TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

โกรทฮอร์โมน กับการเจริญเติบโตของเด็ก ลูกนอนดึกเสี่ยงตัวเตี้ย จริงหรือ?

บทความ 5 นาที
โกรทฮอร์โมน กับการเจริญเติบโตของเด็ก ลูกนอนดึกเสี่ยงตัวเตี้ย จริงหรือ?

โกรทฮอร์โมน เป็นฮอร์โมนที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของเด็กตั้งแต่แรกเกิด ถ้าลูกนอนดึกมากๆ ร่างกายไม่หลั่งโกรทฮอร์โมนจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของลูกอย่างมากมาย

โกรทฮอร์โมน เป็นฮอร์โมนที่สำคัญต่อการเติบโตของเด็กตั้งแต่แรกเกิด ถ้าลูกนอนดึกมากๆ ร่างกายไม่หลั่งโกรทฮอร์โมนจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของลูก

โกรทฮอร์โมนคืออะไร

โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone/GH) เป็นฮอร์โมนสำคัญที่ร่างกายผลิตขึ้นได้เอง ทำหน้าที่กระตุ้นให้เกิดการสร้าง และซ่อมแซมเนื้อเยื่อส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพื่อให้ร่างกายเจริญเติบโต โกรทฮอร์โมนจึงสำคัญมากในวัยเด็ก ช่วยให้ลูกเจริญเติบโตสูงสมวัย ไม่แคระแกร็น ช่วยเนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกายแข็งแรง กล้ามเนื้อแน่น เสริมสร้างภูมิต้านทาน พัฒนาการด้านสมอง ทั้งยังมีผลด้านจิตใจ เมื่อร่างกายได้พักผ่อนเต็มที่ เมื่อตื่นขึ้นมาก็จะรู้สึกสดชื่น แจ่มใส ร่างกายมีความพร้อมในการทำกิจกรรมต่างๆ มีสมาธิดี ความจำดี

ระดับของโกรทฮอร์โมนจะลดลงเรื่อยมาตามอายุที่มากขึ้น โดยจะมีระดับสูงมากที่สุดในครรภ์แม่ ลดลงเรื่อยมาเมื่อเข้าสู่วัยเด็ก แต่พอเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น ฮอร์โมนนี้จะกลับมามากขึ้นอีกครั้ง หลังจากอายุ 25 ปีแล้ว ฮอร์โมนนี้จะลดลง 15% ทุกๆ 10 ปี จนเมื่ออายุ 60 ปี โกรทฮอร์โมนจะลดลงเหลือต่ำกว่า 10% ของวัยหนุ่มสาว

โกรทฮอร์โมน หลั่งตอนไหน

โกรทฮอร์โมนนั้นจะผลิตในขณะที่เรานอนหลับ มีการหลั่งในชั่วโมงแรกหลังจากที่หลับสนิท ระหว่าง 5 ทุ่ม ถึงตีสาม การหลั่งโกรทฮอร์โมนในช่วงนี้มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของร่างกายมากที่สุด หากลูกหลับไม่สนิท หรือนอนดึก โดยเฉพาะหลังเที่ยงคืน ร่างกายก็จะไม่สร้างโกรทฮอร์โมน

โกรทฮอร์โมน สำคัญต่อพัฒนาการลูกอย่างไร?

โกรทฮอร์โมน มีบทบาทสำคัญต่อพัฒนาการของลูกน้อย ดังนี้

  • ส่งเสริมการเจริญเติบโตของกระดูกและกล้ามเนื้อ โกรทฮอร์โมนกระตุ้นให้เซลล์กระดูกและกล้ามเนื้อเจริญเติบโต ทำให้ลูกมีความสูง และน้ำหนัก ที่เหมาะสม
  • กระตุ้นระบบเผาผลาญ โกรทฮอร์โมนช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและเผาผลาญไขมัน
  • เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันโกรทฮอร์โมนช่วยกระตุ้นการผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาว ทำให้ร่างกายต่อสู้กับเชื้อโรคได้ดียิ่งขึ้น
  • พัฒนาการทางสมองโกรทฮอร์โมนมีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตของสมองและระบบประสาท ส่งผลต่อความจำ การเรียนรู้ และอารมณ์
  • เสริมสร้างสุขภาพหัวใจโกรทฮอร์โมนช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอลและความดันโลหิต

โกรทฮอร์โมน

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกขาดโกรทฮอร์โมน

Growth Hormone จะผลิตได้ดีหากลูกมีการนอนหลับพักผ่อนและออกกำลังกายอย่างเหมาะสม เมื่อโกรทฮอร์โมนของลูกทำงานผิดปกติ นอกจากอัตราการเจริญเติบโตน้อยกว่าค่าปกติแล้ว ลูกยังอาจมีอาการ เสียงเล็กแหลม รูปร่างเตี้ยแต่จ้ำม่ำ ในเพศชายอาจพบว่ามีอวัยวะเพศเล็กกว่าเด็กทั่วๆ ไป เด็กบางคนที่ขาดฮอร์โมนเจริญเติบโตชนิดรุนแรงจะพบว่ามีน้ำตาลในเลือดต่ำ และอาจเป็นเหตุให้ลูกชักจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้อีกด้วย

คุณแม่ควรสังเกตการเจริญเติบโตของลูกอย่างสม่ำเสมอ หากลูกมีอาการอย่างหนึ่งอย่างใดต่อไปนี้ แสดงว่ามีการเจริญเติบโตผิดปกติ คุณแม่ควรพาลูกมาหาหมอโดยเร็ว เพื่อวินิจฉัยว่าเกิดจากการขาดโกรธฮอร์โมนหรือไม่ ทั้งนี้การรักษาตั้งแต่เล็กจะยิ่งได้ผลดี

  • ลูกตัวเล็กกว่ามาตรฐานมาโดยตลอด
  • ช่วงอายุ 4-9 ปี การเพิ่มของส่วนสูงน้อยมากกว่า 5 ซม./ปี
  • พล็อตกราฟความสูงแล้วความสูงต่ำกว่าเกณฑ์ในช่วงอายุนั้นๆ
  • อัตราการเพิ่มส่วนสูงภายใน 4 ปีน้อยกว่าปีละ 5 ซม.
  • เมื่ออายุ 1 ปีครึ่งขึ้นไป ขนาดร่างกายต่ำกว่าเกณฑ์ และตอนคลอดมีภาวะคลอดยาก คลอดแล้วต้องให้ออกซิเจน
  • คลอดออกมาแล้วตัวเล็ก เช่น หนักน้อยกว่า 2.5 กก. ความยาวแรกเกิดต่ำกว่า 50 ซม.
  • 3-4 ปีที่ผ่านมาไม่เคยเปลี่ยนไซส์รองเท้าเลย

วิธีเพิ่มโกรทฮอร์โมนในเด็ก

คุณแม่มีส่วนสำคัญอย่างมากในการดูแลลูกให้ร่างกายสามารถสร้างโกรทฮอร์โมนได้อย่างเต็มที่ เพื่อให้ร่างกายเจริญเติบโตสมวัย

  • ใส่ใจชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงของลูกอยู่เสมอ ตั้งแต่หลังคลอด วัยเตาะแตะ วัยเรียน จนถึงวัยรุ่น
  • พาลูกไปฉีดวัคซีนให้ครบเพื่อป้องกันโรคต่างๆ
  • ระวังอย่าให้ลูกเจ็บป่วยเรื้อรัง และอย่าให้ลูกได้รับความกระทบกระเทือนบริเวณศีรษะอย่างแรง เช่น หกล้ม ศีรษะกระแทกพื้น เป็นต้น
  • ในช่วงที่ลูกกำลังเจริญเติบโตควรเลือกสรรอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ และรับประทานให้ครบทั้งห้าหมู่ เน้นอาหารที่ให้วิตามินและแคลเซียมที่ช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงและมีผลต่อการเจริญเติบโตของลูกด้วย
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เด็กควรนอนหลับอย่างน้อย 8-10 ชั่วโมง ต่อวันเพราะการนอนหลับสนิท หลับลึก เป็นช่วงที่โกรทฮอร์โมนจะหลั่งได้ดี และห้ามนอนดึกเด็ดขาด
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยกระตุ้นการสร้างโกรทฮอร์โมนได้ดี เด็กควรออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที ต่อวัน
  • ทุกครั้งที่พาลูกไปหาหมอให้บันทึกน้ำหนักตัวและส่วนสูงของลูกไว้ในสมุดบันทึกสุขภาพของลูก เพราะข้อมูลที่เราบันทึกไว้อย่างต่อเนื่องมีประโยชน์อย่างมากต่อกุมารแพทย์ที่ดูแลปัญหาด้านการเจริญเติบโตของเด็ก
  • ถ้าคุณพ่อคุณแม่มีปัญหากังวลใจเกี่ยวกับความสูงของลูกต้องรีบพามาปรึกษาคุณหมอก่อนที่ลูกจะเข้าสู่วัยรุ่น

โกรทฮอร์โมน

ป้องกันลูกขาดโกรทฮอร์โมนได้ตั้งแต่ในครรภ์

เนื่องจากโกรทฮอร์โมนของลูกผลิตได้ตั้งแต่ในครรภ์แม่ การปฏิบัติตัวของแม่ท้องจึงมีผลต่อน้ำหนักและความสูงของลูกตั้งแต่แรกคลอด

  • แม่ท้องควรงดเว้นการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์อย่างเด็ดขาด เพราะเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกตัวเล็ก สมองก็จะเล็กจำนวนเซลล์ในสมองก็เล็กตามไปอีกด้วย
  • ระมัดระวังการกินยาบางชนิด เช่น ยากันชัก
  • แม่ควรไปรับวัคซีนป้องกันให้มีภูมิต้านทานโรคต่างๆ ก่อนตั้งครรภ์ให้ครบถ้วน เช่น หัดเยอรมัน
  • ดูแลร่างกายให้แข็งแรงสมบูรณ์ ปลอดภัยจากโรคต่างๆ เช่น เชื้อซิฟิลิส รกเกาะต่ำ โรคเบาหวาน คลอดก่อนกำหนด ที่อาจทำให้ลูกน้ำหนักน้อย ตัวสั้น เล็กไปหมด
  • หากรูปร่างของทั้งคุณพ่อคุณแม่ไม่ค่อยสูงนัก แต่อยากให้ลูกมีความสูงอยู่ในเกณฑ์ ควรบำรุงสุขภาพของคุณแม่ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์อย่างน้อย 1-2 ปี

ที่มา :  นิตยสารดวงใจพ่อแม่ Vol.12 No.137 March 2007 , ไทยรัฐ

 

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

กลัวลูกเตี้ย แม่ต้องทำไง แต่ละปีลูกควรสูงขึ้นกี่เซน นอนดึกมีผลต่อความสูงจริงไหม

วิธีเพิ่มความสูงให้ลูก ด้วยการออกกำลัง โดยไม่ต้องผ่าตัด

5 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสูงของลูก มีอะไรบ้างที่ต้องสังเกต ?

บทความจากพันธมิตร
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • โกรทฮอร์โมน กับการเจริญเติบโตของเด็ก ลูกนอนดึกเสี่ยงตัวเตี้ย จริงหรือ?
แชร์ :
  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

  • วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

    วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

powered by
  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

  • วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

    วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว