X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ล้วงลึก การเปลี่ยนแปลงของแม่และลูกในแต่ละไตรมาส ไตรมาสที่ 1

บทความ 5 นาที
ล้วงลึก การเปลี่ยนแปลงของแม่และลูกในแต่ละไตรมาส  ไตรมาสที่ 1

มาดูกันว่า การเปลี่ยนแปลงของแม่และลูกในไตรมาสแรก เดือนที่ 1 - 3 เป็นอย่างไรบ้าง ทั้งด้านร่างกาย และอารมณ์ของคุณแม่ และพัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์

คุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาสแรกตั้งแต่เดือนที่ 1 – 3 ร่างกายของคุณแม่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกาย และอารมณ์ รวมถึงพัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์จะมีการเจริญเติบโตตามแต่ละช่วงเดือนด้วย มาดูกันว่า การเปลี่ยนแปลงของแม่และลูกในไตรมาสแรก เป็นอย่างไรบ้าง

การเปลี่ยนแปลงของแม่และลูกในไตรมาสแรก

การเปลี่ยนแปลงของแม่และลูกในไตรมาสแรก

แม่ท้องไตรมาสแรก  : ตั้งครรภ์เดือนที่ 1

การเปลี่ยนแปลงของแม่ท้อง

เต้านมจะขยายใหญ่ และแข็งมาก แม่ท้องจะรู้สึกคัด และเจ็บเวลาสัมผัส อารมณ์ของคุณแม่จะเริ่มเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอาการหงุดหงิดง่าย จนบางครั้ง ดูเหมือนจะไร้เหตุผลในเดือนแรกของการตั้งครรภ์ยังอยู่ในช่วงของความเสี่ยงที่จะแท้งได้ ดังนั้นพฤติกรรมบางอย่างก็ควรลด ละ เลิกเพราะจะมีผลเสียต่อทารก เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มกาแฟ สุรา และยาอันตราย เป็นต้น ที่สำคัญควรรีบไปฝากครรภ์แต่เนิ่น ๆ เพื่อให้คุณหมอช่วยดูแลสุขภาพ และพัฒนาการของครรภ์ได้อย่างใกล้ชิด

 

การเปลี่ยนแปลงของทารกในครรภ์

ทารกน้อยยังมีขนาดเล็กมาก เท่ากับเมล็ดข้าวอยู่ในถุงน้ำคร่ำเล็ก ๆ ที่มีรกเกาะอยู่ที่ผนังมดลูก บริเวณลำตัวของทารก เริ่มมีตุ่มเล็ก ๆ ยื่นออกมา ตุ่มเล็ก ๆ เหล่านั้น คือ สิ่งที่เตรียมพัฒนาเป็นแขน ขา ระบบประสาทเริ่มก่อกำเนิดขึ้น และระบบไหลเวียนโลหิต ก็กำลังสร้างเครือข่ายไปทั่วร่างกายของทารกน้อยในครรภ์

ในช่วงเดือนแรกนี้ ถือว่าสำคัญมากนะคะ เพราะร่างกายกำลังสร้างอวัยวะสำคัญต่าง ๆ เช่น หัวใจระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร ตา หู แขน ขา เป็นต้น จึงเป็นระยะที่ต้องดูแลป้องกันการติดเชื้อ และระวังการรับประทานยาที่อาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ เสี่ยงพิการ หรือแท้งได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : น้ำคร่ำน้อยอันตรายไหม ลูกในท้องจะเป็นอย่างไร มีวิธีป้องกันหรือเปล่า

 

การเปลี่ยนแปลงของแม่และลูกในไตรมาสแรก

ในเดือนที่ 2 นี้ เต้านมจะขยายขนาดใหญ่ขึ้น

แม่ท้องไตรมาสแรก : ตั้งครรภ์เดือนที่ 2

การเปลี่ยนแปลงของแม่ท้อง

ในเดือนที่ 2 นี้ เต้านมจะขยายขนาดใหญ่ขึ้น เพราะการขยายตัวของขนาดของเซลล์ในต่อมน้ำนม ขนาดเต้านมที่ขยายใหญ่ ทำให้มีปริมาณเลือดมาหล่อเลี้ยงเพิ่มขึ้น หัวนมมีขนาดใหญ่ขึ้น สีเข้มขึ้น หัวนมจะตั้งชู ต่อมไขมันที่ลานหัวนมมีขนาดใหญ่ขึ้น บริเวณรูเปิดจะมีลักษณะเป็นตุ่ม มองเห็นได้ชัดเจน ลานนมขยายวงกว้าง และมีสีเข้มขึ้น

ระดับของฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง จะทำให้การย่อยอาหารช้าลง คุณแม่จะเริ่มมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก และรู้สึกหน้ามืด คล้ายจะเป็นลมบ่อย ๆ อาการแพ้ท้องในเดือนที่ 2 นี้ ยังมีอยู่  ขนาดของครรภ์เริ่มนูนใหญ่ขึ้น เพราะมีเลือดมาเลี้ยงมากขึ้น อวัยวะเพศขยายขนาด เพราะมีไขมันมากขึ้น รังไข่จะสร้างฮอร์โมนหลายชนิด เพื่อช่วยให้ร่างกายปรับสภาพ ให้เหมาะสมกับทารกในครรภ์ ในช่วงนี้ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน หรือฮอร์โมนเพศหญิงจะเพิ่มระดับสูง ส่งผลให้คุณแม่มีอาการแพ้ท้องค่อนข้างมาก

 

การเปลี่ยนแปลงของทารกในครรภ์

ในเดือนที่ 2 นี้ ทารกน้อยมีลำตัวยาวประมาณ 1 นิ้วแล้ว และมีการพัฒนาเจริญเติบโตของระบบประสาท และหลอดเลือดด้วย มีหัวใจที่เต้น และทำงานอย่างแข็งขัน เพื่อบีบเลือดไปเลี้ยงร่างกาย เดือนนี้ลูกน้อยจะมีรูปร่างเหมือนมนุษย์ตัวจิ๋ว มีแขน ขา ใบหน้า รูปร่าง ซึ่งคุณแม่ต้องระมัดระวังในเรื่องการใช้ยาเป็นอย่างมาก เพราะอาจได้รับยาที่เป็นอันตราย หรือสารพิษที่จะทำให้ทารกเสี่ยงพิการได้

การเปลี่ยนแปลงของแม่และลูกในไตรมาสแรก

พฤติกรรมบางอย่างก็ควรลด ละ เลิกเพราะจะมีผลเสียต่อทารก

แม่ท้องไตรมาสแรก : ตั้งครรภ์เดือนที่ 3

การเปลี่ยนแปลงของแม่ท้อง

เข้าเดือนที่ 3 เดือนสุดท้ายของไตรมาสแรกกันแล้ว คุณแม่จะเริ่มมีอาการบวมตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า รวมถึงมีเส้นปูดขึ้นมาให้เห็น เมื่ออายุครรภ์ครบ 3 เดือน ก็อาจจะเป็นเส้นเลือดขอดได้ง่ายมาก คุณแม่จะคลำพบก้อนที่บริเวณเหนือหัวหน่าว แต่สำหรับคุณแม่ที่รูปร่างค่อนข้างผอม ก็อาจจะคลำพบก้อน ก่อนจะถึงเดือนที่ 3 นี้ ก็ได้ ในส่วนของต่อมน้ำนม ก็จะถูกสร้างประมาณเดือนนี้แล้ว

ส่วนอาการแพ้ท้องก็จะยังมีอยู่ อาจจะน้อยลง รู้สึกดีขึ้น จนเกือบไม่มีอาการ อารมณ์จะค่อย ๆ คงที่มากขึ้น เพราะไม่หงุดหงิดใจกับอาการแพ้ท้องเท่าไหร่นัก

 

การเปลี่ยนแปลงของทารกในครรภ์

ในเดือนที่ 3 เมื่อใช้เครื่องมือตรวจการทำงานของหัวใจ คุณพ่อคุณแม่จะได้ยินเสียงหัวใจของเจ้าหนู ในช่วงอายุครรภ์ 3 เดือนนี้ลูกน้อยจะมีขนาดลำตัวยาวประมาณ 3 นิ้ว อวัยวะต่าง ๆ เกิดขึ้นจนครบ และกำลังพัฒนามากขึ้นเรื่อย ๆ อวัยวะต่าง ๆ เริ่มทำงานได้แล้ว สำหรับการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ยังไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นเพศหญิงหรือชาย

คุณแม่คงพอจะเดาได้บ้างแล้วว่า อาการของคนท้องส่วนใหญ่แล้วเป็นอย่างไร เหนื่อยง่าย วิงเวียน หน้ามืดอยู่บ่อยครั้ง แน่นอนว่า อาการเหล่านี้ เป็นอาการพื้นฐานที่คนท้องจะต้องเจอ หากแต่แม่ท้องแต่ละคน ก็จะมีประสบการณ์ที่แตกต่างกันออกไป มาดูกันว่า มีอาการอะไรบ้าง ที่อาจเกิดขึ้น ในระหว่างการตั้งครรภ์ไตรมาสแรก เหมือนกันที่คุณแม่กำลังเผชิญอยู่หรือเปล่า และจะรับมือได้อย่างไร

บทความที่เกี่ยวข้อง : ยาที่คนท้องห้ามใช้ ยาที่ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ ข้อควรระวังการใช้ยาของคนท้อง ยาที่ควรหลีกเลี่ยง

 

การเปลี่ยนแปลงของแม่และลูกในแต่ละไตรมาส1

อาการแพ้ท้องก็จะยังมีอยู่จนถึงเดือนที่ 3 แต่อาจจะน้อยลง รู้สึกดีขึ้น

รับมือกับการเปลี่ยนแปลงของขนาดหน้าอก

หน้าอกหน้าใจของคุณแม่ใหญ่ขึ้นแน่นอน หลังจากการตั้งครรภ์ เช่นเดียวกับลานนม และเนื้อเยื่อไขมันก็จะขยายขนาดจนเห็นได้ชัด บางครั้งก็จะมีของเหลวขุ่น ๆ ไหลออกมาด้วย ทำให้คุณแม่รู้สึกไม่สบายตัว และไม่สบายใจ

  • สวมเสื้อชั้นในที่ซัพพอร์ตหน้าอก
  • เลือกใส่เสื้อชั้นในที่ทำจากผ้าฝ้าย หรือเส้นใยธรรมชาติ
  • ใส่เสื้อชั้นในที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อรองรับกับขนาดหน้าอกที่เริ่มขยาย โดยหัวนมไม่ควรจะเบียดเสียดกับบรา อาจจะเลือกใช้บราสำหรับแม่ ซึ่งสามารถที่จะใช้ต่อเนื่องไปได้จนถึงระยะการให้นมลูกหลังคลอด
  • ใส่เสื้อชั้นในตอนกลางคืนด้วย
  • วางผ้าเช็ดหน้า ผ้าก๊อซ หรือ แผ่นซับน้ำนมไว้ใต้เสื้อชั้นใน เพื่อซึมซับของเหลวที่ไหลจากเต้านมคุณแม่ หมั่นเปลี่ยนบ่อย ๆ เพื่อไม่ให้เกิดความระคายเคือง
  • ทำความสะอาดเต้านมด้วยน้ำอุ่น และสบู่อ่อน ๆ

 

รับมือกับความอ่อนล้า อ่อนเพลีย

การตั้งครรภ์ทำให้คุณแม่ใช้พลังงานเยอะขึ้นมากจริง ๆ คุณแม่จะมีอาการเหนื่อยอ่อน เพลียสะสม ซึ่งอาจจะเป็นหนึ่งในสัญญาณของการขาดธาตุเหล็กในเลือดก็เป็นได้

บทความจากพันธมิตร
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เข้านอนเร็วกว่าเดิม งีบระหว่างวันบ้าง
  • พยายามดำเนินกิจวัตรประจำวันให้เป็นปกติ
  • จัดตารางเวลาสำหรับการทำกิจกรรมต่าง ๆ และการพักผ่อนให้สมดุลกัน
  • ออกกำลังกายเบา ๆ เป็นประจำ
  • ปรึกษาคุณหมอ หากสงสัยว่าจะมีอาการขาดธาตุเหล็ก

 

รับมือกับอาการวิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน

อาการที่เป็นปกติมาก ๆ สำหรับแม่ท้อง ก็คืออาการคลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียน บางรายอาจจะมีอาการท้องเสียด้วย อาการเหล่านี้เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนทั้งสิ้น และมักจะหนักหน่วงในตอนเช้า รวมถึงเวลาที่ท้องว่าง แต่ข่าวดีก็คือ ความวิงเวียนศีรษะมักจะดีขึ้นในช่วงเดือนที่ 4 ของการตั้งครรภ์

  • หากแม่ท้องรู้สึกคลื่นไส้ในตอนเช้า รับประทานอาหารแห้ง ๆในมื้อเช้า เช่น ซีเรียล ขนมปังปิ้ง หรือแครกเกอร์ พยายามรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูงก่อนนอน เช่น เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ชีส เป็นต้น
  • หากรู้สึกหิวมาก ๆ แต่รับประทานไม่ลง ให้ลองทานกล้วยหอม ข้าว และชาร้อน ๆ สักถ้วย จะทำให้รู้สึกดีขึ้น
  • อย่าปล่อยให้ท้องว่าง รับประมาณมื้อเล็ก ๆ วันละหลาย ๆ มื้อ แทนการรับประทานมื้อใหญ่มื้อเดียว เคี้ยวช้า และละเอียด จะช่วยในเรื่องของการย่อยอาหารให้ดีขึ้น
  • หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด หรืออาหารที่มีไขมันสูง
  • จิบน้ำบ่อย ๆ
  • หากมีอาการวิงเวียนมาก ควรปรึกษาแพทย์

สำหรับการเปลี่ยนแปลงของแม่ลูกในไตรมาสที่ 2 อย่าพลาดการติดตาม เร็ว ๆ นี้

บทความที่เกี่ยวข้อง : 

คนท้องไตรมาสแรกควรกินอะไร ท้องไตรมาสแรก กินอะไรดี แพ้ท้องหนักมาก กินอะไรไม่ได้เลย กลัวลูกในท้องไม่ได้รับสารอาหาร

แหล่งที่มา : (1)

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

มิ่งขวัญ เหล่าบุศณ์อนันต์

  • หน้าแรก
  • /
  • ไตรมาส 1
  • /
  • ล้วงลึก การเปลี่ยนแปลงของแม่และลูกในแต่ละไตรมาส ไตรมาสที่ 1
แชร์ :
  • ล้วงลึก การเปลี่ยนแปลงของแม่และลูกในแต่ละไตรมาส  ไตรมาสที่ 2

    ล้วงลึก การเปลี่ยนแปลงของแม่และลูกในแต่ละไตรมาส ไตรมาสที่ 2

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

  • ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

    ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

  • ล้วงลึก การเปลี่ยนแปลงของแม่และลูกในแต่ละไตรมาส  ไตรมาสที่ 2

    ล้วงลึก การเปลี่ยนแปลงของแม่และลูกในแต่ละไตรมาส ไตรมาสที่ 2

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

  • ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

    ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

มาดูกันว่า การเปลี่ยนแปลงของแม่และลูกในไตรมาสแรก เดือนที่ 1 - 3 เป็นอย่างไรบ้าง ทั้งด้านร่างกาย และอารมณ์ของคุณแม่ และพัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์
theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ