การอัลตราซาวด์ เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่คุณแม่ท้องทุกคนคุ้นเคย เพราะการอัลตราซาวด์เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ได้พบเจอและได้เห็นพัฒนาการลูกน้อยตั้งแต่อยู่ในครรภ์ นอกจากพัฒนาการของลูกแล้ว การอัลตราซาวด์สามารถตรวจความผิดปกติได้หรือไม่ วันนี้ theAsianparent Thailand มีคำตอบมาให้คุณพ่อคุณแม่กัน
การอัลตราซาวด์ คืออะไร
การตรวจอัลตราซาวด์ (Ultrasound) หรือ การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เป็นการตรวจที่ใช้คลื่นเสียงในการสร้างภาพลูกในท้องคุณแม่ โดยอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจจะปล่อยคลื่นเสียงผ่านร่างกายคุณแม่ คลื่นเสียงนี้จะสะท้อนกับกล้ามเนื้อ ไขมัน อวัยวะในช่องท้อง และร่างกายของทารก รก น้ำคร่ำที่อยู่ในมดลูกของคุณแม่ แล้วสะท้อนกลับมายังอุปกรณ์ตรวจรับเพื่อแปลงเป็นภาพทางหน้าจออีกครั้ง
การอัลตราซาวด์ ตรวจความผิดปกติได้หรือไม่
การอัลตราซาวด์
นพ.อดิศร อักษรภูษิตพงศ์ สูตินรีแพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์โรงพยาบาลพญาไท 3 ได้ให้ข้อมูลว่า แม้การตรวจอัลตราซาวด์จะไม่สามารถเห็นความผิดปกติหรือความพิการทุกอย่างได้ แต่ด้วยความสามารถและประสบการณ์ของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยส่วนใหญ่จะสามารถตรวจความผิดปกติได้มากถึง 80-90%
ข้อจำกัดที่ทำให้การตรวจอัลตราซาวด์ไม่สามารถพบความผิดปกติได้ ประกอบด้วย การระบุชนิดของอวัยวะที่เกิดความผิดปกติ เช่น มือ-เท้า, แขน-ขา, ทางเดินหายใจ จะตรวจพบได้ยากมาก, ท่าของทารกขณะการตรวจ (นอนคว่ำ, ปิดหน้า, หนีบขา), คุณแม่มีรูปร่างอ้วน หรือ ความผิดปกตินั้นเกิดขึ้นภายหลังหรือมีความชัดเจนมากขึ้นภายหลังจากการตรวจอัลตราซาวด์ที่ทำไปในช่วงแรก คุณแม่จึงควรรับตรวจอัลตราซาวด์อย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง (ทุก 3 เดือน)
ข้อมูลวัตถุประสงค์ในการอัลตราซาวด์
ช่วงอายุครรภ์ 6-8 สัปดาห์
- ตรวจยืนยันการตั้งครรภ์, จำนวนทารก และดูการเต้นหัวใจ
- ตรวจภาวะตั้งครรภ์ ว่ามีความเสี่ยงต่อภาวะท้องนอกมดลูก-ท้องลม หรือไม่
- ตรวจว่ามีเนื้องอกมดลูก หรือ ถุงน้ำรังไข่ ซึ่งอาจจะกระทบต่อการตั้งครรภ์ หรือไม่
10-14 สัปดาห์
- ตรวจหาความพิการแต่กำเนิดชนิดรุนแรงบางอย่าง
- วัดความหนาของผิวหนังบริเวณต้นคอ (nuchal translucency) เพื่อช่วยในการตรวจคัดกรองความเสี่ยงกลุ่มอาการดาวน์ (Down syndrome)
การอัลตราซาวด์
18-22 สัปดาห์
- ตรวจความผิดปกติหรือความพิการของทารกอย่างละเอียด (Anomaly Scan)
- ตรวจการเจริญเติบโต และน้ำหนักตัวของทารก
- ตรวจตำแหน่งรก สายสะดือ และปริมาณน้ำคร่ำ
28-36 สัปดาห์
- ตรวจความผิดปกติของทารกอีกครั้งก่อนคลอด
- ตรวจการเจริญเติบโต และน้ำหนักตัวของทารก
- ตรวจสุขภาพทารก, การหายใจ และการเคลื่อนไหว
- ตรวจสุขภาพรก, ปริมาณน้ำคร่ำ, ประเมินภาวะรกเสื่อม
- ตรวจความเร็วเลือดในสายสะดือและทารก (Dopplerstudy)
- ตรวจยืนยันท่าของทารกก่อนการคลอด
การ อัลตราซาวด์
คุณหมออดิศรยังกล่าวต่อว่า คุณแม่ควรได้รับการตรวจอัลตราซาวด์อย่างน้อย 1 ครั้ง ในช่วงอายุครรภ์ 18-22 สัปดาห์ โดยสูติแพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ (maternal-fetal medicine, MFM) เพื่อตรวจหาความพิการในทารก (anomaly scan) และติดตามพัฒนาการของทารก ปัจจุบันแนะนำว่าคุณแม่ควรได้รับการตรวจอัลตราซาวด์อย่างน้อย 1 ครั้งในทุกไตรมาส
สำหรับคุณแม่บางท่านที่มีภาวะแทรกซ้อนผิดปกติ เช่น ทารกน้ำหนักตัวน้อย, น้ำคร่ำน้อย, ครรภ์เป็นพิษ, เบาหวาน, ครรภ์แฝด เป็นต้น จะได้รับการตรวจอัลตราซาวด์ที่ถี่กว่าปกติและตรวจละเอียดมากขึ้น บางครั้งอาจต้องได้รับการตรวจทุกเดือน ทุกสัปดาห์ หรือทุกวัน
theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
Source : 1
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ทำความรู้จัก 5 โรคพบบ่อยในเด็กวัยเรียน พร้อมประเมินค่าใช้จ่ายในการรักษา และเทคนิครับมือฉบับคุณแม่มืออาชีพ
100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 78 บริหารลมหายใจ ด้วยหลัก จิตประภัสสร ตั้งแต่อยู่ในครรภ์
อยาก ทำประกันสุขภาพให้ลูก เลือกทำประกันสุขภาพเด็กแบบไหนดี ประกันแบบไหนคุ้มที่สุด
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!