X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

“โรคอ้วนในเด็ก” ส่งผลอันตรายต่อลูกน้อยอย่างไร

บทความ 3 นาที
“โรคอ้วนในเด็ก” ส่งผลอันตรายต่อลูกน้อยอย่างไร

ปัญหาโรคอ้วนในเด็กเป็นหนึ่งในปัญหาระดับชาติของหลายๆ ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย และในปัจจุบันจำนวนเด็กอ้วนก็ยังมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคอ้วนนั้นมีหลากหลาย สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือปัจจัยทางพันธุกรรม การขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พฤติกรรมการรับประทานอาหารและการดำเนินชีวิตที่ไม่เหมาะสม รวมถึงความผิดปกติของฮอร์โมน

จะรู้ได้อย่างไร..ว่าลูกเราเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน

บุคคลที่จะตรวจเช็คว่าลูกของคุณแม่มีน้ำหนักเกินได้ดีที่สุดก็คือคุณหมอ (หมอเด็กที่คุณพ่อคุณแม่หากันอยู่เป็นประจำนั่นแหละค่ะ) วิธีที่คุณหมอจะดูว่าลูกของคุณแม่มีน้ำหนักเกิน คุณหมอจะประเมินโดยการชั่งน้ำหนักและวัดความสูงของเด็ก แล้วนำมาเทียบกับกราฟมาตรฐานการเจริญเติบโต โดยเทียบน้ำหนักตามเกณฑ์ความสูง ในกรณีที่ไม่มีกราฟ คุณแม่ก็สามารถคำนวณด้วยตัวเองเพื่อประเมินในเบื้องต้นได้ โดยการคำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย หรือ BMI (Body Mass Index)

วิธีการคำนวณหาค่า BMI ก็คือ = น้ำหนัก(กิโลกรัม) หาร [ส่วนสูง(เมตร)ยกกำลังสอง]

เช่น ลูกหนัก 9 กิโลกรัม สูง 70 ซม. : 9 / [0.70×0.70] = 18.36 กิโลกรัมต่อตารางเมตร

 

เมื่อได้ค่า BMI แล้วก็สามารถเอามาเทียบค่าตามตารางนี้ได้เลยค่ะ

ตารางค่าดัชนีมวลกายอ้างอิงของเด็กอายุ 1-7 ปี

5555555

(ที่มา นพ.ประสงค์ เทียนบุญ วารสารโภชนบำบัด พ.ศ. 2547 ปีที่ 15 ฉบับที่ 3)

 

เมื่ออ้วนแล้วมีอันตรายต่อเด็กอย่างไร

Advertisement

เด็กที่อ้วนจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่อไปนี้

  • ไขมันในเลือดสูง และคอเลสเตอรอลในเลือดสูง
  • ความดันโลหิตสูง
  • โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
  • โรคเบาหวาน
  • โรคหยุดหายใจขณะนอนหลับ
  • โรคผิวหนัง เช่น เชื้อราที่ผิวหนัง ผิวหนังอักเสบ ผดต่างๆ
  • ความผิดปกติของกระดูกและข้อ เช่น กระดูกโค้งงอ ขาโก่ง เท้าแบน ทำให้เดินลำบาก

 

จะสามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรคอ้วนในเด็กอย่างไร

 ถ้าหากคุณแม่มีลูกที่มีน้ำหนักเกิน สิ่งสำคัญมากที่จะช่วยลดน้ำหนักให้ลูกได้ คือการให้กำลังใจ ให้ลูกได้รู้ว่ามีพ่อแม่คอยสนับสนุน คอยดูแลให้สามารถต่อสู้และฝ่าฟันอุปสรรคทั้งหลายไปได้ แต่ทราบกันหรือไม่ว่าจริงๆ แล้วโรคอ้วนสามารถป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด โดยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และสร้างนิสัยการกินที่ดีให้กับลูก  ไม่ป้อนนมหรืออาหารให้ลูกมากเกินไปเมื่อลูกแสดงออกว่าอิ่มแล้ว ไม่ควรฝึกให้ลูกรับประทานอาหารรสเค็มจัด หวานจัด หรืออาหารที่มีไขมันมากๆ รวมทั้งไม่ควรให้ลูกรับประทานขนมจุบจิบที่ไม่มีประโยชน์ ทุกคนในครอบครัวต้องหันมาใส่ใจ สอนลูกหลานและคนในครอบครัวให้มีนิสัยที่ถูกต้อง และเป็นแบบอย่างที่ดีในการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ นอกจากนี้แล้วการออกกำลังกายก็เป็นสิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ควรมีเวลาพาลูกไปออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

 

โรคอ้วนในเด็ก สามารถส่งผลให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมาได้ในระยะยาว หนึ่งในโรคที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดคือโรคเบาหวาน ดังนั้นแม่ควรใส่ใจเรื่องอาหารให้ลูกน้อยตั้งแต่เล็กๆ ควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และในกรณีที่ไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ ควรเลือกนมสูตรที่มีการปรับปริมาณโปรตีนลดลง เพราะปริมาณโปรตีนที่มากเกินไปจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างเซลล์ไขมันเพิ่มขึ้น คุณแม่ควรดูแลเรื่องอาหารการกินของลูกน้อยให้มากๆ การให้ลูกได้รับประทานอาหารที่ถูกต้อง ในปริมาณที่เพียงพอ ทานอาหารครบ 5 หมู่ หากิจกรรมให้ลูกทำ และชวนลูกวิ่งเล่นออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ  60 นาทีอย่างสม่ำเสมอ  ถ้าคุณพ่อคุณแม่สามารถปฏิบัติดังนี้ได้ จะช่วยลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนได้อย่างแน่นอนค่ะ

 

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับโปรตีนในเด็ก สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://nestlebaby.in.th/th/allergy/benefit-of-protien/article1

บทความจากพันธมิตร
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • “โรคอ้วนในเด็ก” ส่งผลอันตรายต่อลูกน้อยอย่างไร
แชร์ :
  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว