย

 

พัฒนาการด้าน EF

การเรียนดนตรีจะทำให้ลูกได้ฝึกฝนทักษะที่สอดคล้องไปกับพัฒนาการด้าน EF หรือ Executive Functions อันเป็นกระบวนการทางความคิดที่พ่อแม่ยุคใหม่เริ่มเรียนรู้และใส่ใจมากขึ้นเพราะสำคัญยิ่งว่า IQ และ EQ ที่เคยเป็นจุดโฟกัสของพ่อแม่ยุคก่อน โดยหากมองตามกระบวนการแล้ว การเรียนดนตรีช่วยให้ลูกใช้ทักษะด้าน EF ครบทั้ง 9 ด้าน นั่นคือ 

  • ความทรงจำใช้งาน : ผ่านการเรียนรู้จดจำตัวโน้ต ทฤษฎี เสียงดนตรี โดยสามารถจัดเก็บข้อมูลที่ได้รับและดึงมาใช้ได้ยามต้องการ 
  • การยั้งคิดและควบคุมตนเอง : เพราะเด็กต้องตัดใจจากการเล่นมาซ้อมดนตรี ฝึกหันเหความสนใจจากเรื่องสนุก เรื่องง่าย มาลองทำอะไรที่ยากและท้าทายขึ้น 
  • การยืดหยุ่นทางความคิด : โดยเฉพาะการเล่นดนตรีที่สามารถพลิกแพลงไปได้หลายรูปแบบเช่นการ improvise
  • การจดจ่อ : สามารถจดจ่อมากพอที่จะซ้อมเพลงเดิมซ้ำไปซ้ำมาได้เป็นเวลานานเพื่อให้เล่นได้คล่องขึ้น 
  • การควบคุมอารมณ์ : ไม่ว่าจะอยากเล่น เบื่อ เหนื่อย ก็ยังสามารถควบคุมอารมณ์ความรู้สึกต่าง ๆ ได้มากพอที่จะลงมือซ้อมได้
  • ตั้งเป้าหมายและการจัดการ : เด็กต้องเห็นเป้าหมายชัดเจน เช่น จะเล่นเพลงนี้ให้ได้ภายในกี่เดือน และพร้อมที่จะจัดสรรเวลาซ้อม แบ่งเวลาจากภาระด้านอื่น ๆ มาอย่างเหมาะสมเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
  • การประเมินตัวเอง : เช่น หากยังเล่นได้ผิดพลาดก็ต้องประเมินถึงข้อบกพร่องของตัวเองว่าเกิดจากสาเหตุใดและคิดหาวิธีแก้ไข
  • การริเริ่ม เช่นเป็นผู้เลือกเครื่องดนตรี เลือกเพลงที่อยากเล่น ริเริ่มอยากไปแสดงในคอนเสิร์ตต่าง ๆ ไม่ว่าเวทีเล็กหรือใหญ่ และริเริ่มลงมือซ้อมลงมือทำตามที่คิดไว้
  • ความพากเพียรพยายาม : การเรียนดนตรีนั้นมีความยากและท้าทาย เด็กจะเข้าใจผ่านการเรียนดนตรีว่า ไม่มีใครเก่งได้โดยไม่ฝึกฝน ทุกอย่างอาศัยความพยายามมานะอุตสาหะ ที่จะฝ่าฟันอุปสรรค ให้ได้มาซึ่งความสำเร็จ และแม้จะผ่านความเหนื่อยยากท้อแท้ หากเอาจริงเอาจังไม่ละความพยายาม ก็จะทำได้ในที่สุด

การมีทักษะดนตรียังส่งเสริมให้เด็กมีความเชื่อมั่นในตัวเอง หรือมี Self Esteem  จากการได้ลงมือฝึกฝน ลงทุนลงแรงกับบางอย่างแล้วเห็นความเปลี่ยนแปลงที่ผลิดอกออกผลมาเป็นทักษะความสามารถที่จับต้องได้ แสดงออกให้คนรอบข้างได้รับรู้จนได้รับความยอมรับในวงสังคมของตนเองเช่นในครอบครัวและหมู่เพื่อนฝูง

 

ดนตรีกับพัฒนาการ ด้านอารมณ์

ดนตรีกับพัฒนาการ

 

การเรียนดนตรีนั้นส่งผลในด้านอารมณ์หลากหลายรูปแบบ การที่เด็กสามารถจดจ่อกับการเล่นดนตรี ช่วยทำให้เด็กมีจิตใจสงบนิ่งและระงับอารมณ์ได้ดีขึ้น ดนตรีช่วยเพิ่มสุนทรียะ และทำให้เด็กมีอารมณ์ดี ในขณะเดียวกัน เมื่อเด็กขุ่นข้องหมองใจ การใช้ดนตรีเป็นเครื่องระบายอารมณ์ก็เป็นทางออกที่ดีที่เด็กเข้าถึงได้ง่ายสำหรับเด็กเล็กที่ยังมีปัญหาในการเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของตัวเอง ยังแยกแยะอารมณ์ต่าง ๆ ไม่ค่อยถูก และอธิบายความรู้สึกได้ไม่ดีนัก การเรียนดนตรีจะช่วยให้เด็กได้เข้าถึงอารมณ์ในรูปแบบต่าง ๆ มากขึ้นและเรียนรู้ที่จะแสดงออกถึงอารมณ์ที่แตกต่างกันไปรวมถึงจัดการกับอารมณ์ได้อย่างเป็นระบบมากขึ้น

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาพบว่าเมื่อเรียนดนตรี การที่เด็กได้ฝึกแยกแยะตัวโน้ตเสียงสูงต่ำจะทำให้สมองมีความยืดหยุ่นและรับรู้ถึงอารมณ์ความรู้สึกคนรอบข้างได้ไวเป็นพิเศษ อีกทั้งสามารถแยกแยะอารมณ์ได้ดี มีงานวิจัยพบว่า เด็กที่เรียนดนตรี สามารถดูภาพผู้คนที่แสดงสีหน้าต่าง ๆ แล้วเข้าถึงอารมณ์ความรู้สึกที่คนคนนั้นกำลังแสดงออกได้อย่างละเอียดลึกซึ้งกว่าเด็กที่ไม่ได้เรียนดนตรี ดังนั้นการเรียนดนตรีจึงทำให้เด็กเป็นผู้ที่เข้าอกเข้าใจคนอื่นได้อย่างดีหรือที่เรียกว่ามี empathy ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญมากของศตวรรษนี้

 

บทความเพิ่มเติม : ลูกน้อยชอบร้องเพลง อยากเป็นนักร้อง ทำอย่างไรให้ความฝันลูกเป็นจริง

 

 

นอกจากพัฒนาการด้านต่าง ๆ การเรียนดนตรียังทำให้เด็กมีโอกาสที่จะใช้ดนตรีเพื่อความสนุกสนานผ่อนคลายของตัวเอง และยังสามารถช่วยเรื่องการเข้าสังคมกับเพื่อน ๆ ได้อีกด้วย กลอง เปียโน กีตาร์ เป็นเครื่องดนตรีแถวหน้าที่เด็ก ๆ มักจะเลือกเรียน และระยะหลังมานี้ เครื่องดนตรีที่มีขนาดเล็ก เคลื่อนย้ายได้ง่ายอย่างอูกูเลเล่ ก็เริ่มฮิตติดกระแสเช่นกัน 

ในเรื่องของช่วงวัยนั้น การเริ่มเรียนดนตรีอย่างมีแบบแผน มักเริ่มราวอายุสี่ขวบ เพราะเป็นช่วงที่กล้ามเนื้อแขนขาและนิ้วมือแข็งแรงและมีการควบคุมได้ดีมากขึ้น ทำให้เด็ก ๆ สามารถใช้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ควบคุมเครื่องดนตรีได้ อีกทั้งยังเป็นช่วงที่สามารถรับฟังคำสั่ง และปฏิบัติตามได้อย่างเข้าใจ และเป็นช่วงที่สามารถเริ่มฝึกสมาธิให้จดจ่ออยู่กับที่ครูสอนเป็นระยะเวลาประมาณหนึ่ง รวมถึงเป็นเวลาที่กำลังเหมาะสมในการนำดนตรีมาใช้เป็นเครื่องมือฝึกระเบียบวินัยในการเข้าเรียน ในการซ้อมทำการบ้านทุก ๆ สัปดาห์ด้วยค่ะ

ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่อย่าลังเลใจที่ทุ่มเทเงินและเวลาเพื่อสนับสนุนให้ลูกได้เรียนดนตรี และให้ลูกรักได้เลือกเครื่องดนตรีที่ถูกใจ แม้คำแนะนำทั่วไปมักบ่งชี้ให้เรียนแบบกลุ่มหรือเรียนส่วนตัวกับคุณครูตามโรงเรียนดนตรีเพื่อให้เข้าใจทั้งด้านทฤษฎีได้อย่างถี่ถ้วนและมีแบบปฏิบัติอย่างมีแบบแผน แต่หากเรื่องค่าเรียนที่สูงทำให้ยังคงลังเล จริง ๆ แล้วในยุคอินเทอร์เน็ตอย่างสมัยนี้ คุณพ่อคุณแม่อาจจำเป็นต้องลงทุนแค่เพียงซื้อตัวเครื่องดนตรี แล้วใช้เวลาเรียนรู้ร่วมกันผ่านทาง YouTube หรือช่องทางอื่น ๆ ออนไลน์ก็ย่อมได้เช่นกันค่ะ ทั้งนี้สิ่งที่สำคัญคือเวลาในการเรียนและเล่นดนตรี ควรเป็นเวลาแห่งความสุขสดชื่น ซึ่งนอกจากจะทำให้ลูกได้ฝึกสมองได้สร้างเสริมพัฒนาการด้านต่าง ๆ จะยังนำมาซึ่งช่วงเวลาคุณภาพในการสื่อสายสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัวให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นอีกด้วย 

 

 

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

บทความจากพันธมิตร
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่

เครื่องดนตรีขิม เล่นยังไง? เด็ก ๆ สามารถเล่นได้ไหมมาดูกัน

เครื่องดนตรีเด็กเล่นได้ ฝึกเพิ่มทักษะ ลูกให้ลูกเป็นอัจฉริยะด้านดนตรี เริ่ด!

เลี้ยงลูกให้เป็นนักดนตรี ทำอย่างไรได้บ้าง ทำไงให้ลูกรักเสียงเพลง

ที่มา : bloomberg , rakluke , cassiopiablog , percussionplay

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

ดร. สุธีรา รัตนศิรินทรวุธ

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ดนตรีกับพัฒนาการ ลงทุนกับการเรียนดนตรี ดีกับพัฒนาการลูกอย่างไร
แชร์ :
  • ทำไมไม่มีใครเล่นกับหนู?  รับมือ ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก อย่างเข้าใจหัวใจเด็ก

    ทำไมไม่มีใครเล่นกับหนู? รับมือ ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก อย่างเข้าใจหัวใจเด็ก

  • ลูกชอบตีตัวเอง สัญญาณเตือนที่พ่อแม่ต้องรู้ และวิธีหยุดอย่างปลอดภัย

    ลูกชอบตีตัวเอง สัญญาณเตือนที่พ่อแม่ต้องรู้ และวิธีหยุดอย่างปลอดภัย

  • ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

    ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

  • ทำไมไม่มีใครเล่นกับหนู?  รับมือ ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก อย่างเข้าใจหัวใจเด็ก

    ทำไมไม่มีใครเล่นกับหนู? รับมือ ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก อย่างเข้าใจหัวใจเด็ก

  • ลูกชอบตีตัวเอง สัญญาณเตือนที่พ่อแม่ต้องรู้ และวิธีหยุดอย่างปลอดภัย

    ลูกชอบตีตัวเอง สัญญาณเตือนที่พ่อแม่ต้องรู้ และวิธีหยุดอย่างปลอดภัย

  • ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

    ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว