X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ระวัง! ของเล่นมีเสียงอาจขัดขวางพัฒนาการด้านภาษาของลูก

บทความ 3 นาที
ระวัง! ของเล่นมีเสียงอาจขัดขวางพัฒนาการด้านภาษาของลูก

ไม่น่าเชื่อค่ะ พวกของเล่นที่มีไฟกะพริบ ส่งเสียงปิ๊บ ๆ ติ๊ด ๆ หรือเสียงพูด อาจชะลอพัฒนาการด้านภาษาของลูกน้อยวัยเตาะแตะได้

พ่อแม่หลายคนอาจเข้าใจว่าของเล่นที่ส่งเสียงพูดได้จะช่วยกระตุ้นให้ลูกพูดเก่งขึ้น ทว่า ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนอร์เธิร์น แอริโซนา ของสหรัฐอเมริกากลับพบความจริงที่ตรงข้าม คือ เวลาของเล่นพูด เด็กน้อยจะไม่ค่อยสนใจพูดเท่าไร

“ผลการวิจัยของเราไม่สนับสนุนให้ซื้อของเล่นใส่ถ่านราคาแพงที่คนขายมักโฆษณาว่าส่งเสริมการเรียนรู้” รายงานฉบับนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสมาคมแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา ด้านกุมารเวชศาสตร์ ฉบับออนไลน์ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2015

ทีมนักวิจัยทดลองให้ครอบครัวที่มีลูกวัย 10-16 เดือนเล่นของเล่น 3 ประเภท แล้วนักวิจัยคอยเฝ้าดูปฏิสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูกขณะเล่นของเล่น

ผลปรากฏว่า

  • หนังสือเด็กเล็กที่สอนเรื่องสัตว์ รูปทรง สีต่าง ๆ ช่วยส่งเสริมให้พ่อแม่ลูกคุยกันมากที่สุด
  • ของเล่น พวกบล็อกไม้ตัวต่อ บล็อกไม้รูปทรง บล็อกยางรูปภาพ ก็กระตุ้นบทสนทนาระหว่างเล่นได้ดีพอ ๆ กับหนังสือ
  • ของเล่นทันสมัย มีไฟกะพริบ ส่งเสียงหรือร้องเพลงได้ ทำให้พ่อแม่ไม่ค่อยพูด ไม่ค่อยสนใจลูก ตัวลูกเองก็พูดน้อยลง โดยกระทบทั้งคุณภาพและปริมาณการพูด

สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ คุณหมอด้านกุมารเวชศาสตร์ลงความเห็นว่า “ไฟกะพริบและเสียงร้องของของเล่นจะดึงดูดความสนใจจากเด็กได้มาก โดยกระตุ้นปฏิกิริยาตอบสนองด้านตำแหน่งทิศทางมากกว่า”

“การผลัดกันโต้ตอบสนทนาระหว่างเล่นมีบทบาทสำคัญยิ่งกว่าแค่สอนภาษา” คุณหมออธิบายต่อ “เพราะจะช่วยปูพื้นฐานทักษะเรียนรู้หนังสือ สอนทักษะสังคมที่สำคัญ เช่น การต่อจังหวะสนทนา และการรับฟังผู้อื่น”

“ของเล่นที่มีเสียงดังอาจล่อตาล่อใจเด็ก ๆ ได้ดี แต่จริง ๆ แล้ว มันอาจตัดเด็กออกจากโลกภายนอก และไม่ช่วยเรื่องการเรียนรู้ของเด็ก” คุณหมอสรุปทิ้งท้าย

อย่างไรก็ดี งานวิจัยชิ้นนี้ยังมีข้อจำกัดหลายอย่าง เช่น ใช้กลุ่มตัวอย่างแค่ 26 ครอบครัว และผู้เข้าร่วมทดลองมีพื้นฐานครอบครัวคล้ายคลึงกัน ในอนาคตยังต้องศึกษาเพิ่มเติมต่อไปเพื่อยืนยันข้อสรุปนี้อีกที

สุดท้ายนี้ สิ่งสำคัญที่ทีมนักวิจัยอยากบอกทุกคน คือ พ่อแม่สมัยใหม่ต่างก็มีภาระมากมายจนมีเวลาเล่นกับลูกน้อยอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น อย่าลืมใช้เวลาอยู่กับลูกอย่างมีคุณภาพมากที่สุดนะคะ

ที่มา : webmd.com

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง :

ความปลอดภัยกับของเล่นเด็ก ที่พ่อแม่ควรรู้

เคล็ดลับฝึกลูกให้รู้จักเก็บของเล่น

 

บทความจากพันธมิตร
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

ขวัญชนก ธนาภิกรกุล

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ระวัง! ของเล่นมีเสียงอาจขัดขวางพัฒนาการด้านภาษาของลูก
แชร์ :
  • 10 เทคนิคเสริมพัฒนาการภาษาวัยหัดพูด

    10 เทคนิคเสริมพัฒนาการภาษาวัยหัดพูด

  • 7 ปัจจัยที่สำคัญต่อพัฒนาการด้านภาษาของทารก

    7 ปัจจัยที่สำคัญต่อพัฒนาการด้านภาษาของทารก

  • 10 เทคนิคเสริมพัฒนาการภาษาวัยหัดพูด

    10 เทคนิคเสริมพัฒนาการภาษาวัยหัดพูด

  • 7 ปัจจัยที่สำคัญต่อพัฒนาการด้านภาษาของทารก

    7 ปัจจัยที่สำคัญต่อพัฒนาการด้านภาษาของทารก

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ