X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • TAP Awards
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

คนท้อง ร้องไห้ แม่เครียดเสี่ยงแท้ง ลูกเสี่ยงซึมเศร้า

บทความ 5 นาที
คนท้อง ร้องไห้ แม่เครียดเสี่ยงแท้ง ลูกเสี่ยงซึมเศร้า

รู้หรือไม่ ! คนท้อง ร้องไห้ แม่เครียดเสี่ยงแท้ง ความคิดมากของแม่ กระทบลูกในท้อง ทำให้ทารกเติบโตช้าในครรภ์ เสี่ยงทารกติดเชื้อในครรภ์สูงขึ้นด้วย ไม่อยากดราม่า แต่กลั้นน้ำตาเอาไว้ไม่อยู่ แม่เครียดขนาดนี้ กลัวลูกในท้องจะเป็นอันตราย

 

แม่ท้องเครียดเกินไปหรือเปล่า ?

คนท้องร้องไห้ทุกวัน จากปัญหาถาโถม ไหนจะมีเรื่องกับแม่สามี พอเครียดก็ไม่อยากแต่งตัว ปล่อยเนื้อปล่อยตัวให้โทรม จนสามีเมิน เผลอ ๆ สามีก็แอบไปมีกิ๊ก พอจับได้ก็ยิ่งเครียด ร้องห่มร้องไห้ไปกันใหญ่ ไม่ว่า ปัญหาอะไร ก็ถือเป็นเรื่องใหญ่สำหรับคนท้อง ไม่ใช่ว่าดราม่าไปเองหรอกนะ มันมีเหตุผล

 

ทำไมคนท้องร้องไห้บ่อย ร้องไห้ง่าย

คนท้อง ร้องไห้บ่อย ๆ ระหว่างตั้งครรภ์ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เพราะระดับฮอร์โมนที่สูงขึ้น อารมณ์แม่ก็จัดเต็มตามไปด้วย เดี๋ยวก็ดีเดี๋ยวก็ร้าย อารมณ์สวิงไปมา และยากที่จะควบคุมได้ โดยเฉพาะในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสแรก หรือ 3 เดือนแรก ที่กำลังท้องอ่อน ๆ นอกจากนี้ อาการที่เกิดจากการตั้งครรภ์ อาทิ อาการคลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ นอนน้อย ปวดหลัง ปัสสาวะบ่อย พวกนี้ก็ส่งผลทำให้คนท้องเบื่อ เหนื่อย เครียด!

สำหรับคนท้องบางคน ก็จะมีอารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ เป็นครั้งคราว ตลอดระยะเวลาการตั้งครรภ์ นั่นก็เพราะตอนท้อง ร่างกายของแม่ท้องเปลี่ยนไปมากมาย ความรู้สึกไม่ชอบรูปร่างตัวเองก็เกิดขึ้น พบกับปัญหาผิวแตกลาย คอดำ รักแร้ดำ หัวนมดำ จนหงุดหงิด ไหนจะความเจ็บปวดของร่างกาย ปวดเมื่อยเนื้อตัว เดินไม่ถนัด เจ็บตรงโน้นตรงนี้ สิ่งเหล่านี้ก่อตัวเป็นความเครียดขึ้นทีละเล็กทีละน้อย

บทความที่เกี่ยวข้อง : 3 วิธีชนะการแท้งลูก การแท้งบุตร อาการแท้ง คุกคาม แท้งค้างคืออะไร

 

วิดีโอจาก : คนท้อง Everything Channel

 

อาการเครียดในระยะสั้นของคนท้อง

หากแม่เครียดเล็กน้อย และสามารถปรับตัวได้ จะไม่มีผลเสียต่อการตั้งครรภ์ แม่บางคนแปรเปลี่ยนความเครียดเป็นการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ให้ดีขึ้น ส่งผลให้สุขภาพแม่แข็งแรง ทารกในครรภ์เติบโตดี แต่ถ้าแม่ท้องเครียดมาก ๆ รู้หรือเปล่าว่า ผลเสียต่อตัวแม่ท้องและทารกในครรภ์นั้นรุนแรงมาก สำหรับอาการเครียดในระยะสั้นของคนท้องก็เช่น

  • เกิดอาการเหนื่อย
  • นอนไม่หลับ
  • ตื่นเต้น
  • เบื่ออาหารหรือเจริญอาหารมาก
  • ปวดศีรษะ และปวดหลัง
  • ถ้าปล่อยให้เครียดนานจะทำให้ภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อลดลง ความดันโลหิตสูง และเกิดโรคหัวใจตามมาได้

 

ความเครียดของแม่ท้องส่งผลต่อทารกในครรภ์

ภาวะเครียดของแม่ ทำให้สารเคมีและฮอร์โมนที่เกิดจากความเครียดหลั่งออกมามาก ส่งผลให้เส้นเลือดที่ไปยังมดลูกและรกเกิดการหดตัว ปริมาณออกซิเจนที่ไปยังทารกในครรภ์ลดน้อยลง จึงเกิดอันตรายและความเสี่ยงมากมาย ดังนี้

  • เกิดการแท้ง
  • ทารกเติบโตช้าในครรภ์
  • ทารกติดเชื้อในครรภ์สูงขึ้น
  • มีรายงานว่าทารกที่คลอดจากมารดาที่มีภาวะเครียด ในระหว่างตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในการตั้งครรภ์ช่วงแรกจะมีอารมณ์ซึมเศร้า และไวต่อการกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมภายนอก
  • ผลที่เกิดกับทารกในระยะยาว จะทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อ โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น
  • ส่งผลถึงปัญหาทางจิตใจ และการปรับตัวทางสังคมตามมา

 

ลูกจะรู้สึกยังไง หากคุณแม่ร้องไห้ตอนท้อง

เวลาที่แม่ท้องเครียดรู้หรือไม่ว่า ลูกจะรู้สึกยังไง จากงานวิจัยของ Psychological Science พบว่า เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์เข้าสู่เดือนที่ 6 ลูกในครรภ์จะสามารถรับรู้อารมณ์ของคุณแม่ได้ และผลกระทบนี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่ชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้นด้วยนะคะ เพราะอารมณ์ที่คุณแม่รู้สึกนั้นจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่กำหนดทัศนคติของลูกด้วย

เมื่อคุณแม่เครียด ร่างกายของคุณแม่จะหลั่งฮอร์โมนแห่งความเครียดออกมา แม้ว่าอารมณ์ของคุณแม่จะส่งผ่านถุงน้ำคร่ำไปหาลูกไม่ได้ แต่ฮอร์โมนของคุณแม่สามารถทำได้ เครียดเป็นครั้งคราวลูกได้รับฮอร์โมนเป็นครั้งคราว ไม่เป็นไร แต่ถ้าลูกได้รับฮอร์โมนนี้บ่อย ๆ เข้า ลูกก็จะมีอาการเครียดเรื้อรัง แถมยังทำให้ลูกมีอาการโคลิคเมื่อคลอดออกมาแล้วด้วย โดยฮอร์โมนแห่งความเครียด หรือ คอร์ติซอล (cortisol) ถ้าร่างกายได้รับบ่อย ๆ หรือได้รับมากไป นอกจากจะทำให้เป็นโรคอ้วนแล้ว ยังส่งผลต่อการทำงานของสมองอีกด้วย ทำให้สมองส่วนฮิปโปแคมปัส ที่เกี่ยวข้องการเรียนรู้ ความจำต่าง ๆ ทำงานลดลง

 

คนท้อง ร้องไห้

 

รู้ตัวไหมว่า แม่จ๋ากำลังเครียดอยู่

ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ที่แม่ท้องจะรู้ตัวเองว่า ตอนนี้กำลังเครียดอย่างรุนแรง จึงจำเป็นต้องตรวจสอบตัวเองว่ามีอาการและความรู้สึกต่อไปนี้หรือไม่

  1. ฉันรู้สึกปวดศีรษะ
  2. ฉันรู้สึกหงุดหงิด
  3. ฉันรู้สึกวิตกกังวล
  4. ฉันรู้สึกตื่นเต้นและตกใจ
  5. ฉันมีปัญหากับการแก้ปัญหาในเรื่องต่าง ๆ
  6. ฉันรู้สึกว่าสิ่งต่าง ๆ ไม่ถูกต้อง
  7. ฉันไม่สามารถควบคุมสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตฉันได้
  8. ฉันกังวลว่าทารกในครรภ์จะผิดปกติ
  9. ฉันกังวลว่าฉันจะสูญเสียทารกในครรภ์
  10. ฉันกังวลว่าฉันจะคลอดยากหรือมีปัญหาจากการคลอด
  11. ฉันกังวลว่าฉันไม่มีเงินที่จะจ่ายค่าดูแลรักษาได้
  12. ฉันอยู่คนเดียวไม่มีสามีคอยดูแล
  13. ฉันต้องทำงานหนักเพิ่มขึ้น
  14. ฉันมีปัญหาที่ทำงาน
  15. ฉันและสามีมีปัญหาระหว่างกัน
  16. ฉันเคยถูกขู่หรือถูกทำร้ายร่างกาย

*ถ้าตอบว่ามีบางครั้ง มากกว่า 3 ข้อขึ้นไปแสดงว่ามีภาวะเครียด ควรจะหาวิธีลดความเครียด

 

วิธีลดความเครียด แม่ท้องต้องทำตามนี้

คนท้องหรือแม่ท้องที่หมั่นดูแลตัวเอง ทานอาหารที่มีประโยชน์ ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง จะช่วยลดภาวะเครียดได้ สำหรับวิธีลดความเครียดของคนท้อง มีดังนี้

  1. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ และครบ 3 มื้อ
  2. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง
  3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  4. ลดการทำงานลง
  5. การพูดคุยหรือระบายความในใจหรือความเครียดกับสามี เพื่อนฝูงที่สนิทสนม หรือกับคุณพ่อคุณแม่
  6. ทำกิจวัตรประจำวันหรือสิ่งที่คุณชอบ อย่างน้อยวันละ 20-30 นาที
  7. ออกไปเที่ยว ทำกิจกรรมนอกบ้านหรือพักผ่อน
  8. นั่งสมาธิ
  9. ฝึกโยคะสำหรับสตรีตั้งครรภ์
  10. ฝึกจินตนาการ แต่เรื่องที่ดีหรือทำให้เรามี
  11. หาความรู้ถึงอาการที่พบบ่อยระหว่างการตั้งครรภ์และวิธีการแก้ไข
  12. หลีกเลี่ยงการพึ่งสารเสพติด เช่น บุหรี่ แอลกอฮอล์ หรือยาระงับประสาท
  13. หาโอกาสอบรมการตั้งครรภ์คุณภาพ เพื่อให้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ การคลอดและการดูแลบุตรหลังคลอด

 

คนท้อง ร้องไห้ 2

 

บทความจากพันธมิตร
แม่รู้มั้ย เสริมภูมิต้านทาน โรคยุคใหม่ ทำได้ตั้งแต่วันแรกของลูก
แม่รู้มั้ย เสริมภูมิต้านทาน โรคยุคใหม่ ทำได้ตั้งแต่วันแรกของลูก
เริ่มต้นให้เหนือกว่า…เคล็ดลับสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอด พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
เริ่มต้นให้เหนือกว่า…เคล็ดลับสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอด พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?

คนท้อง ร้องไห้ ลดเครียดได้ด้วยดนตรี

ดนตรีบำบัดช่วยลดความเครียดคนท้อง โดยนักวิจัยพบความสัมพันธ์เพิ่มมากขึ้นในช่วงตั้งครรภ์โดยนักวิจัยจากสถาบัน Max Planck ประเทศเยอรมนีได้ทำการศึกษาโดยเปิดดนตรีที่มีความยาว 10-30 วินาทีให้คุณแม่ท้องที่เป็นอาสาสมัครฟัง จากนั้นเปลี่ยนเป็นเล่นถอยหลังและเสียงขาด ๆ หาย ๆ ผลการศึกษาพบว่า ดนตรีที่ไม่น่าฟังนั้นจะน่ารำคาญเป็นพิเศษสำหรับคนท้อง ส่วนดนตรีที่น่าฟังก็จะเพราะเป็นพิเศษเช่นกัน

ยิ่งไปกว่านั้น ดนตรีที่ไพเราะเสนาะหูยังช่วยให้ความดันโลหิตลดลงอย่างเห็นได้ชัด ในขณะที่การฟังดนตรีน่ารำคาญเพียง 10 วินาทีก็สามารถทำให้ความดันโลหิตพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว หลังจาก 30 วินาทีความดันโลหิตจึงลดลง จึงสรุปได้ว่า คนท้องมีปฏิกิริยาทางร่างกายต่อดนตรีอย่างชัดเจน

อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ เพลงอะคูสติกมีผลต่อความดันโลหิตในแม่ตั้งครรภ์มากกว่าในผู้หญิงที่ไม่ตั้งครรภ์ แม้ว่าจะยังไม่สามารถระบุเหตุผลที่แน่ชัดได้ว่า ผลที่เกิดขึ้นนี้เป็นเพราะฮอร์โมนเอสโตรเจนหรือเปล่า แต่ไม่ว่าจะเกิดจากอะไร เพลงเพราะ ๆ ก็ช่วยลดความเครียดได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในระหว่างตั้งครรภ์

นอกจากนี้ ทารกน้อยในครรภ์ยังสามารถได้ยินเสียงและมีปฏิกิริยาตอบสนองด้วยการดิ้น จากการศึกษาพบว่า ภายในสัปดาห์ที่ 28 ของการตั้งครรภ์ อัตราการเต้นของหัวใจลูกน้อยมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อได้ยินเสียงเพลงที่คุ้นเคย ดังนั้น หากคุณเปิดเพลงโมสาร์ทให้ลูกฟังเป็นประจำ ถือว่าคุณมาถูกทางแล้ว แต่เราก็ไม่อาจการันตีได้ว่า สิ่งเหล่านี้จะทำให้ลูกของคุณเป็นอัจฉริยะได้

 

คนท้อง ร้องไห้ หรือความเครียดเป็นสิ่งที่จัดการได้ยาก โดยเฉพาะแม่ท้อง แต่ก็ไม่ยากเกินความสามารถของแม่ ๆ แน่นอนค่ะ เมื่อคนท้อง ร้องไห้ ก็ขอให้นึกถึงลูกในท้องมาก ๆ ดูแลตัวเองให้ดี ทานอาหารที่มีประโยชน์ และไปพบคุณหมอตามนัดทุกครั้ง เพื่อวินิจฉัยอาการต่าง ๆ รวมทั้งประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างตั้งครรภ์

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

กินอะไรเสี่ยงแท้ง ห้ามกินสิ่งเหล่านี้ถ้าไม่อยากแท้งลูก เรื่องอันตรายที่แม่ท้องต้องระวัง

5 สิ่งที่ คุณแม่ตั้งครรภ์ ต้องรู้ เพื่อยกระดับการดูแลตัวเอง

ทำไมตอนท้องตกขาวเยอะจัง บางคนก็บอกเป็นมูกตั้งครรภ์ เอ๊ะยังไงกันอันตรายมั๊ย

ที่มา : 1

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • คนท้อง ร้องไห้ แม่เครียดเสี่ยงแท้ง ลูกเสี่ยงซึมเศร้า
แชร์ :
  • เครียดมาก อดลูกชาย วิจัยเผย ยิ่งแม่ท้องเครียดมากโอกาสมีลูกชายลดลง

    เครียดมาก อดลูกชาย วิจัยเผย ยิ่งแม่ท้องเครียดมากโอกาสมีลูกชายลดลง

  • ท้องมาตั้งนาน ลูกในท้องโตช้า ทำไงดี แล้วจะรู้ได้ไงว่าลูกในท้องโตช้า

    ท้องมาตั้งนาน ลูกในท้องโตช้า ทำไงดี แล้วจะรู้ได้ไงว่าลูกในท้องโตช้า

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • เครียดมาก อดลูกชาย วิจัยเผย ยิ่งแม่ท้องเครียดมากโอกาสมีลูกชายลดลง

    เครียดมาก อดลูกชาย วิจัยเผย ยิ่งแม่ท้องเครียดมากโอกาสมีลูกชายลดลง

  • ท้องมาตั้งนาน ลูกในท้องโตช้า ทำไงดี แล้วจะรู้ได้ไงว่าลูกในท้องโตช้า

    ท้องมาตั้งนาน ลูกในท้องโตช้า ทำไงดี แล้วจะรู้ได้ไงว่าลูกในท้องโตช้า

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว