แม่ผ่าคลอดต้องพร้อมเสมอ เตรียมให้ลูกตั้งแต่วันแรก ด้วยการสร้างสมองไว พร้อมส่งเสริมภูมิคุ้มกัน
รู้ไหมคะว่าคุณแม่ผ่าคลอดเริ่มเตรียมความพร้อมให้ลูกได้ตั้งแต่วันแรก โดยเฉพาะเรื่องของสมองและภูมิคุ้มกัน ที่เป็นสองเรื่องเร่งด่วนที่คุณแม่ต้องให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกๆ ซึ่งตัวช่วยที่ดีที่สุดของแม่ผ่าคลอดคือการให้ลูกกินนมแม่เร็วที่สุด เพราะนมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด มีสารอาหารสมองที่ช่วยให้สมองเรียนรู้ไว และมีสารอาหารรวมถึงจุลินทรีย์สุขภาพที่ช่วยส่งเสริมให้ภูมิคุ้มกันแข็งแรง ดังนั้นหากคุณแม่อยากให้ลูกมีความพร้อม และประสบความสำเร็จอย่างดีต่อไปในอนาคต มาเตรียมความพร้อมให้ลูกตอนนี้กันค่ะ
บทบาทของนมแม่ต่อการพัฒนาสมองของเด็กผ่าคลอด
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ที่อาจจำเป็นต้องเตรียมคลอดลูกด้วยวิธีการผ่าคลอด สิ่งสำคัญคือควรให้ลูกได้รับน้ำนมแม่ให้เร็วที่สุดตั้งแต่หลังคลอด คุณแม่อาจสงสัยว่าทำไมต้องให้ลูกกินนมแม่เร็วที่สุด เพราะเด็กที่คลอดธรรมชาติจะคลอดออกมาโดยผ่านช่องคลอดซึ่งจะได้รับจุลินทรีย์สุขภาพจากช่องคลอดของแม่ขณะคลอดออกมาสู่ร่างกายทันที ดังนั้นเด็กที่คลอดธรรมชาติจะได้ตัวช่วยที่ส่งเสริมให้มีภูมิคุ้มกันดีกว่า ส่วนเด็กผ่าคลอดจะเสียโอกาสได้รับตัวช่วยเสริมภูมิคุ้มกันดังกล่าว โดยจะไม่ได้รับจุลินทรีย์สุขภาพจากการผ่าคลอด นอกจากนี้ยังมีข้อมูลงานวิจัยพบว่าเด็กที่ผ่าคลอดมีการเชื่อมโยงการทำงานของเซลล์ประสาทในสมองช่วงเริ่มต้นน้อยกว่าเด็กที่คลอดธรรมชาติ1 ฉะนั้นในแม่ผ่าคลอดมีสองเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญมาก นั่นก็คือ “สมอง” และ “ภูมิคุ้มกัน” ของลูกค่ะ
เด็กผ่าคลอดที่ได้กินนมแม่จะได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสมองหลายชนิด หนึ่งในนั้นคือ สฟิงโกไมอีลิน ซึ่งเป็นสารอาหารที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างปลอกไมอีลินของใยประสาทในสมอง ไมอีลินจะทำหน้าที่ช่วยให้สมองสามารถส่งสัญญาณประสาทได้อย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดด ถ้าจะให้คุณแม่เห็นภาพ ก็เปรียบเสมือนกับการทำงานของสัญญาณอินเทอร์เน็ต 5G ซึ่งมีทั้งความเร็วและแรงค่ะ
ไมอีลินทำให้ภายในสมองเกิดการสื่อสารและการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างเซลล์ประสาทได้ดี จึงช่วยให้สมองประมวลผลได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ จดจำ คิดวิเคราะห์ และการพัฒนาสมองอย่างรวดเร็วเต็มศักยภาพ นอกจากนี้นักวิจัยยังพบว่า แขนงประสาทที่มีปลอกไมอีลินห่อหุ้มจะส่งสัญญาณประสาทได้เร็วกว่าแขนงประสาทที่ไม่มีปลอกไมอีลินกว่า 100 เท่า2,3
คุณแม่ผ่าคลอดพอจะได้คำตอบแล้วนะคะว่าเพราะอะไรทำไมต้องให้ลูกกินนมแม่เร็วที่สุด เด็กผ่าคลอดที่ได้กินนมแม่หลังคลอดเร็วก็จะได้รับสารอาหารสมองอย่างเช่นสฟิงโกไมอีลินเร็วค่ะ ยิ่งได้รับเร็วยิ่งดีเพราะจะช่วยให้กระบวนการพัฒนาสมองของลูกสร้างได้ไว
นอกจากสมองไวแล้ว เด็กผ่าคลอดจะมีภูมิคุ้มกันแข็งแรงได้จากการกินนมแม่เช่นกันเพราะนมแม่นั้นมีสารอาหารหลากหลายชนิด รวมถึงจุลินทรีย์สุขภาพหลายสายพันธุ์ โดยเฉพาะจุลินทรีย์ในกลุ่มบิฟิโดแบคทีเรียม เช่น บีแล็กทิส (Bifidobacterium lactis หรือ B. lactis) ที่มีงานวิจัยยืนยันว่าช่วยส่งเสริมภูมิคุ้มกันได้4 พูดเลยค่ะว่ามหัศจรรย์นมแม่ที่แท้ทรู
เพราะในขวบปีแรกเป็นเวลาทองของสมองลูก เป็นช่วงที่สมองพัฒนาได้เร็วสุด ดังนั้นเพื่อให้ลูกน้อยมีพัฒนาการที่ดีและมีความสามารถในการเรียนรู้ในอนาคต คุณแม่ต้องส่งเสริมให้ลูกได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ที่ดีต่อพัฒนาการสมอง และระบบภูมิคุ้มกัน เริ่มต้นได้ง่ายๆ ด้วยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่แรกเกิด
สารอาหารในนมแม่ที่มีประโยชน์ต่อพัฒนาการทางสมองที่สำคัญ มีอะไรบ้าง?
มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมการทำงานของสมองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
DHA เป็นกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว มีความสำคัญต่อพัฒนาการและการทำงานของสมอง
และการมองเห็น
มีความสำคัญช่วยในการพัฒนาและการทำงานสมอง
เป็นส่วนประกอบของเซลล์สมองบริเวณเส้นใยประสาทและจุดเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง มีส่วนช่วยในการเรียนรู้ การจดจำ และมีผลต่อระดับสติปัญญา
มีส่วนสำคัญต่อการสร้างสารสื่อประสาทช่วยในการทำงานของสมอง
ช่วยในการทำงานของระบบประสาทและสมอง ส่งเสริมความจำและการเรียนรู้
องค์ประกอบในนมแม่ที่มีประโยชน์ต่อระบบภูมิคุ้มของร่างกายที่สำคัญ มีอะไรบ้าง?
-
โพรไบโอติกส์ บีแล็กทิส B. lactis
มีส่วนช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในทางเดินอาหาร
มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
และทั้งหมดนี้ก็คือสารอาหารสมองและภูมิคุ้มกันที่พบในนมแม่ บอกได้เลยค่ะว่าดีมีประโยชน์กับเด็กผ่าคลอดที่สุด คุณแม่อยากให้ลูกเติบโตขึ้นอย่างสมวัย มีพัฒนาการสมองไว และภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง ต้องเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นะคะ
สนใจศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม Probiotic คืออะไร โพรไบโอติกส์ B lactis เสริมภูมิคุ้มกันของเด็กผ่าคลอด (s-momclub.com)
และหากคุณแม่มีคำถามเกี่ยวกับเรื่องผ่าคลอด และพัฒนาการลูกเพิ่มเติม สามารถปรึกษาทีมพยาบาล S-Mom Club (hyperlink to S-mom club’s url) ได้ตลอด 24 ชม. ไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ
Reference:
1. Deoni S.C., et al. AJNR Am J Neuroradiol. 2019 Jan;40(1): 169–177.
2. Susuki K. Nature Education. 2010;3(9):59.
3. Chevalier N, et. al., PLoS One. 2015 Oct 6;10(10):e0139897
4. Floch MH,et al.J Clin Gastroenterol 2015;49:S69-S73
5. www.vibhavadi.com/Health-expert/detail/368
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!