100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 88 คนท้องใช้รถสาธารณะ อย่างไรให้ปลอดภัย

คุณแม่กลัวการเดินทางโดย รถสาธารณะ แต่การที่คุณแม่เดินทางโดย รถสาธารณะก็ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด เพียงแค่คุณแม่ต้องเตรียมตัวให้พร้อม ก็จะปลอดภัยค่ะ
รถสาธารณะ
คือบริการคมนาคมขนส่งผู้โดยสารที่สามารถใช้ได้โดยสาธารณชน รถโดยสารสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็น รถประจำทางสาธารณะ รถราง รถลาก รถไฟฟ้า รถไฟฟ้าใต้ดิน และเรือข้ามฟาก สายการบิน รถทัวร์ รถเมล์ รถร่วม รวมไปถึงรถแท็กซี่
การเดินทางขณะตั้งครรภ์

taxi
โดยปกติการเดินทางไปต่างจังหวัดก็ไม่มีข้อห้ามหรอกค่ะ ยกเว้นการเดินทางไกล ๆ เป็นเวลานานมากหรือเหนื่อยมาก คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถเดินทางไปไหนไกล ๆ หรือไปท่องเที่ยวได้ตามปกติ เพราะการเดินทางไม่มีผลต่อการแท้งและการคลอดก่อนกำหนดแต่อย่างใด แต่ควรเป็นห่วงสำหรับคุณแม่ที่มีอาการแพ้ท้องในช่วงระยะแรก ๆ เพราะอาจทำให้อ่อนเพลียและวิงเวียนศีรษะจนอาจเกิดอันตราย (ส่วนช่วงใกล้คลอดก็เป็นอันตรายเช่นกันค่ะ) รวมไปถึงคุณแม่ที่เคยมีประวัติการทำแท้งหรือเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดมาก่อน ก็ให้ระมัดระวังเพิ่มขึ้นและไม่ควรเดินทางไปไหนไกล ๆ จากบ้านมากนัก
คนท้องเดินทางอย่างไรถึงจะปลอดภัย
รถตู้โดยสาร
- เลือกที่นั่งคู่กับคนขับ เพราะที่นั่งคู่คนขับถือเป็นที่นั่งที่สะดวกสบายที่สุด และสามารถยืดขาได้มากกว่าเบาะด้านหลัง
- คุณแม่ต้องคาดเข็มขัดนิรภัยสำหรับคนท้อง ต้องคาดระหว่างอกพอดี ห้ามคาดส่วนหน้าท้อง เพราะบริเวณนี้สามารถช่วยรองรับและปกป้องแรงกระแทกจากการชนได้มากที่สุด และระวังอย่าให้สายบิด
- ปรับเก้าอี้ให้อยู่ในลักษณะกึ่งนอนและควรเลื่อนที่นั่งไปด้านหลังมากที่สุด เพื่อลดอาการปวดเมื่อย
- เตรียมหมอนอิงสำหรับหนุนหลังและหมอนรองคอ
- ปรับแอร์พัดลมให้ถึงตัวคุณแม่ เพื่อป้องกันการวิงเวียนศีรษะ
- ขณะที่รถตู้เติมเชื้อเพลิงต้องลงจากรถทุกครั้ง
รถเมล์

รถเมล์
- ควรหลีกเลี่ยงรถเมล์คันที่แน่นมาก ๆ
- ระมัดระวังทั้งขณะขึ้นและลงบันได
- คุณแม่ไม่ควรยืนหรือโหนรถเมล์
รถไฟฟ้า

รถไฟฟ้า
- คุณควรระมัดระวังในการขึ้นและลงบันไดเลื่อน เพราะบันไดเลื่อนค่อนข้างสูง
- หากผู้คนหนาแน่น ควรระมัดระวังการเกิดอุบัติเหติ เช่น การหกล้ม การกระแทก
- เลี่ยงทางเข้าออกอัตโนมัติ เพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องปิดกั้นโดนท้องคุณแม่
นั่งเรือ การโดยสารเรือเดินทางขนาดใหญ่จะดูปลอดภัยกว่าเรือขนาดเล็ก เช่น เรือหางยาวหรือเร็ว ซึ่งจะมีแรงกระแทกมากกว่า

นั่งเรือ
- หากคุณแม่เป็นคนที่เมาเรืออยู่แล้ว ให้หลีกเลี่ยงการเดินทางด้วยเรือ
- การนั่งเรือมีความเสี่ยงมาก ควรเลี่ยงจะดีกว่า
- หากอยู่ในช่วงไตรมาส 3 คุณแม่ไม่ควรเดินทางโดยเรือ
- ระมัดระวังการหกล้ม โดยเฉพาะตอนก้าวขึ้นลงจากเรือ
- เมื่อขึ้นเรือควรนั่งกลางเรือ เพราะจะมีแรงกระแทกน้อยที่สุด
การเดินทางด้วยเครื่องบิน
คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางโดยเครื่องบิน เมื่อถึงเดือนสุดท้ายหรือช่วงใกล้คลอด เพราะอาจจะไม่ปลอดภัยหากเกิดอาการเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด และสายการบินส่วนใหญ่ไม่อนุญาตให้คนท้องมากกว่า 7 เดือน ขึ้นไปโดยสารบนเครื่องบิน ยกเว้นมีเหตุจำเป็นและมีใบรับรองแพทย์มาแล้ว

นั่งเครื่อง
- ห้ามนั่งเครื่องบินโดยเด็ดขาดโดยเฉพาะเครื่องบินโดยสารขนาดเล็กที่ไม่มีการปรับความดันภายในห้องโดยสาร
- ควรตรวจสอบกฎระเบียนของสายการบินแต่ละแห่งล่วงหน้า ว่ามีข้อห้ามหรือข้อจำกัดอะไรบ้าง
- คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ 27-28 สัปดาห์ ทางสายการบินก็อนุญาตให้เดินทางได้แต่ต้องมีใบรับรองแพทย์
- ถ้าเป็นไปได้คุณแม่ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าประกันสุขภาพหรือประกันภัยการเดินทางของคุณแม่ครอบคลุมถึงปัญหาการตั้งครรภ์ที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางในขณะเดินทางไปต่างประเทศหรือไม่
- ไม่มีข้อมูลที่ยืนยันว่าการขึ้นเครื่องบินจะเป็นอันตรายต่อคุณแม่และทารกในครรภ์ เช่น อัตราการแท้ง ความผิดปกติของทารกในครรภ์ หรือการคลอดก่อนกำหนด ฯลฯ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการตั้งครรภ์ของคุณแม่ด้วยว่ามีภาวะเสี่ยงต่าง ๆ หรือไม่ เช่น ภาวะรกเกาะต่ำ ปากมดลูกหย่อน
- แม้ว่าเครื่องบินจะเป็นพาหนะที่มีแรงกระแทกค่อนข้างน้อยก็ตาม แต่ทุกครั้งที่ขึ้นบินคุณแม่ก็ควรบอกทางสายการบินด้วยว่ากำลังตั้งครรภ์
- คุณแม่ควรมีคนเดินทางไปเป็นเพื่อนด้วยทุกครั้ง เพื่อช่วยเหลือในยามเกิดเหตุฉุกเฉิน
- หากคุณแม่จำเป็นต้องใช้ยาในระหว่างเดินทาง ควรตรวจสอบก่อนเดินทาง และ ตรวจสอบว่าเพียงพอสำหรับการเดินทางครั้งนี้
- ที่นั่งที่คุณแม่เลือกควรนั่งบริเวณทางเดินเพื่อให้สามารถลุกขึ้นยืนได้ และ เพื่อให้คุณแม่เหยียดขาได้สะดวกที่สุด
- ในการเดินทางไกลคุณแม่ควรเหยียดเส้นเท้าและปลายเท้าสลับกันเป็นพักๆ เพื่อให้ตลอดช่วงเวลาของการเดินทางเลือดไหลเวียนได้ดี
- ในกรณีที่ต้องเดินทางไกลมากๆ ใช้เวลาหลายชั่วโมง คุณแม่ควรสวมใส่ถุงเท้าชนิดที่ใช้เฉพาะระหว่างเที่ยวบิน เพื่อช่วยลดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำได้บ้างเล็กน้อย
- คุณแม่อาจเตรียมอาหารส่วนตัวไปด้วยเผื่อรับประทานอาหารบนเครื่องบินไม่ได้ ที่สำคัญควรรับประทานแต่อาหารที่ย่อยได้ง่ายแต่พออิ่มท้อง
- ดื่มน้ำสะอาดให้มากๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ เพราะอากาศบนเครื่องบิน มีความชื้นน้อย
- ในกรณีเดินทางข้ามทวีป คุณแม่ควรพักผ่อนหลังจากเดินทางสัก 2-3 วัน
คุณแม่เตรียมตัวก่อนเดินทาง

เดินทาง
ในช่วงไตรมาสแรกคุณแม่ควรเลี่ยงการเดินทางเป็นพิเศษเนื่องจากจะทำให้เสี่ยงต่อการแท้งลูกได้ ในช่วงไตรมาสที่ 2 เป็นระยะที่ปลอดภัย และไตรมาส 3 หากจำเป็นต้องเดินทางอาจจะต้องปรึกษาคุณหมอ เนื่องจากเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด
- ปรึกษาคุณหมอ เป็นวิธีที่คุณแม่หลายท่านนิยมมากที่สุด เพราะการปรึกษาคุณหมอก่อนการเดินทางจะยิ่งทำให้คุณแม่เกิดความสบายใจ
- สมุดจดบันทึก จดเกี่ยวสุขภาพการตั้งครรภ์ พร้อมทั้งมีเบอร์สูติแพทย์ และควรมี ชื่อที่อยู่ เพื่อกรณีฉุกเฉิน
- จัดทริปเที่ยวแบบสบายๆ ไม่ควรใช้เวลาเดินทางในการไปสถานที่ท่องเที่ยวนานเกินไปเพราะจะทำให้คุณแม่เหนื่อยล้า
- จัดเตรียมของให้พร้อม เตรียมของใช้ส่วนตัวให้พร้อมสำหรับการเดินทาง
ข้อคำนึงถึงความปลอดภัย
คุณแม่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอันดับแรก และจะต้องระมัดระวังอีกหลายเท่าเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายแก่ลูก เพราะด้วยสภาพแวดล้อมหรือสถานที่ต่างๆ ก็อาจจะก่อให้เกิดอันตรายด้วยได้เช่นกัน
- ภัยรอบตัว คุณแม่ออกจากงานประจำมาอยู่บ้านก็อาจจะเกิดอุบัติเหตุได้เช่นกัน และแม้แต่การดื่ม ชา กาแฟ ก็ไม่เหมาะสม
- สารเคมี ไม่ว่าจะเป็นน้ำยาถูบ้าน น้ำยาขัดห้องน้ำ คุณแม่ก็ควรหลีกเลี่ยง ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ เพื่อสารเคมีจะไปทำลายการเติบโตของลูกน้อยได้
- โรงงานอุตสาหกรรม หากมีบ้านอยู่ใกล้โรงงานอุตสาหกรรม ควรหลีกเลี่ยงบริเวณที่ไม่มีอากาศถ่ายเท
- ขี้แมว บ้านไหนที่มีการเลี้ยงแมว ขี้แมวก็สามารถทำให้เกิดการผิดปดติได้ ควรอยู่ให้ห่างจะดีกว่านะคะ
- ความร้อนก็สามารถส่งผลอันตรายได้เช่นกัน โดยเฉพาะช่วง 3 เดือนแรก
- ที่อันตราย ไม่ว่าจะเป็นมุมสูบบุหรี่ บริเวณสวนสัตว์ สถานที่เหล่านี้ก็ไม่ปลอดภัยเช่นกัน
- คุณแม่ควรเลี่ยงการดมยาสลบในการรักษา
หากคุณแม่ไม่มีเรื่องจำเป็นต่อการเดินทาง ก็ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางไปก่อน เพราะการเดินทางอาจจะทำให้เกิดปัญหาต่างๆที่ส่งผลกระทบต่อเด็กในครรภ์ อาการเครียดส่งผลแก่ลูกน้อยในท้อง เนื่องจากคุณแม่นอนหลับไม่เพียงพอ จะทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย เนื่องจากคุณแม่มีภูมิคุ้มกันที่ต่ำลง หากคุณแม่มีความเครียดสูงก็จะส่งผลให้คลอดลูกก่อนกำหนดและเด็กที่เกิดมาอาจจะมีความบกพร่อง
theAsianparent Thailand เว็บไซต์และคอมมูนิตี้อันดับหนึ่งที่คุณแม่เลือก นอกจากสาระความรู้ที่เรามอบให้คุณแม่ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ การวางแผนมีลูกแล้ว เรายังมีแอพพลิเคชั่นรวมถึงสื่อมัลติมีเดียหลากหลายที่ช่วยตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณแม่ยุคใหม่ ที่ต้องทำงานและดูแลลูกไปพร้อมกัน ให้มีความมั่นใจและพร้อมในการดูแลลูกทุกช่วงเวลา ตั้งแต่การให้นมบุตร การดูแลตนเองหลังคลอด ท่าออกกำลังกายหลังคลอดเพื่อให้หุ่นของแม่หลังคลอดกลับมาฟิตแอนเฟิร์มอีกครั้ง theAsianparent Thailand ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนคุณพ่อคุณแม่ในเรื่องการดูแลลูก ความรู้แม่และเด็กที่เต็มเปี่ยม และตอบทุกข้อสงสัยในแอพพลิเคชั่นที่เป็นสื่อกลาง และกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวไทย
ที่มา : https://www.rakluke.com/family-lifestyle-all/news-update/item/2020-03-21-13-18-44.html
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
คนท้องเดินทางไกลได้ไหม ต้องทำอย่างไร คนท้องกี่เดือนห้ามเดินทางไกล
ท้องแต่ไม่มีคนลุกให้นั่งทำยังไง แม่ท้องเดินทางยังไง ให้ปลอดภัยทั้งแม่ทั้งลูก