คนท้องควรเลี่ยงกาแฟเพราะมีคาเฟอีน
อาหารที่คนท้องควรเลี่ยง
1. คาเฟอีนมากเกินไปทั้งจากกาแฟและอาหาร/เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน: การได้รับคาเฟอีนมากเกินไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับน้ำหนักแรกเกิดของทารกที่มากหรือน้อยกว่าปกติ รวมถึงอายุครรภ์ที่น้อยกว่าปกติ
2. อาหารเค็ม: ช่วงตั้งครรภ์เป็นช่วงเวลาที่มีการสร้างกระดูกทดแทนเร็วมาก กระดูกของคนท้องจะเสื่อมลงและมีการสร้างกระดูกใหม่ในช่วงนี้เร็วกว่าปกติ กระบวนการทดแทนกระดูกใหม่นี้จะปล่อยโลหะหนักที่สะสมในกระดูกมาเป็นระยะเวลาหลายปีออกมา ซึ่งหนึ่งในนั้นได้แก่สารตะกั่ว ระดับสารตะกั่วในเลือดจะเพิ่มสูงขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ หากร่างกายได้รับโซเดียมมาก ๆ ไตจะพยายามขับโซเดียมออกและแคลเซียมก็จะถูกขับออกไปพร้อม ๆ กับโซเดียมด้วย ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เลวร้ายมากโดยเฉพาะสำหรับคนท้อง
ดิฉันไม่ได้กำลังบอกคนท้องว่าจะต้องรับประทานอาหารโซเดียมต่ำนะคะ แต่ให้พยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่เค็มจัดเพื่อช่วยรักษาระดับแคลเซียมในกระดูกและช่วยป้องกันลูกน้อยจากการได้รับสารตะกั่ว ไม่ใช่แค่สารตะกั่วในเลือดในระดับสูงเท่านั้นที่จะเป็นอันตราย มีการค้นพบมากขึ้นเรื่อย ๆ ว่าสารตะกั่วแม้ในปริมาณเล็กน้อยก็อาจเป็นอันตรายกับลูกน้อยได้
3. หลีกเลี่ยงอาหารที่ปนเปื้อนแบคทีเรียหรือรา: ระหว่างตั้งครรภ์ ระบบภูมิคุ้มกันของคุณแม่จะอ่อนแอลง การหลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่ปลอดภัยเหล่านี้จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด และอาหารที่เป็นพิษเหล่านี้อาจเป็นอันตรายต่อลูกน้อยได้เช่นกัน
4. หลีกเลี่ยงอาหารที่ปนเปื้อนสารอะคริลาไมด์ บีพีเอและสารพิษอื่น ๆ : สารเหล่านี้มีส่วนทำให้ทารกมีน้ำหนัก ส่วนสูง และเส้นรอบศีรษะแรกเกิดต่ำกว่าปกติ นอกจากนี้ยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยเด็ก
สารอะคริลาไมด์เป็นสารก่อมะเร็งที่พบในอาหารจานด่วนและขนมขบเคี้ยวจำพวกมันฝรั่งทอดกรอบ ขนมปังกรอบ บิสกิต แครกเกอร์ อาหารเช้าจากธัญพืช รวมทั้งอาหารที่ผ่านการทอด ปิ้ง ย่าง ในอุณหภูมิสูงหรือไหม้เกรียม
บีพีเอ หรือสารบิสฟีนอล เอ พบได้ในบรรจุภัณฑ์พลาสติกต่าง ๆ โดยบีพีเอจะรบกวนการทำงานของระบบสมอง ระบบต่อมไร้ท่อและระบบสืบพันธุ์
5. หลีกเลี่ยงอาหารเสริมที่นอกเหนือจากแพทย์สั่ง โดยเฉพาะอาหารเสริมที่มีปริมาณสารอาหารสูงมาก: สำหรับคนท้องแล้วอาหารเสริมเหล่านี้อาจเป็นอันตรายต่อลูกน้อยได้
อาหารสำหรับคนท้อง 5 ชนิดที่ควรรับประทานเป็นประจำขณะตั้งครรภ์
- นมหรือนมถั่วเหลืองเสริมแคลเซียม (สำหรับผู้ที่ปกติไม่ดื่มนมเลย ไม่ควรดื่มนมปริมาณมากเกินไป เพราะอาจทำให้ลูกแพ้นมวัวได้ ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับปริมาณที่เหมาะสมของแต่ละท่าน)
- ผักและผลไม้สด
- ขนมปังและซีเรียลที่ทำจากธัญพืชไม่ขัดสี
- ปลา ไก่ เนื้อวัวและเนื้อหมูไม่ติดมัน
- อาหารเสริมบำรุงครรภ์
จะเกิดอะไรขึ้นกับลูกน้อย (รวมถึงเมื่อลูกโตขึ้น) หากคุณแม่ได้รับสารอาหารขณะตั้งครรภ์ไม่เพียงพอ
- ลูกอาจเกิดมาไม่สมบูรณ์
- น้ำหนักแรกเกิดน้อย (ต่ำกว่า 2.5 กก.)
- มีความสูงและน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์
- พัฒนาการด้านการรับรู้ของระบบประสาทไม่สมบูรณ์
- เกิดโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เมื่ออายุมากขึ้น
การพัฒนาการแสดงออกทางพันธุกรรมของตัวอ่อนในครรภ์เกี่ยวข้องอย่างไรกับอาหารที่คุณแม่รับประทานขณะตั้งครรภ์และสุขภาพของลูกน้อย
กลไกทางเอพิเจเนติก (Epigenetic) หรือผลกระทบของอาหารและสิ่งแวดล้อม ที่มีผลต่อการทำงานของยีนหรือพันธุกรรม
จากหลักฐานที่พบมากขึ้นแสดงให้เห็นว่าอาหารและสารอาหารสามารถเปลี่ยนแปลงทางเอพิเจเนติกได้ โรคต่าง ๆ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มอาการรังไข่มีถุงน้ำหลายใบ โรคมะเร็ง โรคซึมเศร้า โรคอัลไซเมอร์ ล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเอพิเจเนติก ที่อาจเกิดขึ้นตั้งแต่อายุครรภ์ 9 สัปดาห์จนถึงคลอด ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ทารก
อยู่ในมดลูกและรับพลังงานและสารอาหารที่จำเป็นต่าง ๆ จากแม่โดยตรง ช่วงที่ตัวอ่อนกำลังพัฒนาเป็นเวลาที่มีแนวโน้มที่เกิดความเปลี่ยนแปลงทางเอพิเจเนติก
Dr. Namsoo Chang
ปัจจุบัน แพทย์หญิง Chang ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ญาณวิทย์ด้านโภชนาการ ประจำภาควิชาโภชนศาสตร์และการกำหนดอาหาร มหาวิทยาลัยหญิงอีฮวา โดยจบด้านโภชนศาสตร์เกียรตินิยมอันดับสองจากมหาวิทยาลัยหญิงอีฮวาและจบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยรัทเกอร์ส ประเทศสหรัฐอเมริกา แพทย์หญิง Chang เคยดำรงตำแหน่งประธานสมาคมโภชนาการแห่งประเทศเกาหลีและรองประธานสมาคมโภชนศาสตร์การแพทย์แห่งประเทศเกาหลี นอกจากนี้ยังเป็นผู้เชี่ยวชาญในคณะทำงานประเมินความเสี่ยงด้านวิตามิน/เกลือแร่ขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติอีกด้วย ปัจจุบัน แพทย์หญิง Chang เป็นสมาชิกคณะกรรมการที่ปรึกษาสมาคมโภชนาการแห่งประเทศเกาหลี ที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์สถาบันวิทยาศาตร์สุขภาพสากลแห่งประเทศเกาหลี คณะกรรมการโครงการวิทยาศาสตร์สำหรับสมาคมสุขภาพแม่และเด็กแห่งประเทศเกาหลี
บทความที่น่าสนใจอื่นๆ
NIFTY TEST ช่วยหาอาการดาวน์ซินโดรมตั้งแต่ในท้องแม่
คนท้องกินสับปะรดได้ไหม จริงหรือที่คนท้องห้ามกินสับปะรด?
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!