X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

5 อาหารควรเลี่ยงสำหรับคนท้องที่หมอแนะนำ

บทความ 3 นาที
5 อาหารควรเลี่ยงสำหรับคนท้องที่หมอแนะนำ

เมื่อกลายเป็นคนท้อง อาหารที่เคยกินเคยดื่มในชีวิตประจำวันอาจจะกลายเป็นอาหารที่ควรเลี่ยงขณะตั้งครรภ์ เพราะอาหารบางอย่างส่งผลกระทบต่อสุขภาพของลูกน้อยในครรภ์

อาหาร, ควรเลี่ยง, คนท้อง

คนท้องควรเลี่ยงกาแฟเพราะมีคาเฟอีน

อาหารที่คนท้องควรเลี่ยง

1. คาเฟอีนมากเกินไปทั้งจากกาแฟและอาหาร/เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน: การได้รับคาเฟอีนมากเกินไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับน้ำหนักแรกเกิดของทารกที่มากหรือน้อยกว่าปกติ รวมถึงอายุครรภ์ที่น้อยกว่าปกติ

2. อาหารเค็ม: ช่วงตั้งครรภ์เป็นช่วงเวลาที่มีการสร้างกระดูกทดแทนเร็วมาก กระดูกของคนท้องจะเสื่อมลงและมีการสร้างกระดูกใหม่ในช่วงนี้เร็วกว่าปกติ กระบวนการทดแทนกระดูกใหม่นี้จะปล่อยโลหะหนักที่สะสมในกระดูกมาเป็นระยะเวลาหลายปีออกมา ซึ่งหนึ่งในนั้นได้แก่สารตะกั่ว ระดับสารตะกั่วในเลือดจะเพิ่มสูงขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ หากร่างกายได้รับโซเดียมมาก ๆ ไตจะพยายามขับโซเดียมออกและแคลเซียมก็จะถูกขับออกไปพร้อม ๆ กับโซเดียมด้วย ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เลวร้ายมากโดยเฉพาะสำหรับคนท้อง

ดิฉันไม่ได้กำลังบอกคนท้องว่าจะต้องรับประทานอาหารโซเดียมต่ำนะคะ แต่ให้พยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่เค็มจัดเพื่อช่วยรักษาระดับแคลเซียมในกระดูกและช่วยป้องกันลูกน้อยจากการได้รับสารตะกั่ว ไม่ใช่แค่สารตะกั่วในเลือดในระดับสูงเท่านั้นที่จะเป็นอันตราย มีการค้นพบมากขึ้นเรื่อย ๆ ว่าสารตะกั่วแม้ในปริมาณเล็กน้อยก็อาจเป็นอันตรายกับลูกน้อยได้

3. หลีกเลี่ยงอาหารที่ปนเปื้อนแบคทีเรียหรือรา: ระหว่างตั้งครรภ์ ระบบภูมิคุ้มกันของคุณแม่จะอ่อนแอลง การหลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่ปลอดภัยเหล่านี้จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด และอาหารที่เป็นพิษเหล่านี้อาจเป็นอันตรายต่อลูกน้อยได้เช่นกัน

4. หลีกเลี่ยงอาหารที่ปนเปื้อนสารอะคริลาไมด์ บีพีเอและสารพิษอื่น ๆ : สารเหล่านี้มีส่วนทำให้ทารกมีน้ำหนัก ส่วนสูง และเส้นรอบศีรษะแรกเกิดต่ำกว่าปกติ นอกจากนี้ยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยเด็ก

สารอะคริลาไมด์เป็นสารก่อมะเร็งที่พบในอาหารจานด่วนและขนมขบเคี้ยวจำพวกมันฝรั่งทอดกรอบ ขนมปังกรอบ บิสกิต แครกเกอร์ อาหารเช้าจากธัญพืช รวมทั้งอาหารที่ผ่านการทอด ปิ้ง ย่าง ในอุณหภูมิสูงหรือไหม้เกรียม

บีพีเอ หรือสารบิสฟีนอล เอ พบได้ในบรรจุภัณฑ์พลาสติกต่าง ๆ โดยบีพีเอจะรบกวนการทำงานของระบบสมอง ระบบต่อมไร้ท่อและระบบสืบพันธุ์

5. หลีกเลี่ยงอาหารเสริมที่นอกเหนือจากแพทย์สั่ง โดยเฉพาะอาหารเสริมที่มีปริมาณสารอาหารสูงมาก: สำหรับคนท้องแล้วอาหารเสริมเหล่านี้อาจเป็นอันตรายต่อลูกน้อยได้

อาหารที่ควรทานขณะตั้งครรภ์ หน้าถัดไป >>>


อาหารสำหรับคนท้อง 5 ชนิดที่ควรรับประทานเป็นประจำขณะตั้งครรภ์

  • นมหรือนมถั่วเหลืองเสริมแคลเซียม (สำหรับผู้ที่ปกติไม่ดื่มนมเลย ไม่ควรดื่มนมปริมาณมากเกินไป เพราะอาจทำให้ลูกแพ้นมวัวได้ ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับปริมาณที่เหมาะสมของแต่ละท่าน)
  • ผักและผลไม้สด
  • ขนมปังและซีเรียลที่ทำจากธัญพืชไม่ขัดสี
  • ปลา ไก่ เนื้อวัวและเนื้อหมูไม่ติดมัน
  • อาหารเสริมบำรุงครรภ์

จะเกิดอะไรขึ้นกับลูกน้อย (รวมถึงเมื่อลูกโตขึ้น) หากคุณแม่ได้รับสารอาหารขณะตั้งครรภ์ไม่เพียงพอ

  • ลูกอาจเกิดมาไม่สมบูรณ์
  • น้ำหนักแรกเกิดน้อย (ต่ำกว่า 2.5 กก.)
  • มีความสูงและน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์
  • พัฒนาการด้านการรับรู้ของระบบประสาทไม่สมบูรณ์
  • เกิดโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เมื่ออายุมากขึ้น

 

การพัฒนาการแสดงออกทางพันธุกรรมของตัวอ่อนในครรภ์เกี่ยวข้องอย่างไรกับอาหารที่คุณแม่รับประทานขณะตั้งครรภ์และสุขภาพของลูกน้อย

กลไกทางเอพิเจเนติก (Epigenetic) หรือผลกระทบของอาหารและสิ่งแวดล้อม ที่มีผลต่อการทำงานของยีนหรือพันธุกรรม

จากหลักฐานที่พบมากขึ้นแสดงให้เห็นว่าอาหารและสารอาหารสามารถเปลี่ยนแปลงทางเอพิเจเนติกได้ โรคต่าง ๆ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มอาการรังไข่มีถุงน้ำหลายใบ โรคมะเร็ง โรคซึมเศร้า โรคอัลไซเมอร์ ล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเอพิเจเนติก ที่อาจเกิดขึ้นตั้งแต่อายุครรภ์ 9 สัปดาห์จนถึงคลอด ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ทารก

อยู่ในมดลูกและรับพลังงานและสารอาหารที่จำเป็นต่าง ๆ จากแม่โดยตรง ช่วงที่ตัวอ่อนกำลังพัฒนาเป็นเวลาที่มีแนวโน้มที่เกิดความเปลี่ยนแปลงทางเอพิเจเนติก

Dr. Namsoo Chang

Dr. Namsoo Chang

ปัจจุบัน แพทย์หญิง Chang ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ญาณวิทย์ด้านโภชนาการ ประจำภาควิชาโภชนศาสตร์และการกำหนดอาหาร มหาวิทยาลัยหญิงอีฮวา  โดยจบด้านโภชนศาสตร์เกียรตินิยมอันดับสองจากมหาวิทยาลัยหญิงอีฮวาและจบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยรัทเกอร์ส ประเทศสหรัฐอเมริกา แพทย์หญิง Chang เคยดำรงตำแหน่งประธานสมาคมโภชนาการแห่งประเทศเกาหลีและรองประธานสมาคมโภชนศาสตร์การแพทย์แห่งประเทศเกาหลี นอกจากนี้ยังเป็นผู้เชี่ยวชาญในคณะทำงานประเมินความเสี่ยงด้านวิตามิน/เกลือแร่ขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติอีกด้วย ปัจจุบัน แพทย์หญิง Chang เป็นสมาชิกคณะกรรมการที่ปรึกษาสมาคมโภชนาการแห่งประเทศเกาหลี ที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์สถาบันวิทยาศาตร์สุขภาพสากลแห่งประเทศเกาหลี คณะกรรมการโครงการวิทยาศาสตร์สำหรับสมาคมสุขภาพแม่และเด็กแห่งประเทศเกาหลี

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

บทความจากพันธมิตร
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย

NIFTY TEST ช่วยหาอาการดาวน์ซินโดรมตั้งแต่ในท้องแม่

คนท้องกินสับปะรดได้ไหม จริงหรือที่คนท้องห้ามกินสับปะรด?

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • 5 อาหารควรเลี่ยงสำหรับคนท้องที่หมอแนะนำ
แชร์ :
  • อาหารแสลงคนท้อง ของแสลงคนท้อง อาหารที่คนท้องไม่ควรกิน ทำเพื่อลูกนะแม่!

    อาหารแสลงคนท้อง ของแสลงคนท้อง อาหารที่คนท้องไม่ควรกิน ทำเพื่อลูกนะแม่!

  • 11 อาหารที่คนท้องไม่ควรกิน รู้ไว้แบบนี้ค่อยสบายใจขึ้นมาหน่อย

    11 อาหารที่คนท้องไม่ควรกิน รู้ไว้แบบนี้ค่อยสบายใจขึ้นมาหน่อย

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • อาหารแสลงคนท้อง ของแสลงคนท้อง อาหารที่คนท้องไม่ควรกิน ทำเพื่อลูกนะแม่!

    อาหารแสลงคนท้อง ของแสลงคนท้อง อาหารที่คนท้องไม่ควรกิน ทำเพื่อลูกนะแม่!

  • 11 อาหารที่คนท้องไม่ควรกิน รู้ไว้แบบนี้ค่อยสบายใจขึ้นมาหน่อย

    11 อาหารที่คนท้องไม่ควรกิน รู้ไว้แบบนี้ค่อยสบายใจขึ้นมาหน่อย

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ