X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

คู่มือแม่ท้อง 35 อัพ

บทความ 3 นาที
คู่มือแม่ท้อง 35 อัพ

คุณแม่ที่ตั้งท้องในวัย 35 ปีขึ้นไปมีความเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนที่ร้ายแรงที่เป็นอันตรายต่อการตั้งครรภ์ ยิ่งถ้าเป็นการตั้งท้องครั้งแรกด้วยแล้ว ความเสี่ยงก็ยิ่งมีมากขึ้นไปอีก ในบทความนี้คุณแม่จะได้รับคำแนะนำในการดูแลตัวเอง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์เมื่ออายุมาก

ผู้หญิงในวัย 35 อัพอาจพบการเจริญพันธ์ที่ลดลงอย่างรวดเร็ว  เนื่องจากมีการตกไข่น้อยลง คุณภาพของไข่ด้อยลง ขนาดและจำนวนของไข่ลดลง จึงมีโอกาสมีบุตรยากขึ้น ในขณะที่โอกาสในการแท้งบุตรและเกิดภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น เช่น ภาวะเบาหวาน ความดันโลหิตสูง คลอดก่อนกำหนด ทารกอยู่ในภาวะเครียด การผ่าคลอดฉุกเฉิน  และภาวะรกเกาะต่ำ เป็นต้น

นอกจากนี้ วัย 35 ปีเป็นอายุที่ความเสี่ยงของความผิดปกติทางพันธุกรรมจะเริ่มเพิ่มขึ้น โอกาสในการมีลูกกลุ่มอาการดาวน์หรือเกิดความผิดปกติอื่น ๆ ยังเป็นความเสี่ยงที่พบบ่อยในการตั้งครรภ์ช่วงวัยสามสิบตอนปลาย จากภาพด้านล่างจะสังเกตเห็นว่า ความเสี่ยงที่ลูกจะเป็นดาวน์ซินโดรมจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อคุณแม่มีอายุเข้าสู่ช่วงปลาย 30 เป็นต้นไป

ความเสี่ยงดาวน์ซินโดรมเมื่อตั้งท้องอายุมากขึ้น

จาก 1 ใน 1000 ที่อายุ 29 ปี ความเสี่ยงเพิ่มเป็น 1 ใน 137 ในอีก 10 ถัดไปที่อายุ 39 ปี แม้จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นอย่างมาก แต่คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ในวัย 35 จำนวนมากก็ผ่านมันมาได้อย่างปลอดภัย

ติดตามอ่านคำแนะนำในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนเมื่อตั้งครรภ์ตอนอายุมากในหน้าถัดไป

วิทยาศาสตร์การแพทย์ในปัจจุบันมีความก้าวหน้าอย่างมากในการที่จะช่วยให้คุณแม่ที่มีอายุ 35 ปีสามารถตั้งครรภ์ได้อย่างปลอดภัย อย่างไรก็ตามคุณแม่ท้องที่มีอายุมากจะต้องคำนึงถึงความเสี่ยดังกล่าวและดูแลตัวเองเป็นอย่างดีเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ

Advertisement

คำแนะนำในการดูแลตัวเองสำหรับคุณแม่ที่ตั้งท้องเลยวัย 35

  • พบแพทย์แต่เนิ่นๆ หากวัยของคุณล่วงเลยสู่เลข 3 ตอนปลาย อย่ารอช้าที่จะปรึกษาแพทย์ เลือกคุณหมอที่เชี่ยวชาญด้านการมีบุตรยาก เพื่อขอคำแนะนำถึงวิธีการอื่นๆ ที่จะช่วยให้คุณมีบุตร ที่นอกเหนือไปจากวิธีธรรมชาติ ประสบการณ์ของคุณหมอในการรักษาภาวะมีบุตรยาก และการดูแลแม่ท้องที่อายุมาก จะช่วยให้คุณมั่นใจในการดูแลครรภ์และคลอดลูกน้อยอย่างไร้กังวล
  • รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพและออกกำลังกายเป็นประจำ การเพิ่มของน้ำหนักตัวที่มากเกินไปอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ ดังนั้น ทางที่ดีที่สุดคือการรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเหมือนตอนก่อนตั้งครรภ์ อย่างไรก็ดีการออกกำลังกายของแม่ท้องควรได้รับการเห็นชอบจากแพทย์ก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าคุณสามารถออกกำลังกายในขณะที่อุ้มท้องลูกน้อยในครรภ์อย่างปลอดภัย
  • เลิกพฤติกรรมที่ทำลายสุขภาพ เช่น การสูบบุหรี่และการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป หากสามีของคุณสูบบุหรี่ นี่เป็นโอกาสอันดีที่จะจูงใจให้เขาเลิกบุหรี่เพื่อสุขภาพทั้งของคุณแม่ท้องและลูกน้อยในครรภ์แบบทูอินวัน
  • ตรวจสุขภาพและจัดการปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่มีอยู่ ในคุณแม่ท้องที่มีอายุมากมีแนวโน้มที่จะเป็นความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคอื่น ๆ ตามมา ดังนั้น ก่อนที่จะตั้งครรภ์ตรวจสุขภาพให้เรียบร้อยเสียก่อน เพื่อที่ คุณจะได้จัดการกับปัญหาสุขภาพต่างๆ ทั้งก่อนและในระหว่างการตั้งครรภ์ได้
  • ปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด รับประทานยาในปริมาณที่แพทย์กำหนด แม้มันจะเป็นแค่วิตามินก็ตาม หากคุณต้องการรับประทานอะไรก็ตามควบคู่ไปกับสิ่งที่แพทย์กำหนด ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ
  • ตรวจสอบแผนการเดินทางและการทำงานกับคุณหมอก่อน ความเครียดจากการทำงานและการเดินทางสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพและพัฒนาการของทารก  ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อให้แน่ใจว่า คุณสามารถที่จะปกป้องทั้งตัวคุณและลูกน้อยในครรภ์อย่างปลอดภัย

ที่มา ph.theasianparent.com

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

เป็นไปได้หรือไม่ที่จะตั้งครรภ์เมื่ออายุมาก

 

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • คู่มือแม่ท้อง 35 อัพ
แชร์ :
  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว