X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

การเจาะน้ำคร่ำ ทำเพื่ออะไร อันตรายไหม จะเจาะโดนลูกหรือเปล่า?

บทความ 3 นาที
การเจาะน้ำคร่ำ ทำเพื่ออะไร อันตรายไหม จะเจาะโดนลูกหรือเปล่า?

แน่นอนว่าคงไม่มีใครอยากให้ลูกเกิดมาพิการ หรือมีปัญหาสุขภาพ และด้วยความที่เทคโนโลยีทางการแพทย์ก้าวหน้าขึ้นมากในปัจจุบัน จึงทำให้เราสามารถตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของทารกในครรภ์ได้ดีขึ้นกว่าเดิม ซึ่งหนึ่งในวิธีการที่คุณหมอนิยมใช้กันก็คือ การเจาะน้ำคร่ำนั่นเอง

การเจาะน้ำคร่ำ

การเจาะน้ำคร่ำ ทำเพื่ออะไร

การเจาะน้ำคร่ำ เป็นขั้นตอนของการเก็บตัวอย่างน้ำคร่ำ จากถุงน้ำคร่ำของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ ส่วนสาเหตุที่ต้องเจาะน้ำคร่ำนั้น ก็เพื่อนำมาตรวจหาความความผิดปกติของทารกในครรภ์ เช่นภาวะดาวน์ซินโดรม หรือความผิดปกติทางโครโมโซม รวมถึงการติดเชื้อบางอย่างของทารกในครรภ์ ซึ่งการเจาะน้ำคร่ำนั้น เป็นการตรวจที่มีความแม่นยำสูงและครอบคลุมมากกว่าการเจาะเลือดครับ

ใครบ้างที่ต้องเจาะน้ำคร่ำ

จริง ๆ แล้ว คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ไม่จำเป็นต้องเจาะน้ำคร่ำกันทุกคนนะครับ ซึ่งข้อบ่งชี้ทั่วไปของการเจาะน้ำคร่ำนั้นก็ได้แก่

  • คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป
  • เมื่อทำอัลตราซาวนด์แล้วพบความผิดปกติของทารก
  • ผลตรวจคัดกรองจากเลือดพบว่าทารกมีความเสี่ยงสูงที่จะมีความผิดปกติของโครโมโซม หรือครรภ์ก่อนหน้ามีความผิดปกติของโครโมโซม
  • มีประวัติคนในครอบครัวมีความพิการแต่กำเนิด
  • คู่สามีภรรยาเป็นคู่เสี่ยงที่ทารกในครรภ์จะเป็นโรคธาลัสซีเมีย

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่จะทำการเจาะน้ำคร่ำได้นั้น ก็ควรมีอายุครรภ์อยู่ที่16-18 สัปดาห์ เพราะถ้าทำการเจาะน้ำคร่ำก่อนหน้านั้น จะทำให้เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนมากขึ้น เช่น น้ำเดิน เลือดออก ติดเชื้อ ไปจนถึงการแท้งบุตรได้ หรือเซลล์อาจไม่พอตรวจได้ครับ

การเจาะน้ำคร่ำ

การเจาะน้ำคร่ำ มีขั้นตอนอย่างไร

ก่อนอื่นเลยคุณหมอและพยาบาลจะให้คำปรึกษาและแนะนำขั้นตอนการตรวจด้วยการเจาะน้ำคร่ำให้เข้าใจก่อน จึงจะเข้าสู่ขั้นตอนการตรวจครับ ซึ่งขั้นตอนการตรวจก็จะมีดังนี้

  1. หลังจากที่แม่ท้องปัสสาวะเรียบร้อยแล้ว คุณหมอจะให้นอนราบบนเตียงตรวจ เช่นเดียวกับการตรวจอัลตราซาวนด์ปกตินั่นแหละครับ และคุณแม่ไม่จำเป็นต้องงดอาหารหรือน้ำก่อนเข้ารับการตรวจนะครับ
  2. คุณหมอจะเริ่มจากการอัลตร้าซาวนด์ ตรวจดูท่าของเด็ก ตำแหน่งที่รกเกาะ เพื่อหลีกเลี่ยงการเจาะผ่านรก หรือการเจาะที่จะส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์
  3. จากนั้นจะมีการทำความสะอาดหน้าท้อง ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
  4. ต่อมาคุณหมอจะใช้เข็มขนาดเล็กเจาะผ่านหน้าท้องและผนังมดลูก เข้าสู่ถุงน้ำคร่ำ (น้ำที่อยู่รอบ ๆ ตัวทารก) และดูดน้ำคร่ำออกมาประมาณ 20 มิลลิลิตร (ประมาณ 2-4 ช้อนชา) เพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการต่อไป
  5. ในขณะที่ทำการเจาะน้ำคร่ำนั้น จะมีการใช้เครื่องตรวจอัลตราซาวนด์ช่วยติดตามทิศทางของเข็ม เพื่อช่วยไม่ให้เข็มไปโดนรก หรือถูกตัวทารกในครรภ์
  6. เมื่อดูดน้ำคร่ำเสร็จแล้วคุณหมอก็จะถอนเข็มออก และทำการปิดแผลก็เป็นอันเสร็จครับ

ขั้นตอนการเจาะน้ำคร่ำนั้น จะใช้เวลาแค่ประมาณ 5-10 นาทีเท่านั้นเองครับ หลังจากเจาะน้ำคร่ำเสร็จก็นั่ง หรือนอนพักหลังการตรวจประมาณ 30 นาที ก็กลับบ้านได้แล้วครับ โดยเมื่อกลับบ้านไปแล้วก็สามารถอาบน้ำ หรือทำความสะอาดท้องได้ตามปกติครับ

เจาะน้ำคร่ำ อันตรายไหม จะเจาะโดนลูกหรือเปล่า

โดยทั่วไปการเจาะน้ำคร่ำเป็นวิธีการตรวจที่ปลอดภัย โดยขณะที่เจาะก็จะทำไปพร้อม ๆ กับการอัลตร้าซาวนด์ตลอดเวลาเพื่อดูตำแหน่งของเข็มที่เจาะเข้าไป ซึ่งจะช่วยลดอันตรายที่เข็มจะถูกตัวทารกได้ แต่อย่างไรก็ตาม การเจาะน้ำคร่ำก็อาจจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้เช่นกัน ซึ่งสิ่งที่คุณแม่ควรสังเกต และต้องรีบมาพบคุณหมอ เมื่อมีอาการดังต่อไปนี้

  • ปวดเกร็งท้องมาก ไม่หายหลังจากนอนพัก
  • มีไข้ภายใน 2 สัปดาห์หลังการเจาะน้ำคร่ำ
  • มีน้ำ หรือเลือดออกจากช่องคลอด

และหลังจากเจาะน้ำคร่ำแล้ว คุณแม่ท้องควรนอนพักผ่อนมาก ๆ ประมาณ 1-2 วัน และในช่วงนี้ควรงดการออกแรงมาก อย่างเช่น ยกของหนัก หรือออกกำลังกาย งดการมีเพศสัมพันธ์ไปประมาณ 4-5 วัน และไม่ควรออกเดินทางไกลภายใน 7 วันหลังการเจาะน้ำคร่ำนะครับ


ที่มา samitivejhospitals, bnhhospital

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

บทความจากพันธมิตร
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom

แม่ท้องแยกออกมั๊ย ลูกดิ้นเพราะอะไรกันแน่? บิดขี้เกียจ! รำคาญ! หรือชอบใจ!

ท้องแบบไหน เสี่ยงตายทั้งคู่ เพราะมดลูกแตก

แชร์ประสบการณ์ ไม่ดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ ส่งผลสู่ลูกในท้องแบบคิดไม่ถึง

แชร์ประสบการณ์หรือ เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการเจาะน้ำคร่ำ ได้ที่นี่!

เจาะน้ำคร่ำ เพื่ออะไรคะ แล้วจะโดนลูกไหมคะ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • การเจาะน้ำคร่ำ ทำเพื่ออะไร อันตรายไหม จะเจาะโดนลูกหรือเปล่า?
แชร์ :
  • เจาะน้ำคร่ำ ตรวจอะไรบ้าง? บอกความเสี่ยงของโรคที่เกิดขึ้นกับทารกได้หรือ?

    เจาะน้ำคร่ำ ตรวจอะไรบ้าง? บอกความเสี่ยงของโรคที่เกิดขึ้นกับทารกได้หรือ?

  • น้ำคร่ำน้อย ส่งผลร้ายต่อทารกในครรภ์

    น้ำคร่ำน้อย ส่งผลร้ายต่อทารกในครรภ์

  • เจาะน้ำคร่ำ ตรวจอะไรบ้าง? บอกความเสี่ยงของโรคที่เกิดขึ้นกับทารกได้หรือ?

    เจาะน้ำคร่ำ ตรวจอะไรบ้าง? บอกความเสี่ยงของโรคที่เกิดขึ้นกับทารกได้หรือ?

  • น้ำคร่ำน้อย ส่งผลร้ายต่อทารกในครรภ์

    น้ำคร่ำน้อย ส่งผลร้ายต่อทารกในครรภ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ